บริษัทหักเงินเดือนให้เหลือใช้แค่ 1000 บาท/เดือน|บริษัทหักเงินเดือนให้เหลือใช้แค่ 1000 บาท/เดือน

บริษัทหักเงินเดือนให้เหลือใช้แค่ 1000 บาท/เดือน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

บริษัทหักเงินเดือนให้เหลือใช้แค่ 1000 บาท/เดือน

ดิฉันเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง 4 เดือนที่ผ่านมา

บทความวันที่ 30 ก.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3991 ครั้ง


บริษัทหักเงินเดือนให้เหลือใช้แค่ 1000 บาท/เดือน

         ดิฉันเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง 4 เดือนที่ผ่านมา ได้เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น สิ่งของภายในสต๊อกได้หายไป  เนื่องจากเหตุผลอะไรไม่ทราบ แต่ทางบริษัท ตัดสินว่า พนักงานที่ดูแลรับผิดชอบ ต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว  ซึ่งเป็นจำนวนเงินมูลค่าการขาย ถึง 47,000 บาท ทางบริษัทพิจารณาให้หักเงินเดือน เนื่องจากบกพร่องหน้าที่ทำของหายเดือนละ 5 พัน เหลือเงินในบัญชีให้ใช้ไม่ถึง 1 พันบาท  ทั้ง ๆ ที่ทางฝ่ายบุคคล ก็ทราบดีว่า  เงินเดือนดิฉัน 15000 บาท มีภาระต้องจ่ายกับทางธนาคาร  อยู่ประมาณเท่าไหร่ต่อเดือน  เหลือแค่ประมาณ 6 พันบาทต่อเดือนทุกเดือน กรณีนี้นายจ้างมีสิทธิหักไหมค่ะ  และสี่เดือนที่ผ่านมา โดนหักเงินไม่เหลือให้ กินให้ใช้  แถมไม่มีเงินใช้จ่ายส่วนตัวจนเกิดหนี้กับบัตรเครดิตตามมา อย่างนี้จะทำอย่างไรดีค่ะ

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541  มาตรา 76,77  นายจ้างสามารถหักค่าแรง  ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด  เพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง  ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง  แต่ห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตามกำหนดเวลาการจ่าย  เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
        ในกรณีของคุณถ้าคุณยินยอมนายจ้างก็สามารถหักได้ค่ะ

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 76 
ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

มาตรา 77  ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

อยากทราบเรื่องกฏหมายคุ้มครองการหักเงินมาสายของพนักงานค่ะ

ว่าเราจะตั้งหลักเกณฑ์การหักเงินมาสายพนักงานอย่างไรให้ไม่ผิดตามกฏหมายแรงงาน

เช่น มาสาย 1 ชัวโมงหักได้กี่บาท ตามที่เห็นสมควรอย่างไร

ช่วยตอบด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ พรทิวา 9 พ.ย. 2553, 16:09

ความคิดเห็นที่ 1

.................

โดยคุณ ทาริกา เหลืองอ่นอน (สมาชิก) 17 ก.ย. 2553, 16:42

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก