ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน|ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

สมาชิกทนายคลายทุกข์ทางอีเมล์ [email protected] ขอคำปรึกษาทีมทนายความรายการทนายคลายทุกข์ว่า

บทความวันที่ 12 พ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 9616 ครั้ง


สวัสดีค่ะทนายเดชา

ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

 

สมาชิกทนายคลายทุกข์ทางอีเมล์ nun-boy.0908@hotmail.com ขอคำปรึกษาทีมทนายความรายการทนายคลายทุกข์ว่า  ดิฉันขอเรียนถามเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน โดยมีเรื่องอยู่ว่าโรงงานที่แม่ของดิฉันทำงานอยู่นั้นเกิดไฟไหม้ขึ้นมา  ก่อนหน้านี้ประมาณสัก 5 เดือน ทางนายจ้างจึงย้ายพนักงานไปอาศัยสถานที่ของโรงงานอื่นทำชั่วคราว  ซึ่งทางนายจ้างย้ายพนักงานให้ไปทำงานที่อื่น 2 แห่งแล้ว

 

ต่อมาประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนสิ้นเดือนเมษายน  ทางนายจ้างได้บอกพนักงานว่าจะเลิกจ้าง โดยไม่ทำเป็นหนังสือให้พนักงานรับทราบ แต่เป็นการพูดปากเปล่า ว่าจะเลิกจ้างพนักงานใน Line การผลิต (โรงงานเย็บตุ๊กตาส่งนอก)  จากนั้นก็เรียกตัวแทนพนักงานที่ทำงานกว่า 8 ปี มาพูดคุยกันว่าจะให้เงินเลิกจ้างได้เท่าไหร่ ปรากฎว่าพนักงานที่ทำงานไม่ถึง 1 ปี ได้ 3,000 บาท แล้วก็แบ่งไปตามลำดับ

 

ซึ่งแม่ของดิฉันทำงานเข้าปีที่ 11 แล้ว แต่ทางนายจ้างจะให้เงินเพียง 15,000 บาทเท่านั้น  แล้วต่อมาทางนายจ้างก็เรียกตัวแทนเข้าไปคุยกันอีกครั้ง โดยก่อนหน้าที่พนักงานจะเข้าไปคุยนั้นได้ตกลงกันก่อนแล้วว่าจะยอมลดให้ 80 % นายจ้างก็ไม่ให้ พนักงานจึงบอกอีกว่าจะยอมให้แค่ 50% แต่แล้วทางนายจ้างก็ยังไม่ยอมให้อีกโดยบอกว่าจะให้แค่ 40%

 

            ต่อมาวันรุ่งขึ้นพนักงานจึงรวมตัวกันไปที่ศาลแรงงาน ภาค2 จ.ชลบุรี  ซึ่งทางศาลก็ได้รับเรื่องไว้แล้ว และได้มีนิติกรมาช่วยคิดอัตราเงินที่พนักงานควรจะได้ แม่ของดิฉันได้ประมาณ 120,000 บาท แล้ว 1 สัปดาห์ต่อมาทางนายจ้างได้นัดให้พนักงานไปคุยกันแล้วบอกว่าจะจ่ายให้ 50% ของเงินที่คิดกันเองตามอายุงานที่กฎหมายกำหนดว่า คนที่ทำงาน 10 ปีขึ้นไปจะได้ 300 วัน ซึ่งถ้าคิดเป็น 50% แล้วแม่ของดิฉันก็ได้เพียง 30,000บาท แต่มีพนักงานส่วนหนึ่งได้ตกลงรับเงินจำนวนนี้และก็มีพนักงานส่วนหนึ่งที่ยังไม่ตกลงเพราะคิดว่าจะไปพิจารณากันวันที่ศาลนัด นายจ้างจะให้เงินกับพนักงานที่ตกลงในวันที่ 20 พ.ค.  ศาลนัดเจรจา วันที่ 27 พ.ค.

 

คำถาม

1. พนักงานที่รับข้อตกลงของนายจ้างนั้นจะมีความผิดหรือไม่ 

            2. แล้วศาลจะระงับข้อเรียกร้องหรือไม่

            3. แล้วพนักงานที่ไม่รับข้อตกลงของนายจ้างแล้วไปรอฟังว่าศาลจะพิจารณาว่าอย่างไร พนักงานเหล่านี้จะยังมีสิทธิได้รับการพิจารณาข้อเรียกร้องต่อไปหรือไม่

            4. หากศาลพิจารณาแล้วว่านายจ้างต้องจ่ายให้พนักงาน แต่นายจ้างบอกว่าไม่มี  อย่างนี้พนักงานจะมีสิทธิได้รับเงินหรือไม่

             5. หากในวันที่ 27 พ.ค. 52 นายจ้างไม่ไปร่วมเจรจาทางศาลจะจำหน่ายคดีหรือไม่

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 60

 ตอนนี้ หนูทำงานที่บริษัทนี้ตั้งแรถ ปี2546    เริ่มทำงาน 8 ก.ค 46  มาถึงปัจจุบัน และบริษัทย้ายสถานที่ทำงานมาแล้ว  4  ครั้ง จะย้ายอีก ไปอีกที่หนึ่งที่มหาชัย เนื่องจากทางหนูไม่สะดวกจะย้ายตามไปอีกแล้ว  ทางนายจ้างจะให้ค่าชดเชย อย่างไรบ้างคะ

โดยคุณ ดา 18 พ.ย. 2558, 12:03

ตอบความคิดเห็นที่ 60

ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการแล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ธ.ค. 2558, 09:53

ความคิดเห็นที่ 59

ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการแล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ธ.ค. 2558, 09:53

ความคิดเห็นที่ 58

 อยากทราบว่าโรงงานจะย้ายวันที่1ตุลาแต่นายจ้ายมีหนังสือแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้วมากกว่า30วันมีรถรับส่งให้พนักงานไม่เต็มใจที่จะย้ายตามเนืองจากไม่สะดวกอยากทราบว่าจะเรียกร้องเงินชดเชยได้หรือไม่ถ้าได้ต้องมีเอกสารอะไรบ้างอายุงานดิชั้น12ปีค่ะ

โดยคุณ นุชจรีย์ 20 ก.ย. 2558, 10:33

ความคิดเห็นที่ 57

 ผมถูกเลิกจ้างโดยให้เขียนใบลาออกก่อนหมดสัญญาตอนแรกบอกจะให้ค่าชดเชย1เดือน

แต่ที่เขามาบอกจะให้ผมออกวันที่15ม.ค.แต่เพิ่งมาบอกให้ผมรับรู้และให้ผมเซ็นใบลาออกวันที่5ม.ค.พอหลังจากวันที่เซ็นใบลาออกผมได้ลางานเพื่อไปสมัครงานเป็นเวลา1วันทางบริษัทเขาบอกกับผมว่าจะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แล้วเนื่องจากผมขาดงานผมจะมีสิทธิ์เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวผมเองอย่างไรบ้างครับ

โดยคุณ ชัยชนะ 10 ม.ค. 2558, 08:24

ตอบความคิดเห็นที่ 57

กรณีเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน ท่านอาจเสนอคดีของตนต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวก็ได้ตามมาตรา 8(2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 10 ก.พ. 2558, 10:59

ความคิดเห็นที่ 56

กรณีเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน ท่านอาจเสนอคดีของตนต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวก็ได้ตามมาตรา 8(2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 10 ก.พ. 2558, 10:59

ความคิดเห็นที่ 55

 นายจ้่างย้ายสถานที่ทำงานไปอีกที่หนึ่ง และมีรถรับส่งให้ อยู่ไปนายจ้างเปลี่ยนชื่อบริษัทและ

เปลี่ยนชื่่อกรรมการใหม่โดยให้ลูกสาวดูแลแทน  และให้ลูกจ้างเขียนใบสมัครใหม่กับชื่อบริษัท

ใหม่และเรียกเก็บเงินประกันด้วย  เมื่อถึงกระเษียณอายุ 55 ปี  นายจ้างให้ออก(ลูกสาว) อย่างนี้

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยไหม  และอายุงานนับต่อเนื่องกับชื่อบ.เก่าไหมค่ะ  ช่วยตอบด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ Kasorn 15 ต.ค. 2557, 11:37

ตอบความคิดเห็นที่ 55

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังกล่าวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 118 และตามมาตรา 13, 20 ต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้นเนื่องจากนายจ้างนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 11 พ.ย. 2557, 14:11

ความคิดเห็นที่ 54

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังกล่าวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 118 และตามมาตรา 13, 20 ต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้นเนื่องจากนายจ้างนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 11 พ.ย. 2557, 14:11

ความคิดเห็นที่ 53

ผมกำลังจะโดนเลิกจ้างแต่ไม่มีค่าชดเชยใดๆให้

อย่างนี้ผมมีสิทธ์เรียกร้องอะไรได้บ้างครับ

บริษัท จอห์นสันแอนท์จอห์นสัน ไทย ครับ

โดยคุณ 22 ส.ค. 2555, 03:05

ตอบความคิดเห็นที่ 53

หากท่านถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ท่านซึ่งเลิกจ้างนั้น มิฉะนั้นให้ท่านฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชยต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 29 ส.ค. 2555, 14:32

ความคิดเห็นที่ 52

หากท่านถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ท่านซึ่งเลิกจ้างนั้น มิฉะนั้นให้ท่านฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชยต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 29 ส.ค. 2555, 14:32

ความคิดเห็นที่ 51

  ดิฉันมีปัญหา คือว่าบริษัทที่ทำงานอยู่ ได้ขายกิจการต่อให้กับอีกบริษัทหนึ่ง

อยากทราบว่า.ถ้าเราย้ายไปทำงานกับบริษัทใหม่ เรามีสิทธิ์จะได้รับเงินค่าชดเชยหรือไม่

โดยคุณ คุณน้ำหวาน 21 พ.ค. 2555, 09:45

ความคิดเห็นที่ 50

 อยากทราบว่า ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118-119 กรณีที่ลูกจ้างลาออกเอง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างหรือไม่ (ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถึงหกปี และเขียนใบลาออก ก่อนที่จะหมดสัญญาจ้าง 1 เดือน)

โดยคุณ พู่ 13 ม.ค. 2555, 18:29

ตอบความคิดเห็นที่ 50

การที่ลูกจ้างลาออกอันเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้าง จึงไม่ใช่การที่นายจ้างเลิกจ้างเอง ลูกจ้างนั้นไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้ชดเชยจากนายจ้างตามมาตรา 118 แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ม.ค. 2555, 09:11

ความคิดเห็นที่ 49

การที่ลูกจ้างลาออกอันเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้าง จึงไม่ใช่การที่นายจ้างเลิกจ้างเอง ลูกจ้างนั้นไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้ชดเชยจากนายจ้างตามมาตรา 118 แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ม.ค. 2555, 09:11

ความคิดเห็นที่ 48

ประสบอุบัติเหตุนอกเวลางาน หยุดงาน 4 วัน

ไม่ทราบว่าจะได้รับค่าชเชยอะไรบ้างหรือเปล่าจากประกันสังคม

โดยคุณ nuchza. 28 ธ.ค. 2554, 10:50

ความคิดเห็นที่ 47

ดิฉันเพิ่งเริ่มทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งเจ้าของบริษัทแจ้งว่าทดลองงาน 3 เดือนแต่ดิฉันทำได้แค่ 7 วันก็ให้ hr มาแจ้งดิฉันว่าให้ฉันทำงานวันนี้วันสุดท้ายสาเหตุแจ้งเพียงว่าทำงานไม่เข้าตาของเจ้าของมานั่งเฉยๆก็ดิฉันเพิ่งเริ่มทำงานไม่นานไม่มีคนสอนงานต้องเรียนรู้เองดิฉันก็พยายามเรียนรู้อยู่ถ้าหากเขาให้เวลา 3 เดือนตามที่แจ้งมาดิฉันก็คิดว่าฉันทำได้แน่นอนแต่นี่เพิ่งทำได้แค่ 7 วันแล้วมาไล่ออกแบบนี้ ดิฉันสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่ค่ะเนื่องจากดิฉันยังไม่ได้ทำความผิดเกี่ยวกับกฏของบริษัทเลย

         รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะตอนนี้เครียดมากเพราะต้องตกงานโดยไม่ได้ตั้งตัวเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ new 1 ต.ค. 2554, 23:28

ความคิดเห็นที่ 46

ดิฉัน อยู่ บ.ฟาสาดคอนเซ้าท์ติ้ง เริ่มงาน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2554 ถึงปัจจุบัน  ดิฉัน ได้ขาดงานโดยไม่ได้โทรแจ้ง ครั้งแรก โดนตักเตือนด้วย วาจา ครั้งที่ 2 ตักเตือนด้วยวาจาในวันที่ 19 ส.ค. 2554 แล้ว ได้แจ้งให้ดิฉันทราบว่า 31 ส.ค. นี้ ดิฉันต้องออกจากงานทันที คนที่แจ้ง ไม่ใช่ เจ้าของบ. หรอกนะค่ะ เพราะตอนนี้เจ้าของอยู่ ต่างประเทศ เค้าบอกว่าเค้าสามารถใช้สิทธิ ไล่ใครออก ก็ได้ ดิฉัน สามารถ ฟ้องร้องได้ไหมค่ะ และสามารถ เรียกร้องค่าตกใจ 1 เดือน ได้ไหมค่ะ เนื่อง จาก ภายใน 10 วัน คงไม่มีใครหางานได้ทันแน่ รบกวน ช่วยตอบด้วยนะค่ะ เพราะดิฉันเครียดมาก

โดยคุณ รัชยา มณีโรจน์ (สมาชิก) 21 ส.ค. 2554, 13:51

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก