คำแนะนำในการเลิกจ้างพนักงาน|คำแนะนำในการเลิกจ้างพนักงาน

คำแนะนำในการเลิกจ้างพนักงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำแนะนำในการเลิกจ้างพนักงาน

ช่วงนี้บ้านเมืองวิกฤต เศรษฐกิจย่ำแย่ จะมีแต่ข่าวเลิกจ้าง บีบออก ไล่ออก ทนายคลายทุกข์ขอแนะนำนายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องคำนึงถึงกฎหมายแรงงาน และพยานหลักฐานที่ใช้ลงโทษ รวมถึงเหตุผลในการเลิกจ้าง

บทความวันที่ 8 พ.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 106403 ครั้ง


คำแนะนำในการเลิกจ้างพนักงาน

คำแนะนำในการเลิกจ้างพนักงาน

ช่วงนี้บ้านเมืองวิกฤต เศรษฐกิจย่ำแย่ จะมีแต่ข่าวเลิกจ้าง บีบออก ไล่ออก ทนายคลายทุกข์ขอแนะนำนายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องคำนึงถึงกฎหมายแรงงาน และพยานหลักฐานที่ใช้ลงโทษ รวมถึงเหตุผลในการเลิกจ้าง จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องกลับ ขอให้นายจ้างยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรมอันดีดังนี้

    1. ต้องมั่นใจว่ามีพยานหลักฐานชัดเจนว่าลูกจ้างกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119 ถ้าไม่มีพยานหลักฐานถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 และค่าเสียหายพิเศษจากการเลิกจ้างอีกต่างหาก
    2.  

    3. การเลิกจ้างต้องทำเป็นหนังสือ ตามมาตรา จะเลิกจ้างด้วยวาจาไม่ได้
    4.  

    5. การเลิกจ้างต้องแสดงเหตุผลว่าลูกจ้างทำผิดเงื่อนไขการจ้าง หรือสภาพการจ้าง หรือทุจริตอย่างไร ต้องระบุให้ชัดเจน ถ้าไม่ระบุ ถ้าคดีขึ้นสู่ศาล นายจ้างหมดสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้พ้นผิด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญนายจ้างต้องจำเอาไว้ เพราะถ้าพลาดท่าเลิกจ้างโดยไม่แสดงเหตุผล ระวังจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหัวบาน
    6.  

    7. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเป็นไปตามมาตรา 118 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
    8.  

    9. หลักเกณฑ์การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นไปตามมาตรา 119 ดังนั้นนายจ้างต้องดูว่าเข้าเกณฑ์ข้อใดบ้าง
    10.  

    11. วิธีการที่ดีที่สุดในการเลิกจ้างควรปรึกษาทนายความที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคดีจ้างแรงงาน เพราะ การเลิกจ้างเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และอาจส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของคนในองค์กร
    12.  

    13. เมื่อเลิกจ้างแล้วต้องคอยตรวจสอบหรือติดตามว่าลูกจ้างได้นำความลับหรือข้อมูลทางการค้าไปให้คู่แข่งหรือไม่แจ้งกรมสรรพากรเพื่อย้อนเกร็ดนายจ้างแบบนี้ก็มีมาก บางรายถึงขนาดต้องจ้างมือปืนยิงทิ้งลูกจ้างก็มี
    14.  

    15. ลูกจ้างตำแหน่งใหญ่ ๆ ถ้านายจ้างจะเลิกจ้างาจะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดของเอกสารคืน หาคนมาทำงานแทน หรือเตรียมแจ้งตำรวจจับถ้าทำผิดอาญา มิฉะนั้นบริษัทเสียหายหนัก ดีไม่ดีอาจเจ๊งได้ จำไว้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 358

ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าออกจากงานด้วยกันทั้งหมด3คน คือเราเป็นคนถามนายจ้างว่าว่าจะเอายังไงเพราะเงินเดือนที่จ่ายเดือนสุดท้ายเค้าจ่ายเกินกำหนด เราทำงานมาประมาณ1สัปดาห์ก่อนที่จะคุยกับนายจ้างและได้ถามว่าเงินเดือนของเดือนที่ทำอยู่นี้จะจ่ายไหมเค้าบอกว่าไม่มีจ่ายเรา เราและพวกจึงพากันไปแจ้งสวัสดิการแรงงาน เราแจ้งสวัสดิการแรงงานแล้วเค้าตามเรื่องไกล่เกลี่ยจ่ายไม่ถึงครึ่งของจำนวนที่จะต้องได้รับแต่นายจ้างไม่ยอมจ่ายแจ้งสวัสดิการแรงงานว่าไม่มีเงินและยื้อเวลาให้เลิกตามไปเอง และนายจ้างบอกน้องที่ถูกเลิกจ้างมาพร้อมกันว่าให้ไปแจ้งยกเลิกคำร้องที่สวัสดิการแรงงานทีว่าเค้าจะทำธุรกรรมทางการเงินเค้าทำไม่ได้และได้ตอบนายจ้างไปว่าจะไปขึ้นศาลเค้าก็แจ้งกลับมาว่างั้นก็ตามกระบวนการ  สวัสดิการแรงงานเค้าตามเรื่องจนเกิน60วันแล้วให้เราไปขึ้นศาลแรงงาน แล้วถ้าขึ้นศาลเราต้องเสียเวลายไปหลายรอบไหมคะ แล้วถ้าไปจะชนะคดีไหม
โดยคุณ ชาลินี จันธิวงค์ 10 ส.ค. 2562, 09:31

ความคิดเห็นที่ 357

ดิฉันทำงานมาเกือบ10ปีแต่..อยู่มาวันหนึ่งฝ่ายบุคคลเรียกพบบอกว่าพ้นจากสภาพเป็นพนักงานนับตั้.วันสุดท้ายที่ทำงานคือ26สิงหาคมปีที่แล้วถ้าจำไม่ผิดเค้าบอกว่าฐานความผิดขาดงานติดต่อกัน3วันโดยไม่แจ้งแต่สำหรับดิฉันถ้าแจ้งหัวหน้างานนแล้ว..ตอนเนของวันที่3ได้เข้าไปหาหัวหน้าที่ทำงานเค้าบอกให้ดิฉันย้ายไปแผนกซักรีดเพราะ.

ดิฉันท้องอ่อนๆอยุ่..แต่พอมาอีกวันฝ่ายบุคคลเรีนกเฉยเลย..ว่าวันนี้พ้นจากการเป็นพนักงานแล้ว

ดืฉันงงมาก..แบบนี้ดิฉันสามาเรียกร้องอะไรจากบริษัทได้ไหมคะ


โดยคุณ วิลาวัลย์ อวนข้อง 2 ส.ค. 2562, 04:22

ความคิดเห็นที่ 356

บริษัท สามารถส่งหนังสือเลิกจ้างทางอีเมล์ ได้หรือไม่


และมีผลทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไรครับ



โดยคุณ มนตรี 7 ก.พ. 2562, 15:57

ตอบความคิดเห็นที่ 356

กรณีสัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างเอาไว้ สามารถทำการบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยทำเป็นหนังสือออกมาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยเราจะบอกล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน  หากนายจ้างเป็นฝ่ายที่ต้องทำการยกเลิกจ้างหรือเลิกจ้างงานในทันที นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541

กรณีสัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ สัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 21 ก.พ. 2562, 11:14

ความคิดเห็นที่ 355

บ.เลิกจ้างแต่ให้เขียนใบลาออกบอกว่าจะให้ 10 เดือน แจ้ง 21/12/61 ให้ทำงานถึง 31/1/62

ทำงานมา 23 ปีไม่มีชื่อโครงสร้างในฝ่ายปี 62

จะเจรจาอย่างไรให้ไม่ต้องเขียนใบลาออกคะ

บังคับให้เขียน ตอบด่วนนะคะ ขอบคุณมากคะ

โดยคุณ นฤภร วรยศ 8 ม.ค. 2562, 21:16

ความคิดเห็นที่ 354

จะขอถามว่าทำงานกับบริษัทมา5-6ปีแล้วแต่ก้อยังทำเอกสารไม่เป็น และอยู่มาวันนึงพี่หัวหน้าก้อได้บอกกับเราว่าทางฝ่ายบุคคลเค้าจะเอาเราออก แต่เค้าบอกกับปากเปล่าไม่ได้เขียนอะไรเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ทราบว่าเราจะได้ค่าตอบแทนยังงัยบ้างค่ะ รบกวนถามค่ะ

โดยคุณ น้องป้อน 3 มี.ค. 2561, 05:53

ตอบความคิดเห็นที่ 354

ครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จะต้องได้รับค่าชดเชย เป็นจำนวน 180 วัน และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 1 เดือนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานครับ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 29 มี.ค. 2561, 16:41

ความคิดเห็นที่ 353

นายจ้างบอกจะปิดร้าน เพราะผลประกอบการขาดทุน แต่บอกล่วงหน้าไม่ถึงอาทิตย์ ไม่ได้มีหนังสือเลิกจ้างอย่างทางการ แจ้งผ่านการโทรไลน์ และพิมพ์ไลน์เท่านั้น เริ่มงานที่ 6/01/60 วันที่ออก 6/01/61 ครบ 1 ปีพอดี แต่นายจ้างบอกไม่ถึงปี เพราะสัญญาเช่าที่หมด 31/01/61 แต่ร้านยังไม่ปิดน่ะค่ะยังมีการขายอยู่และยังมีการเก็บร้านจนถึงวันที่ 6/01/61 พอถามถึงเงินชดเชย เขาบอกไม่ให้เพราะทำงานไม่ถึงปี ต่อให้ไปฟ้องก้อไม่ได้เพราะคนอื่นๆที่ไปฟ้องกันเขาก็ไม่ได้กัน ทางเราขอแค่ 1 เดือนเท่านั้นกับเงินที่ทำค้างไว้ เพื่อประทังตัวเองในช่วงตกงาน และเขาก็บอกว่าให้ไปคุยกับทนายของบริษัท หรือถ้าฟ้องแล้วไว้ไปสู้กันที่ศาลค่ะ อยากทราบว่าถ้าจะฟ้อง ฟ้องได้ไหมค่ะ แต่เรื่องนี้ก็จะครบเดือน อีกอย่างถ้าฟ้องได้ แล้วขึ้นศาลทางลูกจ้างต้องเสียค่าทนายหรืออะไรไหมค่ะ 

โดยคุณ ลูกปลา อารีพงษ์ 29 ม.ค. 2561, 17:34

ตอบความคิดเห็นที่ 353

ติดต่อที่ศาลแรงงานได้เลยครับ มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและจัดทำคำฟ้องให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

การเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย

มาตรา 17 วรรค 2  การเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือล่วงหน้า 1 เดือน แต่ไม่จำเป็นต้องเกิน 3 เดือน เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในคราวถัดไป หรือจ่ายค่าจ้างที่ต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาและให้ลูกจ้างออกทันทีก็ได้ ตามวรรค 3

มาตรา 118  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 22 ก.พ. 2561, 16:12

ความคิดเห็นที่ 352

 ในกรณีที่หัวหน้างานข่มขู่ว่าจะไล่คนนั้น คนนี้ออก เขาสามารถทำได้หรือไม่

โดยคุณ นายเอก เพ็ชรสิงห์ 23 ก.พ. 2560, 10:09

ความคิดเห็นที่ 351

 เรียนสอบถาม 

ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้างและให้พ้นสภาพการเป็นพนักงานทางไลน์ ถือเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ และไม่ได้แจ้งล่วงหน้า 30วัน ซึ่งอีกทั้งยังไม่จ่ายเงินเดือน เดือนที่ผ่านมา และลูกจ้างนำเอกสารยึดไว้เป็นตัวประกันให้จ่ายเงินเดือน และค่าประกันให้ครบจึงจะคืนเอกสารงานให้ เข้าข่ายทำผิดไหมค่ะ สามารถฟ้องได้หรือไม่ และได้เงินชดเชย และเงินประกันครบหรือไม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ สุบลวรรณ 22 ม.ค. 2560, 02:48

ตอบความคิดเห็นที่ 351

 กรณีตามปัญหา หากสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า   ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17  วรรคหนึ่ง 

  ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง 
ดังนั้น การที่นายจ้างบอกเลิกจ้างพนักงานทางไลน์ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17  วรรคหนึ่ง  และถือว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด  และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 118    ท่านจึงสามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างได้ 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.พ. 2560, 16:49

ความคิดเห็นที่ 350

 กรณีตามปัญหา หากสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า   ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17  วรรคหนึ่ง 

  ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง 
ดังนั้น การที่นายจ้างบอกเลิกจ้างพนักงานทางไลน์ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17  วรรคหนึ่ง  และถือว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด  และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 118    ท่านจึงสามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างได้ 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 12 ก.พ. 2560, 16:49

ความคิดเห็นที่ 349

ผมรบกวนสอบถามนะครับ ผมเป็นนายจ้าง ผมสืบทราบว่ามีลูกจ้างที่ทำงานด้วยกันมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานเหมือนกันกับบริษัททุกอย่างเก็บไว้ที่บ้าน ผมสงสัยว่าพนักงานคนดังกล่าวมีไว้เพื่อรับงานส่วนตัวซึ่งเป็นงานประเภทเดียวกันกับบริษัท เคยให้พนักงานด้วยกันสังเกตุพฤติกรรมพบว่ามีการพูดคุยนัดหมายกับลูกค้าของบริษัทด้วย โดยไม่แจ้งให้บริษัททราบ เมื่อเป็นเช่นนี้ผมจะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้างครับ ผมเดือดร้อนมาก ลูกค้าผมลดลงเรื่อยๆ ผมเป็นบริษัทเล็กๆครับ มีประมาณ7-8คนครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ

โดยคุณ พงศธร เกตุขาว 28 ธ.ค. 2559, 12:49

ตอบความคิดเห็นที่ 349

 ท่านสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 ม.ค. 2560, 14:15

ความคิดเห็นที่ 348

 ท่านสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 18 ม.ค. 2560, 14:15

ความคิดเห็นที่ 347

 ทำงานกลางเดือน พ.ค.59 มาถึงวันนี้11/12/59มีการคุยปากเปล่ากับหัวหน้าว่าจะให้เราออกเหตุผลเพราะพนักงานเกิน หัวหน้าบอกว่าจะได้แค่เงินเดือนเดือนสุดท้าย เพราะเรายังไม่บรรจุเป็นพนักงานประจำด้วยจึงไม่ได้ค่าชดเชย ตอนนี้ไม่มีเอกสารอะไรให้เซ็นสักอย่างเลยครับ มีแต่คุยกันปากเปล่าอย่างนี้เราจะได้เงินชดเชยอะไรมั้ยครับ ถ้าได้ จะได้ค่าอะไรบ้างครับ แล้วจะได้เดือนใหนครับเดือนที่ออกหรือเดือนถัดไปครับ

โดยคุณ jakapun 11 ธ.ค. 2559, 23:48

ตอบความคิดเห็นที่ 347

 กรณีตามปัญหา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 เป็นบทบัญญัติยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างในเหตุใดเหตุหนึ่ง คือ 

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายถึง  การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร รวมตลอดถึงเลิกจ้างโดยไม่มีกฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้
 การเลิกจ้าง-นายจ้างมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ต้องบอกกล่าวเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบเมื่อจะถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า   แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน  หรือนายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีโดยยอมจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าก็ได้
2.   ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ตามกำหนดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานมา 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 22 ธ.ค. 2559, 14:23

ความคิดเห็นที่ 346

 กรณีตามปัญหา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 เป็นบทบัญญัติยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างในเหตุใดเหตุหนึ่ง คือ 

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายถึง  การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร รวมตลอดถึงเลิกจ้างโดยไม่มีกฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้
 การเลิกจ้าง-นายจ้างมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ต้องบอกกล่าวเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบเมื่อจะถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า   แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน  หรือนายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีโดยยอมจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าก็ได้
2.   ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ตามกำหนดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานมา 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 22 ธ.ค. 2559, 14:23

ความคิดเห็นที่ 345

 แม่หนูได้ทำงานกับคอนโดมา30ปี แต่ตอนนี้ ขึ้นจดเป็นนิติบุุคลอาคารชุดแล้ว ปีนี้แม่โดนใบเตือนครบ3ครั้งภายใน1ปี ซึ่งบางใบแม่ก็ไม่ได้ปฏิบัติจริงและได้รับเอกสารถูกเลิกจ้าง ไปแจ้งเรื่องกับทางกรมแรงงานแล้ว ทางเขาบอกว่า การที่ขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้ว เราไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้เนื่องจากไม่ได้เป็นธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร แล้วเราต้องทำอย่างไรดีค่ะ เขาแจ้งมาว่าจะชดเชยเงินให้สองเดือน 

โดยคุณ อริสรา สามสังข์ 23 พ.ย. 2559, 20:57

ตอบความคิดเห็นที่ 345

 กรณีตามปัญหา ต้องพิจารณาก่อนว่าคุณแม่ของท่านได้ทำสัญญาจ้างแรงานกับนายจ้างไว้หรือไม่ 

การจ้างงานของนิติบุคคลอาคารชุดอาจถือเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร ในทางเศรษฐกิจและเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ ๓๓/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม  การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด และคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๗๔/๒๕๓๙ ย่อมถือเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งนิติบุคคลอาคารชุดฯ ต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. ๒๕๔๑ ทั้งฉบับ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดฯ เป็นกิจการซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไร ในทางเศรษฐกิจจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖)  นิติบุคคลอาคารชุดฯ จึงสามารถจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือได้ 
อย่างไรก็ตาม หากนิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างโดยมีเงื่อนไข หรือข้อตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญาจ้างนั้น (หมายเหตุ  อ้างอิงข้อหารือกองนิติการ ที่ รง ๐๕๐๔/๐๑๒๔๙ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่  กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมาย นิติกรรมและสัญญา  
กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน   อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชั้น ๑๒   ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐  โทร. ๐ ๒๒๔๖ ๗๐๓๙ , โทรสาร ๐ ๒๒๔๖ ๗๕๘๙ 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ธ.ค. 2559, 11:17

ความคิดเห็นที่ 344

 กรณีตามปัญหา ต้องพิจารณาก่อนว่าคุณแม่ของท่านได้ทำสัญญาจ้างแรงานกับนายจ้างไว้หรือไม่ 

การจ้างงานของนิติบุคคลอาคารชุดอาจถือเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร ในทางเศรษฐกิจและเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ ๓๓/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม  การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด และคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๗๔/๒๕๓๙ ย่อมถือเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งนิติบุคคลอาคารชุดฯ ต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. ๒๕๔๑ ทั้งฉบับ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดฯ เป็นกิจการซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไร ในทางเศรษฐกิจจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖)  นิติบุคคลอาคารชุดฯ จึงสามารถจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือได้ 
อย่างไรก็ตาม หากนิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างโดยมีเงื่อนไข หรือข้อตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญาจ้างนั้น (หมายเหตุ  อ้างอิงข้อหารือกองนิติการ ที่ รง ๐๕๐๔/๐๑๒๔๙ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่  กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมาย นิติกรรมและสัญญา  
กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน   อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชั้น ๑๒   ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐  โทร. ๐ ๒๒๔๖ ๗๐๓๙ , โทรสาร ๐ ๒๒๔๖ ๗๕๘๙ 
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 ธ.ค. 2559, 11:17

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก