อุบัติเหตุขณะทำงานนายจ้างไม่รับผิดชอบ|อุบัติเหตุขณะทำงานนายจ้างไม่รับผิดชอบ

อุบัติเหตุขณะทำงานนายจ้างไม่รับผิดชอบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อุบัติเหตุขณะทำงานนายจ้างไม่รับผิดชอบ

คุณสงครามเป็นพนักงานซ่อมช่วงล่างอยู่ที่อู่รถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม ทำงานมา 10 กว่าปี เคยมีอุบัติเหตุนิ้วขาดเมื่อ 3 ปีก่อน

บทความวันที่ 23 ก.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1337 ครั้ง


คุณสงคราม

 

อุบัติเหตุขณะทำงานนายจ้างไม่รับผิดชอบ

 

            คุณสงครามเป็นพนักงานซ่อมช่วงล่างอยู่ที่อู่รถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม  ทำงานมา  10  กว่าปี  เคยมีอุบัติเหตุนิ้วขาดเมื่อ 3 ปีก่อน  แต่ต่อนิ้วได้ใช้สวัสดิการบัตรทอง  เจ้านายช่วยค่าใช้จ่าย 1,000  บาท  ต่อมาเมื่อเดือนสิงหมาคม 2551  คุณสงครามก็ประสบอุบัติเหตุครั้งใหญ่  ด้วยความที่เป็นคนชอบช่วยเหลือเพื่อน  เมื่อว่างจากงานที่ตนรับผิดชอบ  จึงไปช่วยแผนกอ๊อกท่อไอเสีย

 

ขณะที่กำลังเปิดอุปกรณ์เชื่อมท่อไอเสีย  ถังแก๊สระเบิดทันที  ขาซ้ายของคุณสงครามขาดทันที  เจ้าของอู่และเพื่อนพนักงานช่วยกันห้ามเลือด  และนำตัวส่งโรงพยาบาลพักรักษาตัว ใช้บัตรทองในโรงพยาบาลมหาสารคาม 12 วัน  เจ้านายจึงช่วยค่าอาหาร 1,500  บาท  และบอกว่าจะช่วยค่าใช้จ่ายขาเทียม 

 

            คุณสงครามไปสั่งตัดขาเทียม  มูลค่าขาเทียมเจ้าของอู่กลับปฏิเสธ  ไม่ยอมช่วยเหลือเหมือนกับที่รับปากไว้  คุณสงครามจึงเปลี่ยนใจ  ไม่ไปรับขาเทียม  แต่ไปเจรจากับนายจ้าง  ขอรับเงินสินไหมทดแทน  เรียกร้องไป 400,000  บาท  นายจ้างต่อรองเหลือ 100,000  บาท  คุณสงครามไม่ได้รับความยุติธรรม  จึงมาขอให้รายการทนายคลายทุกข์ช่วยบรรเทาทุกข์ต่อไป

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

เป็นเหมือนกันเลย ไม่มีกฏหมายอะไรที่คุ้มครองลูกจ้างบ้างเหรอเวลานายจ้างไม่ช่วยเหลือเราทั้งค่ารักษา และค่าชดเชยเวลาที่เราป่วยทำงานให้ไม่ได้ ใครรู้ขอคำแนะนำบ้างนะคะ โทร 086-2131997

โดยคุณ รัชดา 10 ส.ค. 2552, 17:00

ตอบความคิดเห็นที่ 4

ในเรื่องของด้านแรงงานไทยนั้น  ได้มี พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ให้สิทธิในกรณีที่ป่วยลูกจ้างไว้ดังนี้

1.  ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป  นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้างได้ (มาตรา 32)

2.  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตาม มาตรา 32  เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระบะเวลาที่ลา  แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน (มาตรา 47 วรรคแรก)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 11 ส.ค. 2552, 15:53

ความคิดเห็นที่ 3

ในเรื่องของด้านแรงงานไทยนั้น  ได้มี พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ให้สิทธิในกรณีที่ป่วยลูกจ้างไว้ดังนี้

1.  ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป  นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้างได้ (มาตรา 32)

2.  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตาม มาตรา 32  เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระบะเวลาที่ลา  แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน (มาตรา 47 วรรคแรก)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 11 ส.ค. 2552, 15:53

ความคิดเห็นที่ 2

กรณีนี้นายจ้างมีความผิดหากพบว่าหลีกเลี่ยงไม่ยอมนำลูกจ้างเข้าระบบประกันสังคม
โดยคุณ อัมรินทร์ 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

น่าเห็นใจนะ ตั้งใจทำงานแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ
โดยคุณ ทีมงาน 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก