ขึ้นภาษีน้ำมัน มาทำอะไรป่านนี้!|ขึ้นภาษีน้ำมัน มาทำอะไรป่านนี้!

ขึ้นภาษีน้ำมัน มาทำอะไรป่านนี้!

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ขึ้นภาษีน้ำมัน มาทำอะไรป่านนี้!

ราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับขึ้นทุกประเภท ลิตรละ 60 สตางค์ ยกเว้นน้ำมันเบนซิน E85 สะท้อนให้เห็นถึงชัดเจนว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกเริ่มเป็น \"ขาขึ้น\"

บทความวันที่ 17 พ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 552 ครั้ง


ทักษิณโต้พร้อมสู้คดีหมิ่นฯ

ราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับขึ้นทุกประเภท ลิตรละ 60 สตางค์ ยกเว้นน้ำมันเบนซิน E85 สะท้อนให้เห็นถึงชัดเจนว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกเริ่มเป็น "ขาขึ้น"

 

เป็นไปตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทย ที่เริ่มทะยานขึ้น อีกครั้ง จากการกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นพอร์ตที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์บ้านเรา

ทว่าการที่รัฐบาล โดยมติครม.อนุมัติให้ขยายเพดานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันจากลิตรละ 5 บาทเป็นลิตรละ 10 บาท ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) และให้กระทรวงการคลังขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันลิตรละ 2 บาท ตามสัดส่วนของเนื้อน้ำมันกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล ยกเว้นไบโอดีเซลและเอทานอล เพื่อนำเงินที่ได้มาอุดการจัดเก็บรายได้ของรัฐ ในปีงบประมาณ 2552 ที่มีแนวโน้มจะพลาดเป้า ราว 3 แสนล้านบาท

ร่วมกับอีกหลายมาตรการ เช่น การขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟื่อยอื่นๆ เช่น บุหรี่ ฯลฯ

ในกรณีของการเพิ่มการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน แม้รัฐบาลจะอ้างความชอบธรรมว่า การดำเนินการดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เนื่องจาก เลือกใช้วิธีโยกเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มียอดเงินสะสมในปัจจุบันอยู่ที่ 16,000 ล้านบาท มาโปะการเพิ่มขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันครั้งนี้

การดำเนินการเช่นนี้ ไม่ต่างจากการโยกเงินจากกระเป๋าซ้าย เข้ากระเป๋าขวา

เพราะตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ระบุชัดเจนว่า จะต้องเป็นไปเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน ไม่ทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นลงเร็วเกินไป

ไม่มีข้อไหนที่กำหนดให้นำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้เพื่ออุดการจัดเก็บรายได้พลาดเป้าของรัฐบาล ได้โดยตรง

การเลี่ยงบาลี เพื่อหาช่องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเกิดขึ้น อย่างที่เห็น

เพราะอย่างน้อยก็พอจะตอบสังคมได้ว่า การโยกเงินครั้งนี้ ไม่ได้ทำให้ขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น

ถามว่า เป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน รูปแบบหนึ่งหรือไม่

แม้ว่าในระยะสั้น การกระทำเช่นนี้ จะได้รับคำยืนยันว่าจะไม่ส่งกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ (ยกเว้นราคาน้ำมันปรับตัวสูงเอง จากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น)

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในการโยกเงินดังกล่าว คือ จะทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ เดือนละ 1,700 ล้านบาท (หักลบระหว่างยอดเงินไหลเข้า เดือนละ 5,300 ล้านบาท ลบกับเงินที่ต้องนำไปโปะการขึ้นภาษีสรรพสามิต เดือนละ 3,600 ล้านบาท)

แทนที่เงินดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเงินกองทุนฯ ที่เสี่ยงว่าจากนี้ไปราคาน้ำมันอาจจะกลับมาผันผวนอีกครั้ง จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น หรือนำเงินไปใช้ส่งเสริม อุดหนุน พลังงานทดแทน ซึ่งถูกต้องตามวัตถุประสงค์

เพราะเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งต้องเร่งดำเนินนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทน เพื่อลดผลกระทบของราคาน้ำมันที่ประชาชนจะได้รับ

วีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เขาเป็นผู้หนึ่งที่น่าจะอยู่ในสถานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระบุว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะรับภาระนี้ไหวราว 8-10 เดือน ก่อนที่เงิน 16.000 ล้านบาทที่มีอยู่จะหมดลง

โดยไม่วาย ปลอบใจตัวเองว่า การชดเชยรอบนี้จะดำเนินการชั่วคราวเป็นเวลา 1 เดือนเท่านั้น และยังจะหาโอกาสงามๆเก็บเงินคืน เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอีก ประมาณ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 60-70 สตางค์ต่อลิตร

ยังไม่รู้เลยว่า เมื่อไหร่วันนั้นจะเดินทางมาถึง ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การที่รัฐขยายเพดานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เผื่อไว้จากลิตรละ 5 บาท เป็น 10 บาท หมายความว่า มีโอกาสที่กระทรวงการคลัง จะเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเพิ่มเติมอีกในภายหลัง ใช่หรือไม่ ?

โดยการเพิ่มการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรอบนี้ ส่งผลให้อัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นดังนี้ 

น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 จากลิตรละ 5 บาท เพิ่มขึ้นลิตรละ 2 บาท  เป็นลิตรละ 7 บาท

น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 และ 91 จากลิตรละ 4.50 บาท เพิ่มขึ้นลิตรละ 1.80 บาท เป็นลิตรละ 6.30 บาท

น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E20  จากลิตรละ 4 บาท เพิ่มขึ้นลิตรละ 1.60 บาท  เป็นลิตรละ 5.60 บาท

น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 (E85) จากลิตรละ 0.75 บาท เพิ่มขึ้นลิตรละ 0.30 บาท เป็นลิตรละ 1.05  บาท

น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B2  จากลิตรละ 3.305 บาท เพิ่มขึ้นลิตรละ 2.005 บาท เป็นลิตรละ 5.31 บาท 

น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B5  จากลิตรละ 2.19 บาทต่อ เพิ่มขึ้นลิตรละ 2.85 บาท เป็นลิตรละ 5.04 บาท 

จะเห็นได้ว่าเพดานการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตรอบนี้ อยู่ที่ลิตรละ 7 บาท (เบนซิน 95 และ 91)  ยังมีส่วนต่างอีกลิตรละ 3 บาท   

ดังนั้น สิ่งที่ผอ.สนพ.พูดออกไป ไม่รู้ว่าจะมั่นใจต่อคำพูดของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เพราะรู้ทั้งรู้ว่า การจะดำเนินมาตรการนี้ต่อหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลสถานเดียว

นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่า เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากจะนำไปใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศแล้ว เงินส่วนหนึ่งยังต้องนำไปใช้ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม ซึ่งขึ้น-ลง ตามราคาในตลาดโลก

เราคงไม่อยากเห็น สถานะของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องติดลบเกือบ แสนล้านบาท เจียนล้มละลาย  ซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณที่นำเงินดังกล่าวไปตรึงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ จนต้องเลิกดำเนินนโยบายดังกล่าวไปในที่สุด

หากย้อนเวลากลับไปได้ ถามว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เลือกดำเนินนโยบายนี้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาจนถึงช่วงต้นปี ซึ่งเป็นจังหวะที่ราคาน้ำมันปักหัว หลังทำนิวไฮท์ที่ 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ดิ่งมาลงมาเหลือราคากว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเท่านั้น

ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ลดลงจากเฉลี่ยลิตรละ 40 บาท หรือ เฉลี่ยลิตรละ 20 บาทต้นๆ (ราคาแก๊สโซฮอล์ และดีเซล ราคาต่ำกว่าลิตรละ 20 บาท)

ต่างจากในปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในช่วงวันที่ 6 - 12 พ.ค. 52 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยมาแตะที่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ไปเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบในตลาดอื่นก็มีราคาไม่แตกต่างกันนัก

ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศในปัจจุบัน แก๊สโซฮอล์ และดีเซลราคาทะละลิตรละ 20 บาทไปแล้ว ขณะที่ ราคาน้ำมันเบนซิน ทะลุลิตรละ 30 บาทไปแล้ว เช่นกัน  

ในเวลานั้น หากรัฐบาลค่อยๆขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยผลักภาระดังกล่าวไปยังผู้บริโภค ก็จะไม่รู้สึกถึงภาระที่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะราคาขายปลีกน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ

แม้รัฐบาลอาจจะอ้างว่า หากกระทำในช่วงนั้นจะเป็นการซ้ำเติมประชาชน ในภาวะเริ่มต้นของการเผชิญวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และไม่รู้แน่ว่ารัฐจะจัดเก็บรายได้พลาดเป้ามากมายมหาศาล ก็ตามที

สรุปตรงนี้ว่า น้ำมัน คือ สินค้าการเมือง

จำได้ว่า ตอนนั้น ภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญพลังงานบางท่าน ออกมาหนุนให้รัฐบาลหาวิธีทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ต่ำจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายด้านพลังงานทดแทน

จังหวะนั้น จึงถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ที่จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รัฐมีเงินเข้ากระเป๋า

โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปแตะต้องเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยซ้ำไป

แต่รัฐบาลมือใหม่หัดขับกลับลังเล จนมาถึงวันนี้ วันที่ทุกอย่างเหมือนจะสายเกินไปแล้ว จึงค่อยมาคิดได้

ในวันที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้น

ในวันที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว สุ่มเสียงจำทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันกลับมาผันผวนอีกครั้ง

ถึงเวลานั้น สถานะทางการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจจะอ่อนแอเกินไปที่จะไปรักษาเสถียรภาพของราคา ตามพันธกิจ

 

 

ขอขอบคุณ เนื้อหาประกอบข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก