ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญาซื้อขาย|ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญาซื้อขาย

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญาซื้อขาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญาซื้อขาย

ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญาซื้อขาย

บทความวันที่ 8 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 31370 ครั้ง


ตัวอย่างคำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./ผิดสัญญาซื้อขาย

                                                                                                   ศาลจังหวัดธัญบุรี

บริษัท ร. โดนนาย ส.  กรรมการผู้มีอำนาจ             โจทก์
หจก.บ. ที่ 1, นาย ค. ที่ 2                                         จำเลย

เรื่อง ผิดสัญญาซื้อขาย  รับสภาพหนี้
จำนวนทุนทรัพย์  290,168  บาท  92  สตางค์

          ข้อ 1.โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเภทบริษัทจำกัด  มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าเครื่องเหล็ก เครื่องทองเหลือง ทองแดงทุกชนิด  ท่อเหล็ก เหล็กเส้น  เหล็กฉากและเหล็กแผ่น  โดยลำพังมีนาย ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท สามารถกระทำการแทนบริษัทได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์  เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย 1
          จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการ  รับเหมาก่อสร้างทุกประเภท  งานโครงสร้าง  ระบบไฟฟ้า และสิ่งอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องชนิด  โดยมีจำเลยที่  2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่  1 สามารถกระทำการแทนจำเลยที่ 1  ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  2
          ข้อ  2.  เมื่อระหว่างวันที่ 3  ธันวาคม  2548  ถึงวันที่ 16 ธันวาคม  2548 จำเลยที่  1  โดยจำเลยที่ 2  ได้สั่งซื้อสินค้าประเภทเหล็กตัวซีพับ เหล็กแบน แป๊ปโปร่ง เพลา จากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในกิจการของจำเลยทั้งสองจำนวนหลายครั้งหลายคราว    รวมเป็นเงินค่าสินค้าจำนวนทั้งสิ้น  242,194.50  บาท (สองแสนสี่หมื่นสองพันหนึ่งร้อยเก้าสิบสี่บาทห้าสิบสตางค์) โดยจำเลยทั้งสองได้รับสินค้าที่สั่งซื้อทั้งหมดไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วและตกลงว่าจะชำระราคาค่าสินค้าให้โจทก์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสองได้รับสินค้าจากโจทก์ในแต่ละครั้ง    
            การซื้อสินค้าทุกครั้งมีรายละเอียดวันที่ซื้อ  ชนิด  ปริมาณ  และราคาสินค้า ตลอดจนกำหนดวันชำระเงินค่าสินค้า รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้/ใบส่งของ เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  3  
         ข้อ  3.  เมื่อหนี้ค่าสินค้าถึงกำหนดชำระในแต่ละครั้ง      โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้ง แต่จำเลยทั้งสองคงเพิกเฉย ต่อมาเมื่อวันที่ 29  กันยายน 2549 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์         โดยยอมรับว่ามีหนี้ค้างชำระค่าสินค้าเป็นเงินจำนวน 242,194.50 บาท (สองแสนสี่หมื่นสองพันหนึ่งร้อยเก้าสิบสี่บาทห้าสิบสตางค์) แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ไว้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  4
          หลังจากที่จำเลยทั้งสองตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าสินค้าตามหนังสือรับสภาพหนี้หลายครั้ง  แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์  ต่อมาเมื่อวันที่  16 เมษายน  2552 และเมื่อวันที่  7 พฤษภาคม  2552 โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าสินค้า  จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว เมื่อวันที่  21 เมษายน  2552 และเมื่อวันที่  9  พฤษภาคม  2552 แต่จำเลยทั้งสองยังคงเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถามและไปรษณีย์ตอบรับ   เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  5  และ 6 ตามลำดับ

          ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์     ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองได้สั่งซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างอย่างไม่จำกัดจำนวน มีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ จำนวน  242,194.50 บาท (สองแสนสี่หมื่นสองพันหนึ่งร้อยเก้าสิบสี่บาทห้าสิบสตางค์) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  นับแต่วันที่ 29 กันยายน 2549 จนถึงวันฟ้อง เป็นเวลา 964 วัน  คิดเป็นดอกเบี้ย  จำนวน 47,974.42  บาท   (สี่มื่นเจ็ดพันเก้าร้อยเจ็ดสิบสี่บาทสี่สิบสองสตางค์) รวมเป็นต้นเงินแลtดอกเบี้ย จำนวน 290,168.92  บาท  (สองแสนเก้าหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบแปดบาทเก้าสิบสองสตางค์)   ซึ่งโจทก์ขอถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ รายละเอียดปรากฏตามตารางคำนวณดอกเบี้ย   เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมาย  7  
          โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสองได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง
                                                                                ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีผู้บริโภค
           ขอศาลได้โปรดออกหมายเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้
          1.  ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน  แก่โจทก์จำนวน 290,168.92 บาท (สองแสนเก้าหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบแปดบาทเก้าสิบสองสตางค์) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  ของต้นเงิน  242,194.50 บาท (สองแสนสี่หมื่นสองพันหนึ่งร้อยเก้าสิบสี่บาทห้าสิบสตางค์)  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

สวัสดีค่ะ ดิฉันมีเรื่องร้อนใจค่ะ น้องชายได้ไปเช่าซื้อรถยนต์มือสองมา หลังจากนั้นน้องชายโดนจับ พร้อมกับรถ หลังจากนั้นไฟแนนส์ได้นำรถออกมาจากสถานีตำรวจ น้องสะไภ้ต้องการที่จะผ่อนรถต่อ แต่ทางไฟแนนส์ไม่ยอม บอกว่าต้องจ่ายเงินทั้งหมดที่เหลือเลย รถราคา 130000 น้องชายผ่อนมาแล้วจนเหลือ ประมาณ 80000 ไฟแนนส์มีจดหมายมาบอกต้องจ่ายเงิน 130000 เพียงครั้งเดียวถ้าอยากได้รถคืน หรือทางไฟแนนส์จะนำรถออกขายทอดตลาด น้องสะไภ้ ต้องใช้รถไปทำงาน แต่ไม่มีเงินก่อนต้องการจะผ่อนเป็นรายเดือนเหมือนเดิม ไฟแนนส์แจ้งต้องจ่ายค่าต่างๆ สารพัด จนยอดเงิน เท่ากับ 130000 มันเป็นการเอาเปรียบกันมากเลย ดิฉันมีวิธีใดสามารถจะช่วยน้องสะไภ้ได้บ้างไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ แอน 18 ก.ค. 2555, 17:49

ความคิดเห็นที่ 3

คดีนี้ไม่ใช่คดีผู้บริโภค ไปดูให้ดีนะทนาย ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันนะ

โดยคุณ 14 ก.ย. 2553, 13:23

ความคิดเห็นที่ 2

เรียนอาจารย์เดชา

ถ้าในกรณีที่ซื้อบ้านมือสองผ่านโบรกเกอร์ได้วางเงินมัดจำแล้วแต่ทำเรื่องกู้ไม่ผ่านธนาคารเพราะไม่ได้วงเงินเท่าที่ขอไปแต่ธนาคารทำการปฎิเสธมาแต่ใบปฏิเสธมาไม่ถึงมือเราโบรกเกอร์ก็ไม่ยอมคืนเงินมัดจำบอกว่าเราผิดสัญญากับเขาเราเป็นคนปฏิเสธเองแต่ในสัญญาเขาระบุว่าถ้ากู้สินเชื่อไม่ผ่านเขาก็จะคืนเงินให้อย่างนี้เราต้องทำอย่างไรค่ะ

โดยคุณ ธนาภรณ์ มั่นสวัสดิ์ (สมาชิก) 27 ส.ค. 2553, 15:34

ตอบความคิดเห็นที่ 2

- หากไม่เป็นตามที่ตกลงโบรกเกอร์ต้องคืนเงินดังกล่าว หากไม่ยอมคืนแนะนำให้ท่านฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคเพื่อเรียกเงินคืนต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 29 ส.ค. 2553, 11:42

ความคิดเห็นที่ 1

- หากไม่เป็นตามที่ตกลงโบรกเกอร์ต้องคืนเงินดังกล่าว หากไม่ยอมคืนแนะนำให้ท่านฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคเพื่อเรียกเงินคืนต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 29 ส.ค. 2553, 11:42

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก