ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม|ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

นางมาลัยวรรณ (R19358) ทำงานเป็นพนักงานดูแลอพาร์ทเม้นท์ ย่านลาดพร้าว

บทความวันที่ 23 ส.ค. 2549, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 821 ครั้ง


ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

 

            นางมาลัยวรรณ  (R19358) ทำงานเป็นพนักงานดูแลอพาร์ทเม้นท์ ย่านลาดพร้าว  ทำงานได้ประมาณ 6 เดือน ระหว่างการทำงานถูกผู้จัดการบริษัทกลั่นแกล้ง  หาว่าสั่งงานรุ่นน้องจนทำให้รุ่นน้องกลัวไม่กล้ามาทำงาน  วันที่ 15 ส.ค.2549 ผู้จัดการบริษัทเรียกนางมาลัยวรรณมาต่อว่า  เรื่องมาทำงานช้า  10  นาที 

 

วันที่ 16 ส.ค. 49 นางมาลัยวรรณ ได้เขียนใบลาป่วย เพราะเป็นไมเกรน  และหยุดงานต่อเนื่องในวันที่ 17-18  ส.ค. 49  ในวันที่ 19 ส.ค. 49 นางมาลัยวรรณจึงมาทำงาน แต่ยามหน้าบริษัทไม่ให้เข้า ส่วนพนักงานในบริษัทไม่ให้เข้า  แจ้งว่าผู้จัดการได้บอกว่านางมาลัยวรรณไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทแล้ว นางมาลัยวรรณจึงโทรศัพท์หาเจ้าของบริษัท

 

สอบถามว่าทำไมเจ้าของบริษัทจึงทำกับตนเองอย่างนี้  เพราะตนเองเคยมาลาออกมาแล้ว  ก็ขอร้องไม่ให้ลาออก  และการลางานมีใบรับรองแพทย์แนบด้วย เจ้าของตอบกลับว่าถ้าคุณมีปัญหากับผู้จัดการคงร่วมงานกันไม่ได้  และให้เข้ามาเคลียร์เรื่องเงินกับบริษัท 

 

ถาม

            ถ้าบริษัทจะให้ออก  โดยที่ไม่มีความผิด จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง

 

คำแนะนำอาจารย์เดชา

            ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม  นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน , ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีก  1  เดือน , เงินค่าจ้างที่ยังค้างชำระ, รวมทั้งค่าเสียหายอื่น ๆ  อันเกิดจากการจ้างงาน

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

รบกวนด้วยครับ...คือผมทำงานเป็นคอมพิวเตอร์การฟฟิกแต่เข้ามาทำงานจากการชักชวนเลยทำให้ไม่มีสัญญาจ้างมีแต่เอกสารรับเงินซึ่งก็คือกระดาษA4ธรรมดาที่เขียนว่ารับเงินเท่าไหร่พร้อมเซ็นกำกับทุกครั้ง...แต่อยู่มาวันหนึ่งนายจ้างก็เลิกจ้างเหตุเพราะผมหยุดงาน2วันและได้แจ้งแล้วเพราะต้องไปทำเรื่องที่มหาลัยและได้จ้างยังมีข้ออ้างอีกว่าเพราะผมไม่เคยมาตรงเวลาทำงานซึ่งทางบริษัทเองก็ไม่ได้เข้มงวดและไม่มีการลงเวลาทำงานที่แน่ชัดผมจะทำยัไงดีครับเพราะไปเรียกค่าชดเชยก็อ้างว่าผมทำงานไม่เต็มที่บริษัทต้องการลดค่าใช้จ่ายแล้วผมจะได้ค่าชดเชยมั้ยครับ...รบกวนอาจารย์ด้วยนะครับ

โดยคุณ เอกลักษณ์ ฤกษ์ชัยดี (สมาชิก) 18 พ.ค. 2552, 11:23

ความคิดเห็นที่ 2

รบกวนสอบถามในกรณีของตัวเอง ทำงานมาแล้ว 17 ปี ตำแหน่งปัจจุบันเป็นหัวหน้างานซ่อมบำรุง เดิมดูแลพื้นที่ภาคอีสาน แต่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาบริษัทฯได้มีผู้จัดการแผนกมาใหม่จากต่างประเทศ พร้อมที่ปรึกษา ได้มาเพิ่มพื้นที่ภาคตะวันออกให้ด้วย และเมือทำงานผ่านมาถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ประเมินผลงานให้ผมว่าปฏิบัติงานได้ผลต่ำกว่า KPI แต่ไม่มีโปรแกรมให้การพัฒนา และในช่วงเดือนเดียวกันมีการลงประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งผมด้วย และเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาก็ประเมินผลงานเหมือนเดิม และเมื่อปลายมกราคม ได้เรียกผมไปพบและแจ้งว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพและคงต้องให้ออกโดยบอกว่าไม่มีตำแหน่งให้ทำงานต่อไปในบริษัทฯ และให้ HR มาคุยเรื่องค่าชดเชยกับผม แต่ HR ให้ผมเขียนใบลาออกจึงจะให้ค่าชอเชยดังกล่าว ซึ่งจากการสอบถามผู้รู้ผมต้องเสียสิทธ์เรื่องประกันสังคมและภาษีของสรรพากร ดังนั้นผมขอทราบว่าตามสิทธิ์ตามกฏหมายผมสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งในวิธีการเดียกันกับผมมีใช้มากับพนักงาน 7-8 ท่านแล้ว ซึ่งผมมองว่าไม่เป็นธรรม ซึ่งผมมีหลักฐานพยานว่าพยายามทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ส่วนผลงานที่ไม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องจำนวนบุคคลากรและข้อจำกัดที่ต้องอาศัยงบประมาณ รวมทั้งการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ต้องขอขอบพระคุณในคำตอบเพราะคิดมากกับภาระที่ยังค้างอยู่

โดยคุณ สอาด พิมพกันต์ (สมาชิก) 23 ก.พ. 2552, 12:40

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ควรเขียนหนังสือลาออก  เพราะเมื่อทำงานต่ำกว่าคุณภาพ  นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้อยู่แล้ว  ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 119(4)

โดยคุณ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์  26 ก.พ. 2552, 16:03

ความคิดเห็นที่ 1

ควรเขียนหนังสือลาออก  เพราะเมื่อทำงานต่ำกว่าคุณภาพ  นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้อยู่แล้ว  ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 119(4)

โดยคุณ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์  26 ก.พ. 2552, 16:03

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก