สัมมนากฎหมายนักสืบ|สัมมนากฎหมายนักสืบ

สัมมนากฎหมายนักสืบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัมมนากฎหมายนักสืบ

วันนี้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลหน่วยงานภาคเอกชน อาชีพนักสืบเอกชน

บทความวันที่ 16 มิ.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3054 ครั้ง


สัมมนากฎหมายนักสืบ

สัมมนากฎหมายนักสืบ

วันนี้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลหน่วยงานภาคเอกชน อาชีพนักสืบเอกชน ณ ห้องสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

วิทยากรในการบรรยายมี 2 ท่านคือ ศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัยและ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักวิจัย

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันแนวโน้มการผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานหรืออาชีพในระบวนการยุติธรรมมีคุณภาพและมาตรฐานใสระดับที่ถือว่าเป็นวิชามีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากหน่วยงานในระบวนการยุติธรรมต่างก็เล็งเห็นว่าผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนยุติธรรมได้นั้น นอกจากจะต้องผ่านการเรียน การฝึกอบรมให้มีความสามารถเพียงพอที่จะอำนวยความยุติธรรมแล้วอาชีพในกระบวนการยุติธรรมยังส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่จำเป็นจะต้องมีการกำกับดูแลและพัฒนามาตรฐาน

การปฏิบัติงานของบุคลากรเหล่านี้ให้สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันกลับมีเพียงไม่กี่อาชีพเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นวิชาชีพและมีสถาบันหรือสภาวิชาชีพในการกำกับดูแลการประกอบอาชีพนั้น ได้แก่ ผู้พิพากษา ทนายความ ฯลฯ ในขณะที่ยังมีผู้ปฏิบัติงานในอาชีพอื่น ๆ ของ กระบวนการยุติธรรมอีกมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังขาดกลไกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานอย่างจริงจัง

การกำกับดูแลยังเป็นลักษณะการควบคุมภายในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่เท่านั้นซึ่งเป็นลักษณะต่างคนต่างทำและขาดระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ชัดเจน เราจึงพบว่ามีหลาย ๆ อาชีพในกระบวนการยุติธรรมเริ่มจะผลักดันให้อาชีพตนมีความเป็นวิชาชีพมากยิ่งขึ้น โดยความพยายามที่จะเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินงานของหลาย ๆ อาชีพเพื่อยกระดับสู่ความเป็นวิชาชีพ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ รวมไปถึงอาชีพของภาพเอกชนต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม เช่น อาชีพรักษาความปลอดภัย นักสืบเอกชน นักประเมินราคาทรัพย์สิน อาสาสมัครมูลนิธิต่าง ๆ ก็ได้มีความพยายามในการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับให้อาชีพของตนมีความเป็นวิชาชีพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศไทย ก็ยังไม่มีระบบหรือแนวงทางที่ชัดเจนต่อการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม

อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศต่างก็ตระหนักว่าระบบกฎหมายและงานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยแต่ละประเทศก็จะมีรูปแบบและวิธีการในการกำกับดูแลที่แตกต่างกันไป เช่น ในหลายมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน่วยงานกลางของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล ส่งเสริม ออกใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาตการประกอบอาชีพ วิชาชีพหรือการประกอบธุรกิจในกระบวนการยุติธรรมหรือที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งกำหนดว่าอาชีพประเภทใดที่สมควรจะต้องมีการกำกับดูแล ขณะที่อีกหลาย ๆ ประเทศใช้กาาจัดกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมออกเป็นหมวดหมู่และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจโดยตรงในการควบคุมอาชีพนั้น ๆ ทำหน้าที่กำกับดูแล

นอกจากนี้คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ยังได้มีมติให้เพิ่มเติมแนวทางการกำกับดูแลภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมลงในแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม พร้อมทั้งให้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงเหตุผลและความจำเป็นของอาชีพของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยที่สมควรจะต้องมีการกำกับดูแล

รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแล และการพัฒนามาตรฐานผู้ปฏิบัติงานในอาชีพนั้นแล้วเสนอให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการที่จะต้องมี่ระบบหรือแนวทางเพื่อกำกับดูแลผู้แฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นอาชีพในภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตามสำนักงานกิจการยุติธรรม จึงเห็นควรให้มีการศึกษาเปรียบเทียบรูแบบการดำเนินงานของหน่วยงาน องค์กร หรือการดำเนินงานในลักษณณะที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างระบบหรือแนวทางในการกำกับดูแล และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต่อไป

ข้อที่ต้องพิจารณา

  1. ควรจะต้องมีทำเนียมจรรยาบรรณ (จากองค์กรที่เป็นกลาง) เหมือนวิชาชีพอื่นหรือไม่เพียงใด
    • อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่าการมีทำเนียบและจรรยาบรรณของนักสืบเป็นเรื่องที่จำเป็น และควรมีวิธีการบริหารจัดการเหมือนสภาวิชาชีพหนังสือพิมพ์ , ทนายความ, วิศวกร , สถาปนิก

?

  1. ควรจะต้องตั้งองค์กรกลางเข้ามาควบคุมดูแลผู้ประกอบวิชาชีพหรือไม่ เช่น สถาบันนักสืบเอกชน หรือ สมาคมนักสืบเอกชน
    • อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่า ควรจะเริ่มต้นรวมตัวกันในลักษณะหลวม ๆ อย่าใช้กฎระเบียบบังคับ เพราะจะเกิดการต่อต้าน และให้นักสืบทุกคนเลือกตัวแทนไปจดทะเบียนเป็นสมาคมหรือชมรมในเบื้องต้นก่อน

?

  1. หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักสืบ จะต้องกำหนดเป็นการเฉพาะอย่างเป็นทางการหรือไม่ หรือควรจะบรรจุในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาประเภทใดหรือไม่
    • อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่า หลักสูตรนักสืบเอกชนควรให้นักสืบเอกชนเป็นผู้จัดฝึกอบรม มากกว่านักสืบของทางราชการ เพราะมีฐานการคิดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะตำรวจ มีฐานการคิดจากผู้ที่มีอำนาจตามป.วิอาญา แต่นักสืบเอกชนมาจากฐานการคิดที่เป็นเอกชน ซึ่งปราศจากอำนาจตามกฎหมาย ส่วนจะบรรจุไว้ในสถานศึกษาหรือไม่อย่างไรนั้นเห็นว่าในขณะนี้ยังไม่จำเป็น ควรรอให้สังคมเห็นความสำคัญของนักสืบก่อน

?

  1. ควรต้องมีใบอนุญาต(License) ในการประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน ต่างหากจากใบอนุญาตว่าความ หรือใบอนุญาตอื่นใดหรือไม่
    • อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่า การออกใบอนุญาตนักสืบควรเป็นหน้าที่ของสภานักสืบหรือสมาคมนักสืบ หน่วยงานของรัฐไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรให้นักสืบดูแลกันเอง และควรออกใบอนุญาตเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ไม่ควรออกใบอนุญาตให้กับนักสืบเป็นรายบุคคล

ท่านใดมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับอาชีพนักสืบ แสดงความคิดเห็นได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 11

 ดิฉันจ้าง FBL ชื่อ พัฒนะ  ให้สืบเรื่องแฟน 2 เดือนเเเล้วค่ะ มันหายเงียบบล๊อคเบอร์โทรศัพท์ เลยจะแจ้งความเอาเรื่องมันให้ถึงที่สุดเลย ตอนนี้หลักฐานพร้อมทุกอย่าง อยากใครเคยโดยมันหลอกช่วยกันแจ้งความเลยค่ะ 

โดยคุณ คนที่โดนหลอก 25 ก.ย. 2558, 10:48

ความคิดเห็นที่ 10

 เห็นด้วยครับว่าต้องมีโรงเรียนนักสืบเอกชนดูแลโดยเอกชนและควรมีกฎหมายรองรับให้ถูกต้อง        ตัดปัญหาพวกหลอกลวง  เปิดอบรมเม่่ือไรจะเข้าอบรมด้วย ตามข่าวอยู่ครับ 

โดยคุณ สันต์มุนีวงศ์ 31 ม.ค. 2558, 08:52

ความคิดเห็นที่ 9

ติดต่อ นักสืบ fbl สืบเรื่องมือที่สาม ได้โอนเงืนไปให้ แล้วบอกกำลังดำเนินการ มาหลายวันแล้ว ขอรายงานความคืบหน้า ภาพถ่ายการทำงาน ก็บอกว่าจะส่งให้  แต่ติดต่อไม่ได้เลย จะแจ้งความดีไหมคะ เกืบหลักฐานการโอน ไว้

โดยคุณ boonchan 13 พ.ย. 2556, 19:17

ความคิดเห็นที่ 8

http://www.gclub2011.com

โดยคุณ BOMZAA 15 เม.ย. 2556, 08:47

ความคิดเห็นที่ 7

ฝากลิงค์ด้วยนะค่ะ

<a href="http://www.google.com/">google</a>
[url=http://www.google.com/]google[/url]
http://www.google.com/
 

โดยคุณ araban 14 ก.ค. 2555, 16:14

ความคิดเห็นที่ 6

 มีลูกค้าร้องเรียนมากครับอาจารย์ กว่าจะมาถึงนักสืบของจริงก็โดนพวกกาฝากหลอกมาก่อนแล้ว

ต้องช่วยกันเอาขยะพวกนี้ออกไปจากอาชีพให้หมด

เห็นด้วยกับสมาคมนักสืบครับ

โดยคุณ ศร นักสืบ ( บจก.เอดีแอล เอ็นเตอร์ไพรส์ ) 11 ส.ค. 2554, 22:05

ความคิดเห็นที่ 5

นักสืบปลอม โฆษณาทางอินเตอร์เน็ตเยอะมาก อย่าง FBL Detective นายปรีชา 083-685-8737 แจ้งว่าสำนักงานอยู่จรัญฯ 13 บางแวก นัดมาเจอกันแต่พอดีติดธุระเลยคิดว่าคงไม่หลอก ยอมโอนเงินให้ พยายามติดต่อก็ผัดผ่อนว่ากำลังดำเนินการ กำลังประชุมกับเสื้อแดงอยู่ บ้าง จนล่าสุดไม่ยอมรับสาย พยายามให้เบอร์อื่นโทรก็ไม่รับ ปิดเครื่องบ้าง ทางนักสืบที่แท้จริงควรจะร่วมมือกันกำจัดพวกนี้ให้หมด และคนที่อยากใช้นักสืบควรดูให้แน่มีสำนักงานจริงเป็นนักสืบจริง อย่างใบอนุญาติจากทางราชการน่าจะช่วยได้ 

โดยคุณ เอ๋ 28 เม.ย. 2553, 11:36

ความคิดเห็นที่ 4

เห็นด้วยกับการมีสภานักสืบ เพราะจะทำให้อาชีพนักสืบเอกชนมีมาตรฐานในการทำงานที่ชัดเจน ถูกต้อง เป็นที่พึ่งและไว้วางใจของประชาชนที่หาทางออกได้อย่างแท้จริง และป้องกันหรือกำจัดผู้ที่แอบอ้างอาชีพนักสืบหากินโดยไร้จรรยาบรรณ
โดยคุณ คุณวสันต์ ก่องตาวงศ์ 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 3

เห็นด้วยกับการที่อาชีพนักสืบน่าจะมีสภานักสืบขึ้นมาดูแลกันเองเหมือนกับสภาหนังสือพิมพ์ หรือสภาอื่นๆ เพราะจะทำให้การทำงานมีคุณภาพ มีจรรยาบรรณ มีศีลธรรม มากขึ้น จะได้เป็นที่ยอมรับของทุกวงการ
โดยคุณ น.ส.พ.ข่าวดีฯ (ดีโพลมานิวส์) ในเครือ ชมรมนักข่าว 2000 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 2

อาชีพนักสืบสามารถช่วยเหลือสังคมได้มาก แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดรับรองและให้ความดูแล แต่ถ้าจะมีการออกระเบียบ ช่วยเหลือ และให้ความสำคัญมากขึ้น นักสืบก็สามารถงานทำงานได้มีประสิทธิภาพ และจะเป็นที่ยอมรับของสังคม
โดยคุณ นักสืบ 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

อาชีพนักสืบสามารถช่วยเหลือสังคมได้มาก แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดรับรองและให้ความดูแล แต่ถ้าจะมีการออกระเบียบ ช่วยเหลือ และให้ความสำคัญมากขึ้น นักสืบก็สามารถงานทำงานได้มีประสิทธิภาพ และจะเป็นที่ยอมรับของสังคม
โดยคุณ นักสืบ 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก