ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง|ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง

ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง

ทนายคลายทุกข์ขอนำปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในต่างจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 69

บทความวันที่ 5 เม.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 213454 ครั้ง


                                                                     ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง

 

            ทนายคลายทุกข์ขอนำปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในต่างจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 69 ทวิ มานำเสนอว่า กรณีมีปัญหาเรื่องเนื้อที่ไม่ตรงกัน ติดต่อข้างเคียงไม่ได้หรือมีการคัดค้านหรือมีการฟ้องร้อง จะต้องทำอย่างไร

 

            ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจแก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ตรงกับความเป็นจริงได้ เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตแล้ว เว้นแต่เป็นการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น แบ่งขาย หรือแลกเปลี่ยนกันเอง โดยไม่จดทะเบียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม

 

            กรณีต้องให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อรับรองเขตก่อน ถึงจะแก้ไขได้ ถือเป็นหลักทั่วไป เป็นการคุ้มครองสิทธิทุกฝ่าย แต่ก็มีข้อยกเว้นในวรรคสาม

 

            วรรคสาม วิธีปฏิบัติในกรณีข้างเคียงไม่ได้รับรองแนวเขต

            วรรคสามนี้ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ ขอแยกสาเหตุที่ไม่ได้มีการลงชื่อรับรองแนวเขตไว้ 3 กรณี  และอธิบายควบกับวรรคสี่ เพราะต่อเนื่องกัน ดังนี้

 

1) ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้

กรณีนี้ หมายความว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงไประวังชี้รับรองเขตอยู่แล้ว (ดูมาตรา 70) แต่ปรากฏว่าไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรายนั้นได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะได้ย้ายภูมิลำเนาจากที่อยู่เดิม แล้วไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบ หรือยังอยู่ที่เดิมแต่ไปรษณีย์นำจ่ายไม่ได้ เช่น ไม่มีผู้รับ หรืออยู่นอกเขตจ่าย เป็นต้น

 

2) ติดต่อได้ แต่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาระวังแนวเขต

 

3) ติดต่อได้ และผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขต แต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต โดยไม่ได้คัดค้านการรังวัด

            ในสาเหตุหนึ่งเหตุใดใน 3 กรณี ดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมอีก ดังนี้

 

            (1) กรณีติดต่อได้ แต่ข้างเคียงไม่มาระวังแนวเขตหรือติดต่อได้ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต โดยไม่คัดค้านการรังวัด ตาม (2) และ (3) ทั้ง 2 กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นมาลงชื่อรับรองเขต หรือคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ ?ส่ง? หนังสือแจ้ง โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยัง ตามที่อยู่ที่เคยติดต่อหรือตามที่อยู่ที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

 

            (2) ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้ (ตาม 1)

กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องทำหนังสืออีกครั้งแจ้งให้ผู้นั้นมารับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดภายใน 30 วัน โดยปิดหนังสือแจ้งฉบับนั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ดินของข้างเคียงรายนั้น และที่ว่าการเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่อันเป็นที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น แห่งละ 1 ฉบับ พร้อมกับส่งหนังสือแจ้งนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังเจ้าของที่ดินข้างเคียงรายนั้นตามที่อยู่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามได้ความจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือถ้าสอบถามแล้วก็ยังไม่ทราบ ก็ให้ส่งไปยังที่อยู่ตามที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานที่สำนักงานที่ดิน

 

            เมื่อดำเนินการมีหนังสือแจ้งไปอีกครั้ง หรือปิดประกาศ ตาม (1) และ (2) แล้ว แต่กรณีแล้ว ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรายนั้นไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด คือมารับรองเขตหรือคัดค้านแนวเขตภายใน 30 วัน และผู้ขอสอบเขตได้ให้คำรับรองว่ามิได้ทำการรังวัดรุกล้ำที่ดินข้างเคียง และยินยอมให้แก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ตรงกับความเป็นจริง หากปรากฏในภายหลังว่าแผนที่หรือเนื้อที่ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ โดยไม่ต้องมีการลงชื่อรับรองแนวเขต

 

            วรรคสี่ ?การติดต่อหรือการแจ้งข้างเคียงผู้มิสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง?

            (ได้แก่ ฉบับที่ 31 ได้นำสาระสำคัญมารวมไว้ในวรรคสามแล้ว)

 

            วรรคห้า ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสอบสวนไกล่เกลี่ยโดยให้ถือหลักฐานแผนที่เป็นหลักในการพิจารณา

 

            ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แจ้งคู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ขอไม่ประสงค์จะสอบเขตโฉนดที่ดินนั้นต่อไป (ตัวบทใช้คำว่า ?ให้แจ้งคู่กรณี? หมายความว่าต้องแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งฝ่ายผู้ขอและฝ่ายผู้คัดค้าน ดังนั้น การนับ 90 วัน ต้องนับจากวันที่รับแจ้งฝ่ายล่าสุด)

 

           

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 835

กรณีที่ดินข้างเคียงต้องการสอบเขตโฉนดที่ดิน เจ้าของที่ดินข้างเคียงต้องเดินทางไกล มีค่าใช้จ่าย และที่ดินกำหนดวันเองโดยไม่ประสานล่วงหน้า วันที่เขาไม่สะดวกมาชี้แนว แบบนี้เขาต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรอ  ถ้าเขาต้องนั่งเครื่องมา ไปกลับ เขาต้องมาแบกรับภาระตรงนี้ด้วยหรอ กรมที่ดินควรมีระเบียบ ที่ดินซื้อขายแล้วควรบังคับทำแนวกั้นชัดเจนตามโฉนดเลยได้ไหม ไม่ต้องมารังวัดซ้ำซาก ชาวบ้านเสียเวลา เสียเงินอีก ทำไมต้องให้ชาวบ้านชาวช่องเขาต้องมาเดือดร้อน ถามว่าพื้นที่ข้างเคียงเขาเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ที่ต้องมารับรอง แล้วเขาได้อะไร กรณีที่เขาไม่สามารถมอบอำนาจให้ใครในพื้นที่นั้นๆได้  ถึงเวลาปรับปรุงหรือ ออก กม. ระเบียบข้อบังคับให้เหมาะสมมากกว่านี้ทีเถอะ นักวิชาการประจำหน่วยก็มีเยอะแยะ 

โดยคุณ สุมาลี 27 พ.ย. 2565, 22:58

ความคิดเห็นที่ 834

อยากทราบว่า ทางที่ดินมีหนังสือมาให้ไปชี้เขตข้างเคียงแต่เราไม่ได้ไปเพราะที่ดินเป็นของยายไม่รู้ว่าที่ดินนั้นอยู่ตรงไหนตั้งแต่ปี 2553 ถ้าเราจะไปแจ้งขอตรวจสอบจะได้ไหมค่ะ มีทางไหนบ้างที่เราพอจะรู้ว่าที่ดินพื้นนั้นยังมีอยู่ไหมค่ะ เพราะไปที่ที่รังวัดที่ดินมาค่ะเขาบอกเรื่องไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว เรื่องถูกส่งไปฝ่ายทะเบียนแล้วคะ รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ น.ส.อรุโณทัย วงษ์สง่า 26 พ.ย. 2562, 14:07

ความคิดเห็นที่ 833

กรกณีทีดินข้างเขียงเขารางแบงกัน เขามีหนังสือที่ดินเราข้างเคียงให้เราเชนต์ แต่ไม่เป็นตามโฉนด เราเลยคัดค้าน เราควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร หลังจากคัดค้านไปแล้ว....ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ สุธาวี อิ้ววรัมย์ 13 ส.ค. 2562, 11:25

ความคิดเห็นที่ 832

สอบถามหน่อยค่ะ ที่เป็น นส. แล้วปัญหาเรื่องทางเดินสาธารณะ แล้วจะถามว่าถ้าจะสอบเขตเฉพาะแนวเขตที่มีปัญหาได้ไหมค่ะ  หรือว่าต้องรังวัดทั้งแปลงอะค่ะ
โดยคุณ แพร 28 มิ.ย. 2562, 08:48

ความคิดเห็นที่ 831

สอบถามค่ะ เจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ติดกับกับที่ดินของแม่ ได้ทำเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินเพื่อโอนให้แก่บุตร แต่เมื่อทำรางวัดเสร็จเจ้าของที่ได้มาบอกแม่ว่าวัดเข้าไปในที่ดินของแม่ และดูจากเอกสารการรังวัดใหม่นั้นกินพื้นที่แนวเขตเดิมตามโฉนด แม่จึงไปทำเรื่องคัดค้าน ต่อมานัดไกล่เกลี่ยตกลงกันไม่ได้ เจ้าของที่ดิน(โจทก์)จึงไปยื่นฟ้องแม่(จำเลย)ต่อศาล มีเอกสารเป็นคดีแพ่งสามัญ ปิดหมาย 8/6/62 โดยโจทก์ยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์นั้น เป็นที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ และครอบครองทำประโยชน์ใช้สอยอยู่จริงเต็มพื้นที่ โดยเฉพาะแนวพิพาท โดยอ้างว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์ตามแนวเขตที่ดินมาตั้งแต่ก่อนออกเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่เคยอ้างสิทธิ์หรือบุกรุกเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนี้ แต่จากคำกล่าวอ้างของโจทก์เนื่องจากจำเลยไม่ได้อาศัยประจำที่จังหวัดพื้นที่ดังกล่าว เพราะมีบ้านอีกหลังอยู่ในกทม. ที่ดินดังกล่าวเป็นสวน ทำให้ไม่ได้เข้าไปดูแลสวนบ่อยนัก แต่พอถึงช่วงเทศกาลก่อนเก็บเกี่ยวผลไม้ จะมีการจ้างคนไปตัดหญ้า ใส่ปุ๋ยโดยตลอด เห็นและทราบที่โจทก์ปลูกพืช พักบริเวณดังกล่าวตลอด เพราะโจทก์จะมาแจ้งให้ทราบ และโจทก์กับจำเลยรู้จักมักคุ้นสนิทสนมกันมานาน ทำให้เกิดความไว้วางใจ และความเห็นใจ จึงไม่มีการว่ากล่าวที่โจทก์มาละเมิดในที่ดิน จนตอนนี้ถูกเป็นจำเลนทำให้โจทย์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินได้

   จึงอยากขอเรียนปรึกษากรณีดังกล่าวว่าต้องทำอย่างไร และกรณียื่นไกลเกลี่ยไปที่ศูนย์รับเรื่อง แล้วไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อสู้คดี 


โดยคุณ ปุญชรัสมิ์ 10 มิ.ย. 2562, 21:32

ความคิดเห็นที่ 830

ขอสอบถามครับพอดีซื้อที่มาครับมีโฉนด ซื้อมาได้ 5 ปี ไม่เคยรังวัดครับเนื้อที่ในใบโฉนดมี 3 ไร่ 70 ตารางวา ต่อมามีคนข้างๆเขาขายที่ให้นายทุน แล้วนายทุนเขารังวัดสอบเขตใหม่ที่เขาซื้อ ปรากฎว่า เนื้อที่ เขาลดลงจากโฉนด 50 ตารางวา แล้วของเราก็ทำการสอบเขตใหม่ ได้เพิ่ม มาเป็น 4 ไร่ 50 ตารางวา แต่เหมือว่าในใบผมที่ไปตกที่ของนายทุน อีก 2 งาน 50 ตารางวา ครับ แต่เค้าคัดค้านการรังวัดออกโฉนดใหม่  อยากสอบถามว่าเรามีสิทจะได้ที่ตรงนั้นหรือเปล่าครับเจ้าหน้าที่รังวัดสองรอบเค้ายืนยันว่าหมุดของผมไปอยู่กลางที่ของนายทุนข้างๆครับ 

โดยคุณ เอก 7 มิ.ย. 2562, 23:39

ความคิดเห็นที่ 829

ซื้อทีดินแล้วโอนก่อนรังวัดทีหลังที่ดินหายเขตติดกันไม่ให้ขยับเข้าเขาว่าที่ดินเขา หลักหมุดหายหมดชี้เขตเอาค่ะ แต่เซ็นยอมรับไปแล้ว ทำไงได้ไหมถ้าต้องการคัดค้าน

โดยคุณ อริสรา 21 พ.ค. 2562, 14:46

ความคิดเห็นที่ 828

อยากสอบถามครับ  พอดีแม่ผมทำการขายที่ดินให้เพื่อนบ้านซึ่งเป็นญาติห่างๆ โดยแม่ผมแบ่งขายครึ่งนึงของเนื้อที่ทั้งหมดที่มี (ซึ่งแม่ผมเข้าใจว่าที่ดินตัวเองมี2ไร่) แล้วก็ตกลงขายกัน (โดยขายไป1ไร่) ซึ่งทางญาติห่างๆก็เอาคนของเค้ามาทำการวัดเนื้อที่เอง โดยวัดไม่ละเอียดมากหนัก แต่ด้วยความที่แม่ผมก็เชื่อใจไว้ใจว่าเป็นญาติพี่น้องกัน เค้าเขียนมาในสัญญา1ไร่ แล้วก็มีพยานด้วย(แต่พยานเสียชีวิตไปแล้วนะครับ)แล้วในระหว่างการเซ็นสัญญา(แม่ผมกับญาติห่างๆและก็พยานมีการดื่มกินสุราด้วย)ทางญาติห่างๆก็ได้เอาสัญญามาให้เซ็น ซึ่งระบุว่า 1 ไร่ แม่ก็เซ็นไปนะครับ เพราะเข้าใจว่ามีที่ดิน2ไร่นะครับ ต่อมาไม่นานทางญาติห่างๆคนนั้นเข้าได้ถมที่ดินยกสูง แล้วดินก็เลยเขตเข้ามาทางบ้านผม แม่ผมก็ได้ไปต่อว่าเขาว่าทำไมถมที่เลยข้ามเขตมา ทางญาติก็บอกว่าไม่เลยนะ ไม่เชื่อก็วัดดูได้ ทางแม่ผมเลยให้คนมาวัดดูใหม่ ปรากฎว่า ที่ดินทั้งหมดรวมตอนที่ยังไม่ขาย มีเนื้อที่ไม่ถึง2ไร่ น่าจะประมาณไร่กว่าๆเอง ทำให้เค้าอ้างได้ว่า ทางแม่เซ็นสัญญาเองว่า 1 ไร่ เอาง่ายๆครับ ถ้า1ไร่มันจะครอบคลุมถึงบ้านผมเกือบหมดเลยครับ แบบนี้ทางผมควรทำยังไงดีครับ เพราะแม่แกก็ไม่ทราบรายละเอียดมากนัก อีกอย่างคล้ายๆทางญาติประมาณให้คร่าวๆ แล้วก็ด้วยความมึนเมาคล้ายๆเหมือนหลอกให้เซ็นสัญญาที่ดินไป1ไร่ แม่ผมเครียดร้อนใจมากครับ อยากถามผู้รู้หน่อยครับว่าจะมีทางไหนที่จะวัดใหม่แล้วก็แก้สัญญาใหม่ครับ เพราะทางนั้นเค้าหัวหมอ ไม่ยอมเอาสัญญามาเปลี่ยนแปลงเลยครับ ระยะยาวกลัวมันยึดหมดครับ จะมีทางช่วยได้ป่าวครับ ขอบคุณที่อ่านนะครับ

โดยคุณ แอร์ครับ 14 พ.ค. 2562, 23:37

ความคิดเห็นที่ 827

รบกวนสอบถามหน่อยค่ะกรณีที่ผู้จัดการมรดกได้แบ่งที่ดินให้พี่น้องเท่าๆๆกันแต่มีพี่ชายของผู้จัดการมรดกไม่พอใจในการแบ่งเนื่องจากหลายปีมาแล้วผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นน้องสาวได้แจ้งว่าจะไม่เอาที่ดินในส่วนที่จะแบ่งไม่มีการเซ็นหรือรายลักอักษรว่าจะไม่เอาแล้วแต่หลายปีผ่านมาทำเรื่องจะแบ่งแยกที่ดินซึ่งผู้จัดการมรดก(น้องสาว)ได้แต่งงานมีครอบครัวจึงจะขอแบ่งที่ดินในส่วนที่ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกแล้วทางเมียและลูกของพี่ชายคนโตไม่พอใจในการแบ่งให้ผู้จัดการมรดกจึงจะรบกวนสอบถามว่าถ้าพี่ชายจะฟ้องน้องสาวทางน้องสาวจะมีโอกาศชนะไหมค่ะ

ทั้งที่เป็นส่วนที่พึ่่่่งเป็นสิทธิ์ของน้องสาวจะได้อยู่แล้ว

โดยคุณ ณัฐนันท์ 27 มี.ค. 2562, 21:35

ความคิดเห็นที่ 826

มีปัญหาและไม่เข้าใจในรายละเอียดเรื่องรังวัดซึ่งให้เจ้าหน้าที่รังวัดของกรมที่ดินมาวัดพอมาก็พูดจากับเราไม่ค่อยดีแต่ไปพูดดีกับข้างบ้าน ผลออกมาก็ทำให้เราสงสัยเลยจ้างรังวัดเอกชนมาตรวจสอบเค้าก็มาแล้วบอกว่ารู้จักเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเขตบ้านเราทุกคนดีบอกข้อมูลถึงกันเค้าสามารถเอาข้อมูลออกมาได้พอถึงวันรังวัดบอกสามวันรู้ผลพอโทรไปบอกยังไม่เสร็จรอเป็นอาทิตย์กว่าๆเกือบสองอาทิตย์ผลออกมาก็ยังทำให้เรารู้สึกแปลกๆ จะทำไงดีค่ะ พอมีใครช่วยได้บ้างค่ะจ่ายค่ารังวัดไปเยอะแล้วจะจ่ายไม่ไหวแล้วไม่อยากเสียที่ดินให้ข้างบ้าน
โดยคุณ ประภาศรี 18 มี.ค. 2562, 17:52

ความคิดเห็นที่ 825

-จะทำการแบ่งโฉนดต้องขอทำการรังวัดแต่มีบ้ารพักอาศัยบนที่ดินสามารถรังวัดผ่านวิ่งปลูกสร้างได้หรือไม่โดยที่ไม่ต้องรื้อถอน


โดยคุณ สุภัสสร ปุ่งเผ่าพันธ์ 5 ก.พ. 2562, 23:25

ความคิดเห็นที่ 824

อยากได้ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจการคัดค้านการรังวัดสอบเขตที่ดิน ค่ะ พอมีมั้ยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
โดยคุณ สมมิตร 8 ม.ค. 2562, 09:59

ความคิดเห็นที่ 823

การสอบเขตที่ดิน ที่ข้างเคียงไม่ยอมเช็นต์ให้ปักหมุด ต้องทำอย่างไหรต่อไปโดยไม่ต้องให้ที่ค้างเคียงเซ็ตน์รับรองแนวมเขต  ที่ข้างเคียงเป็นหน่วยงานราชการ
โดยคุณ มงคล 18 ธ.ค. 2561, 14:07

ความคิดเห็นที่ 822

กระผมมีเรื่องขอเรียนปรึกษาเกี่ยวกับการเรียกค่ารังวัดสอบเขตที่ดิน กล่าวคือ

    ผมยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินและชำระค่าธรมเนียมเรียบร้อย ครั้งที่ 1ประมาณปลายปี 58 นัดสอบเขต ประมาณ มิ.ย.59 ภายหลังการรังวัดสอบเขต มีเจ้าของที่ดินรายหนึงวันสอบเขตไม่ได้มาระวังชี้แนวเขตยื่นคัดค้าน จนท.รังวัดนัดด้วยวาจาให้มาตกลงกัน (จำวันนัดไม่ได้) พอถึงวันนัดผมไปรอที่แปลงที่ดิน ไม่มี จนท.รังวัดและเจ้าของที่ข้างเคียง และผมก็ไม่ได้ติดต่อกลับไปหา จนท.รังวัด ต่อมาอีประมาณ 3 เดือนผมติดต่อสอบถาม จนท.รังวัด ได้รับแจ้งว่าเห็นว่าไม่มาติดต่อจึงส่งเรื่องเก็บที่สาระบบแล้ว และแนะนำให้ผมยื่นเรื่องขอสอบเขตที่ดินใหม่โดยให้ไปตกลงกับเจ้าของท่ดินข้างเคียงให้เสร็จจะได้รวดเร็วขึ้น (ผมยอมยื่นคำร้องขอสอบเขตใหม่และชำระค่าธรมเนียมครั้งที่ 2 เพราะเป็นความบกพร่องตนเองติดต่อไม่ต่อเนื่อง) และผมได้พูดคุยกับเจ้าของที่ข้างเคียงตกลงจะขยับหมุดเข้ามาในที่ดินผม 50 ซม. 1 หมุด ต่อมาถึงวันนัดหมาย 26 เม.ย.61 จนท.รังวัดได้ออกมาดำเนินการแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเจ้าของที่ข้างเคียงพาญาติพีน้องสภาพมึนเมา มาคุยจะขอขยับเพิ่มอีก 50 ซม. ผมจึงไม่ยอม จนท.รังวัด แจ้งว่าในเมื่อทั้งสองฝ่่ายตกลงกันไม่ได้ก็ไม่สามารถรังวัดได้ และทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จะเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามขั้นตอน เพื่อการเจรจาไกล่เกลีย จากวันที่ 26 เม.ย.60 จนถึงวันที่ 30 พ.ค.61 จนท.ที่ดินถึงนัดเจรจา พอเจรจาตกลงกับเจ้าของที่ข้างเคียงเรียบร้อย อีกแปดวันถัดมา จนท.ที่เจราไกล่เกลี่ยโทรแจ้งผมให้มารับเอกสารแล้วไปพบ จนท.ฝ่่ายรังวัด จนท.รังวัดแจ้งให้ผมทราบว่าจะต้องชำระค่ารังวัดสอบเขตใหม่ ครั้งที่ 3 ผมได้ชี้แจงให้ จนท.ฟังว่าครั้งที่ผ่านมา (ครั้งท่ 2 ) ยังไม่มีการรังวัดเพียงแค่บันทึกรายงานผู้บังคับบัญชาเฉยๆ จะให้ผมชำระอีกได้อย่างไร จะเป็นการเรียกค่าสอบเขตซ้ำซ้อนไหมครับ เพราะผมดูในกฎกระทรวงค่ารังวัดสอบเขต ส่วนใหญ่จะเป็นค่าจางพาหนะและคนงาน

   ผมขอคำปรึกษาด้วยครับว่า การปฏิบัติของ จนท.รังวัด เป็นการเรียกค่ารังวัดสอบเขตซ้ำซ้อนหรือไม่เพราะครั้งที 2 ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร และเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบของ จนท.แล้ว กระผมจะได้ปฏิบัติตาม  

   ขอบพระคุณล่งหน้าครับ สำหรับท่านที่ให้คำแนะนำ

      

โดยคุณ นายธรมศิษฐ์ ชารู 11 มิ.ย. 2561, 06:19

ความคิดเห็นที่ 821

เมื่อวันที่ 2 ตค.60 ชื้อที่ดินแปลงหนึ่งเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่  ซึ่งตอนแรกคนขายบอกมีโฉนดก็ตกลงซื้อขายกันและไปโอนกันที่สำนักงานที่ดิน พอสอบเขตรังวัดกลับเป็นคนละแปลงกัน  ที่ดินที่เขาชี้ขายไม่มีเอกสารสิทธิใด และเป็นที่ครอบครอง  ผู้ชื้อจึงขอซื้อในราคา 130,000  ซึ่งที่ดินข้างเคียงก็รู้ไม่มีใครคัดค้านเพราะทุกด้านมีแนวเขตชัดเจน  จนผู้ซื้อเข้าบุกเบิกปลูกข้าว  นาย ข ซึ่งเป็นที่ดินข้างเคียง และเป็นคนแรกที่ผู้ขายนำที่ดินแปลงนี้มาขายให้  แต่นายข กับผู้ซื้อตกลงราคากันไม่ได้ จึงมาขายให้ผู้ซื้อ  ต่อมาวันที่ 27 เม.ย.61 นายข. จึงมาบอกว่าที่ดินที่ผู้ซื้อบุกเบิกเป็นที่ดินของนาย ข ซึ่งเนื้อที่ในโฉนด นาย ข มี 14 ไร่ 3 งาน  แต่เขาไม่ได้เข้าทำกินเพราะเขาไอ้างว่าเขาไม่รู้  ตลอดระยะเวลาที่นายข.ทำกินในที่ดินของเขา เขาได้ทำคันแดนไว้ชัดเจนโดยไม่ได้ล้ำเข้ามาในที่ดินส่วนที่นาย ข กล่าวอ้าง และไม่เคยรู้ว่าที่ดินตนเองถึงไหนเลยทำแนวเขตเป็นสันคันนาในเขตที่ตัวเองทำกินโดยไม่ได้ทำแนวเขตเข้ามาในส่วนเนื้อที่ที่เขาอ้าง ทาง  ทางผู้ซื้อบอกว่าให้ไปเอาที่ดินออกมารังวัด  ถ้าเป็นอย่างนี้เราสามารถระวังแนวเขตตามที่นาย ข. ทำกินได้ไหมคะ  ส่วนเจ้าพนักงานที่ดินก็คงวัดตามแนวเขตที่ทำกินเพราะถ้าวัดตามแผนที่ระวางทางอากาศที่ดินจะเข้ามาและผ่านที่ดินคนอื่นหลายแปลงกว่าจะถึงที่ดินผู้ซื้อ  และผู้ซื้อได้ตรวจสอบแนวเขตข้างเคียงขึ้นไปตลอดแนวเขามีหลักไม้แก่นเก่าปักเป็นสันคันแดนไว้ชัดเจน

โดยคุณ ออย 14 พ.ค. 2561, 14:24

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก