กม.สคบ.ออกใหม่คุ้มครองผู้บริโภค|กม.สคบ.ออกใหม่คุ้มครองผู้บริโภค

กม.สคบ.ออกใหม่คุ้มครองผู้บริโภค

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กม.สคบ.ออกใหม่คุ้มครองผู้บริโภค

ทนายคลายทุกข์ขอนำร่างกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่มีความปลอดภัยที่ผ่าน

บทความวันที่ 4 ธ.ค. 2550, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1529 ครั้ง


'ทิพาวดี' โบ้ยขอตายดาบหน้า กกร

กม.สคบ.ออกใหม่คุ้มครองผู้บริโภค

?

??????????? ทนายคลายทุกข์ขอนำร่างกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่มีความปลอดภัยที่ผ่าน สนช.ไปแล้ว วาระที่ 1? ซึ่งคาดว่าจะใช้ได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2551? มีสาระสำคัญที่น่าสนใจคือ

?

??????????? 1.? ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากเจ้าของสินค้า? หรือจากผู้บริโภค??? ถ้าได้รับความเสียหายจากความไม่ปลอดภัยของสินค้า? เช่น? ซื้อรถยนต์หรือยางรถยนต์? และอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหรือซื้ออาหาร? และมีสิ่งเจือปนในอาหาร หรือซื้อเครื่องสำอางค์และมีปัญหา? ทำให้ใบหน้าเสีย? เจ้าของสินค้าหรือผู้นำเข้าจะต้องรับผิดชอบในความเสียหาย? ทั้งทางร่างกายและด้านจิตใจ (เสียความรู้สึก)

?

??????????? 2.? ต่อไปในอนาคตจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายใหม่กับเจ้าของสินค้าเป็นจำนวนมาก

?

??????????? 3.? กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่จะเอาผิดกับเจ้าของสินค้าและผู้นำเข้าสินค้า? จะต้องมีสำนึกและต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น? มิฉะนั้น จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้บริโภคในจำนวนเงินที่สูง? เนื่องจากกฎหมายเปิดช่องให้เรียกค่าเสียหายได้โดยไม่จำกัดจำนวน

??????????? รายละเอียดของเนื้อข่าวมีดังนี้

???????????

'ทิพาวดี' โบ้ยขอตายดาบหน้า กกร.โวยแก้กฎหมายอุ้มผู้บริโภค? ฟ้องผู้ผลิตเกินเหตุ [4.. 50 - 04:07]

?

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (...) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.)ที่ประกอบด้วย ส..., สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ว่า กกร. ขอแสดงจุดยืนคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหาย ที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ...ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กำลังจะพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในเดือน ธ.ค. นี้ และคาดว่าจะสามารถประกาศ เป็นกฎหมายบังคับใช้ได้ในเดือน ก.พ. 2551

?

?ผมขอยืนยันว่า หากกฎหมายฉบับนี้มีผล บังคับใช้อย่างเป็นทางการ จะทำให้เกิดการประกาศย้ายฐานการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งที่เป็นกิจการขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ทยอยย้ายฐานการลงทุนออกไปจากประเทศไทย ซึ่งจะนำมาถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจหลายล้านล้านบาท?

?

และยังทำให้นักลงทุนรายใหม่ตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทย อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย เพื่อหนีปัญหาการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นต่อนักลงทุน?

?

นายสันติกล่าวว่า ในขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ 1 ของ สนช. เมื่อเร็วๆนี้ กกร.ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อคัดค้าน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ? ในที่สุด สนช.ก็ลงมติให้ผ่านความเห็นชอบในวาระที่ 1

?

แม้ว่า กกร. จะเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระหรือองค์กรกลางขึ้นมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้าที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต โดย กกร.เสนอพร้อมออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับการทำงานขององค์กรกลางดังกล่าว และพร้อมให้ภาครัฐแต่งตั้งคณะทำงานที่เป็นคนกลางขึ้นมา ทั้งนักวิชาการ ข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบ?

?

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสาระสำคัญคือ ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้าต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค อันเนื่องมาจากความไม่ปลอดภัยของสินค้านั้นๆ โดยความเสียหายนั้นจะขยายความครอบคลุมถึงความเสียหายด้านจิตใจด้วย?

?

?กกร. เห็นด้วยในหลักการของร่างกฎหมาย ที่ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้นและเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกในการผลิตสินค้าของผู้ ประกอบการ แต่เนื้อหาก็ยังมีปัญหาในรายละเอียด ที่สำคัญคือจะมีการเปิดช่องให้ผู้บริโภคฟ้องร้องผู้ผลิตสินค้าได้ง่ายมาก จะเกิดเป็นคดีฟ้องร้องเป็นจำนวนมากและเกินความจำเป็น?

?

อาจมีทั้งผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่งสินค้าประเภทเดียวกันสร้างเรื่องขึ้นมาฟ้องร้องสินค้าคู่แข่ง และเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะจะกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างรุนแรง รวมถึงการย้ายฐานการลงทุนหนีปัญหา?

?

นายสันติกล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากความคิดของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่นำต้นแบบมาจากกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมาจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรป (อียู) แต่เมื่อนำมาปรับปรุงใช้ในไทย กลับตัดเนื้อหาและหลักการที่สำคัญออกไปโดยเฉพาะประเด็น

?

แม้จะเปิดช่องให้ผู้บริโภคฟ้องร้องผู้ผลิตสินค้าได้ กลับปล่อยให้เกิดการฟ้องร้องได้ในทันทีที่ต้องการ ฟ้องเรียกค่าเสียหายต่างจากเนื้อหาของสหรัฐฯและอียู ที่กำหนดว่า หากผู้บริโภคต้องการฟ้องร้องผู้ผลิตสินค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้องผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากองค์กรกลาง ที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นมาก่อน เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตสินค้า?

?

?ในต่างประเทศมีองค์กรกลางขึ้นมา ไม่ได้ หมายความว่าเป็นการสกัดกั้นการห้ามฟ้องร้องของผู้บริโภค เพราะหากตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าผู้ผลิตมีความผิดจริง องค์กรกลางนั้นๆก็จะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยเรียกค่าเสียหายให้ผู้บริโภคได้หากผู้บริโภคยอมรับ ก็ไม่ต้องไปต่อสู้กันในชั้นศาล?

?

นายสันติกล่าวว่า เป็นห่วงว่า หากไม่มีองค์กรกลาง อาจเกิดกรณีเช่น ผู้บริโภคขับรถยนต์ แล้วไปคว่ำ ก็ไปยื่นฟ้องบริษัทรถยนต์นั้นๆเพื่อเรียกค่าเสียหายได้ทันที ต่างจากสหรัฐฯและอียู ที่องค์กรกลางจะเข้าไปพิสูจน์ว่าผู้ขับรถเมา สุรา หรือขาดสติ หรือสภาพเครื่องยนต์สึกหรอ หรือสภาพถนน สภาพอากาศในขณะนั้น เป็นต้นเหตุให้รถยนต์คว่ำ

?

?แต่ของไทยจะเปิดช่องให้ ผู้ใช้รถยนต์ฟ้องร้องได้ทันที ซึ่งรวมทั้งผู้บริโภคต่างชาติก็สามารถเข้ามาฟ้องร้องผู้ผลิตในไทยได้ในทุกสินค้า โดยสินค้าที่เสี่ยงเป็นอันดับต้นๆที่จะเกิดการฟ้องร้องคือ อาหารทุกชนิด สินค้าเกษตร ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมียอดส่งออก รวมกันปีละกว่า 4 ล้านล้านบาท

?

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างกฎหมายดังกล่าว คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นผู้ดูแล สคบ. และเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้ระบุต่อ กกร. ว่า หาก กกร. อยากแก้ไขเนื้อหาที่ต้องการ หรือมีการจัดตั้งองค์กรกลางข้างต้น ก็รอไปแก้ไขในรัฐบาลชุดใหม่ เพราะขณะนี้คงต้องปล่อยให้ผ่านวาระ 2 และ 3 ไปก่อน แล้วค่อยไปตายเอาดาบหน้า นอกจากนี้คุณหญิงทิพาวดีมักจะมาสายในการประชุมกรรมาธิการร่วมกับ กกร. ในเรื่องนี้ และมักจะขอตัวกลับก่อนการประชุมยุติลงเสมอ.

?

ขอขอบคุณ www.thairath.co.th ?ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

?

?

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5

ดิฉันได้ซ้อสินค้าเป็นเครื่องตัดหญ้า ราค 8พันกว่าบาทกับร้านค้าที่เรารู้โดยซื้อเป็นเงินผ่อน เดือนละ 780 บาท จำนวน10 เดือน ไม่ได้มีสัญญาเซ่าซื้อและเซ็นต์เอกสารแต่อย่างไร เพราะรู้จักกัน ได้จ่ายค่าสินค้ามาตลอด กับพนักงานเก็บเงิน โดยเขาจะมาเก็บที่ทำงานเพราะเราไม่มีเวลาไปจ่ายเองที่ร้าน แต่ต่อมาภายหลังได้มีพนักงานที่มาเก็บเงินคนใหม่ มาเก็บเงินจนดิฉันจ่ายหมดไปแล้วพร้อมดอกเบี้ย ตั้งแต่ มิย.52  จนบัดนี้ กค.53แล้วทางร้านค้ากำลังติดต่อมาบอกว่าค้างชำระค่าสอนค้าพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมด แต่เราจ่ายหมดไปแล้วตั้งแต่กลางปี 52 .ตั้งแต้กลางปี 52มาไม่ได้รับการติดต่อมาว่าเราค้างนะเลย เวลาผ่านไปปีกว่าพึ่งมาติดต่อเราทั้งๆ ที่เราทำงานที่เดิม อยู่ที่เดิมตลอด แล้งทางร้านให้เรารับผิดชอบจ่ายค่าสินค้าที่ค้าง 6พันกว่าบาท  เขาให้เอาใบเสร็จไปยืนยัน แต่ดิฉันไม่สามารถที่จะเอาไปยืนยันได้เนื่องจากย้ายบ้านแล้วเอาเอกสารที่ไม่ใช้ทิ้งไปแล้ว จึงอยากขอคำแนะนำว่าควรทำอย่างไรดีคะ

โดยคุณ ขอความกระจ่าง 24 ก.ค. 2553, 13:26

ความคิดเห็นที่ 4

ช่วยลงไปตรวจสอบ และบังคับให้เจ้าของโครงการบ้านจัดสรรหมู่บ้านสุภาวิณี ปิ่นเกล้า ให้เอาจริง เอาจังกับแรงงานต่างด้าวซะที มีเดินกันไปมาน่าเวียนหัว โดยเฉพาะโซน C มีการปีนกำแพงเข้าออกทุกวัน เคยจัดการอะไรบ้างไหม ลูกบ้านถูกโจรกรรมจนน่าใจหาย โครงการไม่รับผิดชอบ เอาแต่ได้ขายแล้วก็แล้วกัน ไม่คิดขยายผลใดๆๆ น่าเบื่อ อ้างโอนบ้านแล้ว ต้องรับผิดชอบเอง ทั้งๆ ที่ ลูกบ้านต้องจ่ายค่าส่วนกลางล่วงหน้า 3 ปี รวมถึงค่ายามด้วย

โดยคุณ ลุกบ้านสุภาวิณี 15 พ.ย. 2552, 13:44

ความคิดเห็นที่ 3

พระคุณพ่อของแผ่นดินเหลือล้นสิ้นจะพรรณา

โดยคุณ ม้าสาอ๋าม 29 ต.ค. 2552, 08:42

ความคิดเห็นที่ 2

หน้าจะมีรายระเอียดเพิ่มขึ้น
โดยคุณ สาวนา เสนารายณ์ 30 พ.ย. 542, 00:00

ความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณทีมงานมากเลยที่นำเสนอสิ่งดีๆแต่เสียดายนิดหนึ่งตรงที่ว่าระยะเวลาการคุ้มครองผู้บริโภคมีระยะเวลาหรือไม่เพราะผู้ประกอบการต้องเอาระยะเวลามาต่อรองในสัญญาแน่นอน
โดยคุณ อุทัย (บางพึ่ง) 30 พ.ย. 542, 00:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก