ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ|ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ

ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลาย/ถูกฟ้องล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ

บทความวันที่ 17 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3124 ครั้ง


ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ

คำแนะนำและทางแก้ของลูกหนี้เมื่อถูกฟ้องล้มละลาย(ส่งขึ้นเมรุรอฌาปนกิจ)
 1.  เมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะแก้อย่างไร(แก้ไขไม่ได้แก้ผ้า)
 2.  ต้องไปศาลหรือไม่  ถ้าไม่ไปจะถูกจับหรือไม่ (หรือต้องหนีไปอยู่ดูไบ)
 3.  ในชั้นฟ้องล้มละลาย  ลูกหนี้มีสิทธิในการเจรจาประนอมหนี้หรือไม่ (หรือต้องแผ่นอย่างเดียว)
 4.  เลวร้ายสุดสำหรับลูกหนี้คืออะไรในการถูกฟ้องล้มละลาย (ถ้าต้องติดคุกจะได้บอกชูวิทย์ให้ซื้อข้าวผัดถุงละ 5,000 รอไว้ก่อน)
คำแนะนำทนายคลายทุกข์ (เอาทุกข์ของคุณมาไว้ที่นี่ เราจะทุกข์แทนคุณ)
           1.  ปรึกษาทนายคลายทุกข์  เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องในการช่วยเหลือตัวเอง  โทร.081-912-5833,02-948-5700  หรือส่งอีเมล์มาที่ decha007cscoms.com  จะให้คำแนะนำในการเตรียมตัวต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมายล้มละลาย
           2.  คดีล้มละลายเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา จะไม่เดินทางไปศาล  เพื่อฟังการพิจารณาคดีหรือไม่  แต่ขอแต่งตั้งให้ทนายความให้ดำเนินการแทน จะเป็นประโยชน์มากกว่า  เพราะทนายความจะมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลล้มละลายกลาง
           3.  การเจรจาประนอมหนี้ในชั้นล้มละลายง่ายกว่าการเจรจาหนี้ในชั้นพิจารณาในศาลแพ่ง  เพราะเจ้าหนี้เริ่มมีความอ่อนล้า  ในการติดตามทวงถามหนี้ เนื่องจากติดตามทวงถามหนี้มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี  สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ทุกวิถีทางแล้ว  ไม่พบทรัพย์สินของลูกหนี้  จึงจำเป็นต้องฟ้องล้มละลาย  ซึ่งเป็นพิธีกรรมขั้นสุดท้ายที่เจ้าหนี้ต้องทำ (เปรียบเสมือนนิมนต์พระมาสวดศพ 4 รูป  ก่อนฌาปนกิจ  ผมเปรียบเทียบแบบนี้ท่านน่าจะนึกภาพออกนะครับ
          4.  ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด   หลังจากนั้นถ้าไม่มีทรัพย์สิน  ศาลจะพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา 3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา  3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา  แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ทุจริต  จะต้องล้มละลายถึง 10 ปี
 

ตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลาย/ถูกฟ้องล้มละลาย/ธ.กรุงเทพ

                                                                                      ศาลล้มละลายกลาง

          ธ.กรุงเทพ  จำกัด(มหาชน)  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
         นางสาว อ.    ลูกหนี้

เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอยื่นฟ้องลูกหนี้ดังจะกล่าวต่อไปนี้
          ข้อ 1.  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น นิติบุคล  สัญชาติไทย
 -  ประเภทธุรกิจ  ธนาคารพาณิชย์
 -  ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ ...
 -  มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ...
 ข้อ 2.  ลูกหนี้เป็น  บุคคลธรรมดา
  -  อาชีพ  ไม่ปรากฏอาชีพ
  -  หมายเลขบัตรประชาชน...
 -  มีภูมิลำเนา...
 ข้อ 3.  สาระสำคัญแห่งมูลหนี้ของลูกหนี้ผู้เป็นโจทก์
 -  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จำนวน 1,086,110.74  บาท
 โดยเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น  เจ้าหนี้ไม่มีหลักประกัน  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 เดิมลูกหนี้กับพวกเป็นหนี้ตามสัญญาเงินกู้จำนองอยู่กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  จำนวนสองสัญญาแต่ผิดนัดชำระหนี้  ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงได้ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดศรีษะเกษให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  จำนวนสองคดี  ดังนี้
 1.)  คดีหมายเลขดำที่ ... ซึ่งศาลจังหวัดศรีษะเกษได้มีคำพิพากษาตามยอม  เมื่อวันที่ 21  ธันวาคม 2543  ให้ลูกหนี้ตกลงชำระเงินจำนวน 521,160.34  บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี  ของต้นเงินจำนวน 310,000 บาท  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป  จนกว่าจะชำระเสร็จแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  แต่ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน  นับแต่วันทำยอม  หากลูกหนี้ไม่ชำระก็ให้ยึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ถูกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน  กับให้ลูกหนี้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ...ปรากฏตามภาพถ่ายคำพิพากษาศาลจังหวัดศรีษะเกษ  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3.  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนี้ด้วย
 2.)  คดีหมายเลขดำที่ ...  ซึ่งศาลจังหวัดศรีษะเกษได้มีคำพิพากษาตามยอม  เมื่อวันที่ 7  มิถุนายน 2547  ให้ลูกหนี้ตกลงชำระเงินจำนวน 311,824.09 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี  ของต้นเงินจำนวน 181,983.81  บาท  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป  จนกว่าจะชำระเสร็จแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ แต่ให้เสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำยอม  หากลูกหนี้ไม่ชำระก็ให้ยึดทรัพย์จำนองของนาง ล.  ออกขายทอดตลาดชำระหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้กับพวกออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน  กับให้ลูกหนี้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ...  ปรากฎตามภาพถ่ายตามคำพิพากษาศาลจังหวัดศรีษะเกษ  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4.  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนี้ด้วย
 ปรากกฎว่าลูกหนี้มิได้ปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดศรีษะเกษในคดีดังกล่าวข้างต้นแต่อย่างใด  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงขอให้ศาลจังหวัดศรีษะเกษออกหมายบังคับคดี  และนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่จดจำนองเป็นประกันหนี้ไว้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 30  มิถุนายน 2549  และวันที่ 4  พฤศจิกายน 2548  เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้ได้แล้ว  เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท  และจำนวน 160,000  บาท  โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์จำนองดังกล่าวเข้าชำระหนี้ตามพิพากษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ปราฎว่าลูกหนี้ยังคงมีหนี้ค้างชำระอยู่ในคดีหมายเลขแดงที่ ...  อีกจำนวน 705,616.94 บาท  และคดีหมายเลขแดงที่ ... อีกจำนวน 214,247.85 บาท  ปรากฏตามภาพถ่ายบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินครั้งที่ 1  (สองฉบับ)  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข5-6  ตามลำดับ  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนี้ด้วย
 ดังนั้น  ลูกหนี้ยังมีหนี้ค้างชำระกับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  มาจนถึงวันฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ (ฟ้องวันที่ 8 กันยายน 2551) ดังนี้
 - คดีหมายเลขแดงที่ ...
 (1)  เงินต้นที่ค้างชำระ จำนวน 310,000 บาท
 (2)  ดอกเบี้ยค้างเดิมตามบัญชีรายรับ-จ่าย ( คิดถึง 30 มิถุนายน 2549)  จำนวน 395,616.94 บาท 
 (3)  ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549  ถึงวันที่ 8 กันยายน 2551  เป็นระยะเวลา 740  วัน ในอัตราร้อยละ 14.50 บาท  ต่อปี  ของต้นเงินจำนวน 310,000 บาท  คิดเป็นดอกเบี้ยเพิ่มอีกเป็นจำนวน  91,131.51 บาท
 คิดเพียงวันฟ้องคดีล้มละลายลูกหนี้คงค้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเงินจำนวน 796,748.45 บาท  รายละเอียดปรากฏตามถ่ายภาพบัญชีแสดงภาระหนี้สิน   เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7    ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนี้ด้วย
 -  คดีหมายเลขแดงที่ ...
 (1)  เงินต้นค้างชำระ จำนวน 181,938.81 บาท 
 (2)  ดอกเบี้ยค้างเดิมจากบัญชีรับ-จ่าย (คิดถึง 4  พฤศจิกายน 2548)  จำนวน 32,264.04 บาท
 (3)  ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2548  ถึงวันที่ 8 กันยายน 2551  เป็นระยะเวลา 1,039  วัน  ในอัตราร้อยละ 14.50  ต่อปี  ของต้นเงินจำนวน 181,983.81 บาท  คิดเป็นดอกเบี้ยเพิ่มอีกเป็นเงินจำนวน  75,144.44 บาท
 คิดเพียงวันฟ้องคดีล้มละลายลูกหนี้คงค้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเงินจำนวน 289,362.29 บาท  รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายบัญชีแสดงภาระหนี้สิน  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 8  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งขอคำฟ้องนี้ด้วย
 ฉะนั้น  เมื่อภาระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้น  คิดเพียงวันฟ้องคดีล้มละลายลูกหนี้คงค้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเงินจำนวน 1,086,110.74 บาท  รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายบัญชีแสดง ภาระหนี้สินรวมสองคดี  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 9  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนี้ด้วย

   ข้อ 4.  ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
 ลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะ
 -ลูกหนี้มีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน
 *ต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483  โดย
  -ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห้งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
  -ลูกหนี้ได้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
  -ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น  ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้งจะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราช  อาณาจักร
  - ลูกหนี้ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
  -ลูกหนี้ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน  หรือหลบไปหรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิใช้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
  -ลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
  -ลูกหนี้ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
  *ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
  -ลูกหนี้ได้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
  -ลูกหนี้ได้แจ้งให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
  -ลูกหนี้ได้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
  -ลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง  ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้

 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้  ลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองไว้ตามหมายบังคับคดีของศาลจังหวัดศรีษะเกษ  และนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แล้ว  เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีแล้ว  คงเหลือจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้เพียงบางส่วน  ก่อนฟ้องคดีนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้พยายามทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้อีกหลายครั้ง  แต่ลูกหนี้เพิกเฉยไม่จัดการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แต่อย่างใด  ประกอบกับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  ได้ดำเนินการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพิ่มเติมแล้ว  แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้  รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายคำขอคัดเอกสาร / ตรวจสอบกรรมสิทธิ์  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 10.  ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนี้ด้วย
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดศรีษะเกษซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดได้แน่นอน  โดยลูกหนี้ยังเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และการที่ลูกหนี้ถูกยึดตามหมายบังคับของศาลนั้น  หรือไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเพียงพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้  พฤติการณ์ของลูกหนี้เข้าข้อสันนิษฐานว่า  ลูกหนี้ทั้งเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช พงศ. 2483  มาตรา 8 ฉะนั้น  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีนี้  เพื่อขอศาลไดโปรดมีคำสั่งพิทักษ์ลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อไป
 
             ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีล้มละลาย
เพราฉะนั้นศาลออกหมายเรียกตัวลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาและบังคับลูกหนี้ตามคำขอต่อไปนี้
 1.  ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายต่อไป
 2.  ให้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ด้วย
 ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามที่ระบุในคำฟ้องและบัญชีภูมิลำเนานั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในคดีนี้  หากมีการเปลี่ยนแปลงประการใดข้าพเจ้าจะแจ้งให้ศาลทราบทันที  พร้อมกันนี้ข้าพเจ้าไปยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องตรงเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย  ...  ฉบับ  และรอฟังคำสั่งอยู่  ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว
 
      ....................................เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า ...........................................ทนายความของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  ปรากฏตามใบแต่งทนายความที่แนบมาพร้อมคำฟ้องนี้  เป็นผู้เรียงและพิมพ์


      ......................................ผู้เรียงและผู้พิมพ์


      คำสั่งศาล  คดีหมายเลขดำที่ ล ............./25....
 รับฟ้อง ดำเนินการตามกฎหมาย  บัญชีภูมิลำเนา  ใบแต่งทนาย  ใบมอบฉันทะ  คำแถลงยืนยันภูมิลำเนา และบันทึกถ้อยคำพยาน (ถ้ามี) ให้รวมไว้  อนุญาตตามคำร้องขอส่งสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90  คำร้องขอส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบัญชีพยาน (ถ้ามี)
 หากประสงค์จะเสนอบัญชีถ้อยคำแทนการซักถามพยาน  ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้แก่ลูกหนี้ก่อนวันนัดพิจารณา 7 วัน 
 นัดพิจารณา  วันที่ ...........................................เวลา .......................นาฬิกา
 อนุญาตให้ตรวจคืนเอกสารแก่ผู้ขอเมื่อคดีถึงที่สุด  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว  อนุญาตให้คืนเงินประกันค่าใช้จ่ายที่เหลือ  เมื่อศาลมีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 133
            .........................................ผู้พิพากษา

หมายเหตุ :-
ค่าขึ้นศาล   500 บาท
ค่าใบแต่งทนาย   20 บาท
ค่าคำร้อง  .................. บาท
ค่าคำขอ  ................. บาท
ค่าอ้างเอกสาร  .................. บาท
ใบเสร็จเลขที่ ..................
เงินวางประกันค่าใช้จ่าย 5,000  บาท
ใบเสร็จเลขที่ .............................................
...................................................................
                     เจ้าพนักงานศาล
วันที่ ..........................................................

 


 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

 เราโดนคดีแดงใให้เป็นคนล้มละลายเราไม่มีเงินไปสู้ท่ีศาลเลยตั้งแต่โดนฟ้องมาเป็นเวลา 10กว่าปีแล้วไม่ทราบว่าเราโดนพิพากษาว่าเป็นคนล้มละลายหรือยังเพราะว่าทรัพย์เราไม่พอใช้หนี้ไปทำพาสปอรต์ไม่ผ่านเราจะทราบได้อย่างไรว่าเราพ้นล้มละลายเมื่อไหร่เราไม่เคยไปศาลเลยหลบหนีมา 10 กว่าปีแล้ว คดีสิ้นสุดแล้ว

โดยคุณ pegky tan 11 มิ.ย. 2554, 18:58

ความคิดเห็นที่ 3

ในเมื่อกฎหมายยินยอมให้เจ้าหนี้ทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ได้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เขาก็ต้องเอา นี่แหละคือความเป็นธรรม ส่วนลูกหนี้ก็เป็นคนผิดต้องได้รับโทษ แต่ลูกหนี้ที่มีประกัน น่าจะได้รับความเป็นธรรมตามปพพ.มาตรา 733  ต่อไปก่อนจะจำนำจำนอง อย่าให้เจ้าหนี้ฉีกมาตรานี้ทิ้ง ผู้ที่มีอำนาจน่าจะทบทวน

โดยคุณ Tony 3 ก.ค. 2552, 22:04

ความคิดเห็นที่ 2

การกระทำที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม (รวมทั้งแกล้งโง่)จะเป็นบาปติดตัว ติดวิญญาณไป จนกว่าจะชดใช้คืน(คำพระสอนไว้)

โดยคุณ Nui 30 มิ.ย. 2552, 13:04

ความคิดเห็นที่ 1

หากพ้นกำหนดชำระแล้วผิดนัด ทวงถามอีกนิดเพื่อให้โอกาส หากยังเพิกเฉยก็แสดงว่าหมดปัญญาชำระแน่ แล้วเจ้าหนี้รีบฟ้อง ยึดทรัพย์ประกันออกขาย ดีไม่ดีอาจมีเงินเหลือคืนให้ลูกหนี้ด้วยซ้ำ ไม่ใช่รอให้ดอกเบี้ยท่วมแบบนี้ แถมยังไปขายทอดตลาดทีไรก็ขาดทุนทั้งปีเสียอีก (ปกติที่ดินยิ่งนานวันยิ่งแพงขึ้น) จริงอยู่ที่เป็นสิทธิ์ของเจ้าหนี้ว่าอยากจะฟ้องตอนไหนก็ได้ แต่หากมีมโนธรรมก็คงไม่ทำและไม่ขอว่าหากขายทรัพย์ประกันแล้วยังไม่พอชำระหนี้(โหด) ให้ยึดทรัพย์สินอื่นๆออกขาย(รู้อยู่แก่ใจว่าขายขาดทุนอีกแล้ว)จนกว่าจะครบ เฮ่อ!ไม่หมดตัวให้มันรู้ไป

โดยคุณ Nui 30 มิ.ย. 2552, 12:54

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก