ทำ Laser IPL กำจัดขน แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา |ทำ Laser IPL กำจัดขน แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา

ทำ Laser IPL กำจัดขน แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทำ Laser IPL กำจัดขน แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา

ไปทำ Laser IPL กำจัดขนขา แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา มา 6 เดือนแล้ว

บทความวันที่ 7 ต.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2732 ครั้ง


ทำ Laser IPL กำจัดขน แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา 

          ไปทำ Laser IPL กำจัดขนขา แล้วเป็นรอยไหม้ เป็นแผลเป็นทั้งขา  มา 6 เดือนแล้ว ยังไม่หาย ไปรักษาที่ร้านเดิมก็จ่ายยามาให้ทา  เพื่อลดรอยดำ  แต่ก็ยังเห็นรอยชัดอยู่ ไม่รับผิดชอบเท่าไร  แบบนี้จะทำอย่างไรดีคะ

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิ์ผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 และ พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยต้องฟ้องภายใน 3 ปี ตามมาตรา 12 เรียกค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 11

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
มาตรา 12
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสามปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น

ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนตามมาตรา 10 ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551
มาตรา 3
ในพระราชบัญญัตินี้
“คดีผู้บริโภค” หมายความว่า
(1) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19 หรือตามกฎหมายอื่น กับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
(2) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(3) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (1) หรือ (2)
(4) คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค และให้หมายความรวมถึงผู้เสียหายตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคและให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบการตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย
“ก.ศ.” หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
“เจ้าพนักงานคดี” หมายความว่า บุคคลที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 11
ให้บรรดามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นมูลนิธิตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าตราสารก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าวเป็นข้อบังคับของมูลนิธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้

มูลนิธิใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “มูลนิธิ” ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ไป หาแพทย์เพื่อแก้ร่องใต้ตา แพทย์กลับฉีดสารฟิลเลอร์ให้เกินขนาด ทำให้เป็นถุงใต้ตาบวม ต้องทำอย่างไรบ้างง แพทย์ปัดความรับผิดชอบไม่ยอมแก้ไขให้ทุกวันนี้ลำบากทรมานกับชีวิต ต้องตกงานที่ทำ แล้วก็ขาดความมั่นใจในชีวิตไปเลยทรมานและลำบาก

ลิงค์ ของรูปภาพประกอบ
http://www.dungdong.com/forum.php?mod=redirect&tid=26321&goto=lastpost#lastpost

โดยคุณ คริส 25 พ.ค. 2554, 16:57

ความคิดเห็นที่ 2

เคยทำเพื่อรักษาแผลเป็นนูนแล้วเจ็บแล้วก็ไหม้ด้วยทำที่เมโยหนังถลอกเลยบอกให้ลดปริมาณก็ยไม่ยังเจ็บเวลายิง

โดยคุณ aeaw. 22 มี.ค. 2554, 11:02

ความคิดเห็นที่ 1

ทำที่ไหนมาจะได้ไม่ไปทำ  กลัวอ่ะ

โดยคุณ แนน 30 ก.ย. 2553, 14:57

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก