ความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี|ความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี

ความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี

ทนายคลายทุกข์ขอเสนอความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี พื้นที่เขตมีนบุรี

บทความวันที่ 10 ก.พ. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8419 ครั้ง


บังคับคดี

ความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี

 

            ทนายคลายทุกข์ขอเสนอความชุ่ยของสำนักงานบังคับคดี  พื้นที่เขตมีนบุรี  ทำการยึดทรัพย์  เนื่องจากนายประกันผิดสัญญาประกันต่อศาลแพ่งธนบุรี  จำนวน 5,200,000  บาท  โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 119  เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่มาศาล  ศาลจึงมีคำสั่งปรับนายประกันเต็มจำนวน  โดยไม่ต้องฟ้องศาล  แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีพื้นที่เขตมีนบุรี  ไม่ดูตาม้าตาเรือ  ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง  ไปยึดทรัพย์ที่ดินที่สัญญาประกันต่อศาลในคดีอาญาซ้ำ 

 

            เนื่องจากเมื่อวันที่ 11  ตุลาคม 2550  เจ้าหนี้รายอื่นได้ยึดไว้แล้ว  แต่มายึดทรัพย์อีกครั้งในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550  โดยสำนักงานบังคับคดีพื้นที่เขตมีนบุรี  ถือว่ามีความชุ่ยอย่างมาก  ทำให้ราชการเสียหายและเจ้าหนี้รายอื่นที่ยึดทรัพย์ไว้แล้วก็เสียหายด้วย

 

            นอกจากนั้นยังมีการนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดจนก่อให้เกิดความวุ่นวายมากมาย  ซึ่งการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี  ในการยึดซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290  ต่อมาขอเพิกถอนการบังคับคดีต่อศาล  และรีบเปลี่ยนมาขอเฉลี่ยทรัพย์แทน  ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 

 

            ทนายคลายทุกข์อยากจะนำเสนอให้เห็นว่า  เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ทำงานแบบหยาบ ๆ  และแสดงความเสียหายให้กับประชาชนยังมีอีกมากมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนใหม่  ควรเข้าไปดูบ้างว่าผลงานของลูกน้องของท่านเป็นอย่างไร  อย่าให้เหมือนกับคดีนี้นะครับ

                        

            การบังคับคดีเจ้าพนักงานต้องกระทำการโดยสุจริต  โปร่งใส  ปฏิบัติตามกฎหมาย  และเมื่อทำผิดแล้วต้องรู้จักขอโทษบ้าง

 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 119 ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่ง บังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือ พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 290 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน อย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอโดยทำเป็น คำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่าย ทรัพย์สินนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเช่นว่ามานี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สิน อื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรในอันที่จะ สั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระค่า ภาษีอากรค้าง ให้มีสิทธิเฉลี่ยในทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานดังกล่าวได้ ยึดหรืออายัดไว้ก่อนแล้วเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ความในวรรคหนึ่ง แต่ถ้าเจ้าพนักงานมิได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้ขอเฉลี่ยได้ภายในบังคับของบทบัญญัติวรรคสอง

ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น คำขอเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขาย ทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น

ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลา สิบสี่วันนับแต่ชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้

ในกรณียึดเงินให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันยึด

เมื่อได้ส่งสำเนาคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินตามคำบังคับไว้จนกว่าศาลจะ ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด เมื่อศาลได้มีคำสั่งประการใดและส่งให้เจ้า พนักงานบังคับคดีทราบแล้ว ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตาม คำสั่งเช่นว่านั้น

ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับ คดีกำหนด ผู้ขอเฉลี่ยหรือผู้ยื่นคำร้องตาม มาตรา 287หรือตาม มาตรา 289 มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป

คำสั่งอนุญาตของศาลตามวรรคแปดให้เป็นที่สุด

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 14

 บางทีก็ควรศึกษาข้อกฏหมายให้ดีก่อนเพราะตัวเองไม่เก่งก็เลยโทษว่าคนอื่นชุ่ย อายเค้าอย่าทำอีก

โดยคุณ ทนายกระจอก 5 มี.ค. 2559, 00:09

ความคิดเห็นที่ 13

 ผมถูกอายัดเงินเดือนจากบังคับคดี และ ทางบังคับคดีไม่ตรวจสอบเอกสารทางโจกท์เลย อยู่ๆ ก็มาบังคับอายัดเงินเดือน เดือนร้อนมาก ทั้งๆที่ผมจ่ายเงินให้กับโจกท์ตลอด แต่พอโจกท์ ยื่นเรื่อง ก็ดำเนินการอายัดเงินทันที ไม่มีการแจ้งเตือน บอกกล่าวล่วงหน้า และเอกสารที่โจกท์ยื่นก็ยังไม่ถึงกำหนดที่ตกลงกันว่า ถ้าไม่จ่ายภายในหกเดือนก็มาฟ้องบังคับคดีได้ ใบเสร็จบางใบ ผม ซึ่งเป็นจำเลย ยังไม่เคยเห็น แล้วจะจ่ายให้โจกท์ได้อย่างไร ทางบังคับคดีก็ไม่มีการคัดกรอง ทำเรื่องอายัดเลย ซะงั้น ผม ละ งง เลย การทำงานของราชการไทย อย่างนี้ จะมีความยุติธรรมให้ผมบางไหม ทั้งๆ เงินทั้งหมดที่จ่าย ก็ไม่ใช่หนี้ ที่เกิดจากการกู้ แต่เป็นเงินที่ผมจ่ายค่ายดูแลบุตร ซึ่งผมจ่ายอยู่แล้ว แต่การดำเนินงานของ เจ้าหน้าที่ มันขัดความยุติธรรมโดยสิ้นเชิง อยากทราบว่า ถ้าผมจะร้องเรียนข้าราชการ คนดังกล่าว ต้องทำอย่างไรบ้างครับ ต้องไปที่ไหน เรียนใคร แล้วเขาจะเข้ามาตรวจสอบ อย่างไง ช่วยแนะนำ หน่อยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

โดยคุณ ณฐภัทร อินทร์ใหญ่ 30 พ.ย. 2558, 22:11

ความคิดเห็นที่ 12

เรียนถามเดือดร้อนมาก   อยู่ๆบังคับคดีนำหมายมายึดที่เพราะเป็นหนี้กู้เรียนห้าหมื่นบาทไม่ได้

ชำระ ทั้งที่ชำระมาเรื่อยเมื่อต้นเดือนชำระ 5000เหลือยอดอยู่ 1500  บาท  ทำงไดีเดือดร้อนมากไปไม่ถูก

โดยคุณ ทัศนีย์ 26 ต.ค. 2558, 19:31

ความคิดเห็นที่ 11

 มาเป็น ชม.  คิดค่าธรรมเนียมเกิน ชม.  ไม่เร่งรีบเล่นกันคุยกันอยู่นั่น ส.บังคับคดีนครปฐม จนท. การเงิน

โดยคุณ การปฎิบัติงานในการคิดเงินไถ่ถอน 10 ก.ค. 2558, 14:31

ความคิดเห็นที่ 10

  เรียนกรมบังคับคด  ดิฉัน จิระพร  ทองคำชุม  เป็นผู้ค้ำประกันรถให้นายเอกชัย  ทองคำชุม

 
ซึ่งดิฉันทราบข่าวจากธนาคารทิสโก้  ว่าทางทิสโก้ได้ส่งเรื่องยึดทรัพย์ไว้ คดีแดง ผบ2486/52
คดีดำผบ7473/52  ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวดิฉันไม่เคยรับทราบมาก่อน  ซึ่งขณะนี้ดิฉันเป็นหนี้ค่าบ้าน  ค้างชำระ มา 5  เดือนแล้ว ทางธนาคาร ธอส. มาทำประน้อมหนี้ให้ที่บริษัทสหฟาร์ม  ดิฉันจึงทราบว่าบ้านกำลังจะโดนยึด  จึงเรียนมาเพื่อขอประน้อมหนี้กับกรมบังคับคดีคะ  
โดยคุณ จิระพร ทองคำชุม 20 ก.พ. 2557, 12:12

ความคิดเห็นที่ 9

ตามกฎหมายแล้ว แม้จะเป็นการบังคับคดีนายประกันของศาล ศาลก็ยังคงต้องขอออกหมายบังคับคดีกับนายประกัน และนำยึดตามขั้นตอนของปวิพ.เช่นกัน เพียงแต่ตัดขั้นตอนการฟ้องร้องออกไป การที่เจ้าหนี้รายอื่นนำยึดทรัพย์นายประกันแปลงนั้นก่อนย่อมกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการยึดซ้ำ  การที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกัน แต่ยังมิได้บังคับคดียึดทรัพย์ไม่ถือว่าเป็นการยึดไว้แล้วตามกฎหมาย  ดังนั้นการที่ศาลต้องมาขอเฉลี่ยในคดีของเจ้าหนี้รายอื่นจึงถูกต้องแล้ว   ทนายคลายทุกข์อ่านกฎหมายไม่ครบหรือไม่ ตามปวิอ.ม.119 วรรค 2 ก็เขียนไว้ชัดนะว่าต้องออกหมายบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลที่ต้องรับผิดตามสัญญานายประกัน ช่วยรับผิดชอบก่อนนำออกเผยแพร่นะครับท่าน

โดยคุณ ออย 25 ธ.ค. 2556, 11:35

ความคิดเห็นที่ 8

ตัวข้าพเจ้าก็ถูกเจ้าหน้าบังคับคดีที่จังหวัดน่านละเมิดสิทธิ์ เช่นกัน  และกำลังจะดำเนินเรื่องขอขัดทรัพย์ที่ศาลจังหวัดนครราชสีมา  และกำลังจะดำเนินการร้องเรียนกรมบังคดีเหมือนกันแต่อยากจะขอความคิดเห็นจากทนายคลายทุกข์ว่าจะดำเนินเรื่องอย่างไร

โดยคุณ นางสุดทิพากร สมบูรณ์ 14 มิ.ย. 2556, 13:15

ความคิดเห็นที่ 7

 สำนักบังคับคดี มีนบุรี  ทำโฉนดที่ดินที่ถูกยึด หาย เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว  ไปทวงถามก็ไม่ได้รับความกระจ่าง   ขอทราบความกระจ่างหน่อยว่าจะดำเนินการอย่างไร  หรือต้องให้ไปดำเนินการเองที่กรมที่ดิน มีผู้เดือดร้อนเพราะพวกคุณอยู่  ตอบให้ด้วยค่ะ

โดยคุณ นลพรรณ 22 เม.ย. 2556, 15:40

ความคิดเห็นที่ 6

เจ้าพนักงานบังคับคดี สามารถยึดบ้านกรณีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารได้ด้วยเหรอค่ะ

สงสัยจริง

โดยคุณ สงสัย 6 ม.ค. 2555, 10:28

ตอบความคิดเห็นที่ 6

 ยึดได้แต่ธนาคารผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน หากได้ร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว

โดยคุณ 21 ก.ย. 2555, 23:53

ตอบความคิดเห็นที่ 6

กรรมสิทธิ์ของธนาคารหรือที่ธนาคารเป็นผู้รับจำนองครับ ถ้าเปงผู้รับจำนองยึดได้ครับ เพราะยังถือว่าทรัพย์ยังเป็นของจำเลยอยู่ครับ เพราะการจำนองกรรมสิทธิ์ไม่โอนครับ

โดยคุณ 17 ต.ค. 2555, 09:05

ความคิดเห็นที่ 5

 ยึดได้แต่ธนาคารผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน หากได้ร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว

โดยคุณ 21 ก.ย. 2555, 23:53

ความคิดเห็นที่ 4

กรรมสิทธิ์ของธนาคารหรือที่ธนาคารเป็นผู้รับจำนองครับ ถ้าเปงผู้รับจำนองยึดได้ครับ เพราะยังถือว่าทรัพย์ยังเป็นของจำเลยอยู่ครับ เพราะการจำนองกรรมสิทธิ์ไม่โอนครับ

โดยคุณ 17 ต.ค. 2555, 09:05

ความคิดเห็นที่ 3

คดีหมายเลขแดงที่ 2311/2544( หมู่บ้านเลิศอุบล ถนน สุวินทวงศ์) เจ้าของสร้างไม่เสร็จ กรมบังคับคดี จ่ายเงินให้ผู้เสียหายยังครับ คดีหมายเลขดำที่14757/2542

โดยคุณ พงศกร คำสุวรรณ์ 20 พ.ย. 2554, 17:05

ความคิดเห็นที่ 2

ความเห็นควรแสดงโดยสุจริต ปรามาสคนอื่นว่าชุ่ย ระวังทนายใหญ่จะตายน้ำตื้น เพราะความชุ่ยของตนเอง นะ

โดยคุณ 20 ก.ค. 2554, 10:43

ความคิดเห็นที่ 1

ช่ายดูกฎหมายดี ๆ ครับ เพราะเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถยึดได้ เพราะเป็นการยึดตามหมายบังคับคดี ซึงศาลมีคำพิพากษาแล้ว  ส่วนตาม ม.119 วิ.อาญา นั้น มิใช่การยึดตาม ป.วิแพ่ง ดังนั้นจึงมิใช้การยึดซ้ำ ตาม ป.วิแพ่ ม.290 ครับ  อนึ่งการที่ศาลสั่งให้สำนักงานที่ดิน ห้ามโอน ตาม ม.119 วิ.อาญา นั้น เป็นวิธีปฏิบัติ มิใช่เป็นการยีดตามกฎหมายแต่อย่างใด    บังคับคดีทำถูกแล้ว อย่าโทษเขาเลยครับ

                                            นักกฎหมายบ้านนอก

โดยคุณ 20 พ.ค. 2554, 20:40

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก