ขั้นตอนการประกันตัว|ขั้นตอนการประกันตัว

ขั้นตอนการประกันตัว

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ขั้นตอนการประกันตัว

ผู้ต้องขังที่ถูกฝากขังโดนที่ยังไม่ได้ตัดสินคดีแต่อย่างไร

บทความวันที่ 28 ก.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4633 ครั้ง


ขั้นตอนการประกันตัว

ผู้ต้องขังที่ถูกฝากขังโดนที่ยังไม่ได้ตัดสินคดีแต่อย่างไร เราสามารถดำเนินการเรื่องขอประกันตัวอย่างไรบ้างค่ะ (แต่คดีนี้เค้าบอกว่าศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว) โดนจับกุมคดีมีไว้ครอบครองจำนวน 200 เม็ดค่ะ แล้วถ้าต้องติดคุก จะต้องติดกี่ปี่ค่ะ  รบกวนตอบหนูหน่อยน่ะค่ะ เพราะหนูไม่รู้เรื่องกฏหมาย หนูอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ตาม ป.วิ.อ มาตรา 106, มาตรา 107,มาตรา 108  ส่วนศาลจะให้ประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 106
คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันหรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ไม่ว่าผู้นั้นต้องควบคุมหรือขังตามหมายศาล ย่อมยื่นได้โดยผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องดังนี้

(1) เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี
(2) เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อศาลนั้น
(3) เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
(4) เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
    
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตมิฉะนั้นให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี
(5) เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น หรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้

ในกรณีที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี

มาตรา 107  เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 มาตรา 108/1 มาตรา 109มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 และมาตรา 113/1

คำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวโดยทันที
 

มาตรา 108  ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ
(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริง รายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้

ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราว หรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวก็ได้
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 6

น้องสาว โดนคดีฉ้อโกง ตอนนี้สิ้นสุดที่ศาลอุธรณ์ จะขอยื่นฏีกา ให้ยืนตามศาลชั้นต้น ตอนนี้ขอยื่นประกันตัว ต้องรอให้ศาลลั่งประกันตัวก่อนใช่มั้ยค่ะ แล้วเราก็วางเงินประกัน 

โดยคุณ สายทอง เกษอาภรณ์ 30 มิ.ย. 2562, 16:10

ตอบความคิดเห็นที่ 6

ติดต่อที่นายประกันที่ศาลได้เลยครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 10 ก.ค. 2562, 14:22

ความคิดเห็นที่ 5

พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวจำเลยในคดียาเสพติดไปที่ศาลแล้วแต่ฝ่ายโจทก์ต้องการยื่นขอคัดค้านการประกันเนื่องจากฝ่ายโจทก์กลัวจำเลยจะมาทำร้ายร่างกายในระหว่างประกันตัวฝ่ายโจทก์สามารถยื่นคำร้องขอคัดค้านได้หรือไม่และจะยื่นคำฟ้องขอคัดค้านการประตัวได้อย่างไรและติดต่อขอยื่นคำร้องได้ที่ไหนค่ะ

โดยคุณ หัทยา ลาวิลาศ 11 เม.ย. 2561, 03:08

ความคิดเห็นที่ 4

 แล้วเมื่อประกันตัวได้แล้วละคะเมื่อเค้าตัดสินคดีแล้วไม่มีเงินเสียค่าปรับก้อต้องติดคุกยุดีใช่ไหมคะ แล้วอีกอย่างนะคะตอนนี้นะยังงงติดยุนะคะจะประกันตัวแต่ยังไงสุดท้ายแล้วก้อได้ติดยุดีอะแล้วแบบนี้จะทำไงดีละคะ

โดยคุณ 26 มิ.ย. 2559, 22:53

ความคิดเห็นที่ 3

 ในกรณีที่ปลอมแปลงเอกสารทางราชการแล้วถูกดำเนินคดี ศาลตัดสินให้จำคุก ๖ เดือนแต่จำเลยยอมรับความผิด ศาลจึงลดโทษให้เหลือ ๓ เดือน จากนั้นจึงประกันตัวด้วยจำนวนเงิน ๑ แสนบาท แต่สามารถประกันตัวได้เพียง ๑ เดือน อยากทราบว่ากรณีอย่างนี้ หากจ้างทนายความและยื่นอุทรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และจะดำเนินการอย่างไรต่อไปดีครับ

โดยคุณ นาวา 7 ก.ย. 2554, 22:58

ความคิดเห็นที่ 2

ถ้าเป็นคดีไม้แปรรูปศาลอุทธรณ์นัดไปฟังคำพิภากษาศาลอุทธรณ์ ศาลสั่งฟ้องให้จำคุก 1 ปี ทางญาติต้องยื่นของประกันตัวต่อศาลฏีกา จะต้องรอรับฟังผลการยื่นอุทธรณืภายในกี่วันและจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

โดยคุณ จิรัติกานต์ 14 ก.ย. 2553, 12:53

ตอบความคิดเห็นที่ 2

การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ก็ต้องรอถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีหมายเรียกไปฟังคำพิพากษาโดยศาลจะเป็นกำหนดวัน เวลา ส่งหมายเรียกให้แก่คู่ความ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 10 ต.ค. 2553, 11:52

ความคิดเห็นที่ 1

การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ก็ต้องรอถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีหมายเรียกไปฟังคำพิพากษาโดยศาลจะเป็นกำหนดวัน เวลา ส่งหมายเรียกให้แก่คู่ความ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 10 ต.ค. 2553, 11:52

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก