สัมมนาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน|สัมมนาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน

สัมมนาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัมมนาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน

เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทีมงานทนายคลายทุกข์ แผนกบังคับคดีได้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการเพื่อรับความคิดเห็น

บทความวันที่ 19 มิ.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 752 ครั้ง


การประชุมเชิงปฏิบัติการ(เจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน)

สัมมนาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน

?

??????????? เมื่อเวลา? 13.00 น. ของวันที่ 17? มิถุนายน พ.ศ. 2551? ทีมงานทนายคลายทุกข์? แผนกบังคับคดีได้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการเพื่อรับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลหน่วยงานภาคเอกชน (เจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชน)? ?? ห้องสุรเกียรติ์? เสถียรไทย? ชั้น 4? อาคารเทพทวาราวดี? คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์?

???????????

หลักการและเหตุผลที่จัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้นมา? เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มการผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานหรืออาชีพในกระบวนการยุติธรรมมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับที่ถือว่าเป็นวิชาชีพมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ? เนื่องจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่างก็เล็งเห็นว่า ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมได้นั้น?

?

นอกจากจะต้องผ่านการเรียน? การฝึกอบรมให้มีความสามารถเพียงพอที่จะอำนวยความยุติธรรมแล้วอาชีพในกระบวนการยุติธรรมยังส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่จำเป็นจะต้องมีการกำกับดูแลและพัฒนามาตรฐาน? การปฏิบัติงานของบุคลากรเหล่านี้? ให้สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง?

?

แต่ในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่อาชีพเท่านั้นที่ได้รับยอมรับว่ามีความเป็นวิชาชีพและมีสถาบันหรือสภาวิชาชีพในการกำกับดูแลการประกอบอาชีพนั้น? ได้แก่? ผู้พิพากษา? ทนายความ? ฯลฯ? ในขณะที่ยังมีผู้ปฎิบัติงานในอาชีพอื่น ๆ? ของกระบวนการยุติธรรมอื่นอีกมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังขาดกลไกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานอย่างจริงจัง?

?

การกำกับดูแลยังเป็นลักษณะการควบคุมภายในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่เท่านั้น??? ซึ่งเป็นลักษณะต่างคนต่างทำและขาดระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ชัดเจน? เราจึงพบว่ามีหลาย ๆ อาชีพในกระบวนการยุติธรรมเริ่มผลักดันให้อาชีพตนมีความเป็นวิชาชีพมากยิ่งขึ้น โดยความพยายามที่จะเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินงานของหลาย ๆ อาชีพ??

?

เพื่อยกระดับความเป็นวิชาชีพ? เช่น? นักสังคมสงเคราะห์? ฯลฯ? รวมไปถึงวิชาชีพของภาคเอกชนต่าง ๆ? ที่มีผลกระทบต่อกระบวนยุติธรรม เช่น? อาชีพรักษาความปลอดภัย? นักสืบเอกชน? นักประเมินราคาทรัพย์สิน? อาสาสมัครมูลนิธิต่าง ๆ? ก็ได้มีความพยายามในเสนอกฎหมายเพื่อรองรับให้อาชีพของมีความเป็นวิชาชีพมากยิ่งขึ้น? ในขณะที่ประเทศไทยก็ยังไม่มีระบบหรือแนวทางที่ชัดเจนต่อการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม

?

??????????? อย่างไรก็ตาม? ในหลายประเทศก็ตระหนักว่าระบบกฎหมายและงานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ? โดยแต่ละประเทศก็จะมีรูปแบบและวิธีการในการกำกับดูแลที่แตกต่างกันไป เช่น? ในหลายมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา? มีหน่วยงานกลางของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล ส่งเสริม? ออกใบอนุญาต? เพิกถอนใบอนุญาตประกอบอาชีพ? วิชาชีพหรือการประกอบการธุรกิจในกระบวนการยุติธรรมหรือส่งผลกระทบต่อกระบวนยุติธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน?

?

รวมทั้งกำหนดว่า? อาชีพประเภทใดที่สมควรจะต้องมีการกำกับดูแล? ขณะที่อีกหลาย ๆ ประเทศใช้การจัดการกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมออกเป็นหมวดหมู่? และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจโดยตรงในการควบคุมอาชีพนั้น ๆ? ทำหน้าที่กำกับดูแล

???????????

นอกจากนี้คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติยังได้มีมติให้เพิ่มเติมแนวทางกำกับดูแลภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม? ลงในแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม?

?

พร้อมทั้งให้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงเหตุผลและความจำเป็นของอาชีพของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยที่สมควรจะต้องมีการกำกับดูแล? รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแล? และการพัฒนามาตรฐานการปฎิบัติงานในอาชีพนั้นแล้วเสนอให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาต่อไป?

?

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการที่จะต้องมีระบบหรือแนวทางเพื่อกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม? ไม่ว่าจะเป็นอาชีพในภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม? สำนักงานกิจการยุติธรรม? จึงเห็นควรให้มีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงาน? องค์กร? หรือการดำเนินงานในลักษณะที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ปฏิบัติที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม? เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแล? และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต่อไป

?

ประเด็นที่ขอรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุม

??????????? 1.? ควรมีการกำกับดูแลโดยองค์กรใด/รูปแบบใด

?????? -? ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเห็นว่า? กรมบังคับคดีควรจะเป็นผู้ดูแลเนื่องจากมีความเข้าใจอยู่แล้ว

?

??????????? 2.? ควรมีสภาวิชาชีพ/สมาคมเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชนหรือไม่

?????? - ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเห็นว่า? ยังไม่ควรมีสภาวิชาชีพหรือสมาคมเพราะเป็นเพียงทำงานตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น

?

??????????? 3.? ควรมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเจ้าพนักงานบังคับคดีเอกชนหรือไม่

?????? -? ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเห็นว่า? ควรใช้ระเบียบปฎิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาด น่าจะเป็นประโยชน์กว่า

?

??????????? 4.? ควรมีการออกใบอนุญาตหรือไม่? เงื่อนไขควรเป็นเช่นไร

?????? -? ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเห็นว่า? ควรมีใบอนุญาตเฉพาะนิติบุคคล? แต่กรมบังคับคดีมีความคิดเห็นต่างว่า? นิติบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ? ควรจะมีการอนุญาตใหม่? เนื่องจากความรู้ความสามารถของผู้บริหารเป็นเรื่องเฉพาะตัว? และกรมบังคับคดีมีความเห็นว่า ควรให้บุคคลธรรมดาที่ผ่านการอบรมจากกรมบังคับคดี? ควรได้รับอนุญาตให้ขายทอดตลาดได้

ภาพบรรยากาศการสัมมนาดูได้จากด้านล่างนี้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ความคิดเห็นของคุณน้อย ผมคิดว่าแรงไปคับ  ที่ทราบมา สวัสดิการอาหารเป็นเงินที่ได้จากดอกเบี้ยที่เกิดจากการบริหารจัดการของกรมบังคับคดี  ซึ่งอาจเอาไปซื้อโต๊ะ เก้าอี้ หรือพัสดุอื่นใดๆ เป็นวิธีการจัดการบริหารงานของผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน  ไม่ใช่เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเพราะเงินนั้นเจ้าหนี้ต้องมารับไป   ขอย้ำว่าขึ้นอยู่กับทัศนวิสัยและการบริหารงานหรือความเอาใจใส่ที่ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานที่จะคำนึงถึงความเป็นอยู่ของลูกน้องตัวเอง  ผู้บริหารแบบนี้มีไม่มากนักหรอกคับ  อีกอย่างเงินสวัสดิการอาหารที่ว่านี้มีจำนวนน้อยมาก  เหมือนโรงทานที่ทำแกงหม้อใหญ่ๆ แล้วมาทานอาหารกัน  ไม่ใช่อาหารเลิศหรูอะไรนัก  ประเด็นเรื่องสวัสดิการอาหาร  ปล่อยเขาไปเถอะคับ

โดยคุณ ลูกจ้างหน่วยงานราชการคนนึง 10 มี.ค. 2553, 17:38

ความคิดเห็นที่ 2

ขืนเอาเอกชนมาทำงานบังคับคดี บ้านเมืองระส่ำประชาชนเดือดร้อนแน่ๆแค่เอกชนรับจ้างตามรถยึดยังเถื่อนขืนให้มาทำหน้าที่นี้อีกรับรองตายแน่ๆไม่เห็นด้วยแค่กฎหมายบังคับคดีวันนี้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ยังเอาเงินไปเป็นสวัสดิการเลี้ยงฟรีข้าวเช้า กลางวันแถมเหลือเอากลับบ้านได้อีก เอาเปรียบหน่วยราชการอื่นๆ กินเข้าไปได้ยังไงเลือดของคนเป็นหนี้ ถูกยึดขายทอดตลาด ยังเอาเลือดเขาไปกินกันได้ลงขอสาปแช่ง
โดยคุณ น้อย 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

ถ้ามีประโยชน์ต่อประชาชนก็ดี แต่ถ้าเป็นการเอาเปรียบผู้รับจ้าง ก็ต้องคิดก่อน
โดยคุณ บังคับคดี 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก