กองทุนเงินทดแทน|กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กองทุนเงินทดแทน

ทนายคลายทุกข์ขอนำข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนจากหลายสาเหตุด้วยกันมานำเสนอ

บทความวันที่ 14 ส.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 16256 ครั้ง


กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน

ทนายคลายทุกข์ขอนำข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม  เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนจากหลายสาเหตุด้วยกันมานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกในฐานะผู้ประกันตนได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง  ศึกษาเพิ่มเติมได้จากด้านล่างนี้

 

กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน

เงื่อนไข คือ ได้รับสิทธิทันทีเมื่อเข้าเป็นลูกจ้าง

 

สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับ คือ ค่าทดแทนเป็นรายเดือนละ 60% ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตามประเภททุพพลภาพแต่ไม่เกิน 15 ปี

 

หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอรับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน คือ

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

       - กท. 16

       - ใบรับรองแพทย์

2. กรณีอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานนอกสถานที่ทำงาน 

       - กท. 16

       - ใบรับรองแพทย์

       - บัตรลงเวลาทำงาน

       - หลักฐานการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่

       - บันทึกประจำวันตำรวจ

 

กรณีตายหรือสูญหายจากการทำงาน

เงื่อนไข คือได้รับสิทธิทันทีเมื่อเข้าเป็นลูกจ้าง

 

สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับ คือ

1. ค่าทำศพ จำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน

2. ค่าทดแทนของค่าจ้างรายเดือนในอัตรา 60% ของค่าจ้างรายเดือน มีกำหนด 8 ปี (จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด)

 

หมายเหตุ: 

         1. ค่าทดแทนรายเดือน จ่ายให้ร้อยละ 60% ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่คูณด้วย 26 และไม่เกินร้อยละ 60 ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งคำนวณจากค่าจ้างสูงสุดที่ใช้เป็นฐานคำนวณเงินสมทบ  และไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท

              - กท. 16

              - ใบรับรองแพทย์

         2. ผู้มีสิทธิรับเงินทดแทน กรณีลูกจ้างตายหรือสูญหาย ได้แก่

              - บิดา - มารดา โดยชอบด้วยกฎหมาย

              - สามีหรือภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมาย

              - บุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี (เว้นแต่เมื่อครบ 18 แล้วยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี) ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่

              - บุตรอายุตั้งแต่ 18 ปี และทุพพลภาพ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย

              - บุตรของลูกจ้างซึ่งเกิดภายใน 310 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือวันที่เกิดเหตุ

                สูญเสียมีสิทธิได้รับเงินทดแทนนับแต่วันคลอด

 

วิธีปฏิบัติการส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล

กรณีเข้ารักษา ณ สถานพยาบาลที่ตกลงไว้

 

นายจ้างจะส่งผู้ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาล ซึ่งกองทุนเงินทดแทนทำความตกลงไว้ โดยใช้แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ในกรณีนี้ นายจ้างและลูกจ้างไม่ต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สถานพยาบาลนั้น ๆ จะเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนโดยตรง แต่นายจ้างต้องนำส่ง กท.16 และสำเนา กท.44 ก่อน

 

กรณีเข้ารักษา ณ สถานพยาบาลทั่วไป

 

นายจ้างจะส่งลูกจ้างผู้ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลใด ๆ ก็ได้ ทั้งของเอกชนและของรัฐบาล แต่ทั้งนี้ต้องเป็นสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายให้ทำการรักษา และลงชื่อรับรองในใบความเห็นของแพทย์ การส่งลูกจ้างไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลดังกล่าวนี้ นายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำไปเสร็จรับเงินมาเป็นหลักฐานขอเบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทนได้

 

หลักการปฏิบัติและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง

หน้าที่ของนายจ้าง

วิธีปฏิบัติในการส่งลูกจ้างเข้ารักษา

 

1. นายจ้างต้องแน่ใจว่าลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงานจริง

2. ให้นายจ้างกรอกข้อความในแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ซึ่งชุดหนึ่งมี 2 แผ่น โดยให้ลูกจ้างนำไปแสดงต่อโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนทำความตกลงไว้

3. ให้นายจ้างส่งสำเนาแบบ กท.44 ไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด พร้อมแบบแจ้งการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย (กท.16) และใบรับรองแพทย์

4. ในการส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาตามแบบ กท.44 นี้ หากภายหลังสำนักงานกองทุนเงินทดแทน หรือสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด วินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิรับเงินทดแทน นายจ้างผู้ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษา จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลที่ให้การรักษาแก่ลูกจ้างนั้นเอง

 

หน้าที่ของลูกจ้าง

 

หน้าที่ของลูกจ้างผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

 

1. รีบแจ้งนายจ้างทันทีที่ประสบอันตราย แม้จะเป็นการประสบอันตรายเพียงเล็กน้อยก็ต้องแจ้ง เพราะอาจจะมีอาการกำเริบมากขึ้นได้ในภายหลัง

2. กรอกข้อความหรือตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง และลงลายมือชื่อในแบบแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (กท.16) ในส่วนของลูกจ้าง

3. ต้องรักษาพยาบาลกับแพทย์ปัจจุบันชั้น 1

4. ถ้าลูกจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้ว ให้รีบนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล มาเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดแล้วแต่กรณี

5. หากลูกจ้างได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ให้ไปติดต่อสมัครเข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน หรือที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทน หรือสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดทุกจังหวัด

6. ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทน (กท.16) ได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

 

ขอขอบคุณเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์จาก www.sso.go.th

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

 เรียนสอบถามว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุในงานแต่ให้ลูกจ้างใช้ประกันอุบัติเหตุกลุ่มของบริษัทฯแทนกองทุนเงินทดแทน สามารถนำใบเสร็จเบิกกองทุนเงินทดแทนได้หรือไม่ และ แพทย์ระบุให้หยุดรักษาตัว 4 วัน ถ้าสมมติยื่นกองทุนตอนรักษาตัว จะได้รับเงินชดเชยเท่าไหร่ค่ะ 

กรณีที่เกิด ผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ กรณีที่บริษัทฯไม่ให้ลูกจ้างใช้กองทุนเงินทดแทน เนื่องจากประเมินจ่ายสิ้นปีเพิ่มขึ้นหากมีกรณีเบิกกองทุนเงินทดแทน 

โดยคุณ เมทิกา 5 ต.ค. 2555, 08:39

ความคิดเห็นที่ 3

รบกวนสอบถาม กรณีลูกจ้างเจ็บป่วย(ปวดหลัง)เนื่องจากการทำงานเรื้อรังนานถึง 2 ปีรับการรักษา รพ.ตามบัตรสิทธิ์มาตลอด แต่เมื่อวันก่อนปวดหนักจึงเข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชล (นอกสิทธิ์) ลูกกจ้างต้องจ่ายชำระเงินเอง กรณีนี้จะสามารถเบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยจากงานได้ไหม ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ นา 27 ส.ค. 2555, 16:32

ความคิดเห็นที่ 2

กรณีเดินลื่นล้มในที่ทำงานแต่ไม่ใช่เวลาทำงานเป็นเวลาพักทานข้าว ถือว่าเป็นการใช้กองทุนทดแทนได้หรือไม่

โดยคุณ คณณรัญญา คำซาว 14 ก.ย. 2554, 19:55

ความคิดเห็นที่ 1

กรณีการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไรจึงจะถือว่าต้องใช้กองทุนทดแทน

โดยคุณ คุณระวี ชยานันต์นุกูล 14 ก.ย. 2554, 19:53

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก