ปรึกษากฎหมาย/ คดี/ เลือกตั้ง 02-9485700|ปรึกษากฎหมาย/ คดี/ เลือกตั้ง 02-9485700

ปรึกษากฎหมาย/ คดี/ เลือกตั้ง 02-9485700

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปรึกษากฎหมาย/ คดี/ เลือกตั้ง 02-9485700

รวมกฎหมายเลือกตั้ง/คดีเลือกตั้ง/คัดค้านการเลือกตั้ง/การทุจริตการเลือกตั้ง/ที่ปรึกษาการเลือกตั้ง/การหาพยานหลักฐานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

บทความวันที่ 24 ส.ค. 2549, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 24598 ครั้ง


ทนายความ

รวมกฎหมายเลือกตั้ง/คดีเลือกตั้ง/คัดค้านการเลือกตั้ง/การทุจริตการเลือกตั้ง/ที่ปรึกษาการเลือกตั้ง/การหาพยานหลักฐานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

 

            ทนายคลายทุกข์ได้จัดทำกฎหมายเลือกตั้ง/คดีเลือกตั้ง/การทุจริตเลือกตั้ง/ การคัดค้านการเลือกตั้ง  มานำเสนอใน Web page หน้านี้  โดยจะนำเสนอเป็นตอนๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์  เริ่มสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรก  โดยจะเริ่มนำเสนอเป็นตอนที่ 1  ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Web page นี้

ขอเรียนเชิญให้ท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมใหม่ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

            ทีมงานทนายความคดีเลือกตั้ง รับรองว่าจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งที่น่าสนใจ/ ทันเหตุการณ์/ เป็นกลาง/ นำไปใช้งานได้จริง/ ท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง/ คดีเลือกตั้ง/ การคัดค้านการเลือกตั้ง/ การหาพยานหลักฐานคดีเลือกตั้ง/ การทุจริตการเลือกตั้ง/ แสดงความคิดเห็นได้ในหน้านี้  ในช่องแสดงความคิดเห็นหรือโทรสอบถามกฎหมาย   081-912-5833,081-616-1425

 

กฎหมายเลือกตั้ง ตอนที่ 1

 

พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มีผลบังคับใช้ในวันนี้ รายการทนายคลายทุกข์ จึงขอนำกฎหมายเลือกตั้งที่ประชาชนควรรู้มาแจ้งให้ทราบ ดังนี้

 

การเลือกตั้ง ส.ส.

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจในการปกครองประเทศ แต่การจะให้ประชาชนทั้ง 64 ล้านคน เข้าไปบริหารประเทศ หรือออกกฎหมายพร้อม ๆ กัน ย่อมทำไม่ได้ จึงต้องเลือก ส.ส.เป็นผู้แทนของเราเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศชาติแทน เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนหรือแบบทางอ้อม โดยส่วนหนึ่งเข้าไปเป็นรัฐบาลส่วนหนึ่งไปเป็น ส.ส.

 

            หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันจึงเป็นการปกครองโดยประชาชน แต่ประชาชนได้มอบอำนาจให้ตัวแทนของตนหรือ ส.ส.ที่เลือกเข้าไปได้ใช้อำนาจในการบริหารประเทศ และออกกฎหมายแทนในช่วงระยะเวลาที่กำหนด

 

อำนาจหน้าที่ของ ส.ส.

 

ส.ส. คือตัวแทนของประชาชนที่เราเลือกเข้าไปทำหน้าที่สำคัญ คือ

1. ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน และแผ่นดิน

2. ดูแลทุกข์สุข ปัญหา ความต้องการของประชาชนในเขตของเรา แล้วนำไป เสนอรัฐบาลแก้ไข หรือเสนอรัฐบาลออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

3. แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เข้าบริหารประเทศ

4.ตรวจสอบรัฐบาลโดยตั้งกระทู้ถาม อภิปรายทั่วไป อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือคณะ

5. ถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ถ้ากระทำผิด

6. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้จ่ายของรัฐบาล ในปีหนึ่งงบประมาณแผ่นดินสำหรับพัฒนาประเทศ มีประมาณไม่น้อยกว่า 1,000,000 ล้านบาท

 

ส.ส.มีกี่ประเภท

 

ส.ส. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ส.ส. แบบแบ่งเขต คือ แบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 400 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้ง มี ส.ส.ได้ 1 คน รวมทั้งประเทศจึงมี ส.ส.400 คน

 

หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่าแต่ละเขตเลือกตั้งควรมีจำนวน ส.ส.เท่ากันอย่างสม่ำเสมอประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน มีความเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใดหรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ชาวนา หรือเศรษฐี ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งแบบเดิมที่แต่ละเขต มี ส.ส. ไม่เท่ากัน บางเขตมี 1 คน บางเขตมี 2 คน หรือ 3 คน

 

2. ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่ทุกพรรคการเมือง ต้องส่งบัญชีรายชื่อพรรคละไม่เกิน 100 คน เรียงลำดับไว้ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควบคู่กับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต

เหตุผลของการมี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อก็คือพรรคการเมืองจะคัดผู้สมัครที่มีความรู้ ความสามารถของพรรคมาลง ส.ส.ประเภทนี้ เมื่อพรรคได้เสียงข้างมากก็จะแต่งตั้ง ส.ส.จากบัญชีนี้เป็นรัฐมนตรี แล้วแต่นโยบายของแต่ละพรรคการเมือง

 

ทั้งนี้ เพื่อให้ ส.ส. แบบแบ่งเขต ทำหน้าที่ ส.ส.ด้านนิติบัญญัติหรืออาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดูแลทุกข์สุขของประชาชนในพื้นที่ แต่เพียงอย่างเดียว ส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรี ถ้าพรรคได้เสียงข้างมาก

 

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

-  มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

-  มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

-  จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า (เว้นแต่เคยเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.)

-เป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน

 

ผู้สมัครแบบแบ่งเขตต้องมีลักษณะเข้าข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ ดังนี้ด้วย

 

-  มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัคร

- เคยเป็น ส.ส.จังหวัดที่สมัครหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น

-เกิดในจังหวัดที่สมัคร

-เคยศึกษาในสถานศึกษาในจังหวัดที่สมัคร (ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา)

 

 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง          ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

 

1. มีสัญชาติไทย (ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี)

2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง

3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

นอกจากนี้ ในวันเลือกตั้งยังต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

1. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ   

2. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

3. ต้องคุมขับอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

4. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

 

การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

 

ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ให้ไปแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปลงคะแนนเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นหรือ ผอ.เขต ของ กทม. หรือปลัดเมืองพัทยา หรือทำเป็นหนังสือมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

หลังวันเลือกตั้ง 30 วัน กกต. ประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปลงคะแนนและไม่ได้แจ้งเหตุอันควร เพื่อให้ผู้ไม่ไปลงคะแนนมาแจ้งเหตุต่อบุคคลซึ่ง กกต. แต่งตั้งภายใน 60 วัน นับแต่วันประกาศ คราวนี้หากไม่ไปแจ้งเหตุอันควรจะเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

 

การลงคะแนนล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่อาศัยอยู่

กรณีการเลือกตั้งทั่วไป (พร้อมกันทั่วประเทศ) ถ้าไปเลือกตั้งวันจริงไม่ได้ สามารถไปเลือกตั้งล่วงหน้าได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัด มีทุกจังหวัด ๆ ละ 1 แห่ง รวม 76 แห่ง มีไว้ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่ปัจจุบันซึ่งไม่ได้อยู่ในจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้ากัน โดยไม่ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่ต้องยื่นคำร้องขอลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ดังนี้

1. ขอรับแบบพิมพ์ลงทะเบียน และ ยื่นต่อนายอำเภอ ปลัดเทศบาล และ ผอ.เขตของ กทม. ในจังหวัดที่เราอาศัยอยู่ด้วยตนเองทางไปรษณีย์ หรือทำหนังสือมอบหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอื่นทำแทน

2. หลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ และมีหมายเลขประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองสถานที่อยู่ปัจจุบันจากบริษัท นายจ้าง สถานศึกษา หรือผู้ให้เช่าบ้าน ฯลฯ (กรณีที่ย้ายทะเบียนบ้านมาแล้ว แต่ไม่ถึง 90 วัน ไม่ต้องมีหนังสือรับรองนี้) พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงตนเอง เพื่อรอคำตอบรับจากอำเภอ เทศบาลหรือเขต

 

การลงคะแนนล่วงหน้า นอกราชอาณาจักร

กกต. จัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร ดังนี้

1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรของแต่ละประเทศ ต้องขอลงทะเบียนไว้ก่อน

2. ไปลงคะแนนล่วงหน้า ณ สถานทูต สถานกงสุลหรือที่เลือกตั้งกลางในประเทศนั้น

3. เอกอัครราชทูตหรือกงสุลใหญ่ อาจจัดให้มีการลงคะแนนล่วงหน้าทางไปรษณีย์ ในกรณีที่มีผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศนั้นน้อยกว่า 500 คน หรือในกรณีที่การเดินทางไม่สะดวกหรือมีความจำเป็นอื่น

4. เมื่อย้ายถิ่นที่อยู่กลับประเทศอย่าลืมแจ้งขอเปลี่ยนการลงทะเบียนเพื่อกลับมาลงคะแนนที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิม

 

การเสียสิทธิทางการเมือง

รัฐธรรมนูญกำหนดให้คนไทยทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง ถือเป็นหน้าที่ต้องไปเลือกตั้ง

 

เมื่อกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่แล้ว ผู้ใดไม่ไปเลือกตั้งตามหน้าที่และไม่ไปแจ้งสาเหตุไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางการเมือง 8 ประการดังนี้

1. สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ส.ก. ส.อบจ. ส.ท. ส.อบต. และสมาชิกสภาเมืองพัทยา รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น เช่น นายกรัฐมนตรี นายก อบจ. ถ้าเห็นว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง

2. สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต

3. สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น

4. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

5. สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย

6.สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้ ส.ว. มีมติถอดถอนบุคคลในตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต

7. สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่น เช่น สภา อบต. สภาเทศบาล พิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น

8. สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น เช่น สภาเทศบาล หรือผู้บริหารท้องถิ่น เช่น นายก อบจ.

 

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

 

1. ผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ เนื่องจากมีธุระสำคัญหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปในพื้นที่ห่างไกลจากที่เลือกตั้ง หรืออาศัยอยู่ไกลจากหน่วยเลือกตั้ง เกินกว่า 100 กิโลเมตร และไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ ป่วย พิการ สูงอายุ ทำให้ไม่อาจเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

2.โดยขอรับและยื่นหนังสือแจ้งเหตุ (ส.ส. 30) ได้ที่นายอำเภอ ปลัดเทศบาลหรือ ผอ.เขตของ กทม.ด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

3. หลังการเลือกตั้ง กกต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุล่วงหน้าไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ

(ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือคู่มือประชาชนสำหรับการเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง)

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 170

 อยากทราบว่ากรณีที่เลือกตั้งไปแล้ว แต่เราเห็นว่าคนที่มาใช้สิทธิ์ไม่ใช่คนในพื้นที่และไม่ได้มาทำกินในหมู่บ้านเราสามารถร้องเรียนได้มั้ย ถ้าดำเนินการแล้วผลจะเป็นอย่างไร ถ้าทางอำเภอตรวจสอบแล้วเขาเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านครบสามเดือนทำถูกต้องตามกฎหมายสำนวนเราจะตกไปมั้ย

โดยคุณ อยากทราบ 1 ก.พ. 2560, 09:00

ความคิดเห็นที่ 169

 บ้านผมเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านลงสมัคสองคนแต่อีกคนหนึ่งไม่ไปเลือกตั้ง สว.อีกสามวันจะเลือกตั้ง สรูปแล้วผู้ที่มีสิทจะได้แต่งตั้งเลยไมคับ

โดยคุณ ธวัชชัย มีใจใส 26 ก.ย. 2559, 18:45

ความคิดเห็นที่ 168

 ถ้าเราไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน. จะมีผลอะไรหรือป่าวคะ พอดีหนูติดสอบที่มหาลัย

โดยคุณ มิ้นท์ 24 ก.ย. 2559, 12:06

ความคิดเห็นที่ 167

 ขอสอบถามหน่อยค่ะ

คือว่าคนมีสิทธิเลือกตั้งต้องได้สัญชาติมาอย่างน้อย5ปีไม่ใช่หรอค่ะ

คือดิฉันยังได้สัญชาติไม่ถึง3ปีรายชื่อดิฉันก็ออกล่ะ

โดยคุณ สุพรรณี 28 ก.ค. 2559, 16:04

ความคิดเห็นที่ 166

ผู้ใหญ่บ้านเป็นสามีและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นภรรยา สามารถทำได้หรือไม่ค่ะ

โดยคุณ 21 มิ.ย. 2559, 10:51

ความคิดเห็นที่ 165

 รบกวนสอบถามครับว่าผู้ที่จะลงสมัครผู้ใหญ่บ้านนั้นตอนนี้ยังมีตำแหน่งเป็นสมาชิกเทศบาลอยู่จะต้องลาออกจากตำแหน่งอย่างน้อยภายในกี่วันถึงจะลงสมัครผู้ใหญ่บ้านได้ครับรบกวนหน่อยนะครับท่าน

โดยคุณ พีพี 26 ม.ค. 2559, 21:28

ความคิดเห็นที่ 164

 ถ้าไม่ได้ไปเลือกตั้ง สว สามารถเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้มั้ย

โดยคุณ วชิราวุธ 8 ม.ค. 2559, 20:26

ความคิดเห็นที่ 163

 เสียสิทธไม่ไปเลือกตั้งรวมถึงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรึป่าวครัย

โดยคุณ สทศักดิ์ ทะนะ 16 ธ.ค. 2558, 16:41

ความคิดเห็นที่ 162

 เสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.เทศบาลมาตรา 48(2)ควรเพิ่มข้อความให้ผู้เคยเป็นข้าราชการมาก่อนสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลได้ เพื่อความเท่าเทียมและให้ประชาชนได้เลือกผู้ที่ผ่านงานราชการ มีความสามารถบริหารบ้านเมืองได้ดีกว่า เพราะเคยอยู่ในระบบราชการมีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่

โดยคุณ 24 ต.ค. 2558, 15:30

ความคิดเห็นที่ 161

 ท่านครับแก้กฎหมายเทศบาลให้ข้าราชการที่ลาออกหรือเกษียณที่ไม่จบป.ตรีสามารถลงสมัครนายกเทศบาลได้ ก.ม.ที่มีอยู่ผู้เคยเป็นสูท.ยังสามารถลงสมัครนายกได้เลยบางคนก็ป4หรือม.3. มาตร48เบญจ ที่มีอยู่เดิมดูแล้วเป็นการกีดกันข้าราชการที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง. น่าจะแก้ไขให้ทันก่อนจะมีก่ีือกตั้งครั้งต่อไปหลัง กมธ.เสร็จก็ออกกฎหมายลูกแก้ด้วยนะครับ

โดยคุณ 16 ต.ค. 2558, 21:19

ความคิดเห็นที่ 160

กฎหมายเลือกตั้งทำไมไม่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ผ้ที่เคยรับราชการมาก่อนตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศบาลได้ เพราะบุคคลเหล่านี้มีความสามารถสูงในการทำงานอย่แล้ว ไม่ใช่เอาแต่พวกเคยเป็นนักการเมือง สมาชิก และ ป.ตรี จึงลงสมัครได้ ควรแก้ไขด้วยนะ

โดยคุณ ข้าราชการ สว 26 ก.ค. 2558, 00:29

ความคิดเห็นที่ 159

 กรณีนายกเทศมนตรตำบล ไม่ยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้ง หลังจากที่ได้รับการเลือกตั้งแล้ว

มีความผิดจริง คณะกรรมการเลือกตั้งมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้งได้ 

นายกเทศมนตรีจะแก้ไขยังไงค่ะ มีวิธียื่นคำร้องอะไรไหม เพื่อไม่ให้โดนคำสั่งเพิกถอน T_T

โดยคุณ porry 26 มิ.ย. 2557, 11:13

ความคิดเห็นที่ 158

 กรณีนายกเทศมนตรีตำบลไม่ส่งรายงานค่าใช้จ่ายของแต่ละปี

มีความผิดจริง ถึงขั้นโดนใบแดง อยากทราบว่ามันมีวิธียื่นคำร้องขอแก้ไขอะไรได้ไหมค่ะ T-T

โดยคุณ ปอรี่ 26 มิ.ย. 2557, 10:45

ความคิดเห็นที่ 157

 กรณีที่ดำรงค์ตำแหน่ง ส.อบต.สามารถขึ้นป้ายสนับสนุนผู้สมัครนายก อบต.ได้หรือไม่ 

โดยคุณ วัชระ 11 มิ.ย. 2557, 15:17

ความคิดเห็นที่ 156

 หนังสือแจ้งเหตุไม่อาจไปเลือกตั้งได้(ส.ส28)

เขียนยังไงค่ะไม่เข้าใจค่ะ ได้หนังสือมาแล้ว แต่เห็นแล้วเขียนไม่ถูกเลยค่ะ ส่วนไหนส่งถึงนายทะเบียนแล้วส่วนไหนส่งถึงตัวเองค่ะ ช่วยหน่อยค่ะ

โดยคุณ จารุพิชญา 27 ม.ค. 2557, 23:16

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก