ไฟไหม้บ้านต้นเพลิงต้องรับผิด|ไฟไหม้บ้านต้นเพลิงต้องรับผิด

ไฟไหม้บ้านต้นเพลิงต้องรับผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ไฟไหม้บ้านต้นเพลิงต้องรับผิด

ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวลมแรง ทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชนได้ง่าย เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ก็เกิดคำถามว่าใครต้องรับผิดชอบ

บทความวันที่ 15 ธ.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12610 ครั้ง


 ไฟไหม้บ้านต้นเพลิงต้องรับผิด

 

ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวลมแรง ทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชนได้ง่าย เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ก็เกิดคำถามว่าใครต้องรับผิดชอบ บ้านต้นเพลิงต้องรับผิดชอบหรือไม่  บ้านที่ถูกไฟไหม้จะเริ่มต้นคดีเรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง ก่อนหน้านี้เคยมีคดีเพลิงไหม้และศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้แล้วว่า บ้านต้นเพลิงซึ่งครอบครองกระแสไฟฟ้าต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าลัดวงจร จึงทำให้ผู้เสียหายไม่ยุ่งยากในการฟ้องร้องบ้านต้นเพลิง รายละเอียดปรากฎตามคำพิพากษาฎีกาด้านล่างนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2538
กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพเมื่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นที่บ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งกระแสไฟฟ้าดังกล่าวและต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา437วรรคสองจำเลยทั้งสองนำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสองดูแลรักษาสายไฟฟ้าภายในบ้านให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอและเพิ่งเปลี่ยนสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้านของจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อและไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบดังนี้ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงไม่ได้เลยว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
จำเลยทั้งสองฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยใน อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันละเมิดคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 ไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองมีหรือไม่เพียงใด จำเลยทั้งสองไม่รับรองขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกนางสาวฉ. ทายาท ของจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน252,818.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ด ครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2530 เพลิงไหม้ชั้นบนของ บ้านจำเลยทั้งสองแล้ว เพลิงลุกลามไปไหม้ชั้นบนของบ้านโจทก์ทั้งสองเสียหาย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า เพลิงไหม้เกิดจากกระแส ไฟฟ้าลัดวงจรที่บ้านของจำเลยทั้งสองแล้ว เพลิงลุกลามไหม้บ้านของโจทก์ทั้งสองเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องของโจทก์ทั้งสอง ดังกล่าวคงปฏิเสธเพียงว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากกระแส ไฟฟ้าลัดวงจรนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยทั้งสองให้การยอมรับเช่นนั้น ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าว โจทก์ทั้งสองไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานเพื่อให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวอีก จึงมีประเด็นเพียงว่าเพลิงไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่บ้านของจำเลยทั้งสองและเพลิงลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ทั้งสองนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นที่จำเลยฎีกาอ้างมาด้วยว่าสายไฟฟ้าและครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้คงวินิจฉัย เฉพาะ ประเด็นความเสียหายของโจทก์ทั้งสองนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่เท่านั้น เห็นว่ากระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตราย ได้โดยสภาพเมื่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นที่บ้านของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่ง กระแส ไฟฟ้าดังกล่าว จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ ได้ว่าความเสียหายนั้น เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437วรรคสอง เมื่อมีประเด็นเพียงว่าความเสียหายของโจทก์ทั้งสองนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่เท่านั้น ภาระการพิสูจน์ในประเด็น ข้อนี้จึงตกแก่จำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองนำสืบเพียงว่า จำเลยทั้งสองดูแลรักษาสายไฟฟ้าภายในบ้านให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย อยู่เสมอและเพิ่งเปลี่ยนสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้นภายในบ้านของจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้เครื่องไฟฟ้าเลย ทั้งสองไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้เกิดเพลิงไหม้และไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ไม่ทราบเท่านั้น ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองดังกล่าวแสดงไม่ได้เลยว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นด้วยเหตุอย่างไรอันจะบ่งชี้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยทั้ง สองจึงต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกา จำเลยทั้งสอง ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 420  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 437  บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 7

รบกวนด้วยครับ


ไฟจากไร่อ้อยข้างๆที่อยู่ติด ลุกลามมาโดนสิ่งปลูกสร้างของผมเสียหาย

แต่เจ้าของไร่อ้อยบอกไม่ได้เป็นคนจุดไฟและไม่รู้ว่าใครจุด

ผมจะสามารถเรียกค่าเสียหายกับเจ้าของไร่อ้อยได้มั้ยครับ

และเจ้าของไร่อ้อยจะเข้าข่ายประมาทเลินเล่อ ไม่ดูแลอ้อยของตัวเอง ทำให้เกิดไฟไหม้ หรือป่าวครับ


ขอบคุณครับ

โดยคุณ วันธรัฐ 8 ม.ค. 2563, 20:47

ความคิดเห็นที่ 6

เมื่อคืนไฟไหม้ที่บ้านของคุณยาย บ้านลักษณะเป็นบ้าน 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นปูนชั้นบนเป็นไม้ค่ะ บ้านตั้งอยู่ติดกับบ้านต้นเพลิงซึ่งบ้านต้นเพลิงนั้นไม่มีคนอยู่อาศัยแต่เจ้าของก็นำรถมาจอดไว้ภายในบ้านเป็นครั้งคราว เหตุเกิดขึ้นประมาณตี 1 เป็นเวลาที่ทุกคนในบ้านหลับอยู่กว่าจะรู้ตัวว่าไฟไหม้ ไฟมันก็โหมขึ้นมาชั้นบนที่เป็นไม้เกินกม ซึ่งจากเหตุที่เกิดขึ้นทำให้เพลิงมันลุกลามและได้ไหม้ทั้งหลังจนหมด เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 62 เหตุณ์การที่เกิดขึ้นทางบ้านต้องทำอย่างไรค่ะ คือไปต่อไม่ถูกค่ะ

โดยคุณ พรพรรณ เขียวอ่อน 27 ต.ค. 2562, 13:12

ความคิดเห็นที่ 5

เป็นบ้านตรงเพลิงแล้วข้างบ้านอีก2หลังได้รับความเสียหายแต่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐแล้ว แต่เขาก็ยังมาเรียกร้องค่าเสียหายอีก มีวิธีไหนแนะนำบ้างคะเพราะทรัพย์สินก็ไม่เหลือสักอย่าง
โดยคุณ พนิดา 12 ต.ค. 2562, 08:42

ความคิดเห็นที่ 4

เจ้าของสวนข้างบ้านเผาสวนแล้วคุมไฟไม่ได้ทำให้ไฟมาไหม้บ้านข้างๆได้รับความเสียหายรู้ชัดเจนว่าไฟมาจากสวนข้างๆแต่ไม่เห็นมือคนเผาและเจ้าของสวาปฏิเสธว่าไม่ใช่คาเผาเราจะเอาผิดกับใครคะ?

โดยคุณ สมาพร ยอดปนันท์ 16 ก.ค. 2562, 01:53

ตอบความคิดเห็นที่ 4

ก็ต้องดูต้นเพลิงใครเป็นก่อขึ้น สามารถเอาผิดได้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 9 ส.ค. 2562, 11:48

ความคิดเห็นที่ 3

เกิดเหตุไฟไหม้3หลัง วันนั้นเกิดฟ้าฝ่าที่บ้านต้นเพลิง ตอนเกิดเหตุมีพายุพัดกระหน่ำหลายหมู่บ้านทำให้ไฟดับ อยากทราบว่าบ้ายต้นเพลิงต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใดครับ

โดยคุณ วราเทพ 24 มิ.ย. 2562, 22:29

ความคิดเห็นที่ 2

อยากทราบว่าหายเกิดไฟไหม้สาเหตุจากไฟฟ้ารัดวงจรแล้วบ้านเราเกิดความเสียหายใครจะรับผิดชอบคะ(เนื่องด้วยบ้านอยู่ติดกับบ้านจ้นเพลิงค่ะ)เพราะเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแจ้งว่าจะรับผิดชอบเฉพราะบ้านต้นเพลิงเนื่องจากบ้านเราไม่มีคนอยู่อาศัย(คือไม่ได้ปล่อยเช่าและไม่มีคนอาศัยอยู่เลยค่ะ)แต่บ้านเราเสียหายจากเหตุการนี้ ไม่ทราบว่าจะเรียกร้องค่าเสียหาที่เกิดขึ้นได้จากใครคะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ปูนิ่ม 15 ก.พ. 2561, 13:10

ตอบความคิดเห็นที่ 2

หากมีหลักฐานยืนยันว่าบ้านต้นเพลิงประมาท ไม่ดูแลสภาพสายไฟภายในบ้านให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยดี ทำให้เกิดเพลิงไหม้ และทำให้บ้านของท่านเสียหาย ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบ้านต้นเพลิงได้เลยครับ แต่หากไฟไหม้ดังกล่าวเกิดจากเหตุสุดวิสัย ท่านก็ไม่สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 4 มี.ค. 2561, 14:07

ความคิดเห็นที่ 1

รบกวนสอบถามค่ะ

แฟนดิฉันได้ไปจุดไฟเพื่อเผาใบอ้อยแต่ลมแรงเรยเกิดการลุกลามของไฟและได้เข้าไปในแปลงข้างเคียงแต่เขาก็ตัดอ้อยไปแล้วมีอ้อยแตกหน่อขึ้นมาบ้างเล็กน้อย และเขาได้เรียกดิฉันไปคุยเพื่อเรียกค่าเสียหาย2000 บาท ดิฉันก็ได้ให้ไปแต่พอผ่านไป3วัน เขาไปแจ้งความเอาค่าเสียหาย ดิฉันโดนหมายเรียก ดิฉันต้องทำอย่างไรค่ะ

โดยคุณ ชุติมา 20 ม.ค. 2561, 10:20

ตอบความคิดเห็นที่ 1

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านนำหมายเรียกดังกล่าวเข้าพบทนายความเพื่อประเมินรูปคดี โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 ก.พ. 2561, 11:17

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก