ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญากู้ยืม|ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญากู้ยืม

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญากู้ยืม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญากู้ยืม

ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญากู้ยืม

บทความวันที่ 8 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 34004 ครั้ง



ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญากู้ยืม

                                                                                     ศาลจังหวีดมีนบุรี

นาย ส.     โจทก์     
นาย พ.     จำเลย

เรื่อง ผิดสัญญากู้ยืม
จำนวนทุนทรัพย์  400,899  บาท  78  สตางค์

           ข้อ 1. เมื่อวันที่  2 พฤศจิกายน  2548   จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์   จำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)   ในวันทำสัญญากู้ยืมจำเลยได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์จำนวน 20,000  บาท  (สองหมื่นบาทถ้วน)  ส่วนที่เหลืออีกจำนวน  280,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)  จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่  4  พฤศจิกายน  2548   โดยจำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยการโอนหุ้น  บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,735  หุ้น  ให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลา ตามเงื่อนไขการปลดล๊อคหุ้น  ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)  รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน  เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  1
           ข้อ  2.  ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549  โจทก์ได้รับแจ้งจากจำเลยว่า  ไม่สามารถโอนหุ้นบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,735 หุ้น  เพื่อชำระหนี้เงินกู้จำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2548  และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 โดยเห็นว่าการเปลี่ยนทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นหุ้นบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย 2  
           ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนหุ้นจำนวน 17,735 หุ้น  เพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้  จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระหนี้เงินกู้จำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) คืนแก่โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์หลายครั้ง  แต่จำเลยกลับเพิกเฉย
          ข้อ 3. การกระทำของจำเลยดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญากู้ยืมเงินและ     เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระต้นเงินจำนวน  300,000  บาท (สามแสนบาทถ้วน)  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ นับตั้งแต่วันที่จำเลยรับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ คิดเป็นดอกเบี้ย 73,117.81 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันหนึ่งร้อยสิบเจ็ดบาทแปดสิบเอ็ดสตางค์)รวมเป็นต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 373,117.81 บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นสามพันหนึ่งร้อยสิบเจ็ดบาทแปดสิบเอ็ดสตางค์) รายละเอียดปรากฎตามสำเนาตารางคำนวณดอกเบี้ย เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  3   ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีนี้   
           ก่อนฟ้องและดำเนินคดีนี้กับจำเลย โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์  จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 แต่จำเลยกลับเพิกเฉย  รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถามพร้อมไปรษณีย์ตอบรับภายในประเทศ   เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  4  และหมาย  5  ตามลำดับ   
          โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง
                                                                                        ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีผู้บริโภค
 ขอศาลได้โปรดออกหมายเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้
 1.  ให้จำเลยชำระเงิน  แก่โจทก์จำนวน 373,117.81 บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นสามพันบาทหนึ่งร้อยสิบเจ็ดบาทแปดสิบเอ็ดสตางค์) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  ของต้นเงิน  300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์


 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

อยากปรึกษาท่านทนายที่เคารพค่ะว่า  ดิฉันและเพื่อนเป็นข้าราชการที่กู้เงินกับทางออมสิน  ทุก ๆ สิ้นเดือนออมสิ้นจะทำหนังสือส่งให้ต้นสังกัดเพื่อหักเงินเดือน ทุก ๆ เดือน  ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มหักมาแล้ว 4 เดือน  แต่เดือนที่ห้าไม่ได้หัก  เดือนที่หกหัก  และเดือนล่าสุดคือเดือนที่เจ็ดก็ไม่ได้หักอีก  ทางธนาคารมีหนังสือทวงหนี้ว่าดิฉันและเพื่อนมียอดค้างชำระที่จะต้องจ่าย  ซึ่งสอบถามแล้วธนาคารอ้างว่าได้ส่งยอดไปให้ต้นสังกัด  แต่ต้นสังกัดปฏิเสธว่าไม่มีรายชื่อของทั้งสองคน  เพราะระบบและโปรแกรมของธนาคารกับหน่วยงานต้นสังกัดไม่ตรงกัน  ซึ่งแต่ละเดือนยอดที่เราสองคนต้องส่งอยู่ที่  6,330  แต่เพียงแค่เดือนเดียวดอกเบี้ย  (ค่าเบี้ยปรับ)  เพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่ง  โดยที่เกิดจากความผิดพลาดของหน่วยงานใดก็ไม่มีใครยอมรับผิดชอบ  ต่างคนต่างอ้างว่าตัวเองไม่ได้ผิด  แต่โยนความรับผิดชอบให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ  สุดท้ายผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ  สมาชิกหรือลูกค้าต้องแบกรับภาระจ่ายดอกเบี้ยที่ไม่ได้ก่อและไม่พึงปรารถนา  เพราะเกิดจากความผิดพลาดของหน่วยงานทั้งสองที่ทำงานเข้าหากันไม่ได้  สุดท้ายโยนความผิดให้ลูกค้าหรือสมาชิกว่าไม่รู้จักตรวจสอบบัญชี  ว่ามียอดเงินเกินมาทำไมไม่นำไปจ่าย  ด้วยความที่ลูกค้าไม่เคยมีประสบการณ์ในการเป็นหนี้มาก่อน  ก็เลยไม่ทราบว่าต้องติดต่ออย่างไร  เพราะธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาในแต่ละเดือนก็หน่วยงานต้นสังกัดเป็นคนจัดการอยู่แล้ว  ไม่เคยต้องได้ติดต่อและนำเงินสดไปชำระเองสักที  อีกอย่างการเงินต้นสังกัดก็เคยปฏิบัติมาตลอดทำไมพอเกิดข้อผิดพลาดมาถึงไม่ยอมรับ  ไม่ทราบว่าดิฉันต้องจัดการกับปัญหาในลักษณะนี้อย่างไรคะ  จะร้องเรียนหรือเรียกร้องความเป็นธรรมได้จากที่ไหน  จากที่ต้องจ่ายแค่เดือนละหกพันกว่า  เกือบต้องจ่ายถึงเดือนละหมื่นเป็นเวลาสองเดือนก็ปาไปที่สองหมื่นค่ะ  แล้วความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากเรา  แต่เราต้องรับผลที่เกิดขึ้นมา  โทรแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดเคลียร์กับออมสินก็ปัดความรับผิดชอบ  และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานผิดพลาด  นี่คือครั้งที่สองแล้ว   หวังว่าท่านคงช่วยตอบปัญหาให้ดิฉันได้นะคะ  ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

โดยคุณ นก 26 ส.ค. 2553, 12:28

ความคิดเห็นที่ 1

ดิฉันคิดว่าน่าจะมีการเพิ่มโทษลงไปด้วย

โดยคุณ dada 21 ก.พ. 2553, 16:53

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก