กฎหมายแรงงานใหม่เข้าข้างลูกจ้างเต็มที่ | กฎหมายแรงงานใหม่เข้าข้างลูกจ้างเต็มที่

กฎหมายแรงงานใหม่เข้าข้างลูกจ้างเต็มที่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมายแรงงานใหม่เข้าข้างลูกจ้างเต็มที่

ทนายคลายทุกข์ขอนำกฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ที่จะมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 25

บทความวันที่ 17 พ.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 107618 ครั้ง


กฎหมายแรงงานใหม่เข้าข้างลูกจ้างเต็มที่

กฎหมายแรงงานใหม่เข้าข้างลูกจ้างเต็มที่

 

ทนายคลายทุกข์ขอนำกฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ที่จะมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ซึ่งได้มีการกำหนดการคุ้มครองแรงงานที่น่าสนใจหลายประการและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อลูกจ้าง สามารถนำกฎหมายนี้ไปอ้างกับนายจ้างในกรณีถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกบังคับให้ทำสัญญาหรือถูกคุกคามทางเพศ หรือยึดเงินประกัน หรือเรียกหลักประกัน รวมทั้งการขอใช้อำนาจศาลแรงงานในการบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาการว่าจ้างที่ลูกจ้างทำกับนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ให้เอาเปรียบลูกจ้างเกินควร รวมทั้งได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานรับเหมาช่วงแรงงาน ให้มีสวัสดิการเท่าเทียมกับลูกจ้างทั่วไป โดยจะนำเสนอเป็นข้อ ๆ ดังนี้คือ

1.ดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ไม่ชำระเงินค่าจ้างหรือหลักประกันตามที่กฎหมายกำหนด นายจ้างต้องถูกปรับโดยเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9

            มาตรา 9 ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

            2. หลักประกันการทำงาน กำหนดไว้ในมาตรา 51 ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันเพื่อการใด ๆ จากฝ่ายลูกจ้างที่เป็นเด็ก

            มาตรา 51 ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันเพื่อการใด ๆ จากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กให้แก่บุคคลอื่น

            ในกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินหรือประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่น เป็นการล่วงหน้าก่อนมีการจ้าง ขณะแรกจ้าง หรือก่อนถึงงวดการจ่ายค่าจ้างในแต่ละคราว มิให้ถือว่าเป็นการจ่ายหรือรับค่าจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้น และห้ามมิให้นายจ้างนำเงินหรือประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กตามกำหนดเวลา

            3. ให้ลูกจ้างหรือกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากร  ตามมาตรา 11

            มาตรา 11 หนี้ที่เกิดจากเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเงินที่ต้องชดใช้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามมาตรา 135 ให้ลูกจ้างหรือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณีมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

            4. การจ้างโดยวิธีเหมาค่าแรง ตามมาตรา 11/1

            มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว  ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

          5. ให้ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งมีผลใช้บังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ตามมาตรา 14/1

            มาตรา 14/1 สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้บังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี                   

            6. ห้ามกระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือนร้อนรำคาญทางเพศ ตามมาตรา 16

            มาตรา 16 ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกินคุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง

             7. การบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17

            มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้

            8. การแจ้งการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 18

มาตรา 18 ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้นายจ้างต้องแจ้งการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือส่งเอกสารต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายหรือพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างจะแจ้งหรือส่งด้วยตนเอง ทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

            9. การกำหนดเวลาทำงานปกติ ตามมาตรา 23

            มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนทีเหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง

            ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างผลงาน

            ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการกระทำแต่ละวันได้ เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง

          10. การห้ามมิให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานบางประเภท ตามมาตรา 38

             มาตรา 38 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

            (1) งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่สภาพของการทำงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง

             (2) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป

            (3) งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่สภาพของการทำงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง

            (4) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

           11. การห้ามมิให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงาน ตามมาตรา 39 และมาตรา 39/1

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 629

ดิฉันเป็นพนักงานรายเดือน ทำงานบริษัท ธุรกิจนำเข้าตำราต่างประเทศ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริษัทได้ พบว่านายจ้าง หลอกให้ลงนามในสัญญา ว่า เปลี่ยนบริษัท เปลี่ยนนิติบุคคล คนละบริษัท เมื่อวันที่ 11 ในสัญญาจ้าง ในสัญญาจ้าง แจ้งว่า จะต้องทำงานที่ คลังสินค้าลาซาล 56 อยู่สุขุมวิท 105 เขต บางนา กรุงเทพฯ  และ คลังสินค้า บางนาตราด กม 19  (จังหวัดสมุทราปราการ) ดิฉัน และ พนักงาน 25% แจ้งความจำนงว่า ไม่สามารถไปทำงานที่ คลังสินค้า ถนนบางนาตราด กม 19 ได้ เจ้าหน้าที่บุคคลแจ้งว่า ลงนามไปเถอะ ถ้าไม่ลงนามเงินเดือนจะไม่่เข้าบัญชี เพราะ บริษัทเก่า ทำจ่ายเงินไม่ได้แล้ว  ส่วนการย้ายคลังสินค้า ยังไม่มีคำสั่งย้ายคลัง ฝ่ายบุคคลจึงตอบไม่ได้


เวลาผ่านไป เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์  มีประกาศย้ายคลังสินค้า ไปที่ บางนาตราด กม 19  และมีเอกสารให้ลงชื่อจะย้ายไปทำงาน   มีพนักงาน 15 คน ไม่ลงนาม แจ้งกับฝ่ายบุคคลว่าไม่สามารถไปทำงานที่ บางนาตราด กม 19 ได้ ทางฝ่ายบุคคลแจ้งว่า ต้องลงนามใบลาออกอย่างเดียว แล้วบริษัทฯจะทำเรื่องจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เท่านั้น  และมีการ นำใบลาออกมาให้พนักงานลงนาม โดยพนักงานไม่ได้ร้องขอใบลาออก และ พนักงาน ได้เริ่มหางานใหม่ และ ได้งานใหม่ ไป 3 คน ที่ เหลือจำยอม ต้องยอมลงนามโอนย้ายที่ทำงานด้วยความจำเป็น 


เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ฝ่ายบุคคล นำจดหมายมาติดว่า ต้องย้ายคลังสินค้าไป ถนนบางนาตราด กม 19 โดย  มี รายชื่อพนักงานทั้งหมด ให้ไปทำงาน มีรายชื่อพนักงานที่ ไม่ลงนามไปทำงาน ไปด้วย พนักงานต้องไปแสดงตัวที่คลังสินค้า ถนนบางนาตราด กม 19    

เมื่อบริษัทฯ ติดป้ายประกาศ เช่นนี้ ดิฉัน และน้อง ๆ จึงได้ทำจดหมายแสดงความจำนง ว่า ขอยกเลิกสัญญาจ้าง



 

วันที่  1 2562

……………………

               2562ได้แจ้งให้พนักงานลงชื่อเปลี่ยนโอนย้ายบริษัทฯ จากบริษัทเอเซียบุ๊คส มาเข้าสังกัด BJL (BJL ตั้งแต่1 2562โดยแจ้งพนักงานให้ลงนามทุกคนเพื่อจะสะดวกในการทำจ่ายเงินเดือน  ส่วนการย้ายคลังสินค้าหรือไม่ ยังไม่มีประกาศแจ้ง ทางฝ่ายบุคคลไม่มีแผนดำ

               -19  

.19

               BJL 30 1 2562 30 2562 3 วัน

1

ทั้งนี้ ตัวแทน นายจ้าย ได้ นัดให้ไปฟังความวินิจฉัยของ เจ้าหน้าที่ แรงงานที่ดินแดง เจ้าหน้าที่แจ้งว่า  จริง ๆ แล้ว พนักงานไม่ต้องลงสัญญาจ้าง ถ้านายจ้ายไม่จ่ายเงิน เรามีสิทธิร้องเรียนกับแรงงาน ได้   เนื่องจากเราลงนามสัญญาจ้างเปลี่ยนนายจ้างไปแล้ว เจ้าหน้านี้ แนะนะ ให้ นายจ้าง ตกลงกับลูกจ้างก่อน  ถ้า ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้ ใช้ มาตรา 14/1 เรียกร้องความไม่เป็นธรรม เพื่อให้ ศาลพิจารณา โดยศาลจะให้ความเป็นธรรม ทั้งฝ่าย      




 


โดยคุณ นัฐนันท์ เอกธรานิธิโรจน์ 14 มี.ค. 2562, 08:08

ความคิดเห็นที่ 628

ดิฉันทำงานกับ บ. แห่งหนึ่ง ครบ 1 ปี เมื่อ 23 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา แล้วดิฉันแจ้งลาออกด้วยวาจาเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 62 กรณีแบบนี้สิทธิ์วันหยุดพักร้อน 6 วัน ดิฉันจะได้รับหรือไม่คะ ถ้าได้รับ จะได้รับครบ 6 วันหรือไม่คะ

โดยคุณ สุทิดา 3 ก.พ. 2562, 12:49

ความคิดเห็นที่ 627

นายจ้างจ่ายโอทีน้อยกว่ากฎหมายกำหนด ดิฉันทำงานพาร์ทไทม์ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง เมื่อก่อนได้ค่าแรงวันละ 300บาท โอที ชม ละ 40บาท สำหรับพนักงานประจำเขาให้ ชม 50 บาท(เงินเดือน9000) ต่อมาค่าแรงขั้นต่ำในพื้นที่ขึ้นเป็น 315 ก็ได้วันละ 315 โอทียังคงเท่าเดิม ชม ละ 40 ส่วนประจำได้เดือนละ 9500 โอทีเท่าเดิม ชม 50 ถ้าคิดจาก กม แรงงานที่โอทีต้องได้ 1.5 เท่าของ ชม ทำงานปกติ ต้องได้ประมาณ 59บาทกว่า กรณีแบบนี้เราสามารถเรียกร้องอะไรกับนายจ้างได้มั้ยคะ

โดยคุณ ออ 1 ธ.ค. 2561, 00:18

ความคิดเห็นที่ 626

สอบถามนิดนึงนะคะ

ถ้าหัวหน้างานชอบพูดถากถาง เหน็บแนม แถมไล่ลูกน้องให้ไปทำงานที่อื่น เพราะทำงานไม่ถูกใจ แล้วชอบใช้อารมณ์มาเป็นที่ตั้งในการทำงานลูกน้องทำงานผิด ก็สอบพูดแรงๆ โดยไม่มีข้อชี้แนะ คือเหตุเกิดกับตัวดิฉันนี่แหละคะ พอสิ้นเดือน มองดูแล้วคงไม่ไหวแน่คะ เลยออกเลย โดยไม่ได้บอกกล่าว 


ทางนายจ้างได้ส่งดิฉันไปอบรม จป.เทคนิคขั้นสูงด้วยคะ แต่สอบยังไม่ผ่าน  เค้าเรียกร้องอะไรได้ไหมคะ เพราะดิฉันออกมาก่อน ทนไม่ไหวจริงๆ กับการกระทำอย่างนี้ 


รบกวนให้ขอคำปรีกษาคะ


โดยคุณ ตุ๋ม 4 เม.ย. 2561, 12:52

ความคิดเห็นที่ 625

สวัสดีครับ...ถามนีสครับ คือที่ทำงานจะมีสองบริษัทครับ จะสอบถามเรื่องวันหยุดนักขัตฤกษ์ครับ

คือเดิมจะทำงานที่บริษัทหลักเป็นที่ประจำครับ แต่พอมีวันหยุดนักขัตฤกษ์เค้าจะให้มาช่วยทำอีกบริษัทนึงครับ คือมาหมุนเปลี่ยนกะคนที่ทำงานอีกที่ครับ

แบบนี้ถ้าเราแจ้งเค้าว่าเราไม่ทำงานวันหยุดขัตฤกษ์ จะได้มั้ยครับ

โดยคุณ พัลลภ 2 มี.ค. 2561, 09:13

ความคิดเห็นที่ 624

สวัสดีค่ะ  มีเรื่องขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ  บริษัทที่ทำงานอยู่นี่ ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโบนัส อะไรเลยค่ะมีแต่เงินเดือน ค่าแรงอย่างเดียว และที่สำคัญ ทำงานมาจะเข้าปี่ที่5 แล้วค่ะ  ที่มีปัญหาเพราะว่าค่าแรงออกไม่ตรง ไม่ครบค่ะ  กำหนดออก 28 ของทุกเดือน เลื่อนไปวันที่ 10-15  รอบแรกออก 50เปอร์เซ็นต์ อีกที่เกือบ25  มันค้างมาเรื่อยๆค่ะ ทำให้เดือดร้อน  เราจะทำอะไรได้บ้าง โทรไปแจ้งสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน แล้วก็เงียบ ไม่มีใครช่วยอะไรได้เลย ติดต่อกันมาจะเป็นปีแล้วค่ะ
พนักงานทำงานกัเหนื่อยมาก  แต่บริษัท เอาเปรียบกันแบบนี้ไม่ไหว จะมีทางออกทางไหนบ้างคะ
ขอบคุณค่ะ 
โดยคุณ ณํฐกานต์ 7 ธ.ค. 2560, 14:21

ความคิดเห็นที่ 623

สอบถามเรื่อง บริษัทห้ามลาพักร้อนติดวันหยุด สามารถทำได้ด้วยหรอครับ ผมลางานตั้งแต่ต้นเดือน หัวหน้าบอกว่าโอเครลาได้ แต่พอมาอีก4วันจะถึงปลายเดือน วันที่ขอลาแล้ว โทรมาบอกว่าลาพักร้อนไม่ได้นะยกเลิก ผมจองตั๋วโดยสารอะไรไว้หมดแล้ว ผมสามารถทำอะไรได้บ้างครับ อาจารย์
โดยคุณ อาทิตย์ พัฒนสุข 16 ต.ค. 2560, 18:41

ตอบความคิดเห็นที่ 623

กรณีตามปัญหา พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 30 บทบัญญัติให้สิทธิลูกจ้างในการหยุดพักผ่อนประจำปีว่า “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้”หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 29 พ.ย. 2560, 09:52

ความคิดเห็นที่ 622

ผมเป็นลุกจ้างช่ั่วคราวในหน่วยงานมหาวิทยาลัยของรัฐเขาให้ทำงานวันล่ะ9ชม.แบบนี้มันผิดกฎหมายแรงงานใหมครับแถมไม่ได้ให้มีเวลาพักเลยเขาบอกว่าที่นี่จ้าง9ชม.มันใช่ไหมครับ(ตอบด้วยครับ)

โดยคุณ เทวดา แอ๊ด มิวสิค 10 ต.ค. 2560, 11:45

ตอบความคิดเห็นที่ 622

 ในกรณีที่เป็นลูกจ้างในหน่วยงานมหาวิทยาลัยของรัฐ จะต้องไปพิจารณาที่กฎหมายจัดตั้งหน่วยงานนั้นๆ ว่าให้บังคับใช้กฎหมายใด แต่อย่างไรก็ตามพนักงานและลูกจ้าง ต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 ธ.ค. 2560, 13:52

ความคิดเห็นที่ 621

ดิฉันได้ทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง แล้วเขาก็ได้สั่งย้ายดิฉันไปทำงานต่างจังหวัดแต่ดิฉันไปไม่ได้เหมือนบริษัทบีบบังคับให้ลาออก ดิฉันจะก็ลาออกแต่ไม่ได้มีลายลักษณ์อักษรในการลาออกโดยการโทรไปลาออกจากบริษัท แล้วโทรไปทำว่าได้เงินเท่าไรบริษัทก็หักเงินค่าของเสียไปค่ะ แล้วจะเรียกร้องจากที่หักของเสียหายได้ไหมค่ะ อยากทราบจริงๆๆค่ะ บริษัทหักเงินไปเยอะมากเหมือนเขาบังคับเราให้จ่ายค่ะ พอจะมีทางออกไหมค่ะ

โดยคุณ พรรฤดี ใชยะเส็น 17 ก.ย. 2560, 10:27

ความคิดเห็นที่ 620

พอดีผมทำงานบริษัทมาประมาณ 1 ปี ครับ แล้วได้เซ็นสัญญาไป 1 รอบ ต่อมาบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาไหม่และลดสวัสดิการณ์ลง เช่น จากพักร้อนต่อปีได้ 15 วันให้เหลื่อ 7 วัน  จากที่มีโบนัสเป็นไม่มี จากสัญญาเดิมไม่มีการรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากการทำงานเป็นต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากการทำงานทั้งทีตั้งใจและไม่ตั้งใจ แล้วให้พนักงานต้องเซ็นสัญญาใหม่


 ผมอยากทราบว่านายจ้างสามารกทำได้ไมครับและมีผลไมครับ

โดยคุณ นายกั๊ก 8 ก.ย. 2560, 11:20

ความคิดเห็นที่ 619

ขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ คือดิฉันทำงานด้านบริการ  เป็นแม่บ้าน ทำงานอยู่ในวิลล่า มีนายจ้างเป็นนายจ้างฝรั่ง และมี  manager  ดูแลพวกเรา ทำงาน เป็นคนไทย มีพนักงานทั้งหมด 6 คน รับผิดชอบดูแลวิลล่าทั้งหมด 8 หลัง ทุกคนทำงานคนละ 28-29 วัน ต่อ 1 เดือน วันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่ได้หยุด ส่วนวันหยุดประจำอาทิตย์ถ้ามีแขกก็ไม่ได้หยุด แต่นายจ้างไม่ได้จ่ายค่า ทำงานวันหยุด ค่าล่วงเวลานายจ้างก็ไม่ได้จ่าย เพราะเวลาเข้าออกของแขก ไม่เป็นเวลา ฉะนั้นพนักงานเลย ต้องทำงานล่วงเวลาเป็นส่วนมาก ที่ทำงานของเรา จะต้องดูแลแขก ทั้งทำอาหารเช้า อาหารเที่ยง ทำความสะอาดขอบรูปแบบ และถ้ามีอาหารเย็น แขกจะต้องรับหน้าที่จ่าย ค่าล่วงเวลาของพวกเรา เพราะนายจ้างไม่รับผิดชอบ ให้ตกลงกับแขกเอง แต่ส่วนมาก พนักงานปฏิเสธอาหารเย็นของแข็งไม่ได้ เพราะจะมีปัญหากับนายจ้าง หากมีแขก เข้าพัก เริ่มงาน 8 โมง 15 นาที 5 โมงเย็น แต่ถ้าแขก ไม่ต้องการอะไร เราก็แค่ทำความสะอาด และกลับบ้าน แต่สิ่งที่ดีฉันจะถาม คือ เรามีแขกเกือบทั้งเดือน วันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่ได้หยุด หยุดประจำสัปดาห์ ไม่ได้หยุด เมื่อถึงเวลาที่แขกทิ้งช่วง เราก็จะรีบเคลียร์งานของตัวเอง และขอลา แต่ส่วนมาก ไม่ได้ลากัน เพราะเจ้ามีงานมาได้เรื่อยๆ สรุป  แต่ด้วย ช่วงที่แขกทิ้งระยะ เราสามารถไปสายได้ และเมื่องานเสร็จ เราจะกลับก่อนเวลา ซึ่งนายจ้างไม่ ว่าอะไร แต่ที่ดิฉันไม่เข้าใจ หากช่วงเวลาที่ เราไม่มีแขก ช่วงเวลานั้น ติดวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดประจำสัปดาห์ และเมื่อนายจ้างต้องการให้เราทำงาน ในช่วงนั้น เราบอกปฏิเสธนายจ้างไป แล้วเขาให้ใบวอนนิ่งมา เราสมควรเซ็นรับหรือไม่ แต่เดือนทั้งเดือนที่เราทำงาน 1 เดือนมี 30 วัน หรือ 31 วันแล้วแต่ เราทำงานเกือบเต็มเดือนทั้งเดือน โดยอันที่จริงมีวันหยุดเพียงแค่ 2-3 วันต่อ 1 เดือน หรือบางเดือนไม่ได้หยุดเลย หาก ทะเลาะกับนายจ้าง แล้วโดนไล่ออก สรุปพนักงานผิดใช่ไหมคะ เพราะนายจ้างไม่ชอบให้ลูกน้องเถียง เรามีสิทธิ์ทำอะไรได้ไหม เพราะยังไง เวลาที่เหลือของแต่ละวันเราก็มาทำงานชดเชยให้เสมอ ถึงเขาไม่ให้เราลา ไม่ให้หยุด ไม่ได้ลงเวลาทำงานแบบปกติ แต่ลูกจ้างก็ไม่เคยขอ ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด หรือจะเชื่อใดๆทั้งสิ้น เพราะนายจ้างเคยพูดไว้ว่า ทนทำงานที่นี่ไม่ไหว ก็ให้หางานใหม่ได้เลย ช่วยไขข้อข้องใจหน่อยนะคะ เพราะเคยถามกับกรมแรงงานไปแล้ว แต่ไม่เป็นผลอะไรเลย เขาบอกว่า ถ้าแค่หนึ่งหรือสองเสียง ไม่สามารถที่จะทำอะไรนายจ้างได้ เคยมีกรณีที่ลูกจ้างโดน  ออก แต่เรียกร้องอะไรไม่ได้ เพราะพวกเรามีเงินเดือน 12500 บาท จำนวนเงิน 500 บาทนั้น เขาได้จ่ายชดเชยให้ทุกเดือน รวมมาในเงินเดือน เพราะฉะนั้นถ้าพนักงานออกไป เขาไม่จำเป็นที่ต้องมาเสียใจทีหลัง ไม่ได้เรียกร้องอะไรค่ะ เพียงอยากได้การศึกษาว่าควรทำยังไง พวกเรายังรับเงินเดือน ทุกวันที่ 5 เป็นซองขาวไม่ได้ผ่านบัญชี เลยทำให้พวกเรา ทำธุรกรรมทางการเงินลำบากมาก ส่วนมากพนักงานที่นี่ เป็นหนี้ นอกระบบ จึงยังทนทำงานอยู่ที่นี่เรื่อยมา

โดยคุณ กาญจนา เนาว์ไพร 7 ก.ค. 2560, 09:21

ความคิดเห็นที่ 618

อยากจะถามเกียวกับกฎของบริษัทที่ผมอยู่หน่อยคับว่าเป็นธรรมหรือป่าว

คือ...เราทำผิด..โดนใบเตือน...และโดนหักเงินเบี้ยขยัน....

จริงๆการได้เงินจากเบี้ยขยันมาจากการทำงานตรงเวลาทั้งเดือน...

แต่มีกกฎออกมาว่า...โดนใบเตือนจะต้องหักเบี้ยขยัน...ก็เลยอยากจะถามว่า...แล้วคนที่ไม่ได้เบี้ยขยันก็ไม่โดนหัก...แต่คนที่ได้เบี้ยขยันจะต้องโดนหัก...มันไม่สมเหตุสมผลเลยคับ...

  • ผมสามารร้องเรียนได้หรือป่าว...

โดยคุณ Coke Za 26 มิ.ย. 2560, 14:03

ความคิดเห็นที่ 617

ผมทางร้านเป็นเซลล์ขายเฟอร์นิเจอร์แล้วทางร้านได้ไปเปิดสาขาใหม่เพิ่มแล้วให้คนย้ายไปอยู่ที่ร้านใหม่ทั้งหมดโดยยกเว้นผมคนเดียว แล้วทางร้านได้เอาป้าย ปรับปรุงร้านให้ไปติดต่อซื้อที่ใหม่แทน ทำให้ผมขาดรายได้จากค่าคอมในการขายของ เท่ากับตอนนี้ผมเหมือนเป็น รปภ เฝ้าร้านผมสามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ

โดยคุณ รณชัย 19 มิ.ย. 2560, 14:52

ตอบความคิดเห็นที่ 617

กรณีดังกล่าวหากฟังได้ว่าเป็นการกระทำการอย่างใดๆทำให้ท่านไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ (บีบให้ลาออก) เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ท่านสามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 ก.ค. 2560, 15:59

ความคิดเห็นที่ 616

ขอสอบถามครับ

    กรณีของเพือนน่ะครับ...พอดีเพื่อนเป็นเซลขายเสื้อผ้าให้กับบริษัทนึงที่เปิดร้านอยู่เซ็นทรัล แล้วพอดีเพื่อนได้ลาคลอดไปเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนได้แล้วตอนนี้พร้อใที่จะกลับไปทำงานต่อ แต่ทางบริษัทแจ้งมาว่าไม่ต้องไปทำงานแล้วเพราะร้านจะทำการปิดปรับปรุงเป็นเวลา 4-5 เดือนซึ่งผมคิดว่าแบบนี้มันนานไปหรือเปล่าเป็นการไล่ออกทางอ้อมรึไม่และไม่มีการจ่ายเงินเดือนให้ หรือเค้าไม่อยากที่จะเสียเงินจ้างออกเลยใช้วิธีกดดันแบบนี้  เพราะเพื่อนอีกคนที่ทำด้วยกันเค้ามีพื้นที่ให้ลงแต่สำหรับคนนี้ไม่มี แบบนี้เราสามารถทำอะไรได้ย้างครับ

โดยคุณ อธิพงศ์ 16 มิ.ย. 2560, 00:24

ตอบความคิดเห็นที่ 616

กรณีตามปัญหา  หากถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้ที่กรมแรงงาน หรือไปฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยติดต่อที่ฝ่ายนิติการ  หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 20 ก.ค. 2560, 16:06

ความคิดเห็นที่ 615

มีเรื่องจะปรึกษาครับ เนื่องจากผมเซ็นสัญญาเข้าทำงานกับทางบริษัท ในสัญญาหลักไม่ได้มีการระบุเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายกรณีพนักงานลาออกครับ เเต่เมื่อเริ่มทำงานไปพบว่าทางบริษัทได้มีการจัดให้พนักงานอบรม ทั้งในประเทศเเละต่างประเทศ เเต่เมื่ออบรมเรียบร้อย ทางบริษัทจัดทำสัญญาการฝึกอบรมให้พนักงานเซ็นว่าต้องอยู่ทำงานหลังอบรมทุกหลักสูตร 3 ปี หากลาออกให้ชดใช้เงินครับ


ผมเองได้ทำงานมาประมาณ 2 ปี เเต่บริษัทส่งไปอบรมต่างประเทศในปีที่ 1ของการทำงาน เมื่อไปยื่นความจำนงขอลาออก ทางฝ่ายบุคคลไม่พอใจเเละยืนยันขอเงินคืนครับ (เเต่ตัวสัญญาการอบรมทางบริษัทเซนมาเเค่ฝั่งเดียว ยังไม่ได้ทำการเซนรับสัญญาจากฝั่งพนักงานซึ่งคือผมครับ) เเต่เหตุผลที่ผมลาออกเนื่องจากสุขภาพไม่ดีเนื่องจากทำงานหนักต่อเนื่องหมอลงความเห็นให้หยุดงานหรือเปลี่ยนงานครับ


รบกวนขอคำปรึกษาจากท่านทนายครับว่า กรณีนี้ผมยื่นใบลาออกเเต่บริษัทจะยืนยันให้ผมจ่ายค่าชดเชยการอบรม หากผมไม่ประสงค์จะชดใช้เพราะผมยังไม่ได้เซนรับสัญญา ได้หรือไม่ครับ 


หมายเหตุ การเซนสัญญาการอบรมนั้น ฝ่ายบุคคลเลือกปฏิบัติกับพนักงานเเต่ละคนไม่เท่าเทียมกันด้วยครับ ในหลักสูตรเดียวกันบางคนไม่ต้องเซน บางคนบังคับให้เซนสัญญาครับ


ช่วยเเนะนำผมด้วยนะครับ ทุกข์ใจมากครับ 

โดยคุณ คุณมาสเตอร์ 31 พ.ค. 2560, 10:41

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก