ผู้จัดการ,กรรมการนิติบุคคลอาคารชุดทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด|ผู้จัดการ,กรรมการนิติบุคคลอาคารชุดทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด

ผู้จัดการ,กรรมการนิติบุคคลอาคารชุดทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้จัดการ,กรรมการนิติบุคคลอาคารชุดทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด

กรณีผู้จัดการและคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด

บทความวันที่ 1 ต.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 53722 ครั้ง


ผู้จัดการ,กรรมการนิติบุคคลอาคารชุดทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด

          กรณีผู้จัดการและคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ทำผิดกฎหมาย พรบ.อาคารชุด พ.ศ.2551 และข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด  เจ้าของร่วมในฐานะผู้ได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง แต่เห็นว่าผู้จัดการหรือคณะกรรมการไม่ได้บริหารหรือดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลอาคารชุดแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตน  สามารถดำเนินการ ฟ้องร้องต่อศาล อย่างคดีผู้บริโภคได้หรือไม่ (เห็นมีแต่ตัวอย่างคำฟ้อง นิติบุคคลฟ้องเจ้าของร่วมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง)
                         
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          สามารถฟ้องได้  ในฐานะที่ท่านเป็นคนหนึ่งในเจ้าของนิติบุคคล  ถ้าคณะกรรมการนิติบุคคลทุจริต  ท่านสามารถฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้  เพราะการแต่งตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง  วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่แทนเรา  ไม่ใช่เข้ามาโกง  ถ้าโกงสามารถดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้  แต่ถ้าปัญหาที่ถามมาไม่มีหลักฐาน  เป็นเพียงการกล่าวอ้างเลื่อนลอย  ท่านอาจถูกฟ้องกลับได้  ท่านสามารถถอดถอนคณะกรรมการนิติบุคคลได้ตาม พรบ.อาคารชุด  พ.ศ. 2522  มาตรา 37/2

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
มาตรา 37/2 
บุคคลซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(2) เคยถูกที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการเพราะเหตุทุจริต หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(3) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ฐานทุจริตต่อหน้าที่
(4) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 186

ผู้เช่าบุกเข้าสำนักงานนิติ ด่าทอให้เกิดความอับอาย ค่อหน้าลูกบ้านท่านอื่นพร้อมถ่ายคลิปวีดีโอรวมถึงไลท์สดทำให้เจ้าหน้าที่อับอายและเกิดชื่อเสียงที่ไม่ดีต่อนิติบุคคล สามารถเำเนินคดีอย่างไรได้บ้างครับ

โดยคุณ นิติศาสตร์ 6 เม.ย. 2566, 20:58

ความคิดเห็นที่ 185

ประกาศแต่งตั้งกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดเรียบร้อยแล้ว ภายหลังพบว่า ใีกรรมการท่านหนึ่งค้าชำระค่าส่วนกลางเป็นเวลาหลายปี อยากทราบว่าเราสามารถลงมติถอดถอนกรรมการท่านนี้ได้หรือไม่

โดยคุณ Thitinan 7 ก.ย. 2565, 12:06

ความคิดเห็นที่ 184

เรียนสอบถามครับ กรณีมีการประชุมกรรมการของนิติบุคคลอาคารชุดฯแต่กรรมการที่มาเข้าร่วมไม่ครบองประชุมตาม พรบ.อาคารชุด 2522  แต่ก็ได้เปิดประชุมพิจารณาวาระตามปกติ ซึ่งบางวาระต้องพิจารณาอนุมัติต่อสัญาจ้างบริษัทคู่สัญญา จัดซื้อวัสดุเพื่อซ่อมแซมส่วนกลาง เป็นต้น การอนุมัติลักษณะนี้ถูกต้องไม๊ย เพราะต้องนำเงินของนิติบุคคลฯมาใช้จ่าย และที่ประชุมก็อนุมัติไปแล้ว กรณีนี้ลูกบ้านฟ้องยกเลิกมติได้หรือไม่ เพราะถือว่าการประชุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีผลเสียต่อกรรมการ และมติที่รับรองอย่างไรหรือไม่


กราบขอบคุณมากครับ

โดยคุณ ปพนพัชร์ เอกวลัยพันธ์ 26 ก.ค. 2562, 11:18

ความคิดเห็นที่ 183

คอนโดขายไม่หมด โอนห้องประมาณครึ่งหนึ่งให้นายทุน นายทุนมีธุรกิจโรงแรม และได้แต่งตั้งคนของคัวเองเข้มาเป็นกรรมการนิติฯทั้งหมดและได้แต่งตั้งผจก.โรงแรมของคัวเองเข้ามาเป็น ผจก.นิคิ ซึ่งได้มาปรับปรุงห้องคอนโดบางส่วนนำออกให้เช่าในลักษณะโรงแรม ปัจจุบันเริ่มหนักขึ้น โดยรับผู้เข้าพักเป็นกรุ๊ปและรับจัดเลี้ยงโดยใช้ห้องอาหารส่วนกลางของคอนโด เจ้าของห้องร่วมได้มีจดหมายตักเตือน ผตก.ให้ทบทวนบทบาทของตนในฐานะผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุดไปแล้ว แต่ไม่ได้รับความใส่ใจ ยังคงทำแบบเดิม โดยล่าสุดได้มีการรับกรุ๊ปเข้าพักพร้อมจัดปาร์ตี้เหมือนเดิม (หมายเหตุ  ในข้อบังคับของนิคิฯนี้มีการระบุ ห้ามนำห้องไปให้เช่าด้วย)

  อยากสอบถามว่า ผจก.นิติฯสามารถกระทำการแบบนี้ได้หรือไม่  และเจ้าของร่วมอื่นๆสามารถดำเนินอย่างไร เพื่อให้เค้าหยุดการกระทำนั้น

  ขอความกรุณาด้วยค่ะ เพราะเค้าทำหนักขึ้นทุกวัน

โดยคุณ กนกวลี 3 มิ.ย. 2561, 08:02

ความคิดเห็นที่ 182

1.คอนโดที่อยู่มีสำนักงานปนกับที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนไว้แต่แรก

ปัญหาคือสำหนักงานมีคนทำงาน 3-300 คน แต่เสียส่วนกลางเท่ากัน

2. สำนักงานใช้ทางเข้าออกของลูกบ้านเป็นทางเข้าออก ทำให้คนแยะ ยุ่งมากเวลาเช้า เที่ยง และเย็น ลิฟท์ก็จะใช้งานมาก เสียหาย เพิ่งซ่อมไปสองล้านกว่าบาท

พรบ.ใหม่ 2551 บอกว่าทางเข้าออกต้องเฉพาะไม่ใช้ของลูกบ้าน

พนักงานเดินเข้าออกได้เพราะมีบัตรเข้าออกทกคน มี messenger แปลกหน้าเข้าออก ที่สามารถผ่านห้องพักอาศัยได้ เมื่อหลายเดือนก่อน ตอนตีสอง มีคนมาไขห้องเปิดห้องหนึ่ง บังเอิญเจ้าของอยู่

3. เจ้าของสำนักงานจดทะเบียนสิทธิ์ในการโหวตตามยอดซื้อ ไม่ได้ตามพื้นที่จริง เพราะเจ้าของโครงการหลีกเลี่ยงกฎกรมที่ดิน เพื่อที่จะโอน โดยผูกที่ดินเปล่าแปลงหนึ่งเข้ากับห้องของสำนักงาน

พรบ.2551 บอกว่า ต้องมาใช้สิทธิ์ตามจำนวนตารางเมตร แต่เจ้าของสำนักงานบอกว่าเป็นของเก่า ไม่เกี่ยวกับพรบ.ใหม่

4. เจ้าของสำนักงานมีเสียงโหวตเยอะมาก แถมเข้ามาเป็นปรรมการ ทำให้เบียดเบียนลูกบ้านมาก

ลูกบ้านรวมตัวกันเพิ่งได้ อยากจ้างทนาย ฟ้องแก้ไขระเบียบให้เป็นไปตามพรบ.2551

โดยคุณ ณญาดา 29 ม.ค. 2561, 03:34

ตอบความคิดเห็นที่ 182

เข้ามาติดต่อได้ที่สำนักงานเลยครับ02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 22 ก.พ. 2561, 16:07

ความคิดเห็นที่ 181

อยากสอบถามว่า ถ้าเราจ้างนิติบุคคลให้ ช่วยดูแลเรื่องค่าเช่าคอนโด และดูแลห้องให้เมื่อมีคนมาเช่า  แต่เราไม่เคยได้ค่าประกันค่าเสียหายห้องมาเก็บไว้เองเลย และไม่เคยได้ค่าประกันความเสียหายห้องเลยคะ เวลามีอะไรเสียหายก็ต้องให้ช่างไปซ่อมเอง  คือปกติคุณแม่เป็นผู้ดูแลอยู่คะ เราพึ่งจะเข้ามาดู ถึงได้รู้ว่าน่าจะโดนโกงค่าประกัน  ผ่านมาสิบกว่าปีแล้วคะ พอถามนิติ ก็บอกไม่รู้ อ้างว่าพี่พึ่งเข้ามาทำงาน.  แต่เท่าที่ทราบ เค้าเป็นผจกนิติมา 5 ปี แล้วคะ. เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ 

โดยคุณ ขวัญ 8 ม.ค. 2561, 19:42

ความคิดเห็นที่ 180

สวัสดีครับ ผมขอคำปรึกษา เรื่องการที่ผมติดตั้ง คอลย์ร้อนแอร์ ไม่ตรงตามที่นิติบุคคลกำหนด สาเหตุที่ผมไม่ติดตามที่เค้ากำหนดมีดัง นี้

1.เนื่องจากระเบียงห้องทางโครงการได้ทำประตูบานเลื่อนให้เปิดได้เพียงทางเดียว ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทางนิติบุคกำหนดให้ติดตั้งคอยล์ร้อนแอร์ ถ้าผมติดตั้งตามที่เค้ากำหนดมันจะทำให้ผมไม่ได้รับความสะดวก ต้องคอยระแวง ระวัง ก้มเข้าก้มออก เนื่องจากหัวชนขาตั้งคอยล์ร้อน ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ระเบียงห้องของตนเองเลย (ส่วนตัวคิดว่าอยู่ไปต้องเกิดขึ้นแน่ หัวชนขาตั้ง)


2.ผมได้ทำการติดตั้งคอยล์ร้อนแอร์อีกฝั่งของผนังห้อง ซึ่งเหมาะสมมากกว่าจุดที่เค้าได้กำหนดไว้ ผมไม่ต้องคอยระแวงระวังเวลาใช้ประโยชน์จากระเบียง ใช้งานได้ปกติ และสวยงาม ใช้ประโชน์ได้เต็มที่กว่ามาก แต่

- ทางนิติแจ้งว่า ผนังห้องฝั่งนั้นไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับการติดตั้งคอยล์ร้อนแอร์ และมีท่อระบายน้ำฝนทางนั้น ด้วยความมักง่ายของโครงการเอามาแผงไว้ตรงระบียงของลูกบ้าน (มันเป็นไปได้เหรอครับคอนโดขนาด 8 ชั้น แจ้งว่าผนังห้องสร้างมาไม่ได้รองรับแบบนั้น ผนังหน้องที่ผมติดติดกับทางเดินบันไดหนีไฟ ) ถ้าเป็นแบบที่เค้าแจ้งมาจริงถือว่าแบบนี้โครงสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐานหรือเปล่าครับ สามารถร้องเรียนได้ที่ไหนบ้าง ในส่วนของท่อน้ำ ชั่งที่ติดตั้งได้เว้นระยะห่างไว้พอสมควรแล้ว ทิศทางลมร้อนที่พัดก็ไม่ได้โดนท่อเลย


รบกวนผู้ช่วยตอบคำถามที่นะครับ ว่าผมจำเป็นต้องทำตามที่เค้าขอให้แก้ไขไม เพราะอะไร  คอนโดนี้เพิ่งสร้างเสร็จ ลูกบ้านเพิ่งเริ่มทยอยมาตกแต่งห้อง พนักงานของนิติจากการสอบถามโดนด่าเรื่องนี้ทุกวัน

โดยคุณ กฤต มณีโชติแสง 21 ต.ค. 2560, 17:09

ความคิดเห็นที่ 179

ขออนุญาตสอบถาม มีประเด็นดังนี้

     1. การประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วม ในกรณีผู้เข้าร่วมประชุม  เจ้าของโครงการ ต่อไปนี้แทนด้วย A ยังขายห้องไม่โอนกรรมสิทธื์ ประมาณ 400 ห้อง มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งลงคะแนนเสียง (ถ้าไม่มีค้างชำระค่าส่วนกลาง) ด้วยคะแนนเสียง 400 ห้อง ใช่หรือไม่ จากจำนวน 1000 กว่ายูนิต

     2. เมื่อ A มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง  และลงรายมื่อชื่อผู้เข้าร่วม ประชุม  ใครคือผู้ที่จะต้องมาเข้าร่วมประชุม ในฐานะ  A  ถ้า A เป็นนิติบุคคล ต้องมอบฉันทะ ให้บุคคลอื่นเข้าร่วม แต่ต้องไม่ขัด ต่อ พรบ.อาคารชุดกไหนดใช่หรือไม่  หาก A มาด้วยตัวกรรมการบริษํท เอง ต้องร่วมประชุมจนจบวาระหรือไม่ หรือสามารถ โหวต เลือกตามแต่ละวาระก่อนได้

     3. หาก A ไม่ได้มาเข้าร่วมประชุม แต่มีการลงนามมาไว้ก่อน การประชุม  การประชุมครั้งนี้เป็น โมฆะ หรือไม่ 

     4. การประชุม แต่ละวาระไม่มีการนับผลคะแนน ในทันทีที่จบวาระ ถือว่า การประชุมนี้ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ 

     5. ผจก.นิติบุคคล อาคารชุด มีอำนาจลงนามในเชคสั่งจ่าย ของนิติบุคคล  หรือไม่ หากข้อบังคับ ไม่ได้กำหนด มติที่ประชุมกรรมการจะสามารถสั่งให้ ผจก.นิติ ลงนามได้หรือไม่

     6. งบดุลบัญชีการเงิน  มีการตรวจสอบงบโดยผู้ตรวจสอบจริง แต่ ไม่มีการรับรองจาก ประธานคณะกรรมการ หรือ กรรมการ หรือผู้จัดการนิติ แต่ นำเข้าที่ประชุมให้รับรอง ถือว่าทำได้หรือไม่ ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ 
    
     7. ในกรณีที่  A ดำเนินการแก้ไข ดัดแปลงอาคาร ณ ปัจจุบัน โดยยึดว่า ยังเป็นเจ้าของอาคาร  สามารถกระทำการดังกล่าวได้หรือไม่ 

รบกวนตอบข้อซักถามเพื่อเป็น วิทยาทานด้วยครับ

ขอบคุณครับ
โดยคุณ ธีร 9 ต.ค. 2560, 14:51

ตอบความคิดเห็นที่ 179

กรณีดังกล่าว เป็นไปตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ครับ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ต.ค. 2560, 16:04

ความคิดเห็นที่ 178

1.คณะกรรมการหมดวาระแล้ว เปิดประชุมหลังหมดวาระ สมมุติหมดกันยายน 60 แล้วเปิดประมาณพ.ย.60 จะผิดไหม 

2.ถ้าเราเปิดประชุมชี้แจ้งเรื่องรายรับรายจ่ายของปี 59 พร้อมกับประชุมเลือกกรรมการมาทำหน้าทีใหม่แทนกรรมการที่หมดวาระแล้วจะผิดกฎหมายหรือไม่ค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ กุลิสรา 3 ต.ค. 2560, 18:53

ความคิดเห็นที่ 177

ขออนุญาติปรึกษาครับ


คือผมเป็นเจ้าของห้องชุดครับ ตอนนี้ไม่ได้อยุ่เองจึงปล่อยเช่าเป็นรายเดือนครับ. วันดีคืนดีทางนิติบุคคลบอกว่าได้เปลี่ยนกฎเป็นต้องปล่อยขั้นต่ำ 3 เดือน ครับ. ผมสงสัยมากว่าเปลี่ยนกฎตอนไหนเพราะไม่เคยมีมติประชุมเรื่องนี้ครับมีแต่เรื่องไม่ให้ปล่อยเช่ารายวัน ต้องเป็นรายเดือนเท่านั้น. ทางนิติบุคคลจึงให้ผมดูว่าได้มีการเปลี่ยนกฎแล้วและได้รับการอนุมัติจากทางกรมที่ดิน. ถ้าทำผิดกฎจะไม่ให้ใช้ส่วนกลาง. ผมยิ่งสงาัยมากขึ้นจึงไปขอคัดเอกสารที่กรมที่ดินครับ ผลปรากฎว่า เค้าใช้มติประชุมวาระเรื่องไม่ให้ปล่อยเช่ารายวันแต่ต้องเป็นรายเดือนเท่านั้น ไปเป็นเอกสารประกอบ


แต่ว่า...ทางนิติบุคคลได้มีการเพิ่มคำว่า "3 เดือน" ลงท้ายไว้ในเอกสารที่จะให้ทางกรมที่ดินอนุมัติออกมาซึ่งไม่ตรงกับเอกสารที่ยื่นประกอบไป (สรุปผมการประชุม วาระเรื่องไม่ให้ปล่อยเช่ารายวัน). ซึ่งทางกรมที่ดินก็เพิ่งจะเห็นก็ตอนที่ผมไปนี่แหละครับ 


ผมเลยลองไปถามที่นิติ. เค้าบอกว่า มติบอกว่าเป็นรายเดือน แต่กลัวจะไม่รุ้ว่าเป็นรายเดือน. นี่คือกี่เดือน เลยกำหนดมาเฉยเลย 3 เดือน ครับ


ซึ่งตรงนี้บางทีผมมีลุกค้าที่ มาขอลองอยุ่ก่อน 1-2 เดือน ถ้าชอบใจก็จะขออยุ่ต่อ ผมก็เลยเสียงลูกค้าเหล่านี้ไปครับ


อยากรู้ว่าคณะกรรมการสามารถเพิ่มกฎได้ยังงี้เลยหรอครับ และกรมที่ดินอนุมัติมาได้ยังไงครับเมื่อเอกสารมันไม่ตรงกัน. แบบนี้ถือว่า ไม่มีผลบังคับใช้มั้ยครับ?  


ปล.กลุ่มคณะกรรมการเป็นพวก. anti คนปล่อยเช่าครับ ชอบออกกฎมาทำให้คนส่วนน้อยลำบากมากขึ้น 

โดยคุณ วงศธร 11 ก.ย. 2560, 14:01

ความคิดเห็นที่ 176

จะเรียนขอคำปรึกษาเกี่ยวกับ เกี่ยวกับทำงานหย่อนยานไม่ปฎิบัติตาม พรบ อาคารชุด อันว่าด้วยการห้ามเลี้ยงสัตว์ในอาคารชุด กรรมการและผู้จัดการ ยินยอมให้ทำการเลี้ยงสัตว์ในอาคารโดยแม้ว่าจะทำการท้วงติงไปแล้วเป็นเวลาลาหลายปีก็ยังคงอนุญาติให้เลี้ยงอยู่ ไม่ทราบว่าในฐานะที่เป็นจำของร่วมสามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานใดได้บ้าง หรือหากต้องการฟ้งร้องเป็นไปได้หรือไม่ และมีโอกาศที่จะชนะหรือไม่ครับ


ขอบคุณครับ

เปรมศักดิ์

โดยคุณ เปรมศักดิ์ 17 ส.ค. 2560, 13:35

ตอบความคิดเห็นที่ 176

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านร้องเรียนผู้จัดการนิติบุคคลที่ท่านอยู่อาศัย แต่หากยังเพิกเฉยสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานเขตเพื่อให้มาช่วยกำกับดูแลความทุกข์สุขของประชาชนภายในเขตได้ หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 3 ก.ย. 2560, 15:20

ความคิดเห็นที่ 175

ขอสอบถามหน่อยค่ะ


ได้มีการประชุมใหญ่เพื่อที่จะตั้งกรรมการชุดใหม่ แต่ปรากฎว่าได้จ้าง บริษัทหนึ่ง  มาทำงานในการประชุมใหญ่เพื่อที่จะแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่  แต่ในที่ประชุม ลูกบ้านได้เลยกรรมการ แต่ในกระดานได้เขียนชือผิด (เป็นชื่อเจ้าของบ้านคือน้องสาว  ซึ่งน้องสาวได้มอบหมายในการประชุมให้พีสาวมาประชุมให้  ไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากน้องสาว  เป็น พีสาว ในนอกการประชุมได้ไหมค่ะ  และได้ม๊คณะกรรมการชุดเก่ามาให้ลูกบ้านเซ็นนอกการประชุม  จะมีผลอะไรไหมค่ะ


โดยคุณ เติมดวง 18 ก.ค. 2560, 22:25

ความคิดเห็นที่ 174

พอดีซื้อคอนโด มารู้ทีหลังว่านิติบุคคลหมดอายุไปหลายปีแล้ว แต่ตอนโอนเขาออกใบปลอดหนี้ให้

เขาไม่คิดจะจัดตั้งนิติบุคค ไม่แสดงรายการรับจ่าย ไม่เรียกประชุม ตอนนี้ไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ

จะทำอย่างไรดีคะ รวมตัวกันยากด้วย

โดยคุณ ปานพิมพ์ 18 ก.ค. 2560, 08:56

ความคิดเห็นที่ 173

สอบถามหน่อยค่ะ 

1)   พอดีทางคอนโด...เพิ่งมีมติให้แต่ละห้องจอดรถได้1คัน...ซึ่งที่ห้องมีรถ2คัน จึงไปขอใช้สิทธิ์กับห้องนึงที่ไม่ได้อยู่และไม่มีรถ...

......#ได้มีเอกสารการให้ใช้สิทธิส่งให้ทางนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว...จอดมาได้ประมาณ 4เดือน....มีประชุมกับเจ้าของร่วมอีกว่าไม่ให้ใช้สิทธิแทนกันอีกทางนิติสามารถกำหนดแบบนี้ได้หรอคะ..(ทางคอนโดให้รถคอนโดติดกันเข้ามาจอดโดยไม่เก็บค่าจอดด้วยค่ะ ทำให้ที่จอดรถไม่เพียงพอ)

 แบบนี้เจ้าของร่วมสามารถเรียกร้องอะไรได้ไหมคะ?...สามารถไปแจ้ง สคบ ได้ไหมคะ?


2)  ทางคอนโดได้มีการเก็บเงินค่าซ่อมแซมท่อประปาเพิ่มเติม อีกห้องละ  10,000.- โดยมีแผนงานทำมาประมาณ ปีกว่าแล้ว   เก็บเงินครบไปก็นานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการซ่อมแซมใดๆ...

ทางนิติให้เหตุผลว่า...หาบริษัทมาทำไม่ได้  แบบนี้เจ้าของร่วมสามารถร้องเรียนที่ไหนได้คะ???


3)  กรรมการคอนโด ครบวาระแต่ไม่มีการเลือกตั้งชุดใหม่  ครบปีไม่มีการแจ้งงบดุล แบบนี้ผิดกฎหมายรึเปล่าคะ....สามารถแจ้งหน่วยงานไหนเข้าตรวจสอบได้คะ

โดยคุณ แอน 25 มิ.ย. 2560, 21:09

ตอบความคิดเห็นที่ 173

กรณีตามปัญหา  หากท่านไม่ได้รับเป็นธรรมจากการบริหารงานของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าว สามารถร้องเรียนได้ทั้งสำนักงานที่ดิน ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด หรือสำนักงานเขต หรือหน่วยงาน สคบ. โทร 1166

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 21 ก.ค. 2560, 10:50

ความคิดเห็นที่ 172

 ผู้จัดการอาคาร  กับ  ผู้จัดการนิติ ทีมีกรรมการ   มีหน้าทีต่างกันอย่างไร ขอตอบแค่ ผุ้จัดการนิติกรรมการพอครับ

โดยคุณ อยากถามหน่อยครับ 24 มิ.ย. 2560, 18:54

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก