“สิทธิผู้บริโภค” เรื่องที่ต้องดูแลรักษา|“สิทธิผู้บริโภค” เรื่องที่ต้องดูแลรักษา

“สิทธิผู้บริโภค” เรื่องที่ต้องดูแลรักษา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

“สิทธิผู้บริโภค” เรื่องที่ต้องดูแลรักษา

ทนายคลายทุกข์ขอนำรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

บทความวันที่ 17 พ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 20560 ครั้ง


“สิทธิผู้บริโภค” เรื่องที่ต้องดูแลรักษา

          ทนายคลายทุกข์ขอนำรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ฝ่ายสำนักกฎหมายและคดี  ที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค  เรื่องที่ต้องดูแลรักษา  ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก  จึงนำมาฝากผู้บริโภคเพื่อให้รักษาสิทธิของตนเอง

          “สิทธิ” เรื่องที่คนจำนวนมากไม่รู้ หลายคนไม่ได้คิดถึง ทั้งที่สิทธิ เป็นเรื่องอันชอบธรรมของผู้บริโภคที่ควรจะได้รับ และที่สำคัญ...ควรต้องรู้
           สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพิทักษ์รักษา คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ล่าสุด! พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ประกาศแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2552  จากที่แต่เดิมประชาชนทั่วไปจะได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 ซึ่งมีสาระสำคัญๆ ได้แก่
          มีสิทธิที่จะรับรู้ข่าวสาร สรรพคุณที่ถูกต้องและพอเพียงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการมีสิทธิอิสระในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ มีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ มีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และมีสิทธิได้รับการพิจารณาและชดเชย ความเสียหาย
          ปัจจุบัน การคุ้มครองเท่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว!หลายๆ กรณี หลายๆ เหตุการณ์ ที่สะท้อนว่าผู้บริโภคกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบ!  ดังนั้น พรบ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจะได้เข้ามาช่วยให้ประชาชนได้รับการพิทักษ์มากขึ้น
          ประการแรก พรบ. ระบุความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย หมายรวมถึงความเสียหายทั้งต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ และทรัพย์สิน
นั่นหมายความว่า ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว วิตกกังวล  ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้า  ใดๆ จะได้รับการชดเชย  ความวิตกกังวลเมื่อพบว่า สินค้าที่ผู้บริโภคใช้อยู่ อาจปนเปื้ อนด้วยสารเคมีที่มีฤทธ์ร้ายแรง ตลอดเวลาของความเสียหายต่อจิตใจนี้ “ผู้ประกอบการ” ไม่สามารถผลักภาระความรับผิดชอบได้ ถึงแม้ว่าในที่สุดจะเป็นเพียงความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากขั้นตอนการผลิตเท่านั้นก็ตาม
          ที่สำคัญ การพิสูจน์ต่อศาลว่าได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้านั้นๆ ตาม พรบ. ใหม่ได้กำหนดให้เป็ นหน้าที่ของ “ผู้ประกอบการ” ซึ่งมีข้อดีที่จะทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงินหรือค้นคว้าความรู้ที่จะนำมาเป็นหลักฐานชี้ความเสียหาย  และไม่ว่าความเสียหายดังกล่าวจะเกิดจากความจงใจหรือความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม “ผู้ประกอบการ” ต้องมีหน้าที่หลักที่จะพิสูจน์ความจริงให้ได้
          ยกตัวอย่าง การซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้มาตรฐาน การซื้ออาหารที่ไม่สะอาดมีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่หรือไม่ได้คุณภาพ รวมถึงการซื้ออาหารกระป๋องที่มีสารอันตรายปนเปื้อน เป็นต้น
         ข้อดีอีกประการ คือ ระยะเวลาการฟ้ องคดี ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิได้ภายใน 3 ปี นับจากวันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือไม่เกิน 10 ปี นับ แต่วันที่ผู้บริโภครู้ถึงความเสียหาย  เพราะสินค้าที่มีความทันสมัย มีเทคโนโลยีสูงขึ้น กว่าที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่า สินค้าไม่ปลอดภัยจะกระทำได้ยากขึ้นหรืออาจทำไม่ได้เลย จะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อเกิดผลร้ายของสินค้านั้นๆ มากระทบกับตัวเรา กับครอบครัวหรือคนที่เรารักนั่นเอง
          สคบ. จึงขอฝากถึงผู้บริโภคว่า หากถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ หรือได้รับอันตรายจากสินค้า ขอให้นึกถึง สคบ. ทันที  ร้องเรียนสายด่วนผู้บริโภค 1166 หรือที่อีเมล [email protected]

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ocpb.go.th

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 22

อยากได้กลอน

โดยคุณ peem123123123 10 พ.ย. 2557, 19:12

ความคิดเห็นที่ 21

 พอดีซื้อของที่เว๊บเพจเว๊บหนึ่งเกี่ยวกะยาลดหน้าอก แต่พอเราสั่งแล้วทวงถามถึงของทิี่เราซื้อกลับพูดจากับเราแย่ๆ สคบ. จะทำยังไงกับเว๊บเพจประเภทนี้ค่ะ พูดกับลูกค้าแค่ว่าคุณไปเชคเองดิ เลขพัสดุก้อบอกแล้ว อีกทั้งยังพูดว่าคุณไม่ใช้ลูกค้าวีไอพีนะผมมีลูกค้าเยอะแยะอยู่แล้วลูกค้าคนเดียวผมไม่สนใจหรอก เอาผิดอะไรกับคนขายแบบนี้ได้หรือป่าวค่ะ หรือบล๊อคเว๊บเพจร้านค้าแบบนี้ไปเลยได้ยิ่งดีค่ะ สุดจะทนจริงๆค่ะ

โดยคุณ ลูกค้า 30 ม.ค. 2556, 01:42

ความคิดเห็นที่ 20

เรื่อง ร้องเรียน เมล็ดพันธ์ซีพี พันธ์ลูกผสม

1.1 ให้ระบุฉลาก คำว่า เมล็ดพันธ์ หมัน บนหน้าซอง

1.2 ให้ระบุฉลาก ข้อควรการใช้ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ด้านหลังของซอง

ข้อมูลทางราชการ ได้ทำการสอบถาม กรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ภาคตะวันออก , และสอบถามทางโทรศัพท์ กรมวิชาการเกษตร สกรณ์การเกษตร , กรมวิชาการพันธ์พืช

02 9405434 , 02 9406670 , 02 9401170 , 025793635

ข้าราชการไทย กับตอบว่า เป็นเสียงเดียวกันว่า “ รู้อยู่แล้ว เกษตรกร รู้อยู่แล้ว “ แล้วทำไมไม่ไปร้องเรียน ....ที่อื่นๆ แสดงว่า หากเกิดการเสียหาย เกษตรกรมาร้องทุกข์ ย่อมโดนภาษาจากข้าราชการ อย่างนี้เช่นเดียวกัน และ อาจโดนคำพูดปลอบใจว่า เค้ารู้กันทั่วบ้านเมือง ...

หากระบุคำบนฉลากว่า “ หมัน “ ย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการค้าแต่อย่างใด

หากระบุคำบนฉลากว่า “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป “ ก็ย่อมไม่ส่งผลต่อการค้า เช่นกัน เพราะเกษตรคือผู้ซื้อ และอ้างข้อความจากกรมวิชาการเกษตรว่า เกษตร รู้อยู่แล้วว่า หมัน

หากรายใดเกรงการระบุ “ หมัน “ และ “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป “ จะส่งผลกระทบต่อการค้า นั้นย่อมแสดงว่า ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร หรือ บริษัทห้างร้านใด มีเจตนาปิดบังซ้อนแร้นแอบแฝง ไม่สุจริตใจ อาจเป็นการชวนเชื่อ ก่อให้เกิดโทษ และการใช้ข้อความที่ส่อดไปในทางหลงทำให้เข้าใจผิด ยังผลเสียหาย แก่เกษตรกรได้

ดาลิน สิริสุวรรณกิจ [email protected] 0894077460

โดยคุณ ดาลิน สิริสุวรรณกิจ (สมาชิก) 29 ก.ย. 2555, 14:58

ความคิดเห็นที่ 19

เรื่อง ร้องเรียน เมล็ดพันธ์ซีพี พันธ์ลูกผสม

1.1 ให้ระบุฉลาก คำว่า เมล็ดพันธ์ หมัน บนหน้าซอง

1.2 ให้ระบุฉลาก ข้อควรการใช้ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ด้านหลังของซอง

ข้อมูลทางราชการ ได้ทำการสอบถาม กรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ภาคตะวันออก , และสอบถามทางโทรศัพท์ กรมวิชาการเกษตร สกรณ์การเกษตร , กรมวิชาการพันธ์พืช

02 9405434 , 02 9406670 , 02 9401170 , 025793635

ข้าราชการไทย กับตอบว่า เป็นเสียงเดียวกันว่า “ รู้อยู่แล้ว เกษตรกร รู้อยู่แล้ว “ แล้วทำไมไม่ไปร้องเรียน ....ที่อื่นๆ แสดงว่า หากเกิดการเสียหาย เกษตรกรมาร้องทุกข์ ย่อมโดนภาษาจากข้าราชการ อย่างนี้เช่นเดียวกัน และ อาจโดนคำพูดปลอบใจว่า เค้ารู้กันทั่วบ้านเมือง ...

หากระบุคำบนฉลากว่า “ หมัน “ ย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการค้าแต่อย่างใด

หากระบุคำบนฉลากว่า “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป “ ก็ย่อมไม่ส่งผลต่อการค้า เช่นกัน เพราะเกษตรคือผู้ซื้อ และอ้างข้อความจากกรมวิชาการเกษตรว่า เกษตร รู้อยู่แล้วว่า หมัน

หากรายใดเกรงการระบุ “ หมัน “ และ “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป “ จะส่งผลกระทบต่อการค้า นั้นย่อมแสดงว่า ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร หรือ บริษัทห้างร้านใด มีเจตนาปิดบังซ้อนแร้นแอบแฝง ไม่สุจริตใจ อาจเป็นการชวนเชื่อ ก่อให้เกิดโทษ และการใช้ข้อความที่ส่อดไปในทางหลงทำให้เข้าใจผิด ยังผลเสียหาย แก่เกษตรกรได้

ดาลิน สิริสุวรรณกิจ [email protected] 0894077460

โดยคุณ ดาิลิน สิริสุวรรณกิจ 29 ก.ย. 2555, 14:57

ความคิดเห็นที่ 18

เรื่อง ร้องเรียน เมล็ดพันธ์ซีพี พันธ์ลูกผสม

1.1 ให้ระบุฉลาก คำว่า เมล็ดพันธ์ หมัน บนหน้าซอง

1.2 ให้ระบุฉลาก ข้อควรการใช้ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ด้านหลังของซอง

ข้อมูลทางราชการ ได้ทำการสอบถาม กรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ภาคตะวันออก , และสอบถามทางโทรศัพท์ กรมวิชาการเกษตร สกรณ์การเกษตร , กรมวิชาการพันธ์พืช

02 9405434 , 02 9406670 , 02 9401170 , 025793635

ข้าราชการไทย กับตอบว่า เป็นเสียงเดียวกันว่า “ รู้อยู่แล้ว เกษตรกร รู้อยู่แล้ว “ แล้วทำไมไม่ไปร้องเรียน ....ที่อื่นๆ แสดงว่า หากเกิดการเสียหาย เกษตรกรมาร้องทุกข์ ย่อมโดนภาษาจากข้าราชการ อย่างนี้เช่นเดียวกัน และ อาจโดนคำพูดปลอบใจว่า เค้ารู้กันทั่วบ้านเมือง ...

หากระบุคำบนฉลากว่า “ หมัน “ ย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการค้าแต่อย่างใด

หากระบุคำบนฉลากว่า “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป “ ก็ย่อมไม่ส่งผลต่อการค้า เช่นกัน เพราะเกษตรคือผู้ซื้อ และอ้างข้อความจากกรมวิชาการเกษตรว่า เกษตร รู้อยู่แล้วว่า หมัน

หากรายใดเกรงการระบุ “ หมัน “ และ “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป “ จะส่งผลกระทบต่อการค้า นั้นย่อมแสดงว่า ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร หรือ บริษัทห้างร้านใด มีเจตนาปิดบังซ้อนแร้นแอบแฝง ไม่สุจริตใจ อาจเป็นการชวนเชื่อ ก่อให้เกิดโทษ และการใช้ข้อความที่ส่อดไปในทางหลงทำให้เข้าใจผิด ยังผลเสียหาย แก่เกษตรกรได้

ดาลิน สิริสุวรรณกิจ [email protected] 0894077460

โดยคุณ ดาิลิน สิริสุวรรณกิจ 29 ก.ย. 2555, 14:55

ความคิดเห็นที่ 17

ช่วยแต่งคำขวัญ การรักษาสิทธิผู้บริโภค

หน่อยค่ะ ขอคุณก่อนร่วงหน้า ค่ะ

โดยคุณ วรดา พรหมงาม 6 มิ.ย. 2555, 17:54

ความคิดเห็นที่ 16

G.....O.....O...D
 

L.....I......K.....E

โดยคุณ suda 24 พ.ย. 2554, 13:48

ความคิดเห็นที่ 15

ดีมากๆค่ะ

โดยคุณ 55 3 ก.ค. 2554, 17:19

ความคิดเห็นที่ 14

55555555555555555555555555555+

โดยคุณ ชละร่เ 10 ก.พ. 2554, 20:38

ตอบความคิดเห็นที่ 14

การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการรักษาสิทธิผู้บริโภค มีอะไรบ้างค่ะ

โดยคุณ กวาง 2 มี.ค. 2554, 12:40

ความคิดเห็นที่ 13

การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการรักษาสิทธิผู้บริโภค มีอะไรบ้างค่ะ

โดยคุณ กวาง 2 มี.ค. 2554, 12:40

ความคิดเห็นที่ 12

ต้องแต่งคำขวัญ "การรักษาสิทธิผู้บริโภค"

ช่วยคิดให้หน่อยได้มั้ยคะ ไม่รู้จะแต่งยังงัยดี สัก 3 คำขวัญค่ะ

ต้องขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ช่วยหน่อยเถอะค่ะ ต้องส่ง อีกแค่ 3 วันเอง

โดยคุณ many_minny 30 ม.ค. 2554, 14:05

ความคิดเห็นที่ 11

ดีค่ะ

โดยคุณ kat 24 ธ.ค. 2553, 16:10

ความคิดเห็นที่ 10

g......o......o......d

โดยคุณ น้ำฝน 15 ธ.ค. 2553, 17:34

ความคิดเห็นที่ 9

ชอบมักๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเด้อค่า

โดยคุณ ลำยัย ละมุด 8 ก.ย. 2553, 10:29

ความคิดเห็นที่ 8

ดีมักมักๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเด้อคร็าบ

โดยคุณ ฐิฎาภรณ์ จันทร์หอม 8 ก.ย. 2553, 10:26

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก