กรณีเจ็บป่วยในงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง|กรณีเจ็บป่วยในงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

กรณีเจ็บป่วยในงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรณีเจ็บป่วยในงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

เนื่องจากบุคคลในครอบครัวได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน ปัจจุบันทุพพลภาพ

บทความวันที่ 7 ต.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 86450 ครั้ง


กรณีเจ็บป่วยในงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

 

          เนื่องจากบุคคลในครอบครัวได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน  ปัจจุบันทุพพลภาพ ช่วงล่างเจ้าของกิจการ(นายจ้าง)ไม่ให้ความรับผิดชอบใดๆ  แต่มีการดำเนินเรื่องประกันสังคมและเบิกจ่ายกับทางประกันสังคมเองโดยไม่มีการแจ้งรายละเอียดใดๆให้ลูกจ้างทราบ   ในกรณีดังกล่าวทางลูกจ้างจะสามารถเรียกร้องสิทธิอะไรจากนายจ้างได้บ้างนอกเหนือจากที่จะได้รับจาก ปกส., กองทุนเงินทดแทน เราสามารถเรียกร้องค่าจ้างกรณีป่วยในงานจากนายจ้างได้หรือไม่ กรุณาให้คำตอบด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ถ้าอุบัติเหตุเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของนายจ้าง ลูกจ้างฟ้องเป็นคดีละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ได้ ส่วนค่าเสียหายที่ลูกจ้างสามารถเรียกได้ คือ
- ค่าหยุดงาน
- ค่ารักษาพยาบาล ครั้งแรก 45,000 บาท
- ค่าผ่าตัด 100,000 บาท
- ค่าทุพลภาพ
- บุคคลภายนอกกระทำละเมิดต่อลูกจ้าง สามารถฟ้องละเมิดได้
          ส่วนหน้าที่ของนายจ้างต้องติดต่อรับเงินที่สำนักงานประกันสังคมที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แต่ถ้านายจ้างไม่ดำเนินการ ลูกจ้างสามารถดำเนินการเองได้
ก่อนหน้านี้เคยมีลูกจ้างฟ้องนายจ้างต่อศาล ศาลยกฟ้องโดยพิจารณาว่า ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะต้องไปขอรับสิทธิ
ประโยชน์ทดแทน ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5, 7, 13, 18

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537
มาตรา 5
ในพระราชบัญญัตินี้
“นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย
“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรแต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
“ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง
“เจ็บป่วย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
“สูญหาย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างนั้น รวมตลอดถึงการที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างเดินทางโดย พาหนะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้างซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นได้ประสบเหตุอันตรายและลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทั้งนี้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่เกิดเหตุนั้น
“สูญเสียสมรรถภาพ” หมายความว่า การสูญเสียอวัยวะหรือการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายหรือจิตใจภายหลังการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์สิ้นสุดแล้ว
“เงินทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ
“ค่าทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา ๒๐ สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้
“ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เพื่อให้ผลของการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยบรรเทาหรือหมดสิ้นไป และหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ หรือวัตถุที่ใช้แทนหรือทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะที่ประสบอันตรายด้วย
“ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
“การฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน” หมายความว่า การจัดให้ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยและสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายหรือจิตใจหรือการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามสภาพของร่างกาย
“ค่าทำศพ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพของลูกจ้างตามประเพณีทางศาสนาของลูกจ้างหรือตามประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย
“เงินสมทบ” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพื่อใช้เป็นเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเงินทดแทน
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด แล้วแต่กรณี
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการกองทุนเงินทดแทน
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 7 การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น

มาตรา 13 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้าเมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้นายจ้างทราบ

มาตรา 18 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี
(2) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย โดยจ่ายตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายให้ตามที่กระทรวงแรงงาน*ประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี
(3) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภทของการทุพพลภาพและตามระยะเวลาที่จะต้องจ่ายตามที่กระทรวงแรงงาน*ประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าปี
(4) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายมีกำหนดแปดปี
การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกาย หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ในการคิดค่าทดแทน ให้เทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะประเภทนั้น ๆ ตามที่กระทรวงแรงงาน*ประกาศกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือนให้เป็นไปตามที่กระทรวงแรงงาน*ประกาศกำหนด
ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุด และไม่มากกว่าค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงาน*ประกาศกำหนด

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 213

สอบถามหน่อยครับ กรณี ผม โดนน้ำร้อนลวก เเล้วหยุดงานไป1เดือน15วัน โรงงานต้อง จ่ายเงินเดือนผมตามปกติไหม ในระหว่างที่ผมหยุดงาน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเงินที่ประกันสังคมให้อีก60,% คือ โรงงานเค้าบอกผมว่า เค้ามห้เงินเดือนผม ตามปกติอยู่ แต่พอประกันสังคม จะให้มนส่วนชดเชย60,% เค้าบอกต้องเอาเงินส่วนนี้ มาคืนโรงงานเพราะตาทกฎหมายโรงงานจะไม่จ่ายเงินเดือนก็ได้ ให้รอรับของประกันสังคมเอา ? ผมงง ครับ

โดยคุณ ม่อน 19 ก.ย. 2562, 07:24

ตอบความคิดเห็นที่ 213

มาตรา 57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับ อัตราค่าจ้างในวันทํางานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทํางาน  ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างตามปกติครับ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 ต.ค. 2562, 15:29

ความคิดเห็นที่ 212

สวัสดีค่ะ พ่อประสบอุบัติเหตุแขนขาด ไม่มีประกันสังคม เป็นแค่ลูกจ้างรายวันปกติ คือวันเกิดเหตุพ่อไปโม่หญ้ากับคนงานอีก2-3คน แล้วพ่อดีเครื่องโม่มันดูดแขนพ่อเข้าไปขาดเลยข้อสอกขึ้นมาเป็นแขนซ้าย นายจ้างรับผิดชอบช่วยแค่สอฃหมื่นจ่ายมาแล้วหมื่นนึง แล้วเขาบอกว่าอีกอาทิตย์เขาจะเอามาให้อีกหมื่นนึง แล้วมันเลยมาจะสิ้นเดือนแล้วค่ะ โทรไปเขาก็ไม่รับ ในกรณีนี้ มีสิทธิ์เรียกร้องอะไรเพิ่มไหมค่ะ
โดยคุณ จิราพร ปานแสงเพ็ชร 22 ส.ค. 2562, 18:35

ความคิดเห็นที่ 211

ถ้ากรณีของพ่อ. พ่อเกิดอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตแล้วตกลงจากเสาไฟฟ้าสูง7เมตรกระแทกพื้น. ตอนนี้ยังอยู่ในโรงพยาบาล เลยอยากทราบว่า ถ้าเกิดพ่ออาการดีขึ้นหรืออาจไม่สามารถเดินได้ปกติ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ปกติต้องอยู่ในช่วงกายภาพบำบัด พ่อมีสิทธิ์ในการทำงานอย่างไรบ้างค่ะ (พ่อทำงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคค่ะ )

   

ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ ลัดดา เดวิส 20 ส.ค. 2562, 21:27

ความคิดเห็นที่ 210

พอดีผมเป็นผู้รับเหมาแร้วรับงานต่อจากบริษัทแร้วผมเกิดอุบัติหตุตกจากหลังคาแร้วโดนสักกะสีบาดมือเอ็นขาดกับเส้นเลือดไม่สามารถทำงานได้3เดือนผมสามารถเรียกร้องอะไรกับบริษัทไ้บ้างคับ

โดยคุณ เบนซ์ 14 ส.ค. 2562, 10:50

ความคิดเห็นที่ 209

ผมขอถามหน่อยครับผมเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนครวันหนึ่งผมได้ขับรถบริษัทไปส่งของตามสาขาย่อยที่ได้รับมอบหมายพอดีขากลับจากส่งของผมขับรถมาตามถนนที่จะกลับบริษัทเวลาประมาณ16:30 น.ฝนตกหนักมากบวกกับรถไม่มีดอกยาง(เคยเสนอเปลี่ยนไปแล้วแต่ไม่อนุมัต)รถเลยเกิดการถไหลลื่นทำให้ผมคนขับรถบังคับรถไม่อยู่เกิดการพิกคคล้ำชนเสาไฟฟ้าเกิดความเสียหายเลยอยากถามว่ากรณีอย่างนี้ผมหรือนายจ้างต้องรับผิดชอบครับ

โดยคุณ Traiphop 8 มิ.ย. 2562, 20:51

ตอบความคิดเห็นที่ 209

ต้องรับผิดทั้งนายจ้างและลูกจ้างครับหากเขาฟ้องแค่นายจ้างและนายจ้างได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปนายจ้างก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างได้ครับตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 2 ก.ค. 2562, 11:37

ความคิดเห็นที่ 208

สวัสดีคะ

แฟนเราทำงานกับนายจ้างมา3ปี (มีแค่ ประกันมาตร40)

มีวันหนึ่งนายจ้างพาไปตัดอ้อยสวนของนายจ้าง

ตัดด้วยเครื่องตัด หญ้าแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น

คือใบเลื่อยเครื่องตัด หญ้าโดนขา เส้นเอ็นขาด2เส้น โดยที่คนอื่นทำถูกขา กลับมาพักที่บ้านหมอบอกให้พัก3เดือน

แต่กลับมาพักที่บ้านได้แค่1เดือน2อาทิตย์นายจ้างจ่ายค่าแรงให้ 1เดือน แต่ว่าคำนวนดูนายจ้างจ่ายค่าแรงให้แค่6วัน แล้วนายจ้างบอกเราว่าให้แฟนกลับไปทำงานซะให้เหตุ ผล ว่าไม่อยากให้ขาดงาน แต่ว่าแฟนเราไม่สามารถไปได้ จนวันนี้วันที่1 ก.พ 62 ไม่มีเงินเดือนหรืออะไรเลย

#คนที่ทำเจ็บมาดูแค่2ครั้งและไม่รับผิดชอบอะไรเลย

เราควรทำไงดีคะ?

โดยคุณ สุถาพร สอนชาติ 1 มี.ค. 2562, 11:41

ความคิดเห็นที่ 207

เจ็บป่วยจากการทำงานตอนนี้เป็นหอบภูแพ้ต้องกินยาตลอดทุกวันบางครั้งมีอาการเหนื่อยหายใจไม่สะดวกต้องไปพุ่นยาที่โรงบาลโรงงานผลิตวารเคมีกรด 98% กรด 50% กรด 72% กำมะถัน และสารส้ม ทำงานที่นี้มส 10 ปีเริ่มป่วยและรักษาที่โรงบาลมานาน 2 ปีอยากจะสิบถามว่าแบบนี้เอาใบเจ็บป่วยจากการทำงานได้ไหมต่ะเพราะเป็นแบบนี้รักษาไม่หายต้องกินยาทุกวันขาดยามีอาการ

โดยคุณ ภัทรวดี เจริญพรต 24 ก.พ. 2562, 18:25

ความคิดเห็นที่ 206

ในกรณีลูกจ้างไม่มีบัตรประกันสังคม ทำงานคิดเป็นเงินรายวัน แต่ได้ทำงานให้นายจ้าง และได้เกิดอุบัติเหตุนิ้วมือแตก ต้องผ่าตัด กรณีแบบนี้ นายจ้างต้องชดเชยเงินค่าจ้าง ให้ลูกจ้างมั้ยคะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ สุภาพร คุกจันแปง 21 ก.พ. 2562, 15:42

ความคิดเห็นที่ 205

แม่ของดิฉันเป็นหัวหน้าคนงานพาคนงานไปรับเหมาตัดอ้อยจากเฒ่าแกที่ทำกันมาเป็น30กว่าปีเกิดอุบัติเหตุรถคีบอ้อยชนและทับร่างแม่ของดิฉันเหตุเกิดวันที่26มกราคม2562ช่วงเช้าอาการสาหัสตับฉีกปอดรั่วเลือดออกในช่องท้องกระดูกไหปลาร้าหักกลามหักหน้าหักจมูกหักยุบตาสองข้างกระทบกระเทือนมองไม่เห็นทั้ง2ข้างสมองมีเลือดซึมหลายจุดกระโหลกศรีษะแตกเย็บ14เข็ม เฒ่าแกที่แม่รับเหมาให้พี่ชายบอกว่ารถตัวเองชนซึ่งเป็นรถกระบะมีประกันชั้น1 แต่ตอนนำแม่ส่งโรงพยาบาลพี่ชายไม่รู้บอกหมอไปตามจริงว่าแม่โดนรถคีบอ้อยชน แต่เฒ่าแกมารู้ทีหลังว่าแม่โดนชนไปแจ้งความกับตำรวจว่ารถกระบะที่มีประกันชน พอกระกันมาสอบหลักฐานที่โรงพยาบาลกับคำแจ้งความไม่ตรงกันประกันจึงปัดความรับผิดชอบเฒ่าแกก็ไม่ยอมสำรองเงินในการรักษาให้แม่ดิฉัน และบอกกับดิฉันว่าเครียกับประกันเรียบร้อยแล้วประกันรับผิดชอบทุกอย่างแล้วด้วยความที่ว่าแม่ทำงานกับเฒ่าแกมานานดิฉันก็เชื่อตามที่เฒ่าแกพูด พอการรักษาของแม่ดิฉันสะดุดนัดจะผ่าตัดหน้าให้วันที่7กุมภาพันธ์2562แล้วเลื่อนไปอีก7วันดิฉันเอ๊ะใจว่าทำไมเลื่อนจึงไปถามสิทธิ์ที่ใช้รักษากับพยาบาล ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าตอนนี้ใช้สิทธิ30บาทอยู่และใช้มาตั้งแต่เงินพรบ.ที่โรงพยาบาลสามารถเบิ่งได้แค่30,000หลังจากนั้นทางประกันและเฒ่าแกก็ไม่ได้มาติดต่อสำรองจ่ายในการรักษาต่อทางโรงพยาบาลจึงใช้สิทธิ30บาทต่อมาตั้งแต่นั้นจนปัจจุบัน หมอตามาตรวจตาแม่บอกปล่อยไว้นานเกินไปโอกาสที่จะกลับมามองเห็นน้อยมาก ให้ไปทำบัตรผู้พิการทางตาไว้ก่อนเลยทั้ง2ข้าง ดิฉันโทรหาเฒ่าแกว่าทำไมประกันไม่เซ็นอนุมัติเงินในการรักษามาให้แม่ตั้งแต่แรกไหนเฒ่าแกบอกเดินเอกสารกับประกันเรียบร้อยหมดแล้ว เฒ่าแกบอกมาว่าเฒ่าแกก็พึ่งรู้ว่าประกันไม่อนุมัติ ดิฉันจึงถามกลับว่าแล้วทำไมเฒ่าแกไม่สำรองจ่ายตั้งแต่แรกแล้วค่อยไปเครียกับประกันทีหลัง เฒ่าแกบอกเราจะเรียกร้องกับเขามากก็ไม่ได้เพราะประกันเขาสงสัยเฒ่าแกยุและถ้าเขามาสอบเฒ่าแกจะโดนข้อหาแจ้งความเท็จ เดี๋ยวให้เฒ่าแกคุยกับประกันใหม่ก่อน ดิฉันจึงบอกว่าแล้วที่ผ่านมายังคุยกันไม่เสร็จอีกเหรอคะผ่านมาตั้ง2อาทิตย์แล้วตาแม่หนูจะมองไม่เห็นแล้วคนป่วยจะรอพวกคุณได้มั้ย แล้วทุกวันนี้แม่ก็ยังใช้สิทธิ30บาทอยู่คะ สรุปคือเฒ่าแกไม่รับผิดชอบอะไรเลยตั้งแต่เข้าโรงพยาบาลมาให้เงินมา2,500บาทและพูดแค่ว่าจะยกหนี้ที่แม่เป็นให้ กรณีแบบนี้เราควรทำอย่างไรดีคะ สามารฟ้องร้องรักษาสิทธิ์อะไรได้บ้างค่ะ รบกวนผุ้รู้ช่วยทีค่ะ 

โดยคุณ ปรารถนา 8 ก.พ. 2562, 19:31

ตอบความคิดเห็นที่ 205

กรณีตามเหตุการณ์ ต้องพิจารณาดูว่า รถคีบอ้อยที่ชนนั้นใครเป็นคนขับ เกิดขึ้นเพราะอุบัติเหตุหรือตั้งใจและเกิดจากทางการที่จ้างหรือไม่ ถ้าจะให้นายจ้างรับผิดชอบ ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน มาตรา13 เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับความรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง การประสบอันตรายต้องเกิดขึ้นจาด ดารทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือ คำสั่งของนายจ้าง 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 21 ก.พ. 2562, 10:51

ความคิดเห็นที่ 204

กรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นจากการทำงาน รักษามา1ปีกว่า ช่วงรักษาได้กลับไปทำงานปกติ แต่กลับไปตรวจครั้งที่ผ่านมาสมรรถภาพการมองเห็นมันแย่ลงต้องพักรักษา 30วันตามสิทธิ์ ตอนนี้ยังกลับไปทำงานไม่ได้และยังไม่สิ้นสุดการรักษา แพทย์ไม่เขียนใบรับรองแพทย์ให้หยุดงานเพิ่ม และบริษัทจะให้ไปเขียนใบลาออก เราจะต้องทำอย่างไร และสามารถใข้สิทธิ์ประกันสังคมมาตราไหนได้บ้าง 

โดยคุณ สุดา 18 ต.ค. 2561, 00:06

ความคิดเห็นที่ 203

สอบถามค่ะ


พี่ชายทำงานกับอู่ซ่อมรถแห่งหนึ่งนานเกือบ 20 ปี ไม่มีประกันสังคม และต่อมาพี่ชายป่วยหนักจนทำงานให้กับอู่ไม่ได้ เจ้าของอู่จึงพากลับไปส่งบ้าน เพราะเห็นว่าทำงานให้ไม่ได้แล้วและจ่ายเงินเดือนให้แค่เดือนสุดท้าย 15k. และไม่มีการเยียวยาอะไรทั้งสิ้น

ในกรณีนี้เราสามารถเรียกร้องสิทธิค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้างได้หรือไม่

โดยคุณ AmpaiwanL 6 ก.ย. 2561, 08:06

ตอบความคิดเห็นที่ 203

การเจ็บป่วยที่นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น จะต้องเป็นการเจ็บป่วยซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 13 และ มาตรา 15 ค่ะ เราสามารถฟ้องต่อศาลแรงงานหรือร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานได้เลยค่ะ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 7 ต.ค. 2561, 15:44

ความคิดเห็นที่ 202


     สวัสดีค่ะ

               รบกวนสอบถามค่ะ แฟนหนูเกิดอุบัติเหตุในที่่ทำงาน จนกลายเป็นคนทุพพลภาพและอาจจะกลับไปทำงานไม่ได้อีก ตอนนี้รับเงิน
ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ศุลีวรรณ 28 ส.ค. 2561, 16:43

ความคิดเห็นที่ 201

สอบถามนิดนึงครับ น้องชายทุพลภาพสิ้นสุดการรักษาแล้ว กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงมีอาการทางสมองพูดจาไม่รู้เรื่องพิการทางร่างกาย อันเนื่องมาจากการทำงาน ต้องกลับบ้านมาอยู่ในความดูแลของญาติ ซึ่งทางบริษัทก็ได้ติดต่อการรักษาพยาบาลให้ ติดต่อประสานงานกับทางประกันสังคมให้  อยู่ในช่วงรอการประเมินการสูญเสียจากแพทย์ประกันสังคม.ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และอุปกรณ์ของเครื่องใช้ที่ต้องใช้และเปลี่ยน  เป็นค่าใช้จ่ายจำนวนต่อเดือนสูงหลายบาท   อยากสอบถามอาจารย์ว่า นอกจากเงินที่ประกันสังคมและทางกองทุนทดแทนที่ทางประกันสังคมและกองทุนทดแทนจะต้องจ่ายให้แล้ว ซึ่งอาจไม่เพียงพอกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ทางญาติจะเรียกร้องให้ทางบริษัทจ่ายค่าคนดูแล ค่าใช้จ่ายสำหรับของเครื่องใช้ อุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วยติดเตียง ได้หรือไม่  เคยมีฎีกาลักษณะนี้บ้างไหมครับอยากได้อ่านครับ.

โดยคุณ Sombat Choatchuang 28 ส.ค. 2561, 10:47

ความคิดเห็นที่ 200

อยากทราบค่ะว่า ทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งแล้วเครื่องจักรแบบปุ่มกดสองมือหนีบนิ้วกระดูกแตกต้องผ่าตัดซึ่งเครื่องจักรหนีบเองโดยที่ไม่ได้กด นอกจากกองทุนเงินทดแทน ประกันสังคมแล้วทางโรงงานจะต้องตอบแทนให้กับพนักงานแบบไหนบ้างค่ะ

โดยคุณ กรรณิกา 24 พ.ค. 2561, 21:40

ความคิดเห็นที่ 199

เหตุเกินที่ทำงานเราพ่นยาค่าแมลงแล้วในวิธีป้องกันปิดกั้กห้องไว้3วันโดยที่เราไม่รู้เรื่องมาก่อน นายจ้างใช้ให้เราเข้าไปถอดม่านมาชัก แต่ไม่บอกว่าห้องพ่นยาหรืออะไรไว้แล้วเกิดการคันตามตัวเป็นแสบร้อนมา3วันแล้วครับ รบกวนช่วยแน่นำหน่อยครับ

บางโรงบาลประกันสังคมก็เบิกไม่ได้ แบบนี้นายจ้างต้องเสียค่ารักษา ให้มั้ยครับ แล้วเราสามารถเรียกร้องไรได้บ้าง

โดยคุณ จิตรกร เมืองบุญ 9 พ.ค. 2561, 13:40

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก