การดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคล|การดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคล

การดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคล

ปัจจุบันบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลถูกดำเนินคดีอาญาเป็นจำนวนมาก เช่น การสำแดงเท็จในการนำเข้ารถเมล์จากต่างประเทศต่อกรมศุลกากร

บทความวันที่ 22 ธ.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 21051 ครั้ง


 การดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคล

 
ปัจจุบันบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลถูกดำเนินคดีอาญาเป็นจำนวนมาก เช่น การสำแดงเท็จในการนำเข้ารถเมล์จากต่างประเทศต่อกรมศุลกากร การหลบเลี่ยงภาษีตามกฎหมายสรรพากร การปลอมใบกำกับภาษีและใช้ใบกำกับภาษีปลอม การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสถานบันเทิง การขายยาหรืออาหารปลอม การออกเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในนามบริษัท การประเมินราคาทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงินอันเป็นเท็จ และการกระทำความผิดในตลาดหลักทรัพย์ การมอบหมายให้บุคคลอื่นไปทวงหนี้หรือว่าจ้างบริษัทรับจ้างทวงหนี้ไปทวงหนี้หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นไปฟ้องคดีต่อศาลอันเป็นการฟ้องเท็จทางอาญา
มีหลายท่านสอบถามมาว่าในกรณีนิติบุคคลถูกดำเนินคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน และในชั้นศาลตามกฎหมายจะต้องดำเนินการอย่างไร ในเมื่อนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นมาไม่มีตัวตนจริง และไม่สามารถนำนิติบุคคลไปจำคุกได้ และไม่สามารถควบคุมตัวได้ กฎหมายจะมีวิธีการบังคับนิติบุคคลอย่างไร เพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
มาตรา 7  ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อยชั่วคราว ขังหรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย
จากกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้การดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคลต้องดำเนินคดีกับผู้แทนนิติบุคคล โดยให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกไปยังผู้แทนของนิติบุคคล แต่ห้ามมิให้ควบคุมตัวผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคลเท่านั้น )คำว่าผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง หมายถึงผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนและมีผลผูกพันตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นถ้าจะพิจาณาว่าใครเป็นผู้แทนก็ต้องไปดูในหนังสือรับรองที่จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนคนที่ไม่มีชื่อหรือมีชื่อเป็นกรรมการแต่มีข้อจำกัดอำนาจกรรมการ กล่าวคือ ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บุคคลเหล่านั้นไม่ถือว่าเป็นผู้แทน จึงไม่ถูกดำเนินคดีอาญา หากว่าบริษัทถูกดำเนินคดีอาญาตัวเองก็ไม่ต้องถูกดำเนินคดีไปด้วย ดังนั้น ใครก็ตามถ้าจะเป็นผู้แทนนิติบุคคลก็ต้องคิดให้ดีก่อนที่จะยอมให้คนอื่นเอาชื่อของตัวเองไปเป็นกรรมการบริษัท ถ้าเป็นกิจการที่ผิดกฎหมายหรือสุ่มเสี่ยง ก็มีโอกาสติดคุกโดยไม่จำเป็นได้
เมื่อพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้แทนของนิติบุคคลแล้วไม่ยอมมาตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ออกหมายจับผู้แทนของนิติบุคคลได้ แต่จะควบคุมตัวไม่ได้เว้นแต่ผู้แทนนิติบุคคลนั้นถูกดำเนินคดีอาญาอีกคนหนึ่ง (เป็นผู้ต้องหาคนที่สอง) ผลตามกฎหมาย โดยสภาพของนิติบุคคล คดีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดเพียงคนเดียว จะไม่มีการจับกุมกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แต่เนื่องจากกรรมการของนิติบุคคลเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลอันก่อให้เกิดความผิดอาญาขึ้นนั้น ถือว่าเป็นกรรมการเป็นตัวการร่วมด้วย ในทางปฏิบัติพนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหานิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาที่ 1 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นผู้ต้องหาที่ 2 การแจ้งข้อหาให้กับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลถือว่าแจ้งข้อหาชอบแล้ว แต่ถ้าแจ้งข้อหากับกรรมการที่ไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง 
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้คงให้ใช้ วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไปพบแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้ รับรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 78
 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก