ข้อควรระวังและเทคนิคการติดตามหนี้ในภาวะวิกฤติ |ข้อควรระวังและเทคนิคการติดตามหนี้ในภาวะวิกฤติ

ข้อควรระวังและเทคนิคการติดตามหนี้ในภาวะวิกฤติ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อควรระวังและเทคนิคการติดตามหนี้ในภาวะวิกฤติ

ลูกหนี้มักมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก เกินความสามารถในการชำระหนี้หลายเท่า

บทความวันที่ 13 ส.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1225 ครั้ง


ข้อควรระวังและเทคนิคการติดตามหนี้ในภาวะวิกฤติ

 

1.      ลูกหนี้มักมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก เกินความสามารถในการชำระหนี้หลายเท่า (เกิน 5 เท่าของรายได้) อ้างอิงเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

2.      การแยกลูกหนี้ตามกลุ่มปัญหา
-          เศรษฐกิจตกต่ำ
-          ตกงาน
-          ภัยธรรมชาติ
-          พิการ
-          ขาดวินัยในการใช้เงิน
-          การพนัน
-          ตั้งใจโกง
-          ลูกหนี้สุจริต
-          ตามอายุหนีh
-          ติดต่อได้/ติดต่อไม่ได้
-          กิจการย่ำแย่  ขาดทุน ไม่มีลูกค้าไม่มีคำสั่งซื้อ 
-          สูญเสียความสามารถในการชำระหนี้

3.      การติดตามหนี้ของเจ้าหนี้มีความเข้มข้นและรุนแรง ทั้งในระบบและนอกระบบ
-          การทวงหนี้ในระบบ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ เช่น
-           คดีทางแพ่ง มีการฟ้องร้องทางแพ่ง และในระหว่างฟ้องร้องมีการขอคุ้มครองชั่วคราว  ขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ ในระหว่างพิจารณาคดี หรือการขออายัดสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อบุคคลภายนอก เช่น เงินที่จะได้รับจากลูกค้า ในการซื้อขายสินค้า หรือเงินที่จะได้รับจากการรับเหมาก่อสร้าง  ทำให้ลูกหนี้ทิ้งงานหรือไม่ส่งของ
-          คดีอาญา เช่น คดีเช็คเด้ง มีบทลงโทษจำคุก 1 ปี ต่อเช็ค 1 ใบ  จ่ายเช็คหลายฉบับจะมีโทษจำคุกเรียงกระทงความผิด
-          คดีโกงเจ้าหนี้ นับวันจะมีมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นที่พบเห็นบ่อยการไม่นำเงินรายได้ลงบัญชีของบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย ลงงบดุลเท็จและปล่อยให้บริษัทถูกฟ้องทางแพ่งไป
-          โอนกิจการหรือทรัพย์สินให้กับญาติพี่น้อง หรือญาติทางสามีหรือภรรยา เพื่อออกหน้าในการทำงานแทน  หากตรวจพบจะถูกเจ้าหนี้ดำเนินคดีอาญา
-          การสร้างหนี้ปลอมในกรณีมีการฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลาง ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นที่สุจริตมีสัดส่วนในการขอรับชำระหนี้ได้น้อยลง กรณีนี้กำลังเป็นที่นิยมของลูกหนี้ที่ขอฟื้นฟูกิจการ และเป็นช่องว่างของกฎหมายให้มีการสร้างหนี้ปลอม ยากในการสืบสวนจับกุมหรือดำเนินคดี 
-          เจ้าหนี้ตั้งเรื่องยึดทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งหมายถึงลูกหนี้และเจ้าพนักงานที่ดินล่าช้าเพียง 6 วัน ลูกหนี้โอนทรัพย์สินหนี ซึ่งเป็นความผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ที่ไม่ทันเกมลูกหนี้ นับวันจะมีมากขึ้น
-          การจับกุมบุคคลตามหมายจับทุกวันนี้ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากลูกหนี้มักมีการปลอมตัว โดยประสบการณ์ที่พบเห็นมีดังนี้
1.      เปลี่ยนทรงผม
2.      ไว้หนวดหรือเครา
3.      เปลี่ยนบุคลิกการแต่งกาย
4.      ย้ายสถานที่อยู่
5.      เปลี่ยนอาชีพ
6.      เปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
7.      รูปร่างหน้าตาหรือรูปพรรณสัณฐานของลูกหนี้เปลี่ยนไปตามระยะเวลา เช่น อาจอ้วนหรือผอมลง
8.      ใช้อุปกรณ์ปิดบังใบหน้าหรือเปลี่ยนทรงผม  เช่น มักใส่หมวก โกนผมหรือไว้ผมยาว หรือใส่แว่นตา
9.      ลูกหนี้มักย้ายไปอยู่กับผู้มีอิทธิพลหรือตำรวจหรือนักการเมืองยากในการตรวจสอบหรือการขอออกหมายค้น
10.  การปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นพวกที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือนักการเมืองท้องถิ่น เช่นคดีบางรอน หรือคดีที่ลูกหนี้เป็นบุคคลทางภาคเหนือ  แนวตะเข็บชายแดน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยร่วมมือกันทำเอกสารปลอม และคดีเกี่ยวกับการปลอมบัตรประจำตัวประชาชนมีเป็นจำนวนมาก พบเห็นบ่อย แต่ไม่ได้รับการแก้ไขแบบเชิงระบบ

-          กฎหมายที่จะนำมาจัดการกับลูกหนี้ที่ทุจริต เช่น กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัทที่มีบทลงโทษทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา  ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง การโกงเจ้าหนี้  ป.พ.พ. ว่าด้วยการเพิกถอนการฉ้อฉล
-          ผู้ประกอบการค้า และเจ้าหนี้ทั่วไปรวมถึงเจ้าหนี้สถาบันการเงินมีการใช้บริการนักสืบ สืบหาข้อมูลอย่างไรบ้าง

1.      นับวันจะมีการใช้บริการนักสืบมากขึ้น เพราะการติดตามหนี้ทางโทรศัพท์เป็นเรื่องยาก ด้วยเหตุผลเดียวคือ ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ เช่น ไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือลูกหนี้ไม่รับโทรศัพท์หรือไม่พบตัวลูกหนี้  นับวันการทวงหนี้ทางโทรศัพท์จะไร้ผลมากขึ้นในยุคปัจจุบัน
2.      การทวงหนี้ภาคสนามจำเป็นต้องใช้บริการนักสืบ เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งปัจจุบันของลูกหนี้ช่วงเวลาที่จะพบตัวลูกหนี้แน่นอน สืบหาทรัพย์ เช่น บัญชีเงินฝาก/ที่ดิน/ ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง เช่น สิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ จะได้รับจากบุคคลภายนอก หรือสืบหาเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ให้บุคคลภายนอกถือครองแทน

คำแนะนำสำหรับเจ้าหนี้ ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ควรปฏิบัติดังนี้
1.      อย่าปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าซึ่งไม่เคยทำธุรกรรมมาก่อน
2.      การปล่อยสินเชื่อควรปล่อยสินเชื่อเฉพาะลูกค้าที่มีประวัติดีเป็นระยะเวลายาวนานเท่านั้น
3.      อย่าปล่อยสินเชื่อให้กับบุคคลใกล้ชิดหรือเพื่อนฝูง โดยไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อ
4.      ตรวจสอบเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและสภาพกิจการของลูกหนี้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน  ถึงแม้ลุกหนี้จะเป็นลูกหนี้ชั้นดี
5.      ติดตามข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจอาจะเป็นซึนามิกระทบธุรกิจของลูกหนี้โดยที่ลูกหนี้มิได้มีเจตนาเบี้ยวหนี้
6.      การสั่งซื้อสินค้าของลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในระหว่างที่หนี้เดิมยังค้างชำระหรือเช็คไม่ถึงกำหนดควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจเป็นการส่งสัญญาณว่า ลูกหนี้กำลังจะซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายในราคาต่ำกว่าทุนแล้วหลบหนี
7.      การสั่งซื้อสินค้า ควรมีการวางมัดจำให้คุ้มกับต้นทุนของสินค้าและควรให้ลูกหนี้ใช้บุคคลหลายคนค้ำประกันหรือธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง
8.      ควรเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินของลูกหนี้ให้มากที่สุด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการทางกฎหมาย
9.      เมื่อมีแนวโน้มว่าลูกหนี้จะเบี้ยวหนี้หรือโกงเจ้าหนี้ ควรปรึกษานักกฎหมายหรือนักสืบเพื่อชิงลงมือดำเนินคดีหรือยึดทรัพย์สินเป็นการเร่งด่วนมิฉะนั้นอาจไม่ทันการ ลูกหนี้ได้หลบหนี   และยักย้ายถ่ายเททรัพย์ให้เป็นการบังคับคดีทางแพ่ง
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ว่าอย่างนี้ก็ถูกนะ

โดยคุณ เดโกะ 8 พ.ย. 2552, 11:26

ความคิดเห็นที่ 1

ของพระคุณครับสำหรับคำแนะนำดีๆ ดีมากๆๆๆๆๆๆ

โดยคุณ อดิเรก 31 ส.ค. 2552, 22:25

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก