หลักเกณฑ์ในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล|หลักเกณฑ์ในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

หลักเกณฑ์ในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หลักเกณฑ์ในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

วันนี้มีข่าวเสี่ยอู๊ดยื่นคำร้องต่อศาลขอประกันตัว แต่ศาลไม่อนุญาต โดยอ้างว่าพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง เป็นการนำสถาบันกษัตริย์มาหากิน

บทความวันที่ 21 มิ.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 5377 ครั้ง


เสี่ยอู๊ด"วืดประกันอัยการฟ้องตุ๋นเช่าพระสมเด็จดัง

 

                                                     หลักเกณฑ์ในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

 

            วันนี้มีข่าวเสี่ยอู๊ดยื่นคำร้องต่อศาลขอประกันตัว แต่ศาลไม่อนุญาต โดยอ้างว่าพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง เป็นการนำสถาบันกษัตริย์มาหากิน โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของสถาบัน หวังแต่ผลประโยชน์จากการขายวัตถุมงคล        โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของส่วนรวม หลายท่านสงสัยว่า ศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการไม่ให้ประกันตัวเสี่ยอู๊ด

 

            และหลายคนสอบถามมายังทนายคลายทุกข์ว่า ศาลมีหลักเกณฑ์อะไรในการที่จะปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกดำเนินคดี โดยหลักการของกฎหมายแล้ว จำเลยจะต้องได้รับการปล่อยตัวตามรัฐธรรมนูญตาม ป.วิอาญา มาตรา 107 โดยศาลถ้าจะปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ป.วิอาญา มาตรา 108 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้คือ

 

            มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้พึงพิจารณา
ข้อเหล่านี้ประกอบ


(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราว มีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำ คัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือโจทก์แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

 

            เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริง รายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้

 

            ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราว หรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อป้องกันภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวก็ได้

            และการที่ศาลสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวจะต้องมีเหตุอันควรเชื่อดังต่อไปนี้

 

            มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

 

1)      ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี

2)      ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

3)      ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

4)      ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ

5)      การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

 

            คำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล และต้องแจ้งเหตุผลดังกล่าวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย และผู้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว

 

            ดังนั้นญาติผู้ต้องขังถ้าจะประกันตัวจะต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีในการขอประกันตัวแต่ละครั้ง บางครั้งอาจจะต้องยื่นประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวด้วย เช่น ใบรับรองแพทย์ เกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง หรือแถลงเกี่ยวกับพยานหลักฐานว่า ถูกจับโดยปราศจากพยานหลักฐานหรือถูกกลั่นแกล้ง และตัวเองมิได้เป็นผู้กระทำความผิด เป็นต้น

 

รายงานข่าวจากเวปไซด์คมชัดลึก

                     

เสี่ยอู๊ด"วืดประกันอัยการฟ้องตุ๋นเช่าพระสมเด็จดัง

 

        "เสี่ยอู๊ด" วืดประกัน อัยการฟ้องตุ๋นเช่าพระสมเด็จเหนือหัว แอบอ้างสถาบันเบื้องสูง คนหลงเชื่อเสียหายนับพันล้าน ศาลระบุเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่ควรให้ประกัน ก่อนส่งตัวเข้าเรือนจำ

 

            เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 มิถุนายน พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสิทธิกร บุญฉิม หรือเสี่ยอู๊ด อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 147 แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กทม. และบริษัท ไดมอนด์ ฮิลล์ จำกัด โดยนายสิทธิกร ในฐานะกรรมการผู้จัดการ เป็นจำเลยที่ 1-2 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ใช้ข้อความหรืออ้างอิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม, ร่วมกันใช้เครื่องหมายราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต และเลียนเครื่องหมายราชการให้ปรากฏที่วัตถุหรือสินค้าใดๆ

 

            คำฟ้องโจทก์บรรยายสรุปว่า ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2550 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองได้หลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ และปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดสร้างพระเครื่อง ?พระสมเด็จเหนือหัว? นับล้านองค์ พร้อมโฆษณาเพื่อจำหน่ายในรูปแบบต่างๆ ให้ปรากฏแก่ประชาชนว่า มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีโครงการสร้างอุโบสถ ?สองกษัตริย์? ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ณ วัดโสดาประดิษฐาราม จ.ราชบุรี โดยมูลนิธิดังกล่าวได้จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ซึ่งสถาปนาหรือสร้างจากมวลสารดอกไม้พระราชทานและผ้าไตรพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจัดสร้างในคราวนี้เป็นการเฉพาะ สมเด็จเหนือหัวมีมวลสารอันเป็นมหามงคลชั้นสูง และเป็นพิธีสถาปนาพระสมเด็จเหนือหัวครั้งแรกของพสกนิกรชาวไทย

 

            ทั้งนี้ จำเลยยังได้นำตราเครื่องหมายพระมหามงกุฎอันเป็นเครื่องหมายราชการของสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน พิมพ์ประทับให้ปรากฏไว้ที่ด้านหลังขององค์พระสมเด็จเหนือหัวทุกองค์ เพื่อให้ประชาชนเช่าซื้อ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าพระสมเด็จเหนือหัวจัดสร้างขึ้นโดยมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และการจัดสร้างดังกล่าวได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เนื่องจากใช้คำว่า ?เหนือหัว? เป็นต้น

 

            ทั้งที่ความจริงแล้ว มูลนิธิไม่ได้เป็นผู้จัดสร้างหรืออนุญาตให้จัดสร้าง และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสร้างเลย อีกทั้งการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว รวมถึงการจัดสร้างอุโบสถสองกษัตริย์ ก็ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้พระราชทานดอกไม้เพื่อใช้เป็นมวลสารในการสร้างพระดังกล่าวแต่อย่างใด จนทำให้ประชาชนร้องทุกข์ในคดีนี้ 926 คน หลงเช่าซื้อพระสมเด็จเหนือหัวรวมเป็นเงินจำนวน 4,039,818 บาท และมีประชาชนรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ร้องทุกข์หลงเช่าซื้อเป็นเงินอีก 167 ล้านบาท หากมีการจำหน่ายไปโดยตลอดจำเลยทั้งสองจะมีรายได้สูงถึง 1,600 ล้านบาท และหากมีการก่อสร้างอุโบสถสองกษัตริย์จะใช้เงินก่อสร้างเพียง 100 ล้านบาทเท่านั้น

 

            การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ รวม 926 กรรม ต่อมาวันที่ 22 ธันวาคม 2550 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จับกุมจำเลยที่ 1 ตามหมายจับของศาลอาญา ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ การแอบอ้างและนำสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เป็นการอาจเอื้อมมิบังควรอย่างยิ่ง และจำเลยยังหาได้สำนึกถึงความผิดและยำเกรงไม่ จึงขอให้ศาลได้ลงโทษจำเลยทั้งสองสถานหนักด้วย

 

            ศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีดำที่ อ.2358/51 และได้สอบคำให้การจำเลย ซึ่งแถลงให้การปฏิเสธต่อสู้คดี และจัดเตรียมทนายความไว้แก้ต่างคดีแล้ว ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีวันที่ 4 สิงหาคมนี้ เวลา 09.00 น. ต่อมาทนายความได้ยื่นคำร้อง พร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน ยื่นขอประกันตัว ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพฤติการณ์จำเลยเป็นเรื่องร้ายแรงที่ไม่สมควรอนุญาตปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง

 

            หลังจากนั้นนายสิทธิกรถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เนื่องจากทนายความไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยตัวชั่วคราวไปที่ศาลอุทธรณ์ได้ เนื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดราชการ

 

 

 

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก