ปรึกษาปัญหาการบังคับคดีและขายทอดตลาด โทร.02-9485700|ปรึกษาปัญหาการบังคับคดีและขายทอดตลาด โทร.02-9485700

ปรึกษาปัญหาการบังคับคดีและขายทอดตลาด โทร.02-9485700

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปรึกษาปัญหาการบังคับคดีและขายทอดตลาด โทร.02-9485700

ปัญหาที่พบบ่อยในการบังคับคดี กรมบังคับคดี

บทความวันที่ 21 ธ.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 20208 ครั้ง


ทนายความ

 

ปัญหาที่พบบ่อยในการบังคับคดี  กรมบังคับคดี

 

1.  อายุความในการบังคับคดีตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 271

2.  การขอออกคำบังคับคดีตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 272

3.  การออกหมายบังคับคดี ตาม ป.วิแพ่ง  มาตรา 275,276

4.  เวลาในการยึดทรัพย์ ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 279

5.  ห้ามยึดทรัพย์เกินความจำเป็น  ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 284

6.  ข้อห้ามในการยึดทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 285,286

7.  ร้องขัดทรัพย์  ตาม ป.วิแพ่ง  มาตรา 287,288

8.  การขอเฉลี่ยทรัพย์  ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 290

9.  การขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 292-294

10.การถอนการบังคับคดี  ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 295-296

11.การขับไล่ลูกหนี้  ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 296 ทวิ-302

12. วิธียึดอายัดทรัพย์และการจ่ายเงิน  ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 303-323

 

ประวัติกรมบังคับคดี

 

เดิมงานของกรมบังคับคดีมีที่มาจากหน่วยงานราชการระดับกองในสำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม 2 กอง คือ กองบังคับคดีแพ่ง และ กองบังคับคดีล้มละลาย จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 สมัยรัฐบาล ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านกิตติ สีหนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เห็นความสำคัญของทั้งสองกองดังกล่าว ประกอบกับงานบังคับคดีแพ่งและงานบังคับคดีล้มละลายเพิ่มขึ้นมาก หน่วยงานที่จัดไว้แต่เดิม ไม่เหมาะสมกับงานที่นับวันแต่จะทวีปริมาณมากขึ้นทุกๆ ปี 

 

            ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย งานเกี่ยวกับการวางทรัพย์ได้ขยายอำนาจหน้าที่ทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งงานชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือ นิติบุคคลตามคำสั่งศาล ได้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถชำนาญงานในหน้าที่ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

            รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2517 ให้ยกฐานะกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดีล้มละลาย รวมจัดตั้งขึ้นเป็นกรมบังคับคดีอยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แล้วได้ตราพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารงานบางส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2517 โดยให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ในส่วนเกี่ยวกับกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดีล้มละลาย รวมทั้งให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดีล้มละลายไปเป็นของกรมบังคับคดี และนอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ได้แก่ สำนักงานวางทรัพย์กลางและงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อชี้ขาดถึงข้อ พิพาทเกี่ยวกับการวางทรัพย์ภูมิภาคขึ้น รวม 9 ภาค กรมบังคับคดีจึงมีอำนาจหน้าที่บังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ตลอดจนวางทรัพย์ทั่วประเทศ แล้วเริ่มดำเนินการในฐานะเป็นกรมบังคับคดีนับแต่นั้นเป็นต้นมา 

 

การติดต่อราชการกรมบังคับคดี

1.  หน้าที่รับผิดชอบของกรมบังคับคดี

            1.1  กรมบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแพ่งตามคำสั่งศาล

            1.2  กรมบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีล้มละลายตามคำสั่งศาล

            1.3  กรมบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามคำสั่งศาล

            1.4  กรมบังคับคดีชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล

            1.5  กรมบังคับคดีรับวางทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้มีสิทธิวางทรัพย์

            1.6  กรมบังคับคดีดำเนินการประเมินราคาทรัพย์

            1.7  กรมบังคับคดีดำเนินการเกี่ยวกับการเดินหมาย  คำคู่ความ  หนังสือหรือประกาศของหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดี

            1.8  กรมบังคับคดีปฏิบัติการอื่นใดตามกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมบังคับคดี  หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามคำสั่งศาล

 

ผู้ที่จะติดต่อราการในสังกัดกรมบังคับคดี ขอให้ปฏิบัติดังนี้

            1. ถ้าจะติดต่อกรมบังคับคดีต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนไปเพื่อการตรวจสอบ  และในกรณีที่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน  ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจไปแสดงด้วย

            2.  ถ้าจะติดต่อกรมบังคับคดีควรนำสำเนาทะเบียนบ้านของตน  หรือของผู้มอบอำนาจไปด้วย

            3.  ถ้าจะติดต่อกรมบังคับคดีต้องจดจำเลขคดีที่ประสงค์จะติดต่อ  ประเภทคดี  ชื่อโจทก์และจำเลย  เพื่อเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานจะได้ตรวจสอบ  ค้นเรื่องราวได้รวดเร็วและถูกต้อง

            4.  หากมีปัญหาการติดต่อกรมบังคับคดี  โปรดกรุณาติดต่อเลขานุการกรม  หรือผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัด

 

หน่วยงานภายในกรมบังคับคดี

 

-          กรมบังคับคดี

โทร.02-433-6001-5,02-433-607-9,02-881-4999 (อัตโนมัติ 20 สาย)

 

            -  สำนักงานเลขานุการกรม  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-4817  โทรสาร 02-433-0570

 

            -  กองบังคับคดีล้มละลาย 1  กรมบังคับคดี

โทร. 02-881-4374-6 โทรสาร.02-881-4895

 

-  กองบังคับคดีล้มละลาย 2  กรมบังคับคดี

โทร.02-887-5083,02-887-5085-87, 2-887-5198  โทรสาร. 02-887-5111

 

            -  กองบังคับคดีล้มละลาย 3  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-4380-2  โทรสาร.02-881-4909

 

            -  กองบังคับคดีล้มละลาย 4  กรมบังคับคดี

โทร. 02-881-4383-5  โทรสาร.02-881-4916

 

            -  กองบังคับคดีล้มละลาย 5  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-4386-8  โทรสาร.02-881-4923

 

            -  กองคลัง  กรมบังคับคดี

โทร. 02-881-4854-6  โทรสาร.02-433-0800

 

            -  สำนักงานวางทรัพย์กลาง  กรมบังคับคดี

โทร.02-887-5141-9  โทรสาร.02-887-5140

 

            -  กองคำนวณและเฉลี่ยทรัพย์  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-4875-7  โทรสาร.02-434-1507

 

            -  สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้  กรมบังคับคดี

โทร.02-679-2500-29  โทรสารง02-679-2501

 

            -  กองยึดทรัพย์สิน  กรมบังคับคดี

โทร. 02-881-4365-7  โทรสาร.02-881-4879

 

            -  กองอายัดทรัพย์สิน  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-368-70  โทรสาร.02-881-4885

 

            -  กองจำหน่ายทรัพย์สิน  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-4371-3  โทรสาร.02-881-4894

 

            -  สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาคที่ 1-9  กรมบังคับคดี

โทรศัพท์และโทรสารดูในรายละเอียดหน้าสถานที่ตั้ง

 

            -  สำนักงานบังคับคดีจังหวัด  กรมบังคับคดี

โทรศัพท์และโทรสารดูในรายละเอียดหน้าสถานที่ตั้ง

 

            -  กองวิชาการและแผนงาน  กรมบังคับคดี

โทร. 02-887-5151-5

 

            -  ศูนย์สารสนเทศ  กรมบังคับคดี

โทร.02-881-4841,02-887-5010

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือคู่มือการติดต่อราชการกรมบังคับคดี

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 91

ถ้าเราทำเรื่องไปประมูลบ้านที่กรมบังคับคดีแล้วเราประมูลบ้านได้แต่เราไม่มีเงินสดให้เราจะทำเรื่องกู้ธนาคารแล้วถ้ากู้ไม่ผ่านเขาจะคืนเงินมัดจำที่เราเอาไปวางตอนที่เราไปประมูลบ้านไหมคะ

โดยคุณ เบลล์ 4 พ.ค. 2561, 15:00

ความคิดเห็นที่ 90

อยากสอบถามว่า

ถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินแล้ว และกำลังดำเนินการแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ทราบเพื่ออายัด แต่จำเลยได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอก และได้มีการโอนเปลี่ยนชื่ิอในโฉนดเรียบร้อยแล้ว โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก่อนที่เจ้าพนักงานที่ดินจะได้รับหนังสือแจ้งการยึดที่ดินดังกล่าว หลังจากนั้น เจ้าพนักงานที่ดินได้รับหนังสือแจ้งการยึดที่ดินดังกล่าว แต่ก็แจ้งกลับไปยังเจ้าพนักงานบังคับดีแล้วว่าเพิกถอนการโอนไม่ได้

อยากทราบว่า ในกรณีตามมาตรา304 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ถ้าแค่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบก็ถือว่า เป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว แต่ในกรณีนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้ว แต่ทรัพย์ไม่ใช่ชื่อของจำเลยแล้ว ดังนั้นยังถือว่าเป็นการยึดตามกฎหมาย ตามมาตรา304 วรรคหนึ่งไหมครับ.

โดยคุณ ธัญญาลักษณ์ 11 ก.ย. 2560, 09:17

ความคิดเห็นที่ 89

สวัสดีครับ...สอบถาม เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ที่ดินไม่มีโฉนด แต่ยึดสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดิน(ไม่มีโฉนด)และลูกหนี้ก็อยู่ในที่นั้นด้วย...จะมีวิธีดำเนินการยังไงบ้างครับ?

โดยคุณ คมชาญ วุธนู 7 ก.ค. 2560, 11:14

ความคิดเห็นที่ 88

ขอโทษค่ะ ขอปรึกษาหน่อยค่ะ ถ้ามีหมายศาลให้ชำระหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดภายใน 15 วันประมานหนึ่งแสนบาทมิฉะนี้นจะยึดทรัพย์ ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นชื่อของเรามีแค่มอเตอร์ไซคันเดียว ถ้าเราจะขายต่อในช่วงก่อนครบ 15 วันจะมีผลอย่างไรมั้ยคะ และหลังจากนี้ถ้าไม่มีเงินจ่ายจะเป็นอย่างไรคะ เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ หลังจากนี้ กลุ้มใจมากๆเลยค่ะ ช่วยกาทางออกให้ทีค่ะ

โดยคุณ Preaw 8 พ.ค. 2560, 22:52

ความคิดเห็นที่ 87

ขอสอบถามคะ บ้านถูกยึดตั้งแต่ปี 53 ต่อมา ธนาคารขายหนี้เสียให้ บสก. เมื่อปี 56  แล้ว บสก แจ้งไปที่ศาล บอกว่าสวมสิทธิ์ แทน ธนาคาร เราทราบเรื่อง เมื่อปี 58 เนื่องจากมีหมายศาลมาปิดไว้ ปัจจุบันยังไม่มีการขายทอดตลาด

เราควรทำอย่างไรดี  อยากให้ขายทอดตลาดให้เร็วที่สุด เพราะดอกเบี้ยวิ่งตลอก และมียอดสูงมาก


หมายเหตุ ผู้กู้หลัก (มีกรรมสิทธิ์ครอบครองบ้าน) ส่วนเรา เป็นผู้กู้ร่วม ไม่มีสิทธิในกรรมสิทธิ์บ้าน แต่สิทธิแต่จ่ายหนี้ 100 แทน ผู้กู้หลัก. เพราะผู้กู้หลัก ไม่ชำระอะไรเลย 


ขอบคุณมากคะ 9-04-60 

โดยคุณ Pui 9 เม.ย. 2560, 12:32

ตอบความคิดเห็นที่ 87

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านโทรปรึกษาทนายคลายทุกข์โดยตรงที่เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 17 พ.ค. 2560, 15:18

ความคิดเห็นที่ 86

 รบกวนขอคำแนะนำครับ

คดีแรงงานครับ

บริษัทค้างเงินเดือนและเงินชดเชย ผมได้ไปยื่นที่คุ้มครองแรงงาน เจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งไห้บริษัท

จ่ายทั้งหมด แต่บริษัทไม่ปฎิบัตตาม คุ้มครองแรงงานจึงไห้ผมไปฟ้องศาลแรงงานนนทบุรี

ไกล่เกลี่ยกัน ได้ทำประณีประนอมยอมความจะจ่าย ถึงกำหนดชำระบริษัทไม่ปฎิบัติตามไม่จ่าย

จึงเขียนคำร้องไห้บังคับคดี ศาลออกคำสั่งบังคับคดีแล้ว

แต่บริษัทไม่มีทรัพย์สินใดๆ สามารถ ทำเรื่องไห้ กรรมการที่มีอำนาจลงรายมือชื่อ รับผิดชอบไดไหม เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวครับ

ขอบคุณครับ

โดยคุณ วรวุฒิ วงศ์จ้อย 7 มี.ค. 2560, 16:37

ตอบความคิดเห็นที่ 86

กรณีตามปัญหา  ท่านในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถบังคับคดีได้ตามปวิพ.มาตรา 271,272,275

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 เม.ย. 2560, 10:43

ความคิดเห็นที่ 85

ผมขออนุญาติสอบถามเกี่ยวกับการบังคับคดี พอดี รถบรรทุกสิบล้อพ่วงของผมถูกกรมบังคับคดี ยึดไป เพื่อรอการขายทอดตลาด นานกว่า 3 ปี และได้นำรถ ไปจอดไว้โดยเป็นลานจอดโล่งแจ้ง มิได้มีการเก็บรักษา ซึ่งปัจจุบัน ดูจากสภาพรถไม่สามารถใช้งานได้ แบบนี้สามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างครับ 

โดยคุณ เอกชัย บุตรดีงาม 6 มี.ค. 2560, 11:39

ตอบความคิดเห็นที่ 85

กรณีตามปัญหา  ยึดสังหาริมทรัพย์   ก่อนออกไปทำการยึดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งผู้นำยึดให้จัดเตรียมยานพาหนะที่จะขนย้ายทรัพย์ด้วยและบรรดาสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ให้นำมาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจำหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีหรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี  เว้นแต่    

ทรัพย์ซึ่งมีลักษณะอาจทำให้เกิดสกปรกเลอะเทอะหรือมีกลิ่น ซึ่งอาจรบกวนหรือก่อความรำคาญ

ทรัพย์ซึ่งมีน้ำหนักมากหรือไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายหรือมีความสูงหรือมีความกว้างมาก หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา

ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมี หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง 

ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์

ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน เช่น ทรัพย์ที่ถูกยึดตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา

ทรัพย์ซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความสนใจของบุคคลที่จะซื้อ เช่นเครื่องจักรที่ใช้การไม่ได้โดยสภาพ หรือเครื่องจักรที่เมื่อขนย้ายแล้วจะทำให้ใช้การไม่ได้  รถยนต์ที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถขับเคลื่อนได้  โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีสภาพชำรุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสภาพใช้การไม่ได้ หรือเครื่องนุ่งห่มหลับนอนที่ผ่านการใช้มาแล้ว เป็นต้น 

      ทรัพย์ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีความประสงค์หรือยินยอมมิให้นำมาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจำหน่ายทรัพย์สิน   หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา (คำสั่งกรมบังคับคดีที่ 261/2548 เรื่อง  การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์)

ดังนั้น แนะนำให้ท่านติดต่อกับกรมบังคับคดีได้โดยตรง 02-8814999

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 20 เม.ย. 2560, 11:53

ความคิดเห็นที่ 84

 เนื่องจากทางบริษัทที่ผมทำงานอยู่ได้มีการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องอายัดเงินเดือนแต่ทางกรมบังคับคดีส่งเอกสารแจ้งมาว่าได้ส่งเอกสารเกี่ยวกีบการอายัดเงินเดือนมาให้เมื่อเดือน7/2559. แต่ทั้งทางผมและทางบริษัทไม่ได้รับจดหมายนี้เรย จนตอนนี้ได้มีเอกสารส่งมาที่บริษัทให้นำส่วเงินซึ่งยังไม่ทราบลายละเอียดตรงนั้นแต่ยอดหนี้ที่ผมจำได้คือ38000บาทแต่ผมไม่สามารถปิดทีเดียวได้ถ้าเราไม่ได้ไกล่เกลี่ยแต่ปล่อยให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือนจะต้องโดนอายัดประมาณเท่าไหร่ครับเงินเดือน13000ไม่มีโอทีครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ สิขรินทร์ 22 ก.พ. 2560, 14:43

ความคิดเห็นที่ 83

 อยากทราบว่าถ้าเราจะให้กรมบังคับตั้งยึดทรัพย์แต่เราไม่สามารถถ่ายรูปสิ่งปลูกสร้างได้เพื่อนำรูปไปประกอบกับคำแถลงทางกรมบังคับคดีจะสามารถตั้งเรื่องยึดทรัพย์ได้หรือไม่

โดยคุณ วีรวัฒน์ 21 พ.ย. 2559, 15:54

ความคิดเห็นที่ 82

 ยินดีให้คำปรึกษาเรื่องเงินเกี่ยวกับการวิ่งเต้นคดีหรือต้องการใช้หลักทรัพย์ในการคํ้าประกันในการสู้คดีต้องการกู้เงินใช้เงินสดด่วน โดยมีหลักทรัพย์ในการคำ้ประกันเเรกเงินโดยทางเรารับจำนำ จำนอง ขายฝาก เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์และ สิ่งปลูกสร้างทุกนิด ติดต่อด่วน 0927273777 0886789014 คุณเจเจ   id  0886789014

โดยคุณ เจเจ 27 ต.ค. 2559, 22:20

ความคิดเห็นที่ 81

 ขอรบกวนสอบถามหน่อยคะ พอดีเพิ่งทราบว่าโดนฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลาย ตั้งแต่ ปี 2549 เราจะต้องไปติดต่อที่ไหนคะ เพราะ ต้องการทำพลาสปอร์ตเพื่อไปหางานทำที่ต่างประเทศนะคะ แต่ไม่สามารถทำพลาสปอร์ตได้ ก็เลยทราบว่าโดนฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย

โดยคุณ ต่าย 19 ก.ค. 2559, 14:35

ตอบความคิดเห็นที่ 81

 กรณีของท่าน หากศาลล้มละลายพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ท่านจะออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย 2483 มาตรา 67(3) โดยท่านควรแจ้งชื่อผู้ที่เจ้าพนักงานจะติดต่อได้ระหว่างที่ไปทำงานต่างประเทศ และนอกจากนี้บุคคลที่ล้มละลายอาจขอใช้วิธีประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ถ้าสำเร็จท่านก็จะได้พ้นภาวะล้มละลาย แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าวิธีใดก็ต้องปฏิบัติตามที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าพนักงานฯโดยเคร่งครัด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 ก.ค. 2559, 11:04

ความคิดเห็นที่ 80

 กรณีของท่าน หากศาลล้มละลายพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ท่านจะออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย 2483 มาตรา 67(3) โดยท่านควรแจ้งชื่อผู้ที่เจ้าพนักงานจะติดต่อได้ระหว่างที่ไปทำงานต่างประเทศ และนอกจากนี้บุคคลที่ล้มละลายอาจขอใช้วิธีประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ถ้าสำเร็จท่านก็จะได้พ้นภาวะล้มละลาย แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าวิธีใดก็ต้องปฏิบัติตามที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าพนักงานฯโดยเคร่งครัด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 ก.ค. 2559, 11:04

ความคิดเห็นที่ 79

 กรณีที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินถูกบังคับคดีลูกหนี้จะสามารถไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้ได็โดยวิธีใดบ้าง

วงเงินที่ค้าง หลายล้าน (สี่ล้าน)

โดยคุณ PITTAYA 29 พ.ค. 2558, 13:36

ตอบความคิดเห็นที่ 79

 กรณีที่อยู่อาศัยไปจำนองไว้กับธนาคาร โดนฟ้องศาล ศาลสั่งบังคับคดี ขายทอดตลาด จำนวนมูลหนี้ 290,000 บาท แต่ธนาคารซื้อหนี้จากบังคับคดีมาขาย 500,000 กว่า ส่วนต่งจาก 290,000 บาท นั้น เจ้าของที่อยู่อาศัยไดรับคืนหรือไม่ ขอบคุณครับ

โดยคุณ Yuttana 22 พ.ย. 2558, 20:54

ความคิดเห็นที่ 78

 กรณีที่อยู่อาศัยไปจำนองไว้กับธนาคาร โดนฟ้องศาล ศาลสั่งบังคับคดี ขายทอดตลาด จำนวนมูลหนี้ 290,000 บาท แต่ธนาคารซื้อหนี้จากบังคับคดีมาขาย 500,000 กว่า ส่วนต่งจาก 290,000 บาท นั้น เจ้าของที่อยู่อาศัยไดรับคืนหรือไม่ ขอบคุณครับ

โดยคุณ Yuttana 22 พ.ย. 2558, 20:54

ความคิดเห็นที่ 77

  เรื่องมีอยู่ว่าผมไปซื้อรถให้ลูกเขยเป็นชื่อของผมอยู่ระยะหนึ่งส่งไม่ไหวปลอยให้รถโดนยึดผ่านมาหลายปีมีคำสั่งยึดทรัพยจากกรมบังคับคดีไปติดหน้าบ้านผมอยากเอาที่ดินของผมไว้จะทำอย่างงัยผมมีเงินไม่พอจะผ่อนชำระได้หรือไม่ผมควรทำอย่างไรตอนนี้ผมอายุ63ปีช่วยตอบผมหน่อยครับขอความอนุเคราะห์ครับ

โดยคุณ บุญมาก แก้วกรม 27 ม.ค. 2558, 20:47

ตอบความคิดเห็นที่ 77

ท่านควรติดต่อกับไฟแนนซ์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อไกล่เกลี่ยขอประนอมหนี้และถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 25 ก.พ. 2558, 12:49

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก