เทคนิคการสอบสวนพนักงานทุจริต|เทคนิคการสอบสวนพนักงานทุจริต

เทคนิคการสอบสวนพนักงานทุจริต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เทคนิคการสอบสวนพนักงานทุจริต

ปัจจุบันนายจ้างต้องผจญกับปัญหาการทุจริตภายในองค์กรเป็นอย่างมาก

บทความวันที่ 3 พ.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7797 ครั้ง


 เทคนิคการสอบสวนพนักงานทุจริต

 
ปัจจุบันนายจ้างต้องผจญกับปัญหาการทุจริตภายในองค์กรเป็นอย่างมาก และนับวันก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง ไม่ยึดพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 อยากมี อยากได้เกินฐานะ ก่อหนี้ก่อสินเกินตัว ทำให้หน้ามึด ทรยศต่อนายจ้างตนเองโดยการทุจริต ไม่ซื่อสัตย์ต่อองค์กร แต่การที่จะสั่งพักงานลูกจ้างหรือไล่ออกจากงานนั้น จะต้องได้ความว่า มีมูล มีข้อเท็จจริง มีพยานหลักฐานเพียงพอตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ ดังนั้น การสอบสวนเพื่อเอาผิดพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนจะต้องมีทักษะ ประสบการณ์ สัญชาตญาณ ที่เหนือกว่าลูกจ้าง จึงจะได้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน มั่นคงเพียงพอ ในการที่จะลงโทษลูกจ้างได้ ดังนั้น ผมในฐานะที่ทำคดีแรงงานมาพอสมควรและเป็นเวลานาน ขอให้เทคนิคพิเศษในการสอบสวนลูกจ้างดังนี้
1.ควรมีการวางแผนเกี่ยวกับการสอบสวน รวมทั้งกำหนดเป้าหมายหรือประเด็นต่างๆ ที่ต้องการข้อมูลหรือหลักฐานจากลูกจ้างก่อนที่จะมีการสอบสวน ไม่ใช่สอบสวนไปเรื่อยเปื่อย โอกาสในการจะได้ข้อมูลจากลูกจ้างน้อยมาก เพราะการคดโกง เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว คิด ตกลง กระทำในสิ่งที่ไม่ดีต่อนายจ้าง วางแผนเกี่ยวกับทางหนีทีไล่ไว้เป็นอย่างดีตามนิสัยคนโกง ดังนั้น ผู้ทำหน้าที่สอบสวนจะต้องมีการวางแผนก่อนสอบสวน
2.รู้เขา รู้เรา  พนักงานสอบสวนความผิดทางวินัยจะต้องรวบรวมข้อมูลของลูกจ้างที่จะถูกสอบสวนให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้เกี่ยวกับเรื่องสอบสวน ทั้งหน้าที่การงาน พฤติกรรมในการกระทำความผิด บุคคลที่เกี่ยวข้อง อุปนิสัยและประวัติอื่นๆ ถ้ามีการรวบรวมข้อมูลไว้อย่างเป็นระเบียบ ก็จะง่ายในการซักถามและตรงประเด็น และได้ความจริงจากผู้ถูกซักถาม
3.การใช้ภาษาในการพูดคุย  ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ภาษากฎหมายหรือศัพท์ชั้นสูง การพูดคุยต้องมีลักษณะเป็นกันเอง ไม่ต้องมีพิธีรีตรองมาก โอกาสในการจะได้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานจากลูกจ้างมีมากกว่า การมีพิธีรีตรองซึ่งลูกจ้างมักจะระมัดระวังตัว
4.ไม่ควรใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นกิริยาท่าทาง หรือคำพูดในระหว่างพูดคุยกับลูกจ้าง เพราะจะทำให้ลูกจ้างเกิดความกลัวไม่กล้าที่จะตอบคำถามหรือให้ความจริง เพราะกลัวเดือดร้อน ทำให้เสียโอกาสในการสอบสวน
5.การให้ข้อคิดกับลูกจ้าง กับประโยชน์ในการให้ความร่วมมือกับนายจ้างว่าตัวเองจะได้ประโยชน์ มีความดีความชอบ มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างเห็นใจนายจ้างและลูกจ้างก็ได้ประโยชน์พร้อมไปกับนายจ้างด้วย
6.การสร้างบรรยากาศที่ดีในการสอบสวน บรรยากาศดีทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น การใช้คำพูดหรือการทักทายต้องทำ 2 อย่างคือ
1.ให้เกียรติ
2.เคารพ
ไม่สอดแทรก ขัดจังหวะในขณะที่ลูกจ้างยังพูดไม่จบ สรุปง่ายๆ ต้องมีมารยาทในการพูดคุยถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
7.การไม่แบ่งฝ่ายแบ่งพวก  การใช้คำพูดในระหว่างสอบสวนลูกจ้าง ไม่ควรใช้คำพูดในทำนองว่า พวกคุณ พวกผม ควรใช้คำว่า พวกเรา หมายถึง พวกเดียวกันต้องช่วยเหลือกันเพื่อองค์กรที่เราอยู่อาศัยเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ของพวกเราให้ยั่งยืนต่อไป อย่าใช้คำถามที่เป็นการแบ่งสี แบ่งพวก หรือตั้งกำแพง โอกาสที่จะได้รับความร่วมมือจากลูกจ้างมีน้อยมากครับ
8.ความสามารถในการอ่านใจคน  นักสอบสวนที่ดีต้องมีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของคู่สนทนา เช่น สายตากลอกไปกลอกมา ระส่ำระส่าย มองซ้ายมองขวา แสดงว่า หวาดกลัว หาทางออกไม่ได้ กัดเล็บ ดึงผม แสดงว่าเครียดมาก หรือไม่มองหน้า ไม่สบสายตา แสดงว่าทำผิดจริง มีอะไรปิดบังอยู่จึงไม่กล้าสบตา ไม่ตอบคำถามที่ถาม แต่กลับย้อนถามกลับมา แสดงให้เห็นว่าต้องการปกปิดความจริง ไม่ต้องการตอบคำถาม อึ้งหรือนิ่งไปนานกว่าจะตอบคำถามแสดงว่า กำลังคิดที่จะโกงอยู่ หรือสีหน้าเปลี่ยนหรือสีหน้าซีดแสดงว่ากลัว ถ้าท่านอ่านใจคนหรือดูพฤติกรรมของคู่สนทนาได้ ท่านก็จะจับทางได้และได้ข้อมูลความจริงจากลูกจ้างได้
ตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
 หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 583  ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

คลูกจ้างที่มีหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง ของเกี่ยวกับพัสดุต่างๆของหน่วยงานนั้น หาผลประโยชน์ร่วมกับผู้อื่นบุคคลภายนอกนี้มีความผิดมั้ยคะ

โดยคุณ นันทพัทธ์ 30 ต.ค. 2562, 20:04

ตอบความคิดเห็นที่ 1

รบกวนขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ย. 2562, 09:34

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก