การดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ตอนจบ)| การดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ตอนจบ)

การดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ตอนจบ)

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ตอนจบ)

ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ ที่กระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่

บทความวันที่ 11 ธ.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2087 ครั้ง


6

   การดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ตอนจบ)

    

            6.  ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ ที่กระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่ หรือซ่องโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่

 6.1  ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337 คือ การกรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น โดยอ้างว่า เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำการกรรโชกทรัพย์

 

6.2  ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 338 คือ การรีดเอาทรัพย์ด้วยการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น โดยอ้างว่า เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำการกรรโชกทรัพย์

 

          7.  ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ได้แก่ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 กล่าวคือ

7.1  ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ปัจจุบันยังมีผลใช้บังคับอยู่ ทั้งนี้มีการยกเลิกบางมาตรา ของกฎหมายดังกล่าว และปรับปรุงบทกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีการตรากฎหมายศุลกากรขึ้น ใช้บังคับสืบมาอีก 15 ฉบับ ดังนี้

7.1.1    พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2471

7.1.2    พระราชบัญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2472

7.1.3    พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2474

7.1.4    พระราชบัญญัติศุลกากรแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2475

7.1.5    พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2479

7.1.6    พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2480

7.1.7    พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2480

7.1.8    พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 9 ) พ.ศ. 2482

7.1.9    พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2483

7.1.10  พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 11 ) พ.ศ. 2490

7.1.11  พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 12 ) พ.ศ. 2497

7.1.12  พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 13 ) พ.ศ. 2499

7.1.13  ประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515

7.1.14  พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2528

7.1.15  พระราชบัญญัติศุลกากร ( ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2534

 

7.2 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ความในตอนท้ายได้บัญญัติใหม่โดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 คือ การนำหรือพาของที่ยังไม่ได้เสียภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังไม่ได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาไทยก็ดี หรือที่ส่งหรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดี หรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆในการนำของเช่นว่านี้เข้ามาหรือส่งออกไปก็ดี หรือย้ายถอนไป หรือช่วยเหลือให้ย้ายถอนไปซึ่งของดังกล่าวนั้นจากเรือกำปั่น ท่าเทียบเรือ โรงเก็บสินค้า คลังสินค้า ที่มั่นคง หรือโรงเก็บของ โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดี หรือให้ที่อาศัยเก็บหรือเก็บ หรือซ่อนของเช่นว่านี้ หรือยอม หรือจัดให้ผู้อื่นทำการเช่นว่านั้นก็ดี หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใดๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของ โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะต้องเสียสำหรับของนั้นๆ ก็ดีหรือหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี

 

7.3  พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เพิ่มความโดยได้บัญญัติใหม่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 คือ การช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้าม หรือข้อจำกัด

8.  ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

9.  ความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

10.ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

11.ความผิดเกี่ยวกับการพนัน

 

การดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

การดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย

          1.  การดำเนินคดีอาญาในความผิดมูลฐาน คือ การดำเนินคดีในความผิดทางอาญาที่ระบุไว้เป็นความผิดมูลฐานในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 ดังรายละเอียดของข้อหาที่กล่าวมาข้างต้น

 

          2.  การดำเนินคดีอาญากับผู้ที่ฟอกเงิน หรือ ทรัพย์สิน ที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน หรือ จากการสนับสนุน ช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน กล่าวคือ

2.1   การโอน รับโอน หรือ เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อน หรือ ปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่า ก่อน ขณะ หรือ หลังการกระทำความผิดมิให้ต้องรับโทษ หรือ รับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน

2.2   การกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิด หรือ อำพรางลักษณะที่แท้จริง การได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

2.3   การสนับสนุนการกระทำความผิด หรือ ช่วยเหลือ ผู้กระทำผิดฐานฟอกเงิน ไม่ว่าก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด

2.4   การจัดหา หรือ ให้เงิน หรือ ทรัพย์สิน ยาพาหนะ สถานที่ หรือ วัตถุใดๆ หรือ กระทำการใดๆ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินหลบหนี หรือ เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินถูกลงโทษ หรือ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการกระทำความผิด

2.5   การพยายามกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

2.6  การสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน

 

          3. การดำเนินคดีอาญากับสถาบันการเงิน ผู้มีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือผู้เกี่ยวข้องฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กำหนดไว้กล่าวคือ

            3.1   การไม่รายงานการทำธุรกรรม

            3.2   การไม่ได้จัดให้ลูกค้าแสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรม

            3.3   การไม่ได้จัดให้ลูกค้าบันทึกข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับธุรกรรม

            3.4   การไม่เก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงตนของลูกค้า

 3.5   การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการธุรกรรม

            3.6   การรายงานการทำธุรกรรม หรือแจ้งข้อเท็จจริงกับสถาบันการเงิน โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ

            3.7   การไม่มาให้ถ้อยคำ ไม่ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือไม่ส่งบัญชี เอกสาร หรือ หลักฐาน หรือขัดขวางไม่ให้ความสะดวกในการปฏิบัติงานตามกฎหมาย

            3.8   การทำให้บุคคลอื่นล่วงรู้ข้อมูลที่เก็บรักษาไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 3.9   การยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสาร หรือบันทึก ข้อมูล หรือ ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้

 3.10 การยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสาร หรือบันทึก ข้อมูล หรือ ทรัพย์สินที่รู้ หรือควรรู้ว่าจะตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย

            3.11 การรู้ หรืออาจรู้ความลับในราชการเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมาย กระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้อื่นรู้ หรืออาจรู้ความลับดังกล่าว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ขอขอบคุณเนื้อหาสาระดี ๆ จากเว็บไซต์ป.ป.ง.

 

 

 

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก