ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย|ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย

แนะนำและทางแก้ของลูกหนี้เมื่อถูกฟ้องล้มละลาย

บทความวันที่ 24 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 13142 ครั้ง



ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย

คำแนะนำและทางแก้ของลูกหนี้เมื่อถูกฟ้องล้มละลาย ( ส่งขึ้นเมรุรอฌาปนกิจ)
 1.  เมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะแก้อย่างไร(แก้ไขไม่ได้แก้ผ้า)
 2.  ต้องไปศาลหรือไม่  ถ้าไม่ไปจะถูกจับหรือไม่ (หรือต้องหนีไปอยู่ดูไบ)
 3.  ในชั้นฟ้องล้มละลาย  ลูกหนี้มีสิทธิในการเจรจาประนอมหนี้หรือไม่ (หรือต้องแผ่นอย่างเดียว)
 4.  เลวร้ายสุดสำหรับลูกหนี้คืออะไรในการถูกฟ้องล้มละลาย (ถ้าต้องติดคุกจะได้บอกชูวิทย์ให้ซื้อข้าวผัดถุงละ 5,000 รอไว้ก่อน)
คำแนะนำทนายคลายทุกข์ (เอาทุกข์ของคุณมาไว้ที่นี่ เราจะทุกข์แทนคุณ)
           1.  ปรึกษาทนายคลายทุกข์  เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องในการช่วยเหลือตัวเอง  โทร.081-912-5833,02-948-5700  หรือส่งอีเมล์มาที่ decha007cscoms.com  จะให้คำแนะนำในการเตรียมตัวต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมายล้มละลาย
           2.  คดีล้มละลายเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา จะไม่เดินทางไปศาล  เพื่อฟังการพิจารณาคดีหรือไม่  แต่ขอแต่งตั้งให้ทนายความให้ดำเนินการแทน จะเป็นประโยชน์มากกว่า  เพราะทนายความจะมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลล้มละลายกลาง
           3.  การเจรจาประนอมหนี้ในชั้นล้มละลายง่ายกว่าการเจรจาหนี้ในชั้นพิจารณาในศาลแพ่ง  เพราะเจ้าหนี้เริ่มมีความอ่อนล้า  ในการติดตามทวงถามหนี้ เนื่องจากติดตามทวงถามหนี้มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี  สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ทุกวิถีทางแล้ว  ไม่พบทรัพย์สินของลูกหนี้  จึงจำเป็นต้องฟ้องล้มละลาย  ซึ่งเป็นพิธีกรรมขั้นสุดท้ายที่เจ้าหนี้ต้องทำ (เปรียบเสมือนนิมนต์พระมาสวดศพ 4 รูป  ก่อนฌาปนกิจ  ผมเปรียบเทียบแบบนี้ท่านน่าจะนึกภาพออกนะครับ
           4.  ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด   หลังจากนั้นถ้าไม่มีทรัพย์สิน  ศาลจะพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา 3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา  3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา  แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ทุจริต  จะต้องล้มละลายถึง 10 ปี 


 ตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย

                                                                                                            ศาลล้มละลายกลาง

บริษัท ท. จำกัด  โดนนาย ธ.    ผู้รับมอบอำนาจ  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
บริษัท  ฟ.  ที่1, บริษัท อ.   ที่ 2, นาย พ. ในฐานะส่วนตัว ลูกหนี้

เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอยื่นฟ้องลูกหนี้ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1.  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น นิติบุคล  สัญชาติไทย 
          -  ประเภทธุรกิจ  ขายส่ง  ขายปลีก  เหล็ก  อลูมิเนียม  สแตนเลส  โลหะ
          -  ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ ...
          -  มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ...
ข้อ 2.  ลูกหนี้เป็น  บุคคลธรรมดา
          -  ประเภทธุรกิจ  กลึงและขายส่งอะไหล่เครื่องกลและซ่อมบำรุงงานด้านวิศวกรรม
          -  หมายเลขบัตรประชาชน...
          -  มีภูมิลำเนา...
ข้อ 3.  สาระสำคัญแห่งมูลหนี้ของลูกหนี้ผู้เป็นโจทก์
 เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จำนวน 8,783,164.71 บาท
          ในการฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายนี้  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาย ช.  เป็นผู้มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้ทั้งสามแทนโจทก์  ดังมีรายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2
          เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ทั้งสามตามสัญญากู้ยืมเงิน  กล่าวคือ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549  ลูกหนี้ที่ 1, ลูกหนี้ที่ 2, โดยลูกหนี้ที่ 3  ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทน  และในฐานะส่วนตัวผู้กู้  ผู้กู้ได้ยืมเงินจากโจทก์ผู้ให้กู้เป็นเงินกู้จำนวน  7,233,903.64  บาท ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยของเงินต้นดังกล่าว  ให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี  โดยผู้กู้ขอผ่อนดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ๆ ละ 90,423.80  บาท  ภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน  ในการนี้ผู้กู้ตกลงผ่อนชำระเงินกู้คืนให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายงวด  เริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 31 มกราคม 2550  จนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน  ทั้งนี้จะต้องชำระให้ครบถ้วนภายในวันที่ 28  เดือนกุมภาพันธ์ 2550  ผู้กู้ได้รับเงินไปจากผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระครบถ้วน  ดังมีรายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน  ลงวันที่ 29  ธันวาคม 2549  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5  ซึ่งผู้กู้ทั้งสามตกลงสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายงวด  โดยมีรายละเอียดดังนี้
          งวดที่แรก  เช็คของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  สาขาย่อยเซ็นทรัลบางนา  เช็คเลขที่ ......จำนวนเงิน 2,000,000  บท
         งวดที่สอง  เช็คของธนาคารทหารไทย  จำกัด (มหาชน)  สาขาย่อยเซ็นทรัลบางนา  เช็คลงวันที่ ...  จำนวน 2,000,000  บาท
         งวดที่สาม  เช็คของธนาคารทหารไทย  จำกัด(มหาชน)  สาขาย่อยเซ็นทรัลบางนา  เช็คลงวันที่... จำนวน 3,233,903.64 บาท ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  สาขาย่อยเซ็นทรัลบางนา  เช็คเลขที่ ...  จำนวน 3,233,903.64  บาท  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6
           เมื่อระหว่างวันที่ 31  มกราคม 2550  ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550  วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด  ลูกหนี้ทั้งสามโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมาย  กล่าวคือ เวลากลางวันลูกหนี้ทั้งสาได้บังอาจออกเช็คธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน)  สาขาย่อยเซ็นทรัลบางนา  จำนวนสามฉบับ ฉบับแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550  เป็นเช็คเลขที่ ...ลงวันที่ 31 มกราคม 2550   สั่งจ่ายเป็นเช็คเลขที่  ...สั่งจ่ายเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท)  ฉบับที่สอง  เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550  สั่งจ่ายเช็คเลขที่ ... สั่งจ่ายเงิน 2,000,000  บาท   และฉบับที่สาม เมื่อวันที่ 28  กุมภาพันธ์ 250  สั่งจ่ายเป็นเช็คเลขที่ ... สั่งจ่าย 3,233,903.64  บาท  โดยลูกหนี้ที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในนามผู้มีอำนาจกระทำการแทนและประทับตราสำคัญของลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2  และลูกหนี้ที่ 3  ในฐานะส่วนตัว  แล้วมอบให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ที่อยู่จริง  และเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย  โดยลูกหนี้ทั้งสามร่วมกันหลอกลวงเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและควรปกปิดความจริงที่ควรแจ้งให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ทราบ  กล่าวคือ  ลูกหนี้ที่ 3  ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทลูกหนี้ที่ 1  และบริษัทลูกหนี้ที่ 2  ได้พูดยืนยันรับรองกับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ว่า  เมื่อถึงกำหนดวันที่ลงในเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าว  บัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่ 1  ซึ่งฝากไว้กับธนาคารตามเช็คดังกล่าวมีเงินพอที่จะชำระตามเช็คทั้งสามฉบับได้  ซึ่งข้อความลูกหนี้ทั้งสามกล่าวมานั้นเป็นความเท็จ  เพราะความจริง ณ วันที่ลูกหนี้ทั้งสามพูดรับรองข้อความดังกล่าวนั้น  บัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่ 1  ไม่มีเงินพอชำระหนี้เงินตามเช็คแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว  จึงเป็นเรื่องที่ลูกหนี้ที่ 1  มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค  ณ  วันที่ลงในเช็คดังกล่าวได้  ต่อมาครั้งเช็คทั้งสามฉบับถึงกำหนดชำระเงิน  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้นำเช็คดังกล่าวไปยื่นต่อธนาคารตามเช็คเพื่อเรียกเก็บเงิน  ที่ธนาคารตามเช็คเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยแจ้งว่า “เงินในบัญชีไม่พอจ่าย”  ดังมีรายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบคืนเช็ค เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ติดต่อทวงถามให้ลูกหนี้ทั้งสามชดใช้เงินตามเช็คแล้ว  ลูกหนี้ทั้งสามก็เพิกเฉย  การกระทำของลูกหนี้ทั้งสามดังกล่าวเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
           ดังนั้น  ลูกหนี้ทั้งสามต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 7,233,903.64  บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี  ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ผิดนัด (วันที่ 31 มกราคม 2550)  จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน 4 วัน  คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 1,549,261.07 บาท  รวมเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนทั้งสิ้น 8,783,164.71 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15  ต่อปีของต้นเงินจำนวน 7,233,903.64  บาทนับถัดวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าลูกหนี้ทั้งสามจะชำระหนี้ให้เสร็จแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  โดยลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และหนี้นั้นมีกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน  ทั้งถึงกำหนดชำระแล้ว  ดังนั้นลูกหนี้ทั้งสามเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จำนวนเงินทั้งสิ้น 8,783,164.71 บาท  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอถือเอาจำนวนเงินดังกล่าวเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีนี้
ข้อ 4.  ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
ลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะ
*ลูกหนี้มีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน
*ต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483  โดย
           -ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห้งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
          -ลูกหนี้ได้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
           -ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น  ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้งจะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
          - ลูกหนี้ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
           *ลูกหนี้ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน  หรือหลบไปหรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิใช้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
           *ลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
           -ลูกหนี้ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
           -ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
           -ลูกหนี้ได้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
           *ลูกหนี้ได้แจ้งให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
           -ลูกหนี้ได้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
           *ลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง  ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้  หลังจากที่ครบกำหนดการชำระเงินตามสัญญากู้  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5   และครบกำหนดการชำระเงินตามเช็คและใบเช็คคืน  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6,7  แล้วนั้น  ลูกหนี้ทั้งสามไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แต่อย่างใด  จากนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามตลอดมา  หากแต่ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ทั้งสามมีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงชำระหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ รายละเอียดเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอประทานเสนอศาลในพิจารณาต่อไป  และก่อนฟ้องคดีนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ทั้งสามจัดการชำระหนี้  สองครั้งแล้ว  แต่ลูกหนี้ก็เพิกเฉยตลอดมา  ดังมีรายละเอียดปรากฎตามหนังสือทวงถามของทนายความโจทก์พร้อมซองจดหมายและใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย  จำกัด  เอกสารคำฟ้องหมายเลข 8 ถึง 19 ตามลำดับ
          พฤติการณ์ของลูกหนี้ทั้งสาม  จึงต้องข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับลูกหนี้ทั้งสามได้  จึงขอประทานความกรุณาศาลได้โปรดมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะได้ดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นต่อไป
                                                                                            ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีล้มละลาย
เพราฉะนั้นศาลออกหมายเรียกตัวลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาและบังคับลูกหนี้ตามคำขอต่อไปนี้
           1.  ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายกับใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
           ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามที่ระบุในคำฟ้องและบัญชีภูมิลำเนานั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในคดีนี้  หากมีการเปลี่ยนแปลงประการใดข้าพเจ้าจะแจ้งให้ศาลทราบทันที  พร้อมกันนี้ข้าพเจ้าไปยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องตรงเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย  ...  ฉบับ  และรอฟังคำสั่งอยู่  ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว
 
                                                                           ....................................เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า ...........................................ทนายความของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  ปรากฏตามใบแต่งทนายความที่แนบมาพร้อมคำฟ้องนี้  เป็นผู้เรียงและพิมพ์


                                                                            ......................................ผู้เรียงและผู้พิมพ์


                  คำสั่งศาล  คดีหมายเลขดำที่ ล ............./25....


 รับฟ้อง ดำเนินการตามกฎหมาย  บัญชีภูมิลำเนา  ใบแต่งทนาย  ใบมอบฉันทะ  คำแถลงยืนยันภูมิลำเนา และบันทึกถ้อยคำพยาน (ถ้ามี) ให้รวมไว้  อนุญาตตามคำร้องขอส่งสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90  คำร้องขอส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบัญชีพยาน (ถ้ามี)
 หากประสงค์จะเสนอบัญชีถ้อยคำแทนการซักถามพยาน  ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้แก่ลูกหนี้ก่อนวันนัดพิจารณา 7 วัน 
 นัดพิจารณา  วันที่ ...........................................เวลา .......................นาฬิกา
 อนุญาตให้ตรวจคืนเอกสารแก่ผู้ขอเมื่อคดีถึงที่สุด  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว  อนุญาตให้คืนเงินประกันค่าใช้จ่ายที่เหลือ  เมื่อศาลมีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 133
            .........................................ผู้พิพากษา

หมายเหตุ :-
ค่าขึ้นศาล   500 บาท
ค่าใบแต่งทนาย   20 บาท
ค่าคำร้อง  .................. บาท
ค่าคำขอ  ................. บาท
ค่าอ้างเอกสาร   .................. บาท
ใบเสร็จเลขที่  ..................
เงินวางประกันค่าใช้จ่าย 5,000  บาท
ใบเสร็จเลขที่ .............................................
...................................................................
                     เจ้าพนักงานศาล
วันที่ ..........................................................

 


 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 6

 ขอทราบว่า มีชื่อและนามสกุล ที่ตรงกันแต่เลขประจำตัว 13 หลักนั้นไม่ตรงกัน โดยฟ้องเป็นบุคคลล้มลาย ต้องการเอกสารยืนยันว่าคนที่มีชื่อเหมือนกันแต่คนละเลขบัตรนี้ไม่ใช่บุคคลล้มลายจะได้ไหมเพื่อยืนยันการทำธุระกรรมการเงินเพื่อกู้ซื้อบ้านกับธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นเอกสารแนบ จะทำได้ไหม มีวิธีแก้ไขอย่างไรค่ะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

โดยคุณ น.ส รัตติวัลย์ กรชัย 6 ก.ย. 2559, 11:21

ความคิดเห็นที่ 5

อ้างอิงจาก ข้อ 3. ในชั้นฟ้องล้มละลาย ลูกหนี้มีสิทธิในการเจรจาประนอมหนี้หรือไม่ (หรือต้องแผ่นอย่างเดียว)
"เผ่น" - หรือ - "แผ่น" คำใดถูกต้อง? เรียงพิมพ์ผิด หรือ "ติดทองแดง" (ทอง-เดง) ครับใต้เท้า

ควรมิควรแล้วแต่..

 ด้วยความเคารพ

โดยคุณ 30 มิ.ย. 2553, 17:22

ความคิดเห็นที่ 4

สสวววงงงงงงงาสา

โดยคุณ บบ 22 มิ.ย. 2553, 09:52

ตอบความคิดเห็นที่ 4

444444

โดยคุณ 22 มิ.ย. 2553, 09:53

ความคิดเห็นที่ 3

444444

โดยคุณ 22 มิ.ย. 2553, 09:53

ความคิดเห็นที่ 2

 เมื่อล้มแล้วก็ลุกได้ 

โดยคุณ โด่ ไม่รู้ล้ม 22 ธ.ค. 2552, 12:59

ความคิดเห็นที่ 1

ถ้าลูกหนี้ตั้งใจจะโกงจริงๆ ก็สมควรถูกฟ้องล้มละลาย

โดยคุณ Tui 30 มิ.ย. 2552, 12:06

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก