ทำความรู้จัก...ศาลผู้บริโภค|ทำความรู้จัก...ศาลผู้บริโภค

ทำความรู้จัก...ศาลผู้บริโภค

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทำความรู้จัก...ศาลผู้บริโภค

ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551

บทความวันที่ 2 ต.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 31778 ครั้ง


ทำความรู้จัก

ทำความรู้จัก...ศาลผู้บริโภค

 

ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา

 

ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง โดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น

 

ผู้ยื่นฟ้องสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตรายไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้

 

ที่สำคัญการที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้ ขาดข้อมูลในหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้น ในคดีผู้บริโภคจึงกำหนดให้ภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

 

คดีแบบไหนที่ศาลจะรับดำเนินคดีและพิจารณาคดีเป็นคดีผู้บริโภค

 

-  คดีแพ่ง ที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกันเนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ

-  คดีแพ่ง ที่ประชาชนได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

-  คดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับคดีทั้ง 2 ข้อข้างต้น

-  คดีแพ่งอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค

 

ใครบ้างที่สามารถฟ้องร้องเป็นคดีผู้บริโภคได้

1. ผู้บริโภค

 หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

 

หากยื่นฟ้องในข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคที่ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยอาจต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเอง แต่หากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่ได้รับการรับรองฟ้องแทน จะได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร

 

2. ผู้ประกอบธุรกิจ

หมายถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย

 

การยื่นฟ้องต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม

 

3. ผู้เสียหาย

            หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน แต่ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น

 

การยื่นฟ้องไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่เรียกค่าเสียหายเกินควร

 

ขั้นตอนการยื่นฟ้องต่อศาลคดีผู้บริโภค

 

            1.ผู้บริโภคหรือผู้เสียหาย มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือต่อศาลแห่งอื่นได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องคดีผู้บริโภคได้เฉพาะเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่เท่านั้น

 

             2. ให้ยื่นฟ้องต่อศาล ที่แผนกคดีผู้บริโภค ภายในความ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ

 

             3. หากความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง ถ้าเกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง

 

             4. ในการฟ้องคดีผู้บริโภค สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้

 

            5. การยื่นฟ้องด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะเป็นผู้บันทึกคำฟ้อง และให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ฟ้องจึงสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีทนายความก็ได้

 

              6.คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่ต้องมาฟ้องคดี รวมทั้งต้องมีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นชัดเจนพอที่จะให้เข้าใจได้

 

             7.เมื่อศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ข้อดีของศาลคดีผู้บริโภค

 

- ศาลยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นศาลผู้บริโภค

- ระบบวิธีพิจารณาคดีเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค

- การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม

- ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าและบริการ

- ภาระพิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ

- กระบวนวิธีพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น และคำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุดที่ศาล

อุทธรณ์เท่านั้น

- ให้การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา

- ศาลอาจจะใช้ผลการพิจารณาคดีเดิม เป็นฐานในการกรณีพิจารณาคดีที่ใกล้เคียง

กันได้

 

ศาลคดีผู้บริโภคมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจทำอะไรได้บ้าง

 

- เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม

- ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค

- ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้

- จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป

- จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง

ฯลฯ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Consumerthai

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 9

 คือว่าที่บ้านซื้อเครื่องสุบน้ำจากบ่อบาดาลค่ะ ยี่ห่อไทยธรรม ราคา 2700 บาทค่ะ ถึงจะเป็นราคาที่ไม่เเพงมากน้ะค้ะ เเต่ซื้อมาเครื่องมีปัญหา ผลิตมาไม่ได้มาตราฐาน เครื่องด้านในตีกับใบพัดเเตก ตอนเเรกคิดว่าเป็นเพราะใบพัด เเต่เปลี่ยนหลายรอบเเล้วก็ยังเเตกเหมือนเดิม ก่อนหน้านี้เคยบอกกับผู้ขายที่ซื้อมาเเล้ว เขาบอกว่า เครื่องซื้อไปเเล้ว ไม่ดีก็ซื้อใหม่เลย ไม่รับผิดชอบกับสินค้าที่ไม่ได้มาตราฐานเลยค่ะ 

โดยคุณ Ai yaowadee 5 มิ.ย. 2559, 17:22

ความคิดเห็นที่ 8

 เนื่องจากดิฉันได้ซื้อทีวียี่ห้อโตชิบา 40นิ้วมา ได้ 1 เดือน ทีวีมีปัญาเป็นเส้นไม่มีภาพ

และได้ส่งศูนย์เพื่อตรวจเชค ศูนย์แจ้งว่านอกประกันเพราะมีมดเข้าไปเป็นจำนวนมาก

อยู่นอกประกัน ถ้าซ่อมต้องจ่ายค่าจอเอง ค่าจอราคา 11,000 บาท 

ซึ่งทีวีซื้อเมื่อวันที่ 5/8/15 เป็นเงินผ่อน ราคา 13,900 บาท ผ่อน 6 เดือน ดูได้ 1 เดือนก็เสีย

ต้องนั่งผ่อนอีก5เดือนโดยไม่ได้ใช้สินค้า ถ้าถามว่าจะซ่อมไหมตอบเลยไม่ซ่อมเพราะราคาซ่อม

ซื้อเครื่องใหม่ได้เลย ดูแล้วไม่ยุติธรรมสำหรับฉันเลยค่ะ ซื้อมา 1 เดือนเจอแบบนี้ ถ้าคนซื้อทีวีราคา 4-5 หมื่นบาทต้องเครียดกว่านี้แน่ แค่นี้ก็แย่แล้ว ต้องนั่งส่งค่าทีวีอีก 5 เดือนโดยที่ไม่ได้ใช้เงินที่เสียไปไม่ได้อะไรเลย ดู 1 เดือนจ่าย 13,900บาท อยากทราบว่าเคสนี้ควรทำอย่างไรได้บ้าง

โดยคุณ เนตรทราย 23 ต.ค. 2558, 14:49

ความคิดเห็นที่ 7

เรียนปรึกษาหน่อยครับ...ถ้าผมต้องการฟ้องร้อง cth ที่ส่งใบแจ้งยอดชำระเงินรายเดือน เกินไปโดยไม่มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อน...(แค่แจ้งทาง sms มาบอกยอดชำระที่เกินเท่านั้น) ทั้งๆที่ชำระทุกเดือนไม่เคยติดค้างเลย...เราสามารถฟ้องร้องเค้าได้ไหมคับ..อย่างไร...และเรียกร้องค่าเสียหายได้แค่ไหนคับ...ขอบพระคุณคับ

โดยคุณ ณัทกฤต 17 ก.ย. 2558, 13:07

ความคิดเห็นที่ 6

 ดิฉัน เปิดบริษัท ขายหนังสือ และเป็นตัวแทนขายหนังสือ อุปกรณ์เครื่องการเรียนต่างๆๆ รับซื้อขายส่งปลีก และส่งตามศูนย์หนังสือต่างๆๆ ด้วย ค่ะ  ลูกค้าตามศูนย์หนังสือค้างชำระหนี้ค่ะ  ต้องฟ้องคดีทั่วไป หรือเป็นคดีศาลบริโภคค่ะ 

โดยคุณ อมรรัตน์ 13 ต.ค. 2557, 16:13

ความคิดเห็นที่ 5

 เรียนถามนะคะ   ฉันยื่นฟ้อง่ศาลผู้บริโภค จนสิ้นสุดชั้นอุทรณ์ ถือว่าคดีสิ้นสุดไม่สามารถยื่นฏีกาได้ใช่ไหมคะ

โดยคุณ จตุพร. วินิจกุล 22 พ.ค. 2557, 11:17

ความคิดเห็นที่ 4

 ผมจะฟ้องธนาคารได้หรือเปล่าในกรณีที่ธนาคารเอาเปรียบหรือช่อโกงดอกเบี้ยผมเช่า  นำเอาเบี้ยประกันภัยที่ถูกบังคับให้ซื้อกับบริษัทประกันของธนาคารตอนกู้เงิน ตัวอย่างเช่นมีใบแจ้งชำระค่าเบี้ยประกันมาให้ทราบในเดือนกันยายน พ.ศ 2555ว่าธนาคารได้ต่อประกันซึ่งผมทำไว้จะหมดอายุวันที่ 16/10/2555เป็นจำนวนเงิน 12,478.34 บาทและแจ้งให้ผมทราว่าจะกรุณาชำระพร้อมเงินผ่อนในเดือนตุลาคม2555ด้วยโดยไม่ระบุบวันที่ แต่ผมเข้าใจได้ว่าน่าจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ที่ผมต้องจ่ายค่างวด  แต่ข้อเท็จจริงธนาคารนำเอาค่าเบี้ยประกันกันไปรวมเข้าไว้กับเงินกู้ทำให้เมื่อผมไปชำระเงินค่างวดจะมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มเติมไป15วัน การกระทำของธนาคารเช่นนี้จะเป็นการช่อโกงหรือเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่และผมจะสามารถนำเรื่องนี้พร้อมเอกสารประกอบไปฟ้องศาลได้หรือไม่

ขอบคุณ

มนต์ชัย โตกาญจนา

โทรศัพท์ 081-6183383

โดยคุณ มนต์ชัย โตกาญจนา 23 เม.ย. 2556, 15:55

ความคิดเห็นที่ 3

ร้องเรียนเรื่องการซ่อมบ้านโครงการเดอะคอนเน็ค แบริ่ง ได้ไหมค่ะ

เรื่องมีอยู่ว่า โอนบ้านตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ปี 54 และแจ้งซ่อมมาตลอด ณ ปัจจุบันผ่านมา 19 เดือนก็ยังซ่อมไม่เสร็จ สาเหตุเกิดจากช่างแก้ปัญหาไม่ขาด และผิดนัดมาตลอด ส่งผลให้เข้าอยู่ไม่ได้ และต้องเสียค่าเช่าบ้านที่อยู่ปัจจุบันมาตลอด จะฟ้องร้องได้ไหมค่ะ

โดยคุณ ณหทัย 17 ก.ค. 2555, 12:36

ความคิดเห็นที่ 2

ใช่ ขอสรรเสริญ ท่านผู้ที่ร่วมทำ หรือเกี่ยวข้อง อีกทั้งท่านคณะศาลทุกท่านทุกศาลฯ ทุกจังหวัด(ที่เคารพ) ต้องขอขอบพระคุณ คนดีดี ที่ทำความดี ทำเรื่องดี เพื่อประโยชน์ทั้งปวงของประชาชนโดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความยุติธรรมและ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน นับเป็นเกียรติสูงสุด ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง (น่านับถือศรัทธาแท้จริง)
โดยคุณ นับถือ 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดตั้งศาลผู้บริโภค นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ต้องขอชมเชยยกย่องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งทุกๆท่านด้วยความจริงใจ ด้วยความปรารถนาดี จาก น.ส.พ.ข่าวดี(ดีโพลมานิวส์) ในเครือชมรมนักข่าว2000
โดยคุณ น.ส.พ.ข่าวดี(ดีโพลมานิวส์)ในเครือ ชมรมนักข่าว2000 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก