ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดี สคบ./คดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกทรัพย์คืน|ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดี สคบ./คดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกทรัพย์คืน

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดี สคบ./คดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกทรัพย์คืน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดี สคบ./คดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกทรัพย์คืน

ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดี สคบ./คดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกทรัพย์คืน

บทความวันที่ 10 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 25531 ครั้ง


ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดี สคบ./คดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกทรัพย์คืน

 

                                                                                      ศาลแขวงพระนครเหนือ

 

บริษัท ด.                                 โจทก์

นาย พ.ที่ 1, นาย ช. ที่ 2, นางสาว ณ. ที่3                     จำเลย

 

เรื่อง     ผิดสัญญาซื้อขาย, ผิดสัญญาค้ำประกัน, เรียกทรัพย์คืน และเรียกค่าเสียหาย

จำนวนทุนทรัพย์    300,000 บาท

 

            ข้อ 1.  โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด  จดทะเบียน ณ  สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  จังหวัดอุบลราชธานี  โดยมีนาย ส.  ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์  หรือนาย ส. และนางสาว ช. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทโจทก์  จึงมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้  ทั้งนี้  โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าเครื่องจักร  เครื่องยนต์  พาหนะ  และอื่น ๆ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัทโจทก์  พร้อมรายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตราประทับเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

            ในการฟ้องและดำเนินคดีนี้  โจทก์ได้มอบอำนาจให้นาย ด. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสามแทนโจทก์ได้  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2

            ในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม  โจทก์ได้มอบอำนาจให้นางสาว ล. ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543  ได้เปลี่ยนชื่อตัวเป็น นางสาว ช.  เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนโจทก์  และเป็นผู้มีอำนาจให้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันที่ซื้อขายแทนโจทก์ได้  รายละเอียดปรากฎตามหนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งตัวแทน  และหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 และ 4

            ข้อ2.  เมื่อวันที่ 4  เมษายน 2548  จำเลยที่ 1  ซึ่งในสัญญากับโจทก์ใช้ชื่อตัว-ชื่อสกุลว่า นาย พ. แต่ปัจจุบันขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้เปลี่ยนชื่อตัวเป็น นาย ภ.”  ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุก  ยี่ห้อ  นิสสัน แบบ/รุ่น หัวลากจูง  สีขาว  คันหมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่อง หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังรถไปจากโจทก์จำนวน 1 คัน  โดยตกลงซื้อขายกันในราคา 558,112 บาท  ตกลงชำระราคาค่าซื้อขายเป็นรายเดือน  ในอัตราเดือนละ 15,600 บาท  งวดสุดท้ายจำนวน 12,112  บาท  รวม  36 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 4  พฤษภาคม 2548  และงวดต่อ ๆ ไปชำระภายในวันที่ 4 ของทุก ๆ เดือนถัดไป  จนกว่าจะชำระราคาค่าซื้อขายให้แก่โจทก์ในสภาพดีเรียบร้อยแล้ว

            ทั้งนี้โจทก์และจำเลยที่ 1  ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 1 จนกว่าจำเลยที่ 1  จะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายครบถ้วน  รวมถึงการชำระราคาให้ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายข้อที่ 1.  ด้วย  และหากผิดนัดชำระราคาซื้อขายให้แก่โจทก์งวดหนึ่งงวดใด  จำเลยที่ 1  ยินยอมให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวและยินยอมให้โจทก์ริบเงินที่ได้ชำระมาแล้วเป็นของโจทก์ทั้งสิ้น  และมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทันที  อีกทั้งจำเลยที่ 1  เองและจำเลยที่ 1  ต้อวงรับผิดต่อโจทก์ในบรรดาค่าใช้จ่ายในการติดตามหาทรัพย์  เพราะเหตุอันเกิดจากการผิดสัญญาซื้อขาย  และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5 และ 6

            ในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1  ได้มีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3  ตกลงทำสัญญาค้ำประกัน  การปฎิบัติตามสัญญาขายของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์  โดยตกลงร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญาค้ำประกัน  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7

            ข้อ3.  หลังจากที่จำเลยที่ 1  ได้ทำสัญญาซื้อขาย  และรับมอบรถยนต์ที่ซื้อไปจากโจทก์แล้ว  จำเลยที่ 1  ชำระราคาค่าซื้อขายให้แก่โจทก์เพียง 21 งวด  ส่วนงวดที่ 22 จำเลยที่ 1  ชำระให้แก่โจทก์เพียง 10,000 บาท (ซึ่งไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญางวดละ 15,600 บาท )  ดังนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1  ผิดนัดชำระราคาค่าซื้อขายมีผลทำให้สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวและมีสิทธิริบเงินที่จำเลยที่ 1  ได้ชำระมาแล้วเป็นของโจทก์ทั้งสิ้น  และมีสิทธิกลับเข้ามาครอบครองรถยนต์พร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทันที  อีกทั้งจำเลยที่ 1  มีหน้าที่ของโจทก์  ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 เอง  และจำเลยที่ 1  กลับเพิกเฉยยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ของโจทก์ตลอดมา

            ต่อมาเพื่อเป็นการยืนยันการบอกเลิกสัญญา  โจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาซื้อขาย  ให้ส่งมอบรถยนต์คืน  และให้ชดใช้ค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสาม  ซึ่งถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับแล้วโดยชอบตามสัญญา  ข้อ 14.  แต่จำเลยทั้งสามยังคงเพิกเฉยครอบครองและใช้ประโยชน์รถยนต์ของโจทก์เรื่อยมา  รายละเอียดปรากฎตามหนังสือบอกเลิกสัญญาซื้อขาย  ให้ส่งมอบรถยนต์คืน  และให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมไปรษณีย์ตอบรับ  เอกสารท้ายคำฟ้องหมาเลข 8 และ 9

            ข้อ 4.  การผิดนัดชำระค่าซื้อรถยนต์และไม่ส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์  ของจำเลยที่ 1  ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย  ไม่ได้รับเงินค่าราคารถยนต์ที่ซื้อขายและทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ใช้สอบรถยนต์ของโจทก์  โดยโจทก์สามารถนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1  ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ออกให้ผู้อื่นเช่าได้  ดังนั้นจำเลยที่ 1  จึงต้องรับผิดแก่โจทก์ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

            4.1  จำเลยที่ 1  ต้องส่งมอบรถยนต์บรรทุกคันที่ซื้อขายคืนแก่โจทก์  ณ ที่ทำการโจทก์ในสภาพที่เรียบร้อยและใช้การได้ดี  หากส่งมอบรถยนต์คืนไม่ได้ให้จำเลยที่ 1  ชดใช้ราคาแทนเป็นเงินจำนวน 558,112  บาท  แต่ทั้งนี้โจทก์ขอคิดราคาใช้แทนเป็นจำนวนเงินเพียง 300,000 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

            4.2  จำเลยที่ 1  ต้องชำระค่าขาดประโยชน์จากการใช้ประโยชน์รถยนต์ของโจทก์ในอัตราเดือนละ 10,000 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี  นับถัดจากฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืน  หรือใช้ราคาแทนจนครบถ้วน

            4.3  ดังนั้น  จำเลยที่ 2  และจำเลยที่ 3  ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1  จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างในฐานะลูกหนี้ร่วม  โดยไม่จำกัดจำนวน

            โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสามได้  จึงต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง

 

                                                                            ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

 

คำขอท้ายฟ้องคดีผู้บริโภค

            ขอศาลได้โปรดออกหมายเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้

            1.  ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบรถยนต์บรรทุกคันที่ซื้อขายคืนโจทก์ในสภาพที่เรียบร้อยและใช้การได้ดี  หากส่งมอบรถคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอันตราร้อยละ 15 ต่อปี  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือชำระราคาแทนเสร็จสิ้น

            2.  ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรถยนต์ของโจทก์ในอัตราเดือนละ 10,000 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทนจนครบถ้วน

            3.  ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแก่โจทก์

           

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

ขอคำปรึกษาครับ

พ่อเสียชีวิต ไม่มีพินัยกรรมให้กับลูก 3คน แต่แม่เลี้ยง(จดทะเบียนสมรสกับพ่อ)ถือทรัพย์สินเป็นชื่อตน.

แสดงพฤติกรรมว่าจะไม่จัดสรรแบ่งปันทรัพย์ในส่วนของพ่อหรือแบ่งให้ลูก.

ปัญหานี้มีทางเรียกร้องทรัพย์ในส่วนของพ่อได้หรือไม่ครับ.

และมีหนทางค้นทรัพย์ถือครองระหว่างสมรสได้หรือไม่ครับ.



โดยคุณ ธีรพงษ์ สุขเจริญ 30 พ.ค. 2561, 09:01

ความคิดเห็นที่ 7

 สอบถามอาจารยฺคะ มีการเช่าซื้อรถตั้งแต่ปี48 ต่อมาผ่อนไม่ไหวจึงคืนรถให้ทางเจ้าหนี้ ขายทอดตลาดแล้วเมื่อปี51หลังจากนั้นมีจดหมายทวงหนี้มาเนื่องจากขายได้ต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ แต่ด้วยภาระทำมาหากินคนเดียวเพราะอดีตสามีที่ทำเรื่องไว้ลิกลากันแล้วหลายปีหนี้สินในและนอกระบบบวกกับภาระลูกและมารดาที่ต้องเลี้ยงดู จึงไม่สามารถทำการชำระคืนแก่โจทก์ได้ จึงตกเป็นจำเลย และไม่มีความรู้และด้านกฎหมายเลยบวกกับไม่เคยได้ไปขึ้นศาลเลยจึงทำให้ภาะหนี้สินยอดหนี้กับดอกเบี้ยสูงมาก หนูควรทำอย่างไรต่อไปดีคะ ให้ยอดหนี้รวมดอกเบี้ยลดลงจากที่โจทก์ฟ้องศาลไปแล้ว หนูขอรบกวนให้ท่านช่วยแนะข้อชี้แนะที่หนูจะสามารถคุยกับทางโจทก์และความเห็นใจด้านกฎหมายให้กับคนจนๆที่ไม่มีความรู้ชี้แนะให้ด้วยคะ

โดยคุณ กุลธิดา 1 ส.ค. 2559, 12:29

ความคิดเห็นที่ 6

 ก็งั้นๆ

 
โดยคุณ Tanusak Yakhiao 9 มิ.ย. 2557, 13:31

ความคิดเห็นที่ 5

เอาชื่อผ่อนรถมอไชค์ให้เพื่อน 1 คัน ต่อมาได้รับจม.จากบริษัทว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ และได้นำรถคืน ทางบริษัทได้ขายทอดตลาด แจ้งว่าต้องเสืยค่าดำเนินการ 900 บ.จึงส่งให้  ต่อมาได้รับแจ้งอีกว่าสามารถขายได้เกินยอดค้างชำระ1,800บ. แต่ต้องเสียค่าเสียหาย 2,000บ. หักแล้วต้องจ่ายให้บริษัทอีก200บ. แต่ไม่คิดจะให้ครับ เพราะมึนกับข้ออ้าง ของบริษัท(ขายไปแล้วได้กำไร แต่บอกเสียหาย)ทางบริษัทบอกจะดำเนินคดี และดิสเครดิสบูโร (เงิน200บ.) ทำได้ไหม อย่างไร

โดยคุณ กิตติ 27 เม.ย. 2556, 01:24

ความคิดเห็นที่ 4

อยากทราบว่าเมื่อเรานำรถยนต์ไปคืน เรียบร้อยและทางผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้มีแจ้งยอดก่อนขายทอดตลาด ระยะเวลาผ่านมา 3-4 ปี แล้ว ก็ยังมีการติดตามและแจ้งยอดส่วนต่างประมาณ 240,000 บาท อยากขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ ว่าเราต้องทำอย่างไรดีค่ะ

โดยคุณ รถเมย์ 25 เม.ย. 2555, 10:06

ตอบความคิดเห็นที่ 4

แต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการแก้ต่างต่อสู้คดี หรือไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 8 พ.ค. 2555, 16:25

ความคิดเห็นที่ 3

แต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการแก้ต่างต่อสู้คดี หรือไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 8 พ.ค. 2555, 16:25

ความคิดเห็นที่ 2

อยากทราบว่า  ดิฉันคืนรถแล้ว  ทางบริษัท  ได้ออกใบรับรองการชำระหนี้ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 52

ปัจจุบันท่านไม่มีหนี้ค้างชำระตามสัญญา  (สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันรถยนต์)

ทำไมดิฉันไม่สามารถสมัครบัครเคดิตของธนาคารต่าง ๆ ได้

จึงขอเรียนถามอาจารย์คะ

โดยคุณ ณัฐวีณ์ จินตนาเรือง (สมาชิก) 3 ส.ค. 2553, 15:13

ตอบความคิดเห็นที่ 2

- อาจมีส่วนต่างหลังจากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ท่านต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้หมดก่อนถึงจะปลด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 6 ส.ค. 2553, 11:02

ความคิดเห็นที่ 1

- อาจมีส่วนต่างหลังจากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ท่านต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้หมดก่อนถึงจะปลด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 6 ส.ค. 2553, 11:02

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก