การเพิกถอนหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา|การเพิกถอนหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา

การเพิกถอนหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเพิกถอนหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา

วันนี้ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับของทนายความพันธมิตร โดยให้เหตุผลว่า อำนาจเพิกถอนเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ออกหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 68

บทความวันที่ 2 ก.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 9889 ครั้ง


ศาลยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ 9 กบฏพันธมิตรฯ

การเพิกถอนหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา

 

            วันนี้ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับของทนายความพันธมิตร  โดยให้เหตุผลว่า  อำนาจเพิกถอนเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ออกหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 68

 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 68  หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 21 เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล

 (3) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวแล้วให้ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้เว้นแต่ในกรณีที่คำขอนั้นเป็นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำพิพากษาหรือเพื่อให้ออกหมายบังคับ หรือเพื่อจับหรือกักขังจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา

 

รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ศาลไม่รับอุทธรณ์เพิกถอนหมายจับ9แกนนำพันธมิตร
พันธมิตรยื่นอุทธรณ์อีกพรุ่งนี้ ยกกรณีตัวอย่างเพิกถอนหมายจับอดีตอธิบดีดีเอสไอ

         ศาลอาญา มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ยื่นขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับแกนนำทั้ง 9 คน เนื่องจากศาลเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งออกหมายจับดังกล่าว และในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่พนักงานสอบสวนหรือผู้ต้องหาที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวได้ โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า "หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาหมายนั้นขาดอายุความ หรือ ศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมาย" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า อำนาจในการเพิกถอนหมายจับนั้นเป็นอำนาจพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นผู้ออกหมายจับ ในคดีนี้ย่อมหมายถึงศาลอาญาเท่านั้นที่มีอำนาจในการเพิกถอนหมายจับดังกล่าวได้

 

          นอกจากนี้ การออกหมายจับตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนขอให้ศาลออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีอาญานั้น ได้ให้ศาลใช้ดุลยพินิจการออกหมายจับได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและเป็นคำร้องฝ่ายเดียวของพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 (3) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวน เมื่อศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องของผู้ร้องโดยชอบ ไม่ผิดระเบียบใด และศาลอาญาได้ออกหมายจับทั้ง 9 โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

 

          นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายความกลุ่มพันธมิตรฯ ระบุว่า ในวันพรุ่งนี้จะมายื่นอุทธรณ์อีกครั้งเนื่องจากเห็นว่าศาลอาญาไม่ส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น โดยจะมีการยกกรณีที่มีการเพิกถอนหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) มาเสนอให้ศาลประกอบการพิจารณาด้วย

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสดเพื่อประกอบการวิเคราะห์ข้อกฎหมาย

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8

ถ้าจำเลยหนีหมายจับให้มาฟังคำพิพากษา ชั้นฎีกา เเต่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยมีความผิดอะรไมั้ยครับ 

โดยคุณ วรพจน์ ผลิอรุณ 4 ก.ค. 2560, 18:30

ตอบความคิดเห็นที่ 8

ไม่มีความผิดตามฟ้องอีกต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 31 ก.ค. 2560, 11:30

ความคิดเห็นที่ 7

เห็นด้วยกับพี่ปลาทู
โดยคุณ Jayseeye 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 6

ป.วิอาญา มาตรา 68 หมายจับคงใชได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคือ "ศาลซึ่งออกหมายนั้น" หมายถึงศาลที่ออกหมายจับ หรือศาลอุทธรณ์ที่ไม่ได้ออกหมายจับแต่ใช้อำนาจเพิกถอนหมายจับได้ ขอความกระจ่างหน่อย สับสนระหว่างคณะผู้พิพากษาอุทธรณ์ที่สั่งถอนหมายจับจำลองกับพวกกับกฎหมายว่าอะไรศักดิ์กว่ากัน ถ้าตำราผิดต้องเผาทิ้ง ถ้าผู้พิพากษาพิพากษาพิพากษาโดยไม่มีกฎหมายรองรับจะทำอย่างไรดี ? ช่วยบอกหน่อย
โดยคุณ ปลาทู 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 5

ผมสงสัยว่า ความผิด ตาม มาตรา 113 (1) ประมวลกฎหมายอาญา คำว่า ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ทำไม การกระทำของกลุ่มพันธมิตร ถึงไม่ผิด ท่านว่าไม่เข้าองค์ประกอบได้อย่างไร ในเมื่อ กลุ่มพันธมิตร ประกาศอย่างชัดเจนว่า ต้องการการเมืองใหม่ หรือ 70/30 ผมอยากทราบว่า แนวทางดังกล่าวนี้ มีในรัฐธรรมนูญด้วยหรือ ถ้ามี ช่วยตอบด้วยนะครับ แต่ถ้าไม่มี ผลสุดท้าย ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แล้วจะไม่เข้า (1) ได้อย่างไร หมายเหตุ ความผิดตามมาตรานี้ (มาตรา 113) สำเร็จเมื่อมีการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ในเมื่อผู้กระทำมีเจตนาธรรมดา (มาตรา 59) และกระทำโดยมีมูลเหตุชักจูงใจ (มาตรา 113(1)-(3)) ส่วนผลจะเกิดหรือไม่ ไม่สำคัญ ถือว่า กระทำความผิดสำเร็จแล้ว
โดยคุณ Jayseeye (edit) 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 4

ผมสงสัยว่า ความผิด ตาม มาตรา 113 (1) ประมวลกฎหมายอาญา คำว่า ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ทำไม การกระทำของกลุ่มพันธมิตร ถึงไม่ผิด ท่านว่าไม่เข้าองค์ประกอบได้อย่างไร ในเมื่อ กลุ่มพันธมิตร ประกาศอย่างชัดเจนว่า ต้องการการเมืองใหม่ หรือ 70/30 ผมอยากทราบว่า แนวทางดังกล่าวนี้ ต้องมีในรัฐธรรมนูญด้วยหรือ ถ้ามี ช่วยตอบด้วยนะครับ แต่ถ้าไม่มี ผลสุดท้าย ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แล้วจะไม่เข้า (1) ได้อย่างไร หมายเหตุ ความผิดตามมาตรานี้ (มาตรา 113) สำเร็จเมื่อมีการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ในเมื่อผู้กระทำมีเจตนาธรรมดา (มาตรา 59) และกระทำโดยมีมูลเหตุชักจูงใจ (มาตรา 113(1)-(3)) ส่วนผลจะเกิดหรือไม่ ไม่สำคัญ ถือว่า กระทำความผิดสำเร็จแล้ว
โดยคุณ Jayseeye 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 3

ผมสงสัยว่า ความผิด ตาม มาตรา 113 (1) ประมวลกฎหมายอาญา คำว่า ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ทำไม การกระทำของกลุ่มพันธมิตร ถึงไม่ผิด ท่านว่าไม่เข้าองค์ประกอบได้อย่างไร ในเมื่อ กลุ่มพันธมิตร ประกาศอย่างชัดเจนว่า ต้องการการเมืองใหม่ หรือ 70/30 ผมอยากทราบว่า แนวทางดังกล่าวนี้ ต้องมีในรัฐธรรมนูญด้วยหรือ ถ้ามี ช่วยตอบด้วยนะครับ แต่ถ้าไม่มี ผลสุดท้าย ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แล้วจะไม่เข้า (1) ได้อย่างไร หมายเหตุ ความผิดตามมาตรานี้ (มาตรา 113) สำเร็จเมื่อมีการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ในเมื่อผู้กระทำมีเจตนาธรรมดา (มาตรา 59) และกระทำโดยมีมูลเหตุชักจูงใจ (มาตรา 113(1)-(3)) ส่วนผลจะเกิดหรือไม่ ไม่สำคัญ ถือว่า กระทำความผิดสำเร็จแล้ว
โดยคุณ Jayseeye 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 2

ป.วิอาญา มาตรา ๖๘ บัญญัติว่า หมายจับคงใช้ได้จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้น ขาดอายุความ หรือศาลซึ่งออกหมานนั้น ได้ถอนหมายคืน ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒๔ บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุที่จะเพิกถอนหมายจับ ให้เจ้าพนักงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรายงานหรือแจ้งให้ศาลทราบโดยเร็ว ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้พิพากษาไต่สวนและมีคำสั่งเป็นการด่วน เมื่อผู้พิพากษามีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับแล้ว ให้ผู้พิพากษาแจ้งให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้งนี้บุคตคลที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอให้ผู้พิพากษาออกหลักฐานการเพิกถอนหมายจับนั้นให้ก็ได้ ป.วิอาญา มาตรา ๑๕ วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ดดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ ป.วิแพ่ง มาตรา ๒๗ วรรคแรก บัญญัติว่า ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ... ในการพิจารณาคดี การพิจารณาพยานหลักฐาน... เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น ยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้น อย่างใด อย่างหนึ่ง ตามที่ศาลเห็นสมควร อาศัยเหตุผลดังบทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อบังคับตามที่กล่าวมา เห็นได้ ว่า ตามป.วิอาญา มาตรา ๖๘ นั้น เห็นได้ว่า เมื่อศาลเป็นผู้ออกหมายจับ ศาลก็มีอำนาจถอนหมายคืน ก็คือเพิกถอนหมายจับนั้นนั่นเอง เป็นอำนาจศาลมิใช่อำนาจเจ้าพนักงานผู้ร้องขอให้ออกหมายจับที่จะเป็นผู้เพิกถอนหมายเอง มิฉะนั้นหมายจับที่เป็นอำนาจของศาลที่ออกไปก็ไร้ค่า และไม่จำเป็นที่เจ้าพนักงานดังกล่าวจะมาขอให้ศาลออกหมายให้ หากเจ้าพนักงานนั้น ๆ มีแม้แต่อำนาจจะเพิกถอนหมายจับนั้นได้เอง กรณีดังกล่าวประธานศาลฎีกาจึงได้ออกข้อบังคับรับรองไว้ในข้อ ๒๔ ว่าการเพิกถอนหมายจับก็มีได้ และ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรายงานหรือแจ้งให้ศาลทราบโดยเร็ว และศาลต้องไต่สวนและมีคำสั่งเป็นการด่วน ปัญหาว่าผู้เกี่ยวข้องกับหมายจับเป็นใครบ้าง ข้อบังคับบัญญัติว่า ได้แก่ เจ้าพนักงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ย่อมมีความหมายและเข้าใจแจ้งชัดว่า เจ้าพนักงานย่อมหมายถึง ผู้ที่มาร้องขอให้ออกหมายจับ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพนักงานตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆที่กฏำหมายบัญญัติให้มีอำนาจร้องขอให้ศาลออกหมายจับได้ นั่นเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก อีกส่วนหนึ่งคือ บุคคลทีร่เกี่ยวข้อง ซึ่งเห็นเจตนาของการบัญญัติแยกบุคคลที่เกี่ยวข้องออกจาก เจ้าพนักงานไว้แจ้งชัด ซึ่งจะมีความหมายเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก หมายถึง ผู้ที่จะถูกจับ และยังสอดคล้องกับ ป.วิ แพ่ง มาตรา ๒๗ วรรคแรก ที่จะจ้องนำมาใช้บังคับกับกรณีนี้ทั้งนี้ตาม ป.วิอาญา มาตรา ๑๕ ให้นำมาบังคัฐใช้กับป.วิอาญา ด้วย เนื่องจาก ป.วิอาญา มิได้บัญญัติไว้โดยแจ้งชัด ถึงเหตุที่ศาลจะถอนหมายคืน ดังนี้ เหตุตามป.วิแพ่ง มาตรา ๒๗ ที่จะนำมาใช้ในการเพิกถอนหมายจับนั้น ย่อมได้แก่ กรณีที่ ศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหาย (ซึ่งจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจากผู้จะถูกจับ) ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ตามมาตรา ๒๗ นี้บัญญัติว่า ข้อที่มิได้มุ่งหมายจะยังการให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมเกี่ยวกับการพิจารณาพยานหลักฐาน ก็เป็นเหตุประการหนึ่งที่จะถูกเพิกถอนได้ นัยว่าความผิดฐานกบฏ ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๑๓ นั้น บัญญว่า " ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็บว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อ (๑) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (ความเห็น ก็ทราบจากสื่อศาลมวลชนทั่วไปหรือคำยืนยันผู้ชุมนุมว่าไม่ได้จะทำการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ) (๒) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ แห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวไม่ได้ (ความเห็น ผู้ชุมนุมก็ว่า อำนาจนิติบัญญัติปัจจุบัน ได้มาจากการเลือกตั้งโดยมิชอบ ซึ่งก็มีคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญรับรอง และอำนาจบริหารก็มาจากการเลือกตั้งของอำนาจนิติบัญญัติ ดดยบุคคลที่เป็นสมาชิกแห่งสภานิติบัญญัตินี้ ซึ่งก็คือผลของต้นไม้มีพิษ เขาอ้างว่า อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงชุมนุมขับไล่ โดยใช้สิทธิขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการชุมนุม โดยสงบตามรัฐธรรมนูญ ส่วนอำนาจตุลาการ ผู้ชุมนุมก็เคารพศรัทธามิได้โต้แย้ง) ส่วนใน (๓) เรื่องแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักยิ่งไม่ต้องพูดถึง ควรพิจารณาโดยรอบคอบอีกครั้ง ด้วยความเคารพและเชื่อมั่นในดุลพินิจ
โดยคุณ ชอบธรรม 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

ศาลเป็นผู้มีคำสั่งออกหายจับ เมื่อศาลพิจารณาใหม่ไม่ว่าจะศาลเห็นเองหรือคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายจับได้ ศาลอย่าขี้ขลาดต้องมีความกล้า ปราศจากอคติ ๔ ข้อหากบฏ เพียงอาศัยความรู้สึกของคนทั่วไปก็เข้าใจได้ว่าต้องมีการใช้กำลังประทุษร้าย บังคับขู่เข็ญในลักษณะที่สามารถใช้กำลังที่เหนือกว่าจะบังคับขู่เข็ญได้จริง ลำพังแต่ตัวบท ป.อ.มาตรา ๑๑๓ ตีความตามตัวบทยังไม่เข้าเงื่อนไขเลย น่าอายจัง คนทั่วไปก็ทราบว่า เขาเคลื่อนไหวทางการเมืองตามสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
โดยคุณ ชอบธรรม 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก