คำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./คดีคุ้มครองผู้บริโภค/คดีสินค้าไม่ปลอดภัย|คำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./คดีคุ้มครองผู้บริโภค/คดีสินค้าไม่ปลอดภัย

คำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./คดีคุ้มครองผู้บริโภค/คดีสินค้าไม่ปลอดภัย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./คดีคุ้มครองผู้บริโภค/คดีสินค้าไม่ปลอดภัย

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำฟ้องคดีผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าไม่ปลอดภัย

บทความวันที่ 8 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3370 ครั้ง


คำฟ้องคดีผู้บริโภค/คดีสคบ./คดีคุ้มครองผู้บริโภค/คดีสินค้าไม่ปลอดภัย

                                                                                                    ศาลแพ่งธนบุรี

นางจ. ที่ 1, นาย ย. ที่ 2                                                            โจทก์
บริษัท ท.จำกัด ที่ 1, บริษัท ส. จำกัด (มหาชน) ที่ 2                จำเลย

เรื่อง ละเมิด,เรียกค่าเสียหาย
จำนวนทุนทรัพย์  300,000  บาท

          ข้อที่ 1  จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ประเภท บริษัทจำกัด  โดยจดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  กรุงเทพมหานคร  มีกรรมการทั้งหมด 8 คน  มีนาง  ......ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาง... รวมกันสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท  เว้นแต่  คำขอและเอกสารใด ๆ  ที่ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์  กรมสรรพากร  กระทรวงแรงงาน (รวมถึงคำขอใบอนุญาตทำงาน)  และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  ให้กรรมการเพียงคนเดียวสามารถลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทได้  โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบการกิจการโรงงานทำผลไม้  และน้ำผงไม้กระป๋อง  ผลไม้อบแห้ง  อาหารกระป้องแปรรูปจากผลพลอยได้และน้ำผลไม้กระป๋อง  และผลไม้อบแห้ง  รวมทั้งมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ ปรากฏตามรายละเอียดตามสำเนาหนังสือหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1
           จำเลยที่ 2  เป็นนิติบุคคล  ประเภท บริษัทจำกัด  โดยจดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  กรุงเทพมหานคร  มีกรรมการทั้งหมด 11 คน มีนาง น....และนาย... กรรมการสองคนในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท  โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการการค้าอาหารสด  อาหารแห้ง  อาหารสำเร็จรูป  เครื่องกระป๋อง  เครื่องปรุงรสอาหาร เครื่องดื่ม  สุรา  เบียร์  บุหรี่และเครื่องอุปโภคอื่นๆ  และวัตถุประสงค์อื่น ๆ ปรากฎตามรายละเอียดตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัทของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  กรุงเทพมหานคร  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2
           ข้อ 2  จำเลยที่ 1  ประกอบกิจการผลิตน้ำผลไม้โดยมีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันทั่วไปว่า ....
 ส่วนจำเลยที่ 2  ประกอบการค้าปลีกและเป็นตัวแทนนำเครื่องดื่มของจำเลยที่ 2  นำออกขายในกิจการของตน  โดยจำเลยที่ 2 ใช้ชื่อทางการค้าที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ...
            ข้อ 3  โจทก์ที่ 1  เป็นผู้ซื้อสินค้าที่ผลิตโดยจำเลยที่ 1จัดจำหน่ายโดยจำเลยที่ 2  แม้จะไม่ได้รับประทานเครื่องดื่ม...ดังกล่าว  แต่ก็อยู่ในฐานะเป็นผู้บริโภคและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้
 โจทก์ที่ 2  เป็นสามีของโจทก์ที่ 1  และเป็นผู้บริโภคหรือรับประทานเครื่องดื่ม...แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่ได้เสียค่าตอบแทนเพราะไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว  แต่ก็ถือว่าอยู่ในบานะผู้บริโภคและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ด้วย
          ข้อ 4. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551  โจทก์ได้ไปซื้อเครื่องดื่ม...ซึ่งผลิตโดยจำเลยที่ 1  หมดอายุวันที่ 30 เมษายน 2552  โดยโจทก์ได้ซื้อจากจำเลยที่ 2 สาขาบางบอน  ซึ่งตั้งแต่อยู่เลขที่...กรุงเทพมหานคร  อันถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลนี้  ปรากฏหลักฐานตามสำเนาภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน  เอกสารท้ายฟ้องหมาย 3
           หลังจากโจทก์ที่ 1  ได้ซื้อเครื่องดื่ม...ไปแล้ว  โจทก์ที่ 1  ได้นำเข้าแช่ตู้เย็นที่บ้านของโจทก์  ต่อเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2551  โจทก์ที่ 2  ได้นำเครื่องดื่ม...ดังกล่าวมาดื่ม  หลังจากดื่มได้ไม่นานโจทก์ที่ 2 มีอาการท้องเสีย 2 ครั้ง
           ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2551  โจทก์ที่ 1 ได้นำกล่องเครื่องดื่ม...ที่ดื่มหมดแล้วไปล้างทำความสะอาดเพื่อจะเก็บกล่องเปล่าไว้บริจาค  แต่พบว่ามีเศษกระดาษมีดำเทา ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ  จึงได้หยิบมาขยี้ดู  พอขยี้หลายครั้งกลับเป็นสีขาวเหมือนกระดาษ  จึงเทน้ำในกล่องทิ้ง  มองดูก้นกล่องมองเห็นกระดาษติดก้นกล่อง  จึงได้เก็บกล่องดังกล่าว  ปรากฏตามสำเนาภาพถ่าย  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4
          หลังจากนั้น  โจทก์ที่ 1 จึงได้โทรศัพท์ไปแจ้งให้นาย...ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1  ทราบ  และได้นัดเจรจากันในวันที่ 11 ตุลาคม 2551  ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์ที่ 1  มอบหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้ามีสิ่งปนเปื้อน  ฉบับลงวันที่ 7 ตุลาคม 2551  ให้แก่นาย...ไป  ปรากฏหลักฐานตามสำเนาหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าที่มีสิ่งปนเปื้อน  ครั้งที่ 2  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5
           ต่อมาเมื่อวันที่ 18  ตุลาคม 2551  โจทก์ที่ 1 นำสิ่งปนเปื้อนนำไปให้ศูนย์เล็บวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า ...  วิเคราะห์สิ่งปนเปื้อนดังกล่าว   ตามสำเนาภาพถ่าย เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6
 จำเลยที่ 1  ได้ทำหนังสือ เรื่อง ผลการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามข้อร้องเรียน  ฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม 2551  ให้แก่โจทก์ทั้งสอง  ปรากฏหลักฐานตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือ  ฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม 2551  ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7  ซึ่งในเอกสารดังกล่าวได้สรุปผลการตรวจสอบว่า  ข้อมูลการผลิตไม่พบว่าเครื่องดื่ม...  ที่ผลิตวันดังกล่าวมีการปนเปื้อนใด ๆ ทั้งนี้  จากการตรวจสอบสภาพรอยรั่ว  สันนิษฐานว่ากรณีที่ลูกค้าพบสารปนเปื้อนชองเชื้อราในกล่อง  เป็นสภาพเสียที่เกิดขึ้นได้จากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากจุดรั่ว  ซึ่งการปนเปื้อนนี้เป็นการเกิดขึ้นภายหลังการผลิตที่อาจเกิดจากกล่องชำรุดบริเวณมุมด้านล่างกล่อง  ซึ่งมีสาเหตุได้จากกล่องมีการชำรุดบกพร่องจากสภาพการจัดเก็บสินค้าหรือจากการขนส่งที่ทำให้เกิดการรั่วขนาดเล็ก
 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2551  ทางบริษัท...  ได้รายงานผลการวิเคราะห์ว่าสินปนเปื้อนดังกล่าวเป็นเชื้อรา  สามารถก่อสารพิษโดยเฉพาะสายพันธุ์แอสเพอจิลลัส นิเกอร์  ซึ่งสามารถก่อสารพิษท็อกซิล  ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้  ปรากฎหลักฐานตามรายงานการวิเคราะห์ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 8
           หลังจากทราบผลการวิเคราะห์แล้ว  โจทก์ที่ 1  จึงแจ้งให้นาย...เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1  ทราบและนัดมาเพื่อเจรจาตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหาย  แต่เมื่อเจรจากันแล้วไม่สามารถตกลงกันได้และจำเลยที่ 1  ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อโจทก์แก่อย่างใด
           ข้อ 4.  การที่จำเลยที่ 1  เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่ม...และจำเลยที่ 2  เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่ม...ดังกล่าว  ที่มีเชื้อราเกิดขึ้นภายในกล่องเครื่องดื่มดังกล่าวและโจทก์ที่ 2  ได้รับประทานเข้าไป  ผลการการกระทำโดยละเมิดโดยผิดกฎหมายของจำเลยทั้งสองนั้นจึงเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายดังนี้
          (1). ค่าเสียหายเกี่ยวกับสุขภาพ  อนามัยและจิตใจ  เนื่องจากเชื้อราดังกล่าว
ส่งผลสุขภาพและอนามัยของโจทก์ที่ 2  รวมทั้ง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อจิตใจของโจทก์ทั้งสองในการบริโภคสินค้าดังกล่าว  โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้เสียหาย  จึงขอคิดค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เป็นจำนวน 2,000,000 บาท  (สองล้านบาทถ้วน)  ในฐานะที่เป็นผู้ผลิต  และโจทก์ทั้งสองขอคิดค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2  เป็นจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ในฐานะที่เป็นผู้จำหน่าย
           โจทก์ถือเอาทุนทรัพย์ในคดีนี้  และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2  จะชำระแก่โจทก์จนเสร็จ
           และการกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม  หรือ จงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย  หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคหรือผู้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความคดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551  มาตรา 42  เป็นจำนวนสองเท่าขอวค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด
 ขอศาลได้โปรดกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ  ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พงศ. 2551 มาตรา 42  เป็นจำนวนสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด
         โจทก์ไม่มีอำนาจบังคับจำเลยได้  จำเป็นต้องฟ้องขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งต่อไป
                                                                                  ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้องคดีผู้บริโภค
           ขอศาลได้โปรดออกหมายเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาและบังคับจำเลยตามข้อต่อไปนี้
         1. ให้จำเลยที่ 1  ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น
         2.  ให้จำเลยที่ 2  ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น 
         ขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
 
 

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก