ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์|ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์

ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลาย/ถูกฟ้องล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์

บทความวันที่ 18 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 9499 ครั้ง


ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์

คำแนะนำและทางแก้ของลูกหนี้เมื่อถูกฟ้องล้มละลาย (ส่งขึ้นเมรุรอฌาปนกิจ)
 1.  เมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะแก้อย่างไร(แก้ไขไม่ได้แก้ผ้า)
 2.  ต้องไปศาลหรือไม่  ถ้าไม่ไปจะถูกจับหรือไม่ (หรือต้องหนีไปอยู่ดูไบ)
 3.  ในชั้นฟ้องล้มละลาย  ลูกหนี้มีสิทธิในการเจรจาประนอมหนี้หรือไม่ (หรือต้องแผ่นอย่างเดียว)
 4.  เลวร้ายสุดสำหรับลูกหนี้คืออะไรในการถูกฟ้องล้มละลาย (ถ้าต้องติดคุกจะได้บอกชูวิทย์ให้ซื้อข้าวผัดถุงละ 5,000 รอไว้ก่อน)
คำแนะนำทนายคลายทุกข์ (เอาทุกข์ของคุณมาไว้ที่นี่ เราจะทุกข์แทนคุณ)
           1.  ปรึกษาทนายคลายทุกข์  เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องในการช่วยเหลือตัวเอง  โทร.081-912-5833,02-948-5700  หรือส่งอีเมล์มาที่ decha007cscoms.com  จะให้คำแนะนำในการเตรียมตัวต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมายล้มละลาย
           2.  คดีล้มละลายเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา จะไม่เดินทางไปศาล  เพื่อฟังการพิจารณาคดีหรือไม่  แต่ขอแต่งตั้งให้ทนายความให้ดำเนินการแทน จะเป็นประโยชน์มากกว่า  เพราะทนายความจะมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลล้มละลายกลาง
           3.  การเจรจาประนอมหนี้ในชั้นล้มละลายง่ายกว่าการเจรจาหนี้ในชั้นพิจารณาในศาลแพ่ง  เพราะเจ้าหนี้เริ่มมีความอ่อนล้า  ในการติดตามทวงถามหนี้ เนื่องจากติดตามทวงถามหนี้มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี  สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ทุกวิถีทางแล้ว  ไม่พบทรัพย์สินของลูกหนี้  จึงจำเป็นต้องฟ้องล้มละลาย  ซึ่งเป็นพิธีกรรมขั้นสุดท้ายที่เจ้าหนี้ต้องทำ (เปรียบเสมือนนิมนต์พระมาสวดศพ 4 รูป  ก่อนฌาปนกิจ  ผมเปรียบเทียบแบบนี้ท่านน่าจะนึกภาพออกนะครับ
           4.  ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด   หลังจากนั้นถ้าไม่มีทรัพย์สิน  ศาลจะพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา 3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา  3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา  แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ทุจริต  จะต้องล้มละลายถึง 10 ปี


ตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลาย/ถูกฟ้องล้มละลาย/ธ.ไทยพาณิชย์

                                                                                                            ศาลล้มละลายกลาง

ธนาคาร  ไทยพาณิชย์  จำกัด(มหาชน)  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
นาย อ.      ลูกหนี้

เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอยื่นฟ้องลูกหนี้ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1.  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น นิติบุคล  สัญชาติไทย
          -  ประเภทธุรกิจ  ธนาคารพาณิชย์
          -  ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ ...
          -  มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ...
ข้อ 2.  ลูกหนี้เป็น  บุคคลธรรมดา
           -  อาชีพ  ไม่ปรากฏอาชีพ
           -  หมายเลขบัตรประชาชน...
           -  มีภูมิลำเนา...
ข้อ 3.  สาระสำคัญแห่งมูลหนี้ของลูกหนี้ผู้เป็นโจทก์
 -  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จำนวน  6,215,461.82  บาท
 โดยเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น  เจ้าหนี้ไม่มีหลักประกัน  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
           ลูกหนี้เป็นหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดสงขลา  คดีหมายเลขแดงที่ ...คดีระหว่าง  ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน)  โจทก์  กับ นาย อ.  จำเลย  ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 28  เมษายน  2543  ดังนี้
 ข้อ 1.  จำเลยตกลงชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน  4,454,330.75  บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ จี แอล อาร์ (ปัจจุบันเท่ากับอัตราร้อยละ 9  ต่อปี)  ของต้นเงิน  3,476,921.38  บาท  นับถัดจากวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น  ณ  สาขาตรัง  ในวันและเวลาทำการของโจทก์  โดยจำเลยผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุก ๆ  เดือนดังนี้
           1.1 เดือนพฤษภาคม 2543  ถึงเดือนเมษายน 2544  ไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท
           1.2 เดือนพฤษภาคม 2544  ถึงเดือนเมษายน 2545  ไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท
           1.3 เดือนพฤษภาคม 2545  ถึงเดือนเมษายน 2546  ไม่น้อยกว่าเดือนละ 25,000 บาท  และนอกจากนี้จำเลยยังต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีกต่างหากเป็นเงินไม่น้อยกว่า 1,500,000  บาท 
           1.4  เดือนพฤษภาคม 2546  ถึงเดือนเมษายน 2547  ไม่น้อยกว่าเดือนละ  35,000  บาท
          1.5  เดือนพฤษภาคม 2547  ถึงเดือนเมษายน 2548  ไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000  บาท  แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายน 2548
          1.6  จำเลยตกลงชำระค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งให้โจทก์  และค่าทนายความอีก 7,000  บาท  ภายในวันที่ 31  พฤษภาคม 2543
           ข้อ 2.  หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้  ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดหรือเดือนหนึ่งเดือนใด  ให้ถือว่าผิดนัดชำระทั้งหมด  จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในส่วนต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามคำท้ายฟ้อง  19.75 ต่อปี  นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้น  และให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที  โดยบังคับเอาทรัพย์จำนองที่ดินตราจอง  เลขที่ ...  พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าว  รวมตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาด  นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน  ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4
           หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำนอง  ที่ดินตราจอง เลขที่ ....  พร้อมสิ่งปลูกสร้าง  ซึ่งมีชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิครอบครอง
           ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดที่ยึดไว้โดยปลอดจำนอง  เมื่อวันที่ 16  พฤศจิกายน 2545 ในราคา 2,500,000 บาท เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 2,358,000  บาท  โดยเจ้าหนี้ได้นำเงินจำนวนดัวกล่าวนำไปหักชำระในต้นเงินและดอกเบี้ยบางส่วน  ซึ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ทั้งหมด  ณ   วันขายทอดตลาดลูกหนี้ยังคงมีหนี้ค้างชำระเจ้าหนี้อยู่จำนวน  4,895,032.24 บาท  ปรากฎตามสำเนาบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5
           หลังจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว  ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์  ลูกหนี้ยังคงค้างชำระหนี้อยู่จำนวน 4,895,032.24 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.75  ต่อปีของต้นเงิน 1,180,462.38 บาท  นับถัดจากวันขายทอดตลาดคำนวณถึงวันที่ 7  พฤศจิกายน 2551  เป็นดอกเบี้ยจำนวน 1,320,429.58  บาท  รวมเป็นจำนวนเงิน 6,215,461.82  บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันที่ 7  พฤศจิกายน 2551  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสร็จสิ้น  ปรากฎตามรายการคำนวณบัญชีหนี้  เอกสารท้ายคำฟ้อง หมายเลข 6
           ข้อ 4.  ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
ลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะ
-ลูกหนี้มีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน
          *ต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483  โดย
                    -ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห้งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
                    -ลูกหนี้ได้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
                    -ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น  ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้งจะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
                    - ลูกหนี้ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
                    -ลูกหนี้ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน  หรือหลบไปหรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิใช้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
                   -ลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
                   -ลูกหนี้ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
*ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
            -ลูกหนี้ได้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
            -ลูกหนี้ได้แจ้งให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
            -ลูกหนี้ได้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
            -ลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง  ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้

        โดยรายละเอียดดังต่อไปนี้  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ดำเนินการชั้นบังคับคดีกับลูกหนี้แล้วจะได้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้แล้ว  ซึ่งเมื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาหักชำระหนี้  ได้เงินมาไม่พอชำระหนี้  ลูกหนี้ยังคงค้างชำระเงินไม่น้อยกว่า  1 ล้านบาท  เจ้าหน้าที่ผู้โจทก์ได้ดำเนินการ  ยึด  อายัดทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ในส่วนที่เหลืออยู่   แต่จากการตรวจสอบแต่ไม่พบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอื่นใดอีกที่พอจะนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้  ปรากฎตามรายงานการสืบทรัพย์และรายการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 7 และ 8
           ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์   ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทและลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้  ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้ว  ลูกหนี้จึงต้องสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย  พ.ศ. 2483  ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็กขาด  และพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายต่อไป

       ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีล้มละลาย
เพราฉะนั้นศาลออกหมายเรียกตัวลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาและบังคับลูกหนี้ตามคำขอต่อไปนี้
           1.  ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายต่อไป
           2.  ให้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ด้วย
           ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามที่ระบุในคำฟ้องและบัญชีภูมิลำเนานั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในคดีนี้  หากมีการเปลี่ยนแปลงประการใดข้าพเจ้าจะแจ้งให้ศาลทราบทันที  พร้อมกันนี้ข้าพเจ้าไปยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องตรงเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย  ...  ฉบับ  และรอฟังคำสั่งอยู่  ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว
 
                                                                           ....................................เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

          คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า ...........................................ทนายความของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  ปรากฏตามใบแต่งทนายความที่แนบมาพร้อมคำฟ้องนี้  เป็นผู้เรียงและพิมพ์


                                                                          ......................................ผู้เรียงและผู้พิมพ์


                                         คำสั่งศาล  คดีหมายเลขดำที่ ล ............./25....
           รับฟ้อง ดำเนินการตามกฎหมาย  บัญชีภูมิลำเนา  ใบแต่งทนาย  ใบมอบฉันทะ  คำแถลงยืนยันภูมิลำเนา และบันทึกถ้อยคำพยาน (ถ้ามี) ให้รวมไว้  อนุญาตตามคำร้องขอส่งสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90  คำร้องขอส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบัญชีพยาน (ถ้ามี)
 หากประสงค์จะเสนอบัญชีถ้อยคำแทนการซักถามพยาน  ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้แก่ลูกหนี้ก่อนวันนัดพิจารณา 7 วัน  
                          นัดพิจารณา  วันที่ ...........................................เวลา .......................นาฬิกา
 อนุญาตให้ตรวจคืนเอกสารแก่ผู้ขอเมื่อคดีถึงที่สุด  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว  อนุญาตให้คืนเงินประกันค่าใช้จ่ายที่เหลือ  เมื่อศาลมีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 133
                                                                            .........................................ผู้พิพากษา

หมายเหตุ :-
ค่าขึ้นศาล   500 บาท
ค่าใบแต่งทนาย   20 บาท
ค่าคำร้อง  .................. บาท
ค่าคำขอ  ................. บาท
ค่าอ้างเอกสาร   .................. บาท
ใบเสร็จเลขที่  ..................
เงินวางประกันค่าใช้จ่าย 5,000  บาท
ใบเสร็จเลขที่ .............................................
...................................................................
                     เจ้าพนักงานศาล
วันที่ ..........................................................

 


 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 23

 รบกวนช่วยตอบหน่อยน่ะค่ะ ดิฉันถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลล้มละลาย แต่ดิฉันไม่เคยได้รับหมายศาลเลยและก็ไม่รู้ด้วยว่าตัวเองยังมีหนี้ค้างชำระเพราะทางธนาคารหรือศาลไม่ได้ส่งหมายมาค่ะ และดิฉันได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่แล้วเขาบอกว่าตัวดิฉันเองยังมีหนี้กับธนาคารอยู่ 300,000. บาท แล้วอย่างนี้ดิฉันต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ แล้วดิฉันจะเดินทางไปต่างประเทศได้ไหมค่ะ

โดยคุณ ดาว 4 ส.ค. 2557, 18:55

ตอบความคิดเห็นที่ 23

ท่านควรปรึกษาทนายเพื่อติดตามตรวจสำนวนคดีว่าอยู่ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีชั้นใด เพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมาย โดยท่านจะออกไปนอกราชอาณาจักรได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 67(3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย 2483

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 15 ก.ย. 2557, 09:26

ความคิดเห็นที่ 22

ท่านควรปรึกษาทนายเพื่อติดตามตรวจสำนวนคดีว่าอยู่ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีชั้นใด เพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมาย โดยท่านจะออกไปนอกราชอาณาจักรได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 67(3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย 2483

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 15 ก.ย. 2557, 09:26

ความคิดเห็นที่ 21

ขอสอบถามให้คุณพ่อติดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ แสนกว่า จะทำยังไงตอนนี้ไม่มีจ่าย ไม่มีทรัพย์สิน เมื่อไหร่เขาจะฟ้อง แล้วเขาจะทำไงต่อ เราไม่มีทรัพย์สิน หรืออสังหาเลย แต่พ่อเป็นข้าราชการเกษียณ ขอบพระคุณค่ะสำหรับคำตอบ

โดยคุณ บาบาร่า 30 ก.ค. 2555, 17:54

ความคิดเห็นที่ 20

ดิฉันว่าเวปไซย์  "ทนายคลายทุกข์" ไม่น่าเชื่อถือ

เพราะดูจากลักษณะการตอบปัญหาและภาษาคำพูดที่ใช้ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นทนายได้

คำพูดและภาษาที่ใช้ตอบมีแต่กระแนะกระแหน่ เช่น ต้องหนีไปดูไบ บ้างล่ะ

หรือไม่ก็"ต้องไปปรึกษาชูวิท"บ้างล่ะ

ถามจริงๆ ทนายความในประทศไทยเป็นแบบนี้เหมือนกันทั้งหมดหรือเปล่าคะ

บอกตรงๆว่า เสียความรู้สึกมากที่เสียเวลาเข้ามาอ่าน เฮ้อ..น่าสงสารประเทศไทยจริงๆ

โดยคุณ กรรณิกา Japan 29 พ.ค. 2555, 08:58

ตอบความคิดเห็นที่ 20

เรียน  คุณกรรณิกา

ขอเรียนชี้แจงว่า ผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นมาจากหลายที่ด้วยการ  ผู้อ่านต้องใช้วิจารณาในการศึกษาหรืออ่านนะคะ  ส่วนหากเป็นคำถามที่ทีมงานทนายคลายทุกข์ตอบ จะขึ้นว่า ทีมงานทนายคลายทุกข์  ทีมงานไม่เคยมีการตอบคำถามเิชิงกระแนะกระแหนตามที่่ท่านกล่าวอ้าง  เพราะเว็บไซต์เรามีุบุคคลเข้ามาเยี่บมชมเกือบ 20,000 คนต่อวัน  

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 30 พ.ค. 2555, 10:41

ความคิดเห็นที่ 19

เรียน  คุณกรรณิกา

ขอเรียนชี้แจงว่า ผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นมาจากหลายที่ด้วยการ  ผู้อ่านต้องใช้วิจารณาในการศึกษาหรืออ่านนะคะ  ส่วนหากเป็นคำถามที่ทีมงานทนายคลายทุกข์ตอบ จะขึ้นว่า ทีมงานทนายคลายทุกข์  ทีมงานไม่เคยมีการตอบคำถามเิชิงกระแนะกระแหนตามที่่ท่านกล่าวอ้าง  เพราะเว็บไซต์เรามีุบุคคลเข้ามาเยี่บมชมเกือบ 20,000 คนต่อวัน  

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 30 พ.ค. 2555, 10:41

ความคิดเห็นที่ 18

ตอนนี้เป็นบุคคลล้มละลายต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ทรัพสินที่หาใหม่เป็นของลูกทั้งหมดเค้าจะสืบตามยึดได้อีกมั้ย

โดยคุณ น่าน 4 ก.ย. 2554, 13:40

ตอบความคิดเห็นที่ 18

คงไม่ริบทรัพย์ แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะระยะเวลาในการปลดจากล้มละลายตามกฎหมายแล้ว 3 ปี ตาม พรบ. ล้มละลาย 2483 มาตรา 80/1แต่ จพท. อาจขอขยายระยะเวลาได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 9 ก.ย. 2554, 10:27

ความคิดเห็นที่ 17

คงไม่ริบทรัพย์ แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะระยะเวลาในการปลดจากล้มละลายตามกฎหมายแล้ว 3 ปี ตาม พรบ. ล้มละลาย 2483 มาตรา 80/1แต่ จพท. อาจขอขยายระยะเวลาได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 9 ก.ย. 2554, 10:27

ความคิดเห็นที่ 16

ผมรบกวนสอบถามเรื่องคดีล้มละลายหน่อยครับ

ไม่ทราบว่าเราจะปลดล้มละลายเมื่อไหร่ ดูจากอะไร ตรงไหน วันที่ศาลมีคำสั่งฟ้อง หรือวันที่เราไปที่ศาล

รบกวนช่วยตอบทางเมล์นะครับ

ขอบพระคุณมากครับ

โดยคุณ สุธีร์ 2 ก.ย. 2554, 16:24

ความคิดเห็นที่ 15

 เห็นด้วยกับทุกความคิดเห็น จริงอย่างที่บอก กว่าจะเก็บเงินซื้อหลักทรัพย์  แล้วยังต้องลงทุนเพื่อทำ ธุรกิจ เล็ก เล็ก ไหนจะค่าใช้จ่ายสารพัด ทำงานรับจ้างก็เงินน้อยนิด ทำธุรกิจการแข่งขันมันสูง มีแต่ต้องสู้ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้แคร่ตาย เพื่อหวังเอากำไรที่น้อยนิด มาจ่าย ค่าใช้จ่ายสารพัด อีกทั้งดอกเบี้ย ดอกเบี้ยก็ดอกสูง แล้วยังต้องมีหลักทรัพย์ค้ำ ยังไม่พอต้องหาบุคคลมาค้ำอีก เงินสำหรับพ่อค้ามันหายากมาก มาก ขายโชวห่วย ก็ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่ ขายวัสดุก่อสร้าง ก็ต้องแข็งกับยักษ์ใหญ่ ขายสุกี้ ก็ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่ ขายไก่ ขายไข่ไก่ ก็ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่ ขายหมู  ขายลูกชิ้น ก็ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่ ขายไอศครีม ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่  ขายกาแฟ ก็ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่ เช่น เซเว่น โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี  ท้อป แม๊กซ์กแวลู  เอ็มเค  เซ็นทรัล เอสแอนด์พี 

โดยคุณ ฉัตรชัย อัศรัสกร 3 พ.ย. 2553, 12:36

ความคิดเห็นที่ 14

ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วบัญชีเงินฝากประจำของลูกโดยเรา เป็นผู้ปกครองจะต้องถูกยึดหรือไม่

โดยคุณ แนน 21 มิ.ย. 2553, 10:49

ความคิดเห็นที่ 13

ได้กู้ร่วมซื้อบ้านกับสามีกูกับธนาคาไทยพาณิชย์ 1,000,000 บาท ส่งเดือนละ 10,000 ประมาณ 3 ปี พอประมาณปี 2545 ไม่สามารถส่งบ้านต่อได้แล้ว ทางธนาคารฟ้องประมาณปี 2548 และได้นำบ้านขายทอดตลาดในปี 2550 หลังจากขายทอดตลาดแล้วได้พยายามติดต่อกับธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อขอชำระเงินที่ยังคงค้างอยู่แต่ทางธนาคารไม่ยอดแจ้งยอดหนี้ที่คงค้างโดยอ้างว่าเรื่องยังอยู่ที่กรมบังคับคดี ได้มีการสอบถามกับทางธนาคารเรื่อย ๆ ประมาณ 3 เดือนสอบถาม 1 ครั้งก็ได้รับคำตอบเช่นเดิมคือเรื่องอยู่ที่กรมบังคับคดี ยังไม่ทราบยอดหนี้ที่แท้จริง โดยดิฉันได้แจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ ว่าบ้านได้ขายทอดตลาดไปเรียบร้อยแล้ว และได้แจ้งที่อยู่ใหม่กับเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ติดต่อด้วยถ้ามีเอกสารที่ต้องการส่ง ปรากฎว่าไม่ได้รับการติดต่อใด ๆ จากทางธนาคารเลย จนเมื่อวันที่ 3/6/2553 ถ้าติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่คนเดิม ทางเจ้าหน้าที่คนนั้นได้แจ้งว่าเรื่องได้ย้ายไปอยู่กับเจ้าหน้าที่อีกท่านแล้วให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท่านใหม่ ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ท่านใหม่ได้แจ้งว่ายอดเงินต้นที่คงค้าง 480,000 ยอดดอกเบี้ย ประมาณ 800,000 ซึ่งได้ถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่ 10/5/2553 ดิฉันสอบถามเขาว่าทางดิฉันติดต่อไปทางธนาคารตลอดแต่ไม่ได้รับการแจ้งเรื่อง ทางเจ้าหน้าที่ท่านใหม่ได้แนะนำว่าเรื่องมาถึงขั้นนี้แล้ว ทางแก้ปัญหาคือให้แบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วนคือของสามี และของดิฉันคนละครึ่ง คือ 600,000 และลดยอดให้ดิฉันคงเหลือ 250,000 โดยให้ชำระให้หมดภายในสิ้นปี 2553 และต้องไปขึ้นศาลในเดือน 8/2553 ในส่วนของสามีแนะนำว่าไม่ต้องชำระและให้ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายไป โดยไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องไปขึ้นศาลเขาบอกว่า 3 ปีก็หมดอายุความแล้วดิฉันควรทำอย่างไรค่ะ ทำตามที่เขาบอก แล้วในส่วนของสามีจะเป็นอย่างไรบ้างค่ะ

โดยคุณ รจ 5 มิ.ย. 2553, 00:31

ตอบความคิดเห็นที่ 13

- การที่จะเป็นบุคคลล้มละลายท่านจะเสียสิทธิในการทำธุรกรรมหลายอย่าง หากท่านไม่ต้องการเป็นบุคคลล้มละลายก็สามารถเจรจาจ่าย
30% ของยอดหนี้ได้ แนะนำให้ท่านเข้ามาพบทนายคลายทุกข์เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเจรจาต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 มิ.ย. 2553, 11:56

ความคิดเห็นที่ 12

- การที่จะเป็นบุคคลล้มละลายท่านจะเสียสิทธิในการทำธุรกรรมหลายอย่าง หากท่านไม่ต้องการเป็นบุคคลล้มละลายก็สามารถเจรจาจ่าย
30% ของยอดหนี้ได้ แนะนำให้ท่านเข้ามาพบทนายคลายทุกข์เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเจรจาต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 มิ.ย. 2553, 11:56

ความคิดเห็นที่ 11

ถ้าเราไม่มีทรัพย์แล้วมีหมายศาลมาเราไม่ไปขึ้นศาลจะมีผลอะไรไหมครับ แล้วระยะเวลาที่ จพท.จะสอบสวนเรานานไหมครับคือเราไม่ไปขึ้นศาลเลย

โดยคุณ ปู 13 พ.ค. 2553, 09:30

ตอบความคิดเห็นที่ 11

การที่ท่านเป็นหนี้ แล้วทางเจ้าหนี้ได้ฟ้องท่านเป็นจำเลยต่อศาล แล้วศาลมีหมายนัดให้ท่านไปไกล่เกลี่ยกับทางเจ้าหนี้ ตามกฎหมายย่อมเป็นสิทธิของท่านที่จะใช้สิทธิในการต่อสู้คดี และในการขอไกล่เกลี่ยประนอมหนี้กับทางเจ้าหนี้ได้ เนื่องจาก ป.วิ.พ. ได้ให้สิทธิแก่จำเลยในการที่จะรักษาสิทธิของตน เมื่อถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดนัดตามหมายศาลแล้ว ท่านไม่ไปศาลตามกำหนดนัดนั้น ตามกฎหมายให้ถือว่าท่านได้สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของคนในนัดนั้น และทราบกระบวนการพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว และศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาและขึ้ขาดตัดสินคดีนั้นโดยสืบพยานของโจทก์เจ้าหนี้ไปฝ่ายเดียว ตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 200, 204 กรณีจึงย่อมส่งผลให้ท่านมีโอกาสแพ้คดีสูงและเร็วขึ้น เนื่องจากศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยที่ไม่มีคำให้การและพยานหลักฐานของท่านนำสืบแก้ต่างพยานหลักฐานโจทก์เลย เมื่อโจทก์นำสืบพยานหลักฐานเจือสม ศาลมักจะมีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และออกคำบังคับให้ท่านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฎิบัติตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 และหากท่านไม่ปฎิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ จพท. บังคับคดีแก่ท่านเพื่อให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 276 โดยระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ จพท. จะเรียกท่านมาทำการสอบสวน ก็ไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดี

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 พ.ค. 2553, 11:47

ความคิดเห็นที่ 10

การที่ท่านเป็นหนี้ แล้วทางเจ้าหนี้ได้ฟ้องท่านเป็นจำเลยต่อศาล แล้วศาลมีหมายนัดให้ท่านไปไกล่เกลี่ยกับทางเจ้าหนี้ ตามกฎหมายย่อมเป็นสิทธิของท่านที่จะใช้สิทธิในการต่อสู้คดี และในการขอไกล่เกลี่ยประนอมหนี้กับทางเจ้าหนี้ได้ เนื่องจาก ป.วิ.พ. ได้ให้สิทธิแก่จำเลยในการที่จะรักษาสิทธิของตน เมื่อถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดนัดตามหมายศาลแล้ว ท่านไม่ไปศาลตามกำหนดนัดนั้น ตามกฎหมายให้ถือว่าท่านได้สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของคนในนัดนั้น และทราบกระบวนการพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว และศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาและขึ้ขาดตัดสินคดีนั้นโดยสืบพยานของโจทก์เจ้าหนี้ไปฝ่ายเดียว ตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 200, 204 กรณีจึงย่อมส่งผลให้ท่านมีโอกาสแพ้คดีสูงและเร็วขึ้น เนื่องจากศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยที่ไม่มีคำให้การและพยานหลักฐานของท่านนำสืบแก้ต่างพยานหลักฐานโจทก์เลย เมื่อโจทก์นำสืบพยานหลักฐานเจือสม ศาลมักจะมีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และออกคำบังคับให้ท่านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฎิบัติตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 และหากท่านไม่ปฎิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ จพท. บังคับคดีแก่ท่านเพื่อให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 276 โดยระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ จพท. จะเรียกท่านมาทำการสอบสวน ก็ไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดี

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 พ.ค. 2553, 11:47

ความคิดเห็นที่ 9

การทำบัญชีค่ะ

ผู้รับจำนองเป็นบุคคลซื้อทรัพย์ได้ โดยต้องวางเงินเพิ่มเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ผู้รับจำนองนำยึดเอง และในอีกหนึ่งหนี้ได้รับเงินคืน 200,000 บาท

อยากทราบว่า เราสามารถแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหักส่วนได้ใช้แทนได้หรือไม่ สรุปแล้วหากสามารถหักได้จะรับเงินคืนแค่ 100,000 ไม่ต้องไปวางใช่หรือไม่

ขอบพระคุณอย่างยิ่งสำหรับคำตอบค่ะ

โดยคุณ ว่านค่ะ 4 มี.ค. 2553, 16:58

ตอบความคิดเห็นที่ 9

- ต้องนำเงิน 200,000 บาท ไปวางที่กรมบังคับคดีก่อนจากนั้นจึงหักใช้คืนแก่ท่าน 100,000 บาท

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 19 มี.ค. 2553, 16:30

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก