ปรึกษาทนายความคดีหย่าร้าง 02-9485700|ปรึกษาทนายความคดีหย่าร้าง 02-9485700

ปรึกษาทนายความคดีหย่าร้าง 02-9485700

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปรึกษาทนายความคดีหย่าร้าง 02-9485700

พฤติกรรมทางสังคมเริ่มเปลี่ยนไป การหย่าร้างเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อก่อนผู้หญิงจะไม่กล้าหย่ากับผู้ชาย เนื่องจากด้วยฐานะทางสังคม เรื่องเศรษฐกิจของครอบครัว

บทความวันที่ 27 ก.ค. 2549, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 22358 ครั้ง


การหย่าร้าง

การหย่าร้าง

 

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้  ไม่ควรมองข้าม            พฤติกรรมทางสังคมเริ่มเปลี่ยนไป  การหย่าร้างเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม  เมื่อก่อนผู้หญิงจะไม่กล้าหย่ากับผู้ชาย  เนื่องจากด้วยฐานะทางสังคม  เรื่องเศรษฐกิจของครอบครัว  เดี๋ยวนี้ผู้หญิงทำงานสามารถพึ่งพาตนเองได้  ไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้ชายเหมือนสมัยก่อน  เลยไม่มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

 

            เด็กวัยรุ่นที่มีปัญหา 90  เปอร์เซ็นต์มาจากกครอบครัวที่แตกแยก  วันนี้ทีมงานรายการทนายคลายทุกข์นำเรื่องปัญหาครอบครัวเรื่องการหย่าร้างมานำเสนอนั้น  ไม่ได้หมายความว่าต้องการให้เพื่อนสมาชิกรายการเกิดความแตกแยกในครอบครัว  แต่ต้องการฝากสิ่งที่ทุกครอบครัวไม่ควรมองข้าม 

 

            สถิติการหย่าร้างของคู่สมรสเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบทุกปี  ล่าสุดสถิติการหย่าร้างของกรมการปกครอง  เมื่อปี  2547  จำนวนคู่รักที่ตกลงปลงใจแยกชีวิตรักจากกันมีมากถึง  86,982  คู่  หากเทียบกับสถิติการหย่าร้าง  เมื่อปี 2546  มีจำนวน 80,886  คู่เท่านั้น

 

            สาเหตุหลักของการหย่าร้าง  เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว  ตั้งแต่ความสัมพันธ์ของสามีภรรยา  จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่  สิ่งแรกที่ควรปรับเปลี่ยนคือพฤติกรรมตัวเราเองเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน  ไม่ว่าจะทำอะไรให้ยึดหลัก  แฟมิลี่  เฟิร์ส  คือ  ให้ความสำคัญของครอบครัวเป็นอันดับแรก  อาจให้เลือกวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดเป็นวันที่ทุกคนหยุดความเคลื่อนไหวทุกสิ่ง  ถ้าเรามีเวลาให้ครอบครัว  กิจกรรมภายในครอบครัวก็จะเกิดขึ้น  สัมพันธภาพในครอบครัวจะดีขึ้นเรื่อย ๆ   

 

             ไม่เพียงแต่กิจกรรมเท่านั้น  การพูดจาก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชีวิตคู่ยืดยาว   ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายควรจะพูดจาภาษาดอกไม้กัน  เพราะการพูดคุยกันมากขึ้น  จะทำให้ต่างฝ่ายต่างรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  และช่วยกันหาทางแก้ไข

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 485

พี่ชายของดิฉันแต่งงานกับแฟนยุกินกันมา10 ปี แต่ ปัจจุบัน ได้หย่าขาดจากกัน 2 ปี แล้วและได้กู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน 1 หลัง ซึ่งตอนนี้ พี่ชายของดิฉันกับแฟนเก่าก็ยังส่งบ้านอยู่ หลังจากหย่ากันพี่ชายไป บ้านหลังดังกล่าว แฟนเก่าเป็นคนอาศัยยุกับสามีใหม่ พี่ชายเคยตกลงกับแฟนเก่าว่าให้สามีใหม่มารับผิดชอบเรื่องบ้านถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกัน แต่แฟนเก่าไม่ยินยอมบอกว่าสามีใหม่มีรายได้น้อยไม่พอหักค่าบ้าน และพี่ชายของดิฉันก็ไม่ได้อยู่บ้านหลังนั้น หลังจากหย่ากันนานแล้ว ดิฉันอยากถามว่าจะทำอย่างไรดีค่ะ กับบ้าน หรือต้องจัดการอย่างไร เพราะตอนนี้พี่ชายต้องส่งบ้านทั้งๆที่ไม่ได้อาศัยอยู่

โดยคุณ จันจิรา 24 เม.ย. 2560, 02:05

ตอบความคิดเห็นที่ 485

ท่านสามารถติดต่อธนาคาร เพื่อสอบถามเรื่องการเปลี่ยน หรือถอนชื่อผู้กู้ออกจากการกู้ยืมเงินครั้งนี้ และท่านสามารถโทรสอบถามได้ที่ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 17 พ.ค. 2560, 14:34

ความคิดเห็นที่ 484

 อยากปรึกษาค่ะคือว่าดิฉันกับสามีได้แต่งงานจดทะเบียนกันมีบุตรหนึ่งคนแล้วปัจจุบันเราเลิกกันต่างคนต่างอยู่มาเกือบห้าปีแล้วค่ะแต่สามีและดิฉันไม่มีโอกาสเจอกันเนื่องจากเวลาไม่ตรงกันต่างคนต่างไปต่างประเทศแต่อิฉันมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องอย่าเนื่องจากดิฉันมีแฟนใหม่และอยากจะจดทะเบียนใหม่เพื่อขอวีซ่าแต่อดีตสามีก็อ้างว่าติดงานมาไม่ได้ให้รอดิฉันอยากทราบว่าพอมีวิธีไหนบ้างไหมคะที่ดิฉันจะล้างทะเบียนกับเขาทั้งที่เขายังอยู่ต่างประเทศวิธีที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆเพราะดิฉันมีความจำเป็นมากที่จะต้องทำวีซ่าด่วนเพาาะดิฉันเองก็รับผิดชอบลูกอยู่คนเดียวค่ะขอรวามกรุณาให้คำปรึกษาหน่อยนะคะ

โดยคุณ กรณิกา คำรังศรี 7 ม.ค. 2560, 08:26

ตอบความคิดเห็นที่ 484

 แนะนำให้เข้าพบทนายความครับ เพื่อดำเนินการฟ้องหย่า  ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516  

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 ม.ค. 2560, 16:06

ความคิดเห็นที่ 483

 แนะนำให้เข้าพบทนายความครับ เพื่อดำเนินการฟ้องหย่า  ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516  

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 ม.ค. 2560, 16:06

ความคิดเห็นที่ 482

 แฟนมีลูกด้วยกัน 1 คนบอกเลิกผม แล้วไปมีใหม่ สุดท้าย กลับมาจอคืนดี แต่ผมมารู้ทีหลังว่าเขามีใหม่แล้ว และมีอะไรกับแฟนใหม่แล้ว ผมรู้สึกรับไม่ได้ แต่ไม่อยากให้ลูกมีปัญหา. ผมต้องทำไงดีครับ เป็นทุกมาก

โดยคุณ ดัชกร แก่นสนธ์ 22 พ.ย. 2559, 17:02

ความคิดเห็นที่ 481

 อยากฟ้องหย่าแฟนเก่าต้องทำไงคะเขาไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูลูกและเขาก็มีครอบครัวใหม่มีลูกใหม่แต่ไม่ยอมหย่าเลิกกันหลายแล้วค่ะยังตกลงกันไใได้ซักทีจะฟ้องก็ไม่มีเงินมากพอ

โดยคุณ ณิชา บุญมานันท์ 20 ต.ค. 2559, 23:08

ตอบความคิดเห็นที่ 481

 มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1)สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 14 พ.ย. 2559, 15:52

ความคิดเห็นที่ 480

 มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1)สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 14 พ.ย. 2559, 15:52

ความคิดเห็นที่ 479

 ดิฉันกับสามีอยู่กินด้วยกันเป็นระยะเวลาเกือบสี่ปี เราไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามีทำงานอยู่ชลบุรี ฉันอยู่ต่างจังหวัด เขาส่งข้อความมาบอกเลิกและย้ายห้อง ย้ายที่ทำงานใหม่ ดิฉันติดต่อเขาไม่ได้1เดือนเติม เรามีลูกด้วยกันหนึ่งคน ตอนนี้ลูกสองเดือน ฉันไม่มีรายได้เพราะไม่ได้ทำงานตั้งแต่ตั้งครรถ์ ดิฉันสามารถให้เขามารับผิดชอบค่าเลี้ยงดูบุตรได้ไหม ลูกอยู่กับดิฉันและจะหาทางออกกับดรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

โดยคุณ นิรัศษา 30 ส.ค. 2559, 08:45

ความคิดเห็นที่ 478

 สวัสดีค่ะสามีเป็นชาวต่างชาติชอบดาว่ารายเราและทำรายร่างกายแต่เราไม่ได้จดทะเบียนกันจะทำไงค่ะ

โดยคุณ 7 ส.ค. 2559, 17:43

ความคิดเห็นที่ 477

 ขอปรึกษาค่ะ พอดีฟ้องหย่ากัยแฟนเรียบร้อยแล้วมีการตกลงว่าฝ่ายเราจะรับผิดชอบหนี้สินที่สร้างมาร่วมกันเองทั้งหมดแต่พวกทรัพย์สินที่มีก็เราก็ได้มาทั้งหมดโดยเราได้เสนอให้เงินเขา 1แสนบาท (จ่ายเป็นเดือนละ5000)พอตกลงกันทีศาลเสร็จเขาก็ไม่ได้มาหย่าให้จนเราต้องเอาสัญญาและคำพิพากษาตามยอมมาทำเรื่องหย่าเองที่อำเภอ แต่ด้วยหนี้สินที่เยอะกว่าทรัพย์สินจึงไม่ได้ชำระเงินให้เขาตามที่ตกลงกันประมาณ5เดือนแรกคือไม่ได้จ่ายเขาเลย เขาโทรมาก็บอกว่ารอขายที่ได้จะจ่ายหมดเลย1แสน หลังจากนั้นไม่นานก็ขายที่ได้ จึงนำเงินขายที่ไปชำระหนี้อย่างอื่นก่อน กะว่าจะจ่ายให้เขาด้วยก็เลยมาโดนไฟไหม้บ้านก่อน จึงไม่สามารถจ่ายเงินให้เขาทั้งหมดได้ เลยโอนเงินไปใช้หนี้เขา5000ติดต่อกัน2เดือน พอมาเดือนที่3จึงเห็นหมายศาลมาที่บ้าน คือเขาไปยื่นฟ้องว่าเราไม่จ่ายเงินให้เขา กรณีนีิเราจะมีความผิดหนักเบาแค่ไหนคะ

โดยคุณ เพชลดา 6 ส.ค. 2559, 10:22

ตอบความคิดเห็นที่ 477

 กรณีดังกล่าวเป็นคดีแพ่ง เพราะฉะนั้น ความรับผิดของท่านคือรับผิดชำระเงินตามบันทึกท้ายการหย่าเท่านั้น ไม่ได้มีความผิดอย่างอื่นแต่อย่างใด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 17 ส.ค. 2559, 10:54

ความคิดเห็นที่ 476

 กรณีดังกล่าวเป็นคดีแพ่ง เพราะฉะนั้น ความรับผิดของท่านคือรับผิดชำระเงินตามบันทึกท้ายการหย่าเท่านั้น ไม่ได้มีความผิดอย่างอื่นแต่อย่างใด

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 17 ส.ค. 2559, 10:54

ความคิดเห็นที่ 475

 แฟนหนูเลิกกับภรรยาได้ประมาณาณสองปี ภรรยาเค้าไปยอมจเซ็นหย่า หนีไปอยู่ต่างประเทศ ทีนี้ตอนนี้ภรรยาเค้า มาเรียกร้องให้ช่วยใช้หนี้ สามแสน เค้าถือว่าเป็นหนี้สมรสแฟนหนูควรทำยังไงคะ เพราะหย่าเค้าก้อไม่ยอมจะหย่าให้ 

โดยคุณ Kungking 4 ก.ค. 2559, 08:34

ตอบความคิดเห็นที่ 475

 หากแฟนของท่านยังไม่ได้หย่ากับภริยาตามกฎหมาย ถือว่ายังเป็นสามีภรรยากันอยู่ ดังนั้น เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส สามีภรรยาต้องจัดการชำระหนี้ร่วมกันครับ
ตาม ปพพ. มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1)หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
ดังนั้น สามีจึงต้องร่วมกับภริยารับผิดต่อเจ้าหนี้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.ค. 2559, 15:51

ความคิดเห็นที่ 474

 หากแฟนของท่านยังไม่ได้หย่ากับภริยาตามกฎหมาย ถือว่ายังเป็นสามีภรรยากันอยู่ ดังนั้น เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส สามีภรรยาต้องจัดการชำระหนี้ร่วมกันครับ
ตาม ปพพ. มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1)หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
ดังนั้น สามีจึงต้องร่วมกับภริยารับผิดต่อเจ้าหนี้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.ค. 2559, 15:51

ความคิดเห็นที่ 473

 ขอคำปรึกษาค่ะ ดิฉันเลิกกับสามีได้ปีกว่าแล้ว แต่ยังไม่ได้หย่ากัน มีบุตรด้วยกัน1คน ดิฉันเป็นคนเลี้ยงลูกมาตั้งแต่เล็ก ซึ่งสามีไม่เคยดูแลเลยตั้งแต่เกิด เอาแต่เที่ยวเตร่ ติดยาเสพติด สร้างหนี้สิน ติดเพื่อน การพนันก็มีบ้าง แล้วก็ทำร้ายร่างกายดิฉันอยุ่บ่อยครั้ง ช่วงที่เลิกกันได้ปีกว่า ทางสามีไม่ได้ส่งค่าเลี้ยงดูเป็นเรื่องเป็นราว คือถ้าเจอก้อให้บ้างเพียงไม่กี่บาท แล้วปัญหาหลักที่ดิฉันจะขึ้นศาลคือจะตกลงกันเรื่องสิทธ์ในตัวลูกค่ะ ว่าใครจะได้สิทธในการดูแลลูกมากกว่ากัน

โดยคุณ นิตยา 24 เม.ย. 2559, 10:13

ความคิดเห็นที่ 472

 ขอคำปรึกษาครับเนื่องด้วยพ่อ ติดการพนันติดผู้หญิง พ่อกับแม่ตอนนี้แยกกันอยู่แล้วพ่อ เรียกร้องขออย่ากับแม่ แม่ก็ยินดี แต่ปัญหาคือสมบัติ ที่นาเป็นมรดกของแม่ แต่แม่เซนต์ยินยอมให้พ่อจัดการมรดก พอมีปัญหากัน พ่อจะเอาที่นาของแม่ไปขายอยากถามว่าพ่อสาสมรถทำได้ใหมครับ แม่ไม่ได้ทำอะไรผิดต่อพ่อเลย

โดยคุณ สุริยา 26 ก.พ. 2559, 11:02

ความคิดเห็นที่ 471

 เลิกกับสามีมา16ปีแล้วแต่ยังไม่ได้หย่ามีลูกด้วยกันหนึ่งคนตอนนี้อายุ18ปีแล้วค่ะและดิฉันแต่งงานมีครอบครัวใหม่แล้วต้องการหย่าต้องทำยังไงค่ะ

โดยคุณ สุภา แสนศรี 25 ม.ค. 2559, 10:49

ตอบความคิดเห็นที่ 471

หากท่านประสงค์ดำเนินคดีด้วยการฟ้องหย่า ท่านควรพบปรึกษาทนายเพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 14 มี.ค. 2559, 14:54

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก