การบังคับคดี|การบังคับคดี

การบังคับคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบังคับคดี

คุณพุฒินันท์ เรียนถามทนายคลายทุกข์ว่า เพื่อนผมทำสินเชื่อผ่อนสินค้าตั้งแต่ ปี 46

บทความวันที่ 9 มี.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 5899 ครั้ง


การบังคับคดี

การบังคับคดี

 

คุณพุฒินันท์ เรียนถามทนายคลายทุกข์ว่า  เพื่อนผมทำสินเชื่อผ่อนสินค้าตั้งแต่ ปี 46 ไม่ได้ผ่อนชำระตั้งแต่งวดแรก เพราะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ  แล้วก็มีหมายศาลมาเมื่อเดือนธันวาคม 2551  ศาลพิจารณาแล้วให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี (เงินต้นประมาณ 37,000 .- ) นับตั้งแต่ศาลตัดสิน ไม่เช่นนั้น จะทำการจับ/ปรับ/อายัด  อยากเรียนถามว่า

 

1. เพื่อนผมจะติดคุกไหมครับ

            2. แล้วควรจะทำเช่นไรครับ  เพราะเจ้าหนี้ไม่โทรมาถามเลย

            3. แล้วเพื่อนผมรับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินเดือน+ เงินเวร +ค่าครองชีพ ประมาณ 12,000.- จะโดนอายัดทรัพย์ไหมครับ ( มีบ้านต้องผ่อนประมาณ 3,500.- และเงินต้องเลี้ยงดูบุตรด้วยครับ )

 

คำแนะนำทนายคลายทุกข์

1. เมื่อศาลมีคำพิพากษาคดีแพ่ง  ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้  เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271  เช่น อายัดเงินเดือนหรือทรัพย์สินของลูกหนี้  ไม่มีบทลงโทษจำคุก

2. หาทนายความ  ผู้รู้  เป็นตัวแทนในการเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้  เพื่อระงับข้อพิพาทต่อไป

3. การอายัดทรัพย์เกี่ยวกับเงินเดือน  เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา286

 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271  ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา)มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

 

มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำหนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

(2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น

(3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

(4) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่นเป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่ศาลเห็นสมควร ในกรณีที่ศาลเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นและไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย

ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดตามมาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินตาม (1) (3) และ (4) และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้

ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ใหม่ก็ได้

คำสั่งของศาลที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

 การบังคับคดีประกันภัยต้องทำอย่างไรบ้างคะ

โดยคุณ 22 ก.ค. 2559, 17:16

ความคิดเห็นที่ 7

ผมอยากทราบเกี่ยวกับกฎหมาย กรณีที่หนี้เงินกู้ที่มีอายุคดีมากกว่า 10 ปี จะทำอย่างไรครับ  

โดยคุณ ภาคภูมิ 4 ก.ค. 2555, 11:10

ความคิดเห็นที่ 6

อยากถามว่าเมื่อมีคำพิพากษาและส่งบังคับคดีให้ลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระจะอายัดทรัพย์แต่ลูกหนี้เป็นข้าราชการ ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปกู้สหกรณ์ หรือธนาคาร สามารถอายัดได้หรือไม่

โดยคุณ sasithorn 6 มี.ค. 2555, 10:26

ความคิดเห็นที่ 5

สวัสดีค่ะ..ดิฉันเป็นคนหนึ่งค่ะที่ประสบปัญหาเรื่องการบังคับคดี รถเราถูกชนตั่งแต่ปี 48 พอ เมษา"53ศาลอุทรธ์ตัดสินให้ฝ่ายจำเลยจ่ายตามศาลชั้นต้นพร้อมดอกเบี้ยแต่ในวันฟังคำตัดสินคดีฝ่ายจำเลยไม่ไปฟัง แฟนก็ติดต่อเรื่องการบังคับคดี และสืบทรัพย์จำเลย แฟนบอกว่าเหมือนเค้าโอนทรัพย์สินของจำเลยเป็นของคนอื่น แต่จะพยายามสืบว่ามีอะไรเป็นของจำเลยบ้าง เราเองเดือดร้อนมา 5 ปีเต็มค่ะหวังว่าจะนำเงินก้อนนี้มาปลดหนี้ที่ คนค้ำประกันรถของเราสำรองจ่ายให้กับไฟแนนก่อน เราไม่มีเงินเก็บเลยเพราะต้องทยอยใช้หนี้ที่เกิดโดยไม่ได้ทำ เค้าไม่เคยติดต่อช่วยเหลือเราเลย ตอนที่ไกล่เกลี่ยอก็จะเอาเปรียบเราทุกอย่าง ครอบครัวเราต้องการคำปรึกษาเรื่องนี้ค่ะ รบกวนช่วยแนะทางที่จะช่วยเราด้วย ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

โดยคุณ อัจจนา 24 ส.ค. 2553, 14:33

ความคิดเห็นที่ 4

ถ้ามีก็ชำระไป   กลัวเป็นบาปติดตัว

แต่มองอีกมุม1  เขาก็ได้ดอกเบี้ยตอนที่เราเป็นลูกค้าไปเยอะแล้วนี่ 

คงไม่เป็นเวรเป็นกรรมเหรอเนอะ

โดยคุณ เราเอง 23 เม.ย. 2553, 12:34

ความคิดเห็นที่ 3

ถ้าไม่มีทรัพย์สินอะไร

ก็ไม่ต้องกลัวคับ

ศาลบังคับเอาอะไรกับเราไม่ได้เค้าก็คงยกฟ้องไปเองแร่ะ

ไม่งั้นจะทำไงหล่ะ...เศรษฐกิจแบบนี้ไม่มีเงินจ่ายให้ได้เหมือนเมื่อก่อนหรอกน่า

โดยคุณ Krai 25 พ.ย. 2552, 22:39

ความคิดเห็นที่ 2

ผมเคยผ่อนของกับบัตร (อ) ประมาณปี 40 ผ่อนเหลือประมาณ หมื่นปลายฯ เจอปัญหาภาวะเศรษกิจต้องออกจากงานมาเปิดท้ายขายของ ก็ไม่ได้ผ่อนตั้งแต่นั้นมา ผมมาทำงานอีกครั้งประมาณปี 43 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานี้ถูกทวงหนี้จากบริษัทที่รับซื้อหนี้มาจากบริษัทใหญ่ๆเหล่านั้น ไม่ทราบว่าเขารู้ที่ทำงานปัจจุบันได้อย่างไร(สงสัยจากประกันสังคม) ผมจึงจะบอกจากประสบการณ์ตรงว่าไม่ติดคุกหรอกครับ แต่รำคาญพวกที่ทวงหนี้ ถ้าขวัญอ่อนก็ต้องให้ไป ถ้าไม่ให้มันก็จะรังควาญและด่าหยาบคายมาก จึงหมดอารมณ์ที่จะดีด้วย ณ ปัจจุบันจึงไม่คิดที่จะจ่ายเลยผมก็ยังทำงานอยู่ตามปรกติ

โดยคุณ yot (สมาชิก) 2 ต.ค. 2552, 16:23

ความคิดเห็นที่ 1

ดิฉันไม่ค่อยทราบกฎหมาย และตัวเองก็กลัวอยู่ตอนนี้

โดยคุณ นวพร 30 เม.ย. 2552, 20:42

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก