ข่าวทนาย/นักสืบ : ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด\\\\\\\\|ข่าวทนาย/นักสืบ : ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด\\\\\\\\

ข่าวทนาย/นักสืบ : ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด\\\\\\\\

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข่าวทนาย/นักสืบ : ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด\\\\\\\\

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับคดีล้มละลาย ซึ่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

บทความวันที่ 15 ม.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 6267 ครั้ง


ล้มละลาย

ข่าวทนายความ/สืบ : ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด"ไทกร พลสุวรรณ"

 

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับคดีล้มละลาย  ซึ่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด"ไทกร พลสุวรรณ"  ซึ่งมีตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พรบ.ล้มละลาย  พ.ศ. 2483  มาตรา  61,62,67, 67/1,81/1

 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

ขั้นตอนต่อไปจะมีการประชุมเจ้าหนี้

มาตรา61มื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย

ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้และวันที่ศาลได้มีคำพิพากษา

 

การเริ่มต้นล้มละลาย

มาตรา 62  การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

 

การจำกัดสิทธิของบุคคลล้มละลาย

มาตรา 67  เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้หรือพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว และยังไม่ได้สั่งปลดจากล้มละลาย

(1) ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้อนุญาตให้ลูกหนี้จ่ายจากเงินที่ลูกหนี้ได้มาในระหว่างล้มละลายและลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือนั้น แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดพร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย

(2) ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินอย่างใดลูกหนี้จะต้องรายงานเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ โดยแสดงรายละเอียดเท่าที่สามารถจะทำได้ภายในเวลาอันสมควร และไม่ว่าในกรณีใด ลูกหนี้จะต้องแสดงบัญชีรับจ่ายเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกระยะหกเดือน

(3) ลูกหนี้จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอนุญาตเป็นหนังสือและถ้าจะย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งตำบลที่อยู่ใหม่เป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในเวลาอันสมควร

 

ระยะการปลดจากล้มละลาย

มาตรา 67/1  เมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว บุคคลล้มละลายอาจได้รับการปลดจากล้มละลายเมื่อศาลได้มีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามมาตรา 71 หรือเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 81/1

 

มาตรา 81/1  ภายใต้บังคับมาตรา 81/2 บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่

(1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งหลังให้ขยายระยะเวลาเป็นห้าปี

(2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม (3) ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนดสิบปีตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้

(3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี

ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว

ให้นำบทบัญญัติมาตรา 76 มาตรา 77 และมาตรา 78 มาใช้บังคับกับการปลดจากล้มละลายตามมาตรานี้โดยอนุโลม

 

รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน

 

มีประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาด นายทัยกร หรือไทกร พลสุวรรณ(คดีหมายเลขแดงที่ ล. 7150/2551)ลงเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 13 มกราคม 2552  เนื่องจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เป็นโจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ลูกหนี้ล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งลงวันที่ 7  กรกฎาคม 2551 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ นายทัยกร  ลูกหนี้ เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แล้ว

 

ลูกหนี้เลขประจำตัวประชาชน3-4099-00364-88-1   อาชีพ ไม่ปรากฏแน่ชัด เกิดเมื่อวันที่ 7  กันยายน2511  มีภูมิลำเนาอยู่เลขที่ 139/2 หมู่ที่ 14  ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สิน ซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

 

อนึ่ง เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเรื่องนี้ จต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ฝ่ายคำคู่ความ สำนักงานเลขานุการกรมกรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานบังคับคดีซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจขยายกำหนดเวลาให้อีกไม่เกิน 2 เดือน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไทกร อ้างตัวเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวอีสานเคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2538โดยระบุว่า เพราะศรัทธาและประทับใจ นายชวน หลีกภัย ซึ่งสมัยนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ต่อมาได้ลาออกและได้จัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองขึ้น ชื่อ "พรรคประชาชนไทย" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

 

จากนั้นจึงก่อตั้งขบวนการประชาชนขึ้นมา ชื่อว่า ขบวนการอีสานกู้ชาติ เพื่อทำการต่อต้านระบอบทักษิณโดยเฉพาะ นายไทกรเป็นที่รู้จักขึ้นมา จากการเป็นผู้เปิดโปงการทุจริตและประพฤติมิชอบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างในรัฐบาลชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

 

ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์และไทยรักไทย หลังการรับประหาร 19 กันายน 2549 นายไทกรเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการสืบหาหลักฐานที่พรรคไทยรักไทยจ้างวานพรรคเล็กเพื่อให้ลงเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549และเป็นพยานสำคัญในการพิจารณาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ  แต่ทางพรรคไทยรักไทยโต้กลับมาว่า นายไทกรใส่ความพรรคไทยรักไทยและสนิทสนมกับทางนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

 

ปัจจุบัน นายไทกรยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในลักษณะการเคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยมักจะเคลื่อนไหวออกมาเป็นระยะ ๆ และได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในจังหวัดขอนแก่น ปลายปี พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ขอขอบคุณ รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

อยากทราบขั้นตอนการสืบดูว่าลูกหนี้โดนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่นั้นให้เข้าดูตรงไหนครับ

โดยคุณ 118.175.3.189 15 ก.ค. 2558, 13:49

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณครับ

โดยคุณ 19 เม.ย. 2554, 16:16

ตอบความคิดเห็นที่ 2

เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมมากครับ

โดยคุณ tanaphon konrangdee 15 ก.ค. 2558, 13:36

ความคิดเห็นที่ 1

เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมมากครับ

โดยคุณ tanaphon konrangdee 15 ก.ค. 2558, 13:36

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก