ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม | ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คุณอรุณ หมายเลขโทรศัพท์ 081-865-0869 ทำงานอยู่ที่ บริษัท เอ็นวายเค จำกัด เป็นบริษัทขนส่งสินค้า จากจังหวัดระยอง

บทความวันที่ 6 ธ.ค. 2550, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1918 ครั้ง


 

                                                                       ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม                                                

 

            คุณอรุณ หมายเลขโทรศัพท์ 081-865-0869 ทำงานอยู่ที่ บริษัท เอ็นวายเค จำกัด เป็นบริษัทขนส่งสินค้า จากจังหวัดระยอง ไปที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ทำงานมา 2 ปี 6 เดือน ได้เงินเดือน ๆ ละ 6,310 บาท ได้เบี้ยเลี้ยงเป็นรายเที่ยว ประมาณ 200 บาท ต่อเที่ยว หน้าที่คือเป็นพนักงานขับรถ รถเทลเลอร์ 18 ล้อ

 

            ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ผู้บังคับบัญชาสั่งให้คุณอรุณ ไปจับแท้งค์ซึ่งบรรจุสารเคมีเพื่อเอาไปลงที่โรงงานของลูกค้า โมเมนทีป จังหวัดระยอง หางเทลเลอร์เครื่องมือขัดข้อง หลังจากนั้นเรียกช่างมาช่วยกันเอาแม่แรงยกขึ้นต่อหางได้ หลังจากนั้นนำหางเทลเลอร์กลับมาที่โรงงานและเปลี่ยนรถคันใหม่ และนำไปส่งลูกค้า

 

            นายจ้างแจ้งว่าคุณอรุณทำงานบกพร่องต่อหน้าที่ โดยตัดหางแล้วไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายทำให้บริษัทเสียความน่าเชื่อถือทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยมองว่าบริษัทนายจ้างไม่เป็นมืออาชีพ

 

            ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 นายจ้างมาแจ้งว่าให้ลาออกไป โดยนำหนังสือปลดออกมีข้อความว่า คุณอรุณทำความเสียหายให้กับบริษัท คุณอรุณไม่ยอมลงนามเนื่องจากว่า ไม่ได้ทำความผิด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีกรณีเช่นเดียวกัน และเป็นรถและหางคันเดียวกัน เคยมีปัญหาในลักษณะนี้มาแล้ว และบริษัทต้องเสียค่ารถเครนมายก 40,000 บาท ความบกพร่องเกิดขึ้นจากอุปกรณ์บริษัทที่มิได้บำรุงรักษา

 

            เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 นายจ้างได้ปิดประกาศที่บริเวณด้านหน้าของบริษัท โดยมีข้อความว่า ห้ามคุณอรุณเข้าบริษัท

 

            คำถาม

  1. คุณอรุณจะฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างได้หรือไม่
  2. จะเรียกค่าเสียหายอะไรนอกจากค่าชดเชยได้หรือไม่

 

คำแนะนำจากอาจารย์เดชา

1.   คดีนี้เมื่อคุณอรุณถูกเลิกจ้าง นายจ้างอ้างว่าได้ทำความเสียหายให้กับนายจ้าง คุณอรุณต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามิได้ปล่อยปละละเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถ้าพิสูจน์ได้ก็ถือว่าคุณอรุณถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม มีสิทธิได้รับเงินจากการถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 จำนวน 1 เดือน และได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 ตามอายุงาน และถ้ามีค่าเสียหายพิเศษ ก็ยังสามารถเรียกได้อีกต่างหาก

 

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

มาตรา ๑๗  สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน

ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา ๑๑๙ ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา ๕๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

            มาตรา ๑๑๘  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(๑)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมทั้งที่ยังมีผลงานอยู่ สามารถจะไปร้องเรียนได้ที่ไหน และเรียกร้องอะไรได้บ้าง ค๊ะ ไม่รู้เรื่องกฎหมายแรงงาน เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ nuch 20 ก.ค. 2553, 09:29

ความคิดเห็นที่ 2

กรณีทำนองเดียวกันเลยค่ะทำงานครบเดือนเต็มแต่ทางบริษัทไม่มีความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างคือไม่นทั้งเงินประกันตน/เงินเดือน/และบอกเลิกจ้างทันทีโดยนำเอกสารไปแจ้งและต้องเข้าไปเคีร์ยและรับใช้หนี้ถึงจะจบ. ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นความผิดของพนักงานทั้งหมดเงินประกันไม่ออกไม่เป็นไรแต่เงินเดือนไม่ออกนี่นับว่าเลวร้ายสุดๆ
โดยคุณ [email protected] 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

ไหนๆก็เข้ามาอ่านและ ผมก็ถามสักข้อครับ ถ้านายจ้างบอกเลิกจ้างอ้างว่าเรามีความผิดคือ ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดความรับผิดชอบหรือขับรถบริษัทไปเฉียวชนกับขอบปูนในบริษัทซึ่งเป็นงานประจำที่ต้องขับถ้าเป็นข้อกล่าวหาของบริษัทแบบนี้เราจะต้องเซ็นรับทราบหรือไม่หรือถ้าไม่เซ็นรับทราบจะได้หรือไม่ครับ ช่วยตอบผมด้วยครับผมอยากรู้ครับ(เขายึดบัตรเวลาของเราไปแล้วไม่สามารถเข้าทำงานได้)
โดยคุณ [email protected] 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก