ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงไทย|ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงไทย

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงไทย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงไทย

ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลาย/ถูกฟ้องล้มละลาย/ธ.กรุงไทย

บทความวันที่ 11 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8567 ครั้ง


ศาลล้มละลายกลาง/ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย/กฎหมายล้มละลาย/ธ.กรุงไทย

คำแนะนำและทางแก้ของลูกหนี้เมื่อถูกฟ้องล้มละลาย(ส่งขึ้นเมรุรอฌาปนกิจ)
          1.  เมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะแก้อย่างไร(แก้ไขไม่ได้แก้ผ้า)
          2.  ต้องไปศาลหรือไม่  ถ้าไม่ไปจะถูกจับหรือไม่ (หรือต้องหนีไปอยู่ดูไบ)
          3.  ในชั้นฟ้องล้มละลาย  ลูกหนี้มีสิทธิในการเจรจาประนอมหนี้หรือไม่ (หรือต้องแผ่นอย่างเดียว)
          4.  เลวร้ายสุดสำหรับลูกหนี้คืออะไรในการถูกฟ้องล้มละลาย (ถ้าต้องติดคุกจะได้บอกชูวิทย์ให้ซื้อข้าวผัดถุงละ 5,000 รอไว้ก่อน)
คำแนะนำทนายคลายทุกข์ (เอาทุกข์ของคุณมาไว้ที่นี่ เราจะทุกข์แทนคุณ)
           1.  ปรึกษาทนายคลายทุกข์  เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องในการช่วยเหลือตัวเอง  โทร.081-912-5833,02-948-5700  หรือส่งอีเมล์มาที่ decha007cscoms.com  จะให้คำแนะนำในการเตรียมตัวต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมายล้มละลาย
          2.  คดีล้มละลายเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา จะไม่เดินทางไปศาล  เพื่อฟังการพิจารณาคดีหรือไม่  แต่ขอแต่งตั้งให้ทนายความให้ดำเนินการแทน จะเป็นประโยชน์มากกว่า  เพราะทนายความจะมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลล้มละลายกลาง
           3.  การเจรจาประนอมหนี้ในชั้นล้มละลายง่ายกว่าการเจรจาหนี้ในชั้นพิจารณาในศาแพ่ง  เพราะเจ้าหนี้เริ่มมีความอ่อนล้า  ในการติดตามทวงถามหนี้ เนื่องจากติดตามทวงถามหนี้มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี  สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ทุกวิถีทางแล้ว  ไม่พบทรัพย์สินของลูกหนี้  จึงจำเป็นต้องฟ้องล้มละลาย  ซึ่งเป็นพิธีกรรมขั้นสุดท้ายที่เจ้าหนี้ต้องทำ (เปรียบเสมือนนิมนต์พระมาสวดศพ 4 รูป  ก่อนฌาปนกิจ  ผมเปรียบเทียบแบบนี้ท่านน่าจะนึกภาพออกนะครับ
           4.  ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด   หลังจากนั้นถ้าไม่มีทรัพย์สิน  ศาลจะพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา 3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาล้มละลายต่อไป  อีกเป็นเวลา  3 ปี  นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา  แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ทุจริต  จะต้องล้มละลายถึง 10 ปี
 

ตัวอย่างคำฟ้องคดีล้มละลาย/ถูกฟ้องล้มละลาย/ธ.กรุงไทย

                                                                                           ศาลล้มละลายกลาง

ธ.กรุงไทย. จำกัด (มหาชน) โดย นาง ป.  ผู้รับมอบฯ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
นาย ร. ที่1, นางสาว ม. ที่2                                          ลูกหนี้

เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอยื่นฟ้องลูกหนี้ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1.  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น นิติบุคล  สัญชาติไทย
 -  ประเภทธุรกิจ  ธนาคารพาณิชย์
 -  ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ ...
 -  มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ...
ข้อ 2.  ลูกหนี้เป็น  บุคคลธรรมดา
  -  อาชีพ  ไม่ปรากฏอาชีพ
  -  หมายเลขบัตรประชาชน...
 -  มีภูมิลำเนา...
ข้อ 3.  สาระสำคัญแห่งมูลหนี้ของลูกหนี้ผู้เป็นโจทก์
 -  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จำนวน 3,006,714.89  บาท
           โดยเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็น  เจ้าหนี้ไม่มีหลักประกัน  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเภทบริษัทมหาชน  จำกัด  ทะเบียนเลขที่ บมจ...ใช้ชื่อว่า  ธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน)  มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการธนาคาพาณิชย์ทุกประเภท  มีนาย อ. กรรมการผู้จัดการ  มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนธนาคารเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ทุกกรณี  โดยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของธนาคารเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1
           ในการดำเนินคดีล้มละลายกับลูกหนี้ทั้งสองรายนี้  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาง ป. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดี  ฟ้องร้อง  ถอนฟ้อง  แก้ต่างคดีต่าง ๆ ทั้งคดีแพ่ง  คดีอาญา  คดีล้มละลายได้ทุกกรณี  และให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมีอำนาจดำเนินการต่าง ๆ  ดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ด้วย  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2
           ลูกหนี้ทั้งสองรายได้ตกเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ที่สาขาราชดำเนิน  กรุงเทพมหานคร  ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง  ตามคดหมายเลขแดงที่...ระหว่าง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  โจทก์ นายร. ที่10 นางสาว ม.ที่ 2  จำเลย  ซึ่งศาลได้โปรดมีคำพิพากษาของศาล ลงวันที่ 2  กันยายน 2542  ความว่า  พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน  จำนวน 1,617,366.27  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  16 ต่อปี ของต้นเงิน  จำนวน 1,596,834.49  บาท  นับแต่วันที่ 18  เมษายน 2540  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์  โดยให้นำเงิน  ซึ่งจำเลยได้ชำระมาแล้วจำนวน  99,487.59 บาท  หักชำระดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก่อน  หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ยึดโฉนดที่ดินเลขที่ ...  กรุงเทพมหานคร  พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้  หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ   กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์  โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาของศาลแพ่ง  คดีหมายเลขแดงที่ ...  และคำฟ้อง  คดีหมายเลขดำที่ ...  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3,4
ข้อ 4.  ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
-ลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะ
-ลูกหนี้มีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน
          ต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483  โดย
ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห้งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
          *ลูกหนี้ได้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
          *ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น  ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้งจะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ  ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
          *ลูกหนี้ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักรเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
          *ลูกหนี้ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน  หรือหลบไปหรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิใช้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
          *ลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
          *ลูกหนี้ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
         *****ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
         *ลูกหนี้ได้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
         *ลูกหนี้ได้แจ้งให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
         * ลูกหนี้ได้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
         * ลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง  ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้
          โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้  หลังจากที่ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว  ลูกหนี้ทั้งสองมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แต่อย่างใด  เป็นเหตุทำให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหาย  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงได้ขอศาลออกหมายบังคับคดี  เพื่อนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์จำนอง  ตามคดีหมายเลขแดงที่ ...  คือ โฉนดเลขที่  ...  กรุงเทพมหานคร  พร้อมสิ่งปลูกสร้าง  ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ 2  ออกขายทอดตลาด  ต่อมาวันที่ 20  พฤษภาคม 2547  เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองดังกล่าวได้และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการหักบัญชีรายการรับ-จ่ายเงินแล้ว  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองดังกล่าว  เป็นเงิน 1,475,400  บาท ท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ครั้งที่ 1  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5
          หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ดังกล่าวแล้ว  และเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเพียงบางส่วนแล้ว  ลูกหนี้ทั้งสองก็มิได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อีกเลย    ซึ่งถือว่าลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดไม่ทำการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหาย  ดังนั้น  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้คำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง  คดีหมายเลขแดงที่...  เพียงวันที่ 31  สิงหาคม 2551  ลูกหนี้ทั้งสองยังคงค้างชำระหนี้ตามคำพิพากษา  เป็นต้นเงิน  1,596,834.49  บาท และดอกเบี้ย 1,409,880.140  บาท  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,006,714.89 บาท  รายละเอียดปรากฏตามสำเนารายการคำนวณยอดหนี้  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6
           ต่อมา  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ทำการสืบหาหลักทรัพย์อื่นของลูกหนี้ทั้งสองเพิ่มเติม  แต่ไม่พบรายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7
         ฉะนั้น  การที่ลูกหนี้ทั้งสองเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง  ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว  แต่ลูกหนี้ทั้งสองไม่ทำการชำระหนี้ส่วนที่เหลือแต่อย่างใด  โดยลูกหนี้ทั้งสองเป็นบุคคลธรรมดามีหนี้ค้างชำระเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่เป็นจำนวนสูงอันเป็นหนี้ที่มีจำนวนแน่นอน  และถึงกำหนดชำระแล้ว  ค้างชำระอยู่กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท  ดังนั้น  ลูกหนี้ทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่มีหน้าสินมากกว่าทรัพย์สิน  พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นของลูกหนี้ทั้งสอง  จึงให้ถือว่าลูกหนี้ทั้งสองเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย  พุทธศักราช 2483  มาตรา 8  มาตรา 9  และพระราชบัญญัติล้มละลาย  ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)  พุทธศักราช 2542  มาตรา 4  
         อาศัยเหตุดังที่ได้ประทานกราบเรียนต่อศาลดังกล่าวข้างต้น  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงจำต้องนำคดีมาฟ้องลูกหนี้ทั้งสองต่อศาลนี้  เพื่อขอบารมีศาลได้โปรดมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายต่อไป
                                                                           ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีล้มละลาย
          เพราฉะนั้นศาลออกหมายเรียกตัวลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาและบังคับลูกหนี้ตามคำขอต่อไปนี้
          1.  ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้มาพิจารณาพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายกับใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
          2.  ขอศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ทั้งสองชดใช้ค่าทนายความอย่างสูงแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
 ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามที่ระบุในคำฟ้องและบัญชีภูมิลำเนานั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในคดีนี้  หากมีการเปลี่ยนแปลงประการใดข้าพเจ้าจะแจ้งให้ศาลทราบทันที  พร้อมกันนี้ข้าพเจ้าไปยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องตรงเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย  ...  ฉบับ  และรอฟังคำสั่งอยู่  ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว
 
                                                                                  ....................................เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

          คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า ...........................................ทนายความของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์  ปรากฏตามใบแต่งทนายความที่แนบมาพร้อมคำฟ้องนี้  เป็นผู้เรียงและพิมพ์


                                                                                   .....................................ผู้เรียงและผู้พิมพ์


คำสั่งศาล  คดีหมายเลขดำที่ ล ............./25....


           รับฟ้อง ดำเนินการตามกฎหมาย  บัญชีภูมิลำเนา  ใบแต่งทนาย  ใบมอบฉันทะ  คำแถลงยืนยันภูมิลำเนา และบันทึกถ้อยคำพยาน (ถ้ามี) ให้รวมไว้  อนุญาตตามคำร้องขอส่งสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90  คำร้องขอส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบัญชีพยาน (ถ้ามี)
          หากประสงค์จะเสนอบัญชีถ้อยคำแทนการซักถามพยาน  ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้แก่ลูกหนี้ก่อนวันนัดพิจารณา 7 วัน 
          นัดพิจารณา  วันที่ ...........................................เวลา .......................นาฬิกา
 อนุญาตให้ตรวจคืนเอกสารแก่ผู้ขอเมื่อคดีถึงที่สุด  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว  อนุญาตให้คืนเงินประกันค่าใช้จ่ายที่เหลือ  เมื่อศาลมีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 133
                                                                                      .........................................ผู้พิพากษา

หมายเหตุ :-
ค่าขึ้นศาล   500 บาท
ค่าใบแต่งทนาย   20 บาท
ค่าคำร้อง  .................. บาท
ค่าคำขอ  ................. บาท
ค่าอ้างเอกสาร  .................. บาท
ใบเสร็จเลขที่ ..................
เงินวางประกันค่าใช้จ่าย 5,000  บาท
ใบเสร็จเลขที่ .............................................
...................................................................
                     เจ้าพนักงานศาล
วันที่ ..........................................................

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

กรณีที่เป็นข้าราชการตำรวจนอกราชการ จะมีผลต่อบำนาญไหมครับ เพราะทราบมาว่าจะต้องถูกออกจากราชการกรณที่เป็นตำรวจ มิทราบว่า จะมีผลให้ปลดยศและสิทธิข้าราชการเกษียณหรือไม่ครับ

โดยคุณ สุรพงศ์ 13 เม.ย. 2562, 16:12

ความคิดเห็นที่ 7

ปพพ.733 ใหญ่กว่าข้อตกลงที่ธนาคารให้ลูกค้าลงนาม แต่กลับไม่สามารถนำมาใช้อะไรได้เลย จะตรากฎหมายออกมาทำไมกัน ท่าน

โดยคุณ nongma 9 ก.ค. 2553, 17:42

ความคิดเห็นที่ 6

สอบถามครับ  แม่ของผม เมื่อครั้งพ่อยังอยู่ ซื้อบ้านไว้หลายหลังชื่อของแม่ ผ่อนทุกหลัง หวังเอาไว้ให้เช่า แต่พ่อประสบอุบัติเหตุตายเสียก่อนหนี้หมด  แม่จึงไม่สามารถผ่อนต่อไปได้  เพราะไม่มีรายได้เพียงพอ  ต่อมาแบงก์ กรุงไทย ยึดบ้านทุกหลัง ขายทอดตลาด เรียบร้อย โรงเรียนแบงก์ แล้ว  มีหนี้สินค้างอีก 3 ล้านกว่า  จึงฟ้องล้มละลายแม่ผม  ก่อนถูกฟ้อง 2 ปี  แม่ผมขายบ้านให้บริษัท ฯพี่ชาย  1  หลัง เรียบร้อยโรงเรียนแม่ผมเหมือนกัน    พอถุกฟ้อง แม่ก็ย้ายบ้านไปพอดี เลยไม่รู้ข่าวสารใด ๆเลย  มารู้อีกที ตอนจะไปเที่ยวประเทศลาว(เวียงจันทร์ ไปเช้าเย็นกลับ) กับเพื่อนแม่   ตม. ไม่ให้ออก บอกว่า เป็นแบลคลิส ของบุคคลล้มละลาย  จึงทราบข่าว  ติดต่อไปที่บังคับคดี บอกว่า ออกหมายจับแล้ว ให้มารายงานตัว  แบบนี้ ผมกับแม่ผมควรทำยังไงดีครับ  แม่ผมไม่มีทรัพย์สิน ใด ๆ อีกแล้ว ที่มีก็ถูกยึดและขายหมดแล้ว อย่างนี้จะถูกติดคุกไหมครับ เห็นบอกออกหมายจับแล้ว   แล้วที่แม่ผมโอนบ้านไปก่อนที่ฟ้อง 2 ปี บังคับคดี จะเพิกถอนได้ไหมครับ  โอนขายให้บริษัทพี่ชาย จะถูกยึดได้ไหมครับ  กลุ้มใจกันมาก แม่กลัวติดคุก  กินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่นี่ครับ บอกด้วยครับ ที่ 

โดยคุณ คมสันต์ 9 ต.ค. 2552, 23:52

ตอบความคิดเห็นที่ 6

1.  หากแม่ท่านไม่ไปรายงานตัวตามหมายจับก็อาจถูกจำคุกได้

2.  ไม่สามารถเพิกถอนได้ (กรณีที่สุจริต  เช่น บุคคลภายนอกไม่รู้เรื่องว่าผู้ขายถูกฟ้อง)

3.  ทรัพย์สินต่าง ๆ ท่านไม่สามารถขายให้กับบุคคลอื่นได้  อาจถูกดำเนินคดีอาญา ฐาน โกงเจ้าหนี้ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 19 ต.ค. 2552, 15:11

ความคิดเห็นที่ 5

1.  หากแม่ท่านไม่ไปรายงานตัวตามหมายจับก็อาจถูกจำคุกได้

2.  ไม่สามารถเพิกถอนได้ (กรณีที่สุจริต  เช่น บุคคลภายนอกไม่รู้เรื่องว่าผู้ขายถูกฟ้อง)

3.  ทรัพย์สินต่าง ๆ ท่านไม่สามารถขายให้กับบุคคลอื่นได้  อาจถูกดำเนินคดีอาญา ฐาน โกงเจ้าหนี้ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 19 ต.ค. 2552, 15:11

ความคิดเห็นที่ 4

การล้มละลายเป็นเรื่องเฉพาะตัว ทรัพย์จะถูกยึดในส่วนที่เป็นของผู้ที่ล้มละลาย ดังนั้นการกู้ร่วมจึงถูกยึดได้

โดยคุณ Tui 7 ก.ค. 2552, 16:40

ความคิดเห็นที่ 3

พ่อถูกฟ้องล้มละลายคดีบัตรเครดิต  แต่ลูกชายเคยกู้ร่วมกับพ่อเพื่อซื้อบ้าน  ลูกจะถูกยึดทรัพย์ด้วยหรือไม่

โดยคุณ สันทนา สะโนว์ 6 ก.ค. 2552, 08:15

ตอบความคิดเห็นที่ 3

คุณถูกฟ้องคดีการซื้อบ้านด้วยหรือไม่  ถ้าถูกฟ้อง  คุณก็อาจถูกยึดทรัพย์ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์  10 ก.ค. 2552, 16:11

ความคิดเห็นที่ 2

คุณถูกฟ้องคดีการซื้อบ้านด้วยหรือไม่  ถ้าถูกฟ้อง  คุณก็อาจถูกยึดทรัพย์ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์  10 ก.ค. 2552, 16:11

ความคิดเห็นที่ 1

เจ้าหนี้มีประกัน เคยมีใครมองในมุมของลูกหนี้บ้างหรือไม่ว่า จะมีซักกี่คนที่ตั้งใจให้ธุรกิจของตนเจ๊ง เพราะต้องลงทุนลงแรงไปมากมายกว่าจะได้เงินทุนมาทำ ก็ต้องควักจ่ายเงินมัดจำ เงินดาวน์ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอีกสารพัด แต่เมื่อธุรกิจที่ผ่านการประเมินแล้วของทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้มันเกิดเจ๊งขึ้นมา ทั้ง2ฝ่ายควรร่วมกันรับผิดชอบ โดยนำ ปพพ.733 มาใช้ คือลูกหนี้ก็เสียหลักทรัพย์พร้อมทั้งเงินที่ได้จ่ายและผ่อนไปทั้งหมด ส่วนเจ้าหนี้ก็ต้องรับราคาที่ไปขายทอดตลาดเอาเอง  ทำไมจะต้องบังคับให้ลูกหนี้ล่มจมโงหัวไม่ขึ้น

โดยคุณ TonyVee 14 มิ.ย. 2552, 14:45

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก