การไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท|การไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท

การไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท

ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับการไก่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท จากเว็บไซต์ www.judiciary.go.th เกี่ยวกับความหมายการไกล่เกลี่ย

บทความวันที่ 23 ก.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 33496 ครั้ง


ความหมายการไกล่เกลี่ย การไกล่เกลี่ยคืออะไร ผู้ไกล่เกลี่ยคือใคร ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย สิ่งที่คู่ความต้องมี

การไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท

 

ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับการไก่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท  จากเว็บไซต์  www.judiciary.go.th   เกี่ยวกับความหมายการไกล่เกลี่ย   การไกล่เกลี่ยคืออะไร   ผู้ไกล่เกลี่ยคือใคร   ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย   สิ่งที่คู่ความต้องมี  ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ   ผลที่ได้รับและประโยชน์  ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อทุกคน  ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

 

             การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามมาช่วยเหลือให้คู่ความต่อรองกันได้สำเร็จ

 

             การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล หมายถึง การที่ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กับคู่ความ เป็นการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได

 

            ผู้ไกล่เกลี่ย คือ ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ผู้พิพากษาแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม โดยผู้พิพากษาหรือบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีความสนใจมีความพร้อมและสมัครใจที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งมีความเป็นกลาง ไม่มีอคติสามารถให้ความเป็นธรรมกับคู่ความทุกฝ่ายได้ถูกต้องตรงตามความประสงค์ของคู่ความ ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่คู่ความทุกฝ่ายและเป็นผู้ช่วยทำให้ข้อพิพาททั้งหลายยุติลงอย่างฉันมิตร ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอมความกัน ไม่มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทหรือคดีระหว่างความแต่อย่างใด

 

            สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะไกล่เกลี่ยให้ประสบความสำเร็จ หากคู่ความมีสิ่งเหล่านี้ คือ

1. ความต้องการที่จะให้ไกล่เกลี่ย

2. ความรับผิดชอบส่วนตัว

3. ความตั้งใจที่จะไม่ตกลงด้วย และ

4. ความตั้งใจที่จะตกลงด้วย การไกล่เกลี่ย

 

            ส่งผลสองทางคือคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพอใจทั้งคู่หรือเรียกว่า ชนะทั้งคู่ (win-win) จึงเป็นผลที่ตรงตามความมุ่งหมายของการไกล่เกลี่ย เช่นเจ้าหนี้ก็ได้รับชำระหนี้แม้อาจไม่เต็มจำนวน ลูกหนี้ก็ได้รับการลดหย่อน เช่น การผ่อนเวลาให้หรือการกำหนดเวลาปลอดดอกเบี้ยให้ เป็นต้น       แต่การไกล่เกลี่ยคู่ความยังมีสิทธิในการดำเนินกระบวนพิจารณาตามปกติ

 

           เมื่อกระบวนการพิจารณาคดีทางศาลยุติธรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยมีการนัดพิจารณาคดีแบบต่อเนื่องติดต่อกันไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น

ดังนั้น จึงแบ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ดังนี้

 

1. สำหรับคดีฟ้องใหม่ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง เจ้าหน้าที่แผนกรับฟ้องจะนัดคู่ความมาไกล่เกลี่ยก่อนนัดสืบพยานประมาณ  2  เดือน  โดยจะประทับตรายางวันนัดไกล่เกลี่ยไว้ที่หมายเรียก ฯ สำหรับจำเลยที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วควรมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ยตามวันนัด

 

2. สำหรับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา     แยกเป็น 3 กรณี ได้แก่

2.1 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเห็นว่าสำนวนใดสมควรใช้ระบบไกล่เกลี่ยก็ส่งให้นำคดีนั้นเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย

2.2 ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าสมควรใช้ระบบการไกล่เกลี่ยก็ส่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย

2.3 คู่ความยื่นคำแถลง หรือ แถลงด้วยวาจาขอใช้วิธีการไกล่เกลี่ยและผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนส่งสำนวนเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย

 

3. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน    ผู้พิพากษาซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนที่พิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีนั้น อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีได้เอง ทั้งก่อนหรือในระหว่างพิจารณาคดีเพื่อให้คู่ความตกลงกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 

 ผลที่คู่ความจะได้รับจากการไกล่เกลี่ย

1 คู่ความสามารถตกลงกันได้ด้วยการถอนฟ้อง

2 คู่ความ สามารถตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม

3 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถอนตัวจากการไกล่เกลี่ยขอให้ดำเนินคดีด้วยวิธีการพิจารณาตามปกติได้เช่นเดิม

4 คู่ความตกลงกันไม่ได้ ศาลก็จะส่งสำนวนไปดำเนินกระบวนการพิจารณาตามปกติ

 

ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ย

              การไกล่เกลี่ยที่ประสบผลสำเร็จจนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้เป็นประโยชน์ดังนี้

1. ทำให้คู่ความสามารถหันหน้าเข้าหากันได้อีกอย่างฉันมิตร

2. ในบางกรณีคู่ความสามารถดำเนินธุรกิจติดต่อกันได้อีก

3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่ความลดลง

4. คู่ความได้รับความพึงพอใจ

5. คู่ความไม่ต้องประสบกับการบังคับคดีที่ยุ่งยากในศาล

6. ช่วยลดปริมาณคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ทำให้คดีที่ทำการไกล่เกลี่ยและคดีอื่นๆ สามารถย่นระยะเวลาพิจารณาได้เร็วขึ้น

7. ลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

8. ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม

9. รัฐประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดให้มีการดำเนินการพิจารณาคดี หรือข้อพิจารณาของประชาชนโดยรวม

ขอขอบคุณ www.judiciary.go.th  ที่เอื้อเฟื้อประโยชน์สาธารณะ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

สอบถามค่ะ ในกรณีเกี่ยวกับแชร์
โดยคุณ อริศรา นวลไทย 21 ส.ค. 2560, 07:51

ความคิดเห็นที่ 1

 สวัสดีค่ะ

โดยคุณ ปริญา 18 ธ.ค. 2559, 09:16

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก