การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม|การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

โจทก์ก็ต้องบรรยายฟ้องมาให้เห็นด้วยว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือ

บทความวันที่ 28 ก.พ. 2560, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10410 ครั้ง


 การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม

 
          โจทก์ก็ต้องบรรยายฟ้องมาให้เห็นด้วยว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้นด้วย เพียงแต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วม 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2555 
            แม้โจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อให้ใช้ค่าทดแทน หากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก) ได้แต่ตามมาตรา 57(3)(ข) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ เมื่อจำเลยร่วมเป็นกองทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจำเลยที่เป็นผู้จัดการกองทุนจำเลยร่วม และโจทก์เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนจำเลยร่วม ทั้งตามคำฟ้องระบุว่าโจทก์ได้มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนจำเลยร่วม และขอให้ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี โดยไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่ คำสั่งของศาลชั้น้นที่เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีจึงชอบด้วย มาตรา 57(3) (ข)
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2550
             ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวและขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอให้เพิ่มพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 2 ก็เป็นการแสดงความประสงค์ที่จะฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยในคดีเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลแรงงานกลางชอบที่จะเรียกพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงเป็นที่สุดแล้ว พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

เรียนสอบถามท่านครับ การออกหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมต้องใช้หมายประเภทอะไรครับ ขอบคุณครับ
โดยคุณ เอกชัย 26 ก.ค. 2562, 07:40

ความคิดเห็นที่ 1

อยากสอบถาม ท่านสักหน่อยค่ะ พอดีดิฉันได้เป็นทนายยื่นฟ้อง จำเลยในข้อหา ผิดสัญญากู้ยืม บังคับจำนอง แต่ในวันยื่ีนฟ้องเพียงผู้กู้เป็นจำเลยเพียงคนเดียว  ดิฉันไม่ได้ตรวจสอบสัญญาจำนองว่า ผู้กู้ได้นำที่ดินของบุคคลอื่นมาจดจำนองประกันการชำระหนี้ของตน 

     อยากสอบถามท่านว่า โจทก์สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกเจ้าของที่ดินที่นำที่ดินมาจดทะเบียนประกันกู้ยืมของผู้กู้ได้ไหมค่ะ คดีนี้ศาลนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 30 พ.ค.62   

      

             ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ

โดยคุณ รัชตา 23 พ.ค. 2562, 09:19

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ได้ครับตามปวิพ.57(3)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 4 มิ.ย. 2562, 11:34

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก