การเช่าซื้อรถยนต์|การเช่าซื้อรถยนต์

การเช่าซื้อรถยนต์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเช่าซื้อรถยนต์

อยากสอบถามเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเช่าซื้อ

บทความวันที่ 26 ส.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4220 ครั้ง


การเช่าซื้อรถยนต์

 

           อยากสอบถามเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเช่าซื้อรถค่ะ คือว่าทางคุณพ่อดิฉันได้รับเอกสาร แจ้งโอนสิทธิเรียกร้อง และเรียกค่าเสียหายจาก บ.บางกอก อินเวสทิเกชั่น แอนด์ รีกัล จำกัด ออกโดย ทนายความชื่อ นายธีระ จินตพงศ์ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2552 แต่เอกสารลงวันที่ 1 ส.ค. 2552 ซึ่งคุณพ่อของดิฉันเป็นค้ำประกัน การเช่าซื้อรถยนต์ไว้เมื่อเดือน มกราคม 2533 ซึ่งรถยนต์คันนี้ได้ทำการเช่าซื้อกับบ.เงินทุนเอกธนกิจ ในราคา 340,400 บาท โดยจะต้องมีการชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้น 48 งวด แต่ผู้เช่าซื้อสามารถชำระได้เพียง 4 งวดคือ 28,092 บาท ซึ่งยังคงค้างชำระอยู่อีก 312,308 บาท

และหลังจากนั้นทางผู้เช่าซื้อได้นำรถไปคืนแก่ บ. เอกธนกิจ ในสภาพเรียบร้อย  ใช้การได้ดี ซึ่งในวันที่ทางผู้เช่าซื้อได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปส่งมอบให้ทาง บ. เงินทุน เอกธนกิจ นั้น ได้สอบถามทางเจ้าหน้าที่ว่า ผู้เช่าซื้อต้องดำเนินการอย่างไรต่อบ้าง แต่เจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่ต้องทำอะไรแล้ว แต่เมื่อได้รับเอกสารจากทนายความ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2552 ซึ่งมีข้อความในเอกสาร แจ้งโอนสิทธิเรียกร้อง และเรียกค่าเสียหายระบุว่าผู้เช่าซื้อ และผู้ค้ำประกัน ยังไม่ได้ชำระค่าใช้จ่ายของตนตามกฎหมายในการส่งมอบรถยนต์กลับคืน จึงทำให้ทาง บ. เงินทุน เอกธนกิจ จำเป็นต้องนำรถคันดังกล่าวออกประมูลขายแก่บุคคลภายนอกทั่วไป

ซึ่ง บ. บางกอก อินเวสทิเกชั่น แอนด์ รีกัล จำกัด ได้เป็นผู้ ประมูลรถยนต์คันดังกล่าวได้ ซึ่งปรากฏว่าได้เงินมา 280,000 บาท ซึ่งเอกสารระบุว่าผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการขายรถยนต์ที่เช่าชื้อขาดทุนเป็นเงิน 82,308 บาท ซึ่งในเอกสารระบุว่าผู้เช่าซื้อ และผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบค่าเสียหายดังนี้
1. ค่าขาดราคาของรถยต์คันที่เช่าซื้อจำนวน 82,308 บาท
2. ค่าดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 / ปี ของเงินต้น 82,308 บาท นับตั้งแต่วันที่ขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อ (24 พฤศจิกายน 2534) จนถึงวันนี้ เป็นเวลา 17 ปี 8 เดือน 8 วัน รวมเป็นค่าดอกเบี้ยทั้งสิ้นจำนน 109,195.34 บาท
3.ค่าขาดประโยชน์นับตั้งแต่ผู้ซ์อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ (วันที่ 9 เมษายน 2533) จนถึงวันที่บ. เงินทุน เอกธนกิจ ทำการยึดรถยนต์คันดังกล่าวกลับคืนมาได้ (วันที่ 31 ตุลาคม 2533) เป็นระยะเวลา 6 เดือนเศษ ในอัตราวันละ 300 บาท เป็นเงินเดือนละ 9,000 บาท บ. ขอคิดเป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมทั้สิ้น 54,000 บาท

รวมทั้งสิ้นต้องชำระ 245,503 .34 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21ต่อปี ให้กับบ.บางกอก อินเวสทิเกชั่น แอนด์ รีกัส จำกัด หากยังเพิกเฉยทาง บ. จะไม่เตือนมาอีก และจะดำเนินคดีตามกฎหมาย  จึงอยากเรียนถามว่า
1. คดีนี้ถือว่าหมดอายุความหรือยังคะ เนื่องจากเรื่องผ่านมาแล้วตั้ง 17 ปี 8 เดือน
2.ทางดิฉันต้องดำเนินการอย่างไรต่อคะ
3. เป็นไปได้หรือไม่คะที่ทางทนายความของ บ. บางกอก อินเวสทิเกชั่น แอนด์รีกัล จำกัด จะข่มขู่ผู้เช่าซื้อ เนื่องจากคดีผ่านมาตั้ง 17 ปี 8 เดือนแล้วคะ( เค้าเป็นทนายปลอมหรือเปล่าคะ)

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
1.  หมดอายุความแล้ว  ค้ำประกันมีอายุความ 10 ปี
2.  ไม่ต้องทำอะไร  และไม่ต้องชำระหนี้
3.  เขาไม่ได้ข่มขู่หรอก  เนื่องจากเขาไปซื้อหนี้มาหวังว่าลูกหนี้ดังกล่างคงจะชำระหนี้ให้

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

คือดิฉันเช่าชื้อรถเก๋ง vios มาคันหนึ่ง ราคาอยู่ที่ 398,000 บาท พอจัไฟแนนซ์แล้วส่งเดือน

ละ 7,636 บาท เป็นเวลา 72 งวด ก็ตกเป็นเงิน 549,792 บาท ดิฉันส่งงวดมาเป็นเวลา 5

งวดเป็นเงิน 38,180 ถ้าดิฉันจะไม่ส่งต่อหรือพูดง่ายๆคือปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึด  เคยรู้มาว่า

ส่วนต่างที่เกินจากการขายไฟแนนซ์จะต้องคืนให้เรา แต่ถ้าเป็นส่วนต่างที่ขาดเราต้องชดใช้

คืนไฟแนนซ์ใช่ไหมค่ะ แล้วถ้าสมมุติว่าทางไฟแนนซ์จะขายต่อรถในราคา 390,000 บาท

แต่ไปตกลงกับผู้เช่าซื้อให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ สมมุติว่า 7,136 บาท เป็นเวลา

72 เดือน รวมแล้วประมาณ 513,792 บาท อยากจะถามว่าเราต้องชดใช้ส่วนต่างหรือได้รับ

ส่วนต่างเท่าไหร่ 

         แล้วถ้าดิฉันจะส่งต่ออีกหนึ่งงวดแล้วให้คนมาเช่าซื้อต่อจะเป็นอะไรไหมค่ะจะเสียเครดิตหรือเปล่า คือดิฉันจ่ายค่างวดรถไม่ตรงมา 2 งวดแล้วค่ะ (ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ)

โดยคุณ ทุกข์ เรื่องรถ 25 มิ.ย. 2556, 19:53

ความคิดเห็นที่ 1

ผมอ่านเรื่องราวแล้วเผอิญตรงกับเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมเลยครับ คือบริษัทเดียวกันนี้ฟ้องร้องผม พอดี มีหมายนัดยื่นคำให้การหรือสืบพยานโจทก์ วันที่ 9 สิงหาคม 2553
ขอเล่าเรื่องย่อนะครับ คือว่าคุณแม่ผมไปซื้อรถประมาณปี 2533 แล้วผ่อนไปไม่กี่เดือนนำรถไปคืน บริษัทขายรถแล้วเงินไม่พอ จึงเรียกให้ชำระส่วนที่ขาดอีกประมาณ 100,000 บาท

คุณแม่ผมเสียชีวิตเดือนมีนาคม 2552 วันนี้( 12 มิถุนายน 2553)ผมได้รับหมายเป็นจำเลยที่ 1 ขณะที่มีการซื้อรถผมอายุ 2 ขวบครับ
ผมคาดว่าคงมีหมายเรียกผู้ค้ำประกันด้วย เพราะจำเลยมีผมและพวกรวม 2 คน
 

ช่วยแนะนำหน่อยครับว่าผมควรทำอย่างไร (ผมเป็นลูกคนโตครับ)
 

โดยคุณ วดล เสนา 12 มิ.ย. 2553, 23:38

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก