การคุ้มครองชื่อทางการค้า|การคุ้มครองชื่อทางการค้า

การคุ้มครองชื่อทางการค้า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การคุ้มครองชื่อทางการค้า

ปัจจุบันมีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาหลายคนนิยมเลียนแบบชื่อทางการค้าของบุคคลอื่น

บทความวันที่ 29 ก.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 6378 ครั้ง


 การคุ้มครองชื่อทางการค้า

ปัจจุบันมีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาหลายคนนิยมเลียนแบบชื่อทางการค้าของบุคคลอื่น ทั้งที่มีการจดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนต่อทางราชการ บางรายชื่อเหมือนกันทุกประการ บางรายชื่อคล้ายกับนิติบุคคลอื่น มีทั้งโดยสุจริตและไม่สุจริต ทำให้มีคดีขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวอย่างคดีที่ศาลเคยตัดสินเกี่ยวกับการละเมิดใช้ชื่อทางการค้าเหมือนหรือเลียบแบบชื่อทางการค้าของบุคคลอื่นมานำเสนอในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการตั้งชื่อหรือใช้ชื่อทางการค้า

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2538
               จำเลยตั้งชื่อบริษัทจำเลยตรงกับคำในเครื่องหมายการค้าตราม้าลายของโจทก์และของว. กรรมการของจำเลยไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการที่จะใช้นามหรือชื่ออันชอบที่จะใช้ได้หรือทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการที่ผู้อื่นมาใช้นามหรือชื่อเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้ อันจะทำให้โจทก์ มีสิทธิเรียกให้จำเลยระงับความเสียหายและร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามมิให้จำเลยใช้นามหรือชื่อนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 โจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยใช้ชื่อบริษัทตราม้าลาย จำกัด
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2545
             โจทก์ได้ใช้คำว่า "ORIENTAL" และ "โอเรียนเต็ล" เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ และชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์จนมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมานานแล้ว โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการไว้ในจำพวกที่ 42 สำหรับการให้บริการธุรกิจโรงแรมและโมเต็ลโดยมิได้จดทะเบียนในจำพวกธุรกิจบ้านจัดสรรและอาคารชุดไว้ ต่อมาจำเลยได้ใช้คำว่า "ORIENTAL SUITE" และ "โอเรียนเต็ลสวีท" เป็นชื่อโครงการอาคารชุดของจำเลย ธุรกิจอาคารชุดของจำเลยจึงมิใช่จำพวกสินค้าหรือบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคแรก อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้ใช้คำว่า "ORIENTAL" เป็นชื่อทางการค้าและชื่อโรงแรมในการประกอบกิจการโรงแรมในระดับ 5 ดาว จนมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากสาธารณชนทั่วไป โจทก์จึงเป็นเจ้าของและมีสิทธิในชื่อทางการค้า คำว่า "ORIENTAL" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลอื่นที่นำชื่อทางการค้าของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตจนทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นกิจการเดียวกับโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อต้องเสื่อมเสียประโยชน์
            การที่จำเลยนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์มาใช้เป็นชื่อในโครงการอาคารชุดของจำเลยซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกิจการโรงแรมของโจทก์เพราะเป็นการให้บริการในเรื่องห้องพักอาศัยเช่นเดียวกัน ประกอบกับโครงการอาคารชุดของจำเลยกับโรงแรมของโจทก์ต่างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะอยู่คนละฝั่งแต่ก็เยื้องกันไม่มากนับว่าอยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดต่อสาธารณชนว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการแอบอ้างเอาชื่อเสียงจากชื่อทางการค้าของโจทก์ไปหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2507
           ความรับผิดของตัวการในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนกระทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ตัวการตั้งตัวแทนให้ไปทำการติดต่อหรือมีความสัมพันธ์กับบุคคลที่ 3
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นตัวการร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกถ่านของจำเลยที่2 ได้ทำการติดต่อหรือมีความสัมพันธ์กับบุคคลที่ 3 อันจะเข้าลักษณะเป็นตัวแทนแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตัวแทนตามที่โจทก์ฟ้อง
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2501
            จำเลยใช้นามเมืองทองเป็นชื่อบริษัทเลียนชื่อที่โจทก์ใช้มานานทำให้โจทก์เสียหาย เป็นละเมิดศาลให้ถอนชื่อและให้ค่าเสียหายตามความร้ายแรงแห่งละเมิด
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2519
            แม้โจทก์จะได้ใช้คำว่า SHERATON มาเป็นเวลาช้านาน และเป็นคำสำคัญในชื่อโรงแรมของโจทก์ ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ฯ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์ประกอบธุรกิจ เฉพาะโรงแรม ส่วนจำเลยทำการค้าเพชร พลอย เครื่องประดับ ฯลฯอันเป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ไม่อาจที่จะเห็นได้ว่ามีการซับซ้อนอย่างแท้จริงได้ สำหรับกิจการของโรงแรมโจทก์กับกิจการของห้างจำเลยหรือชื่อของห้างจำเลยนั้นจะทำให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดขึ้นระหว่างชนทั่วไปแก่โรงแรมโจทก์ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่กิจการของโจทก์ก็หาไม่ การที่โจทก์ใช้คำว่า SHERATON ประทับไว้ในบรรดาสิ่งของเครื่องใช้ของโรงแรมโจทก์ และพิมพ์บนกระดาษเขียนจดหมาย ภาพถ่าย กลักไม้ขีด และอื่น ๆ เป็นเพียง มุ่งหวังโฆษณาชี้ชวนในกิจการโรงแรมของโจทก์เป็นประการสำคัญหาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ห้ามจำเลยตามฟ้องไม่
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2522
           โจทก์เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ได้ใช้นาม 'คริสเตียนดีออร์' และ 'ดีออร์' แพร่หลายรวมทั้งในประเทศไทยเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าจำเลยไม่มีสิทธิเอาคำว่า 'ดีออร์' ไปใช้ประกอบเป็นนามของตน ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยใช้คำว่า 'ดีออร์' ประกอบชื่อร้านค้าของจำเลย
7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2522
            โจทก์เป็นนิติบุคคลใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจมพลาซ่าต่อมาจำเลยตั้งร้านค้าชื่อว่า เจ.พลาซ่า และต่างก็จำหน่ายเพชรพลอยและเครื่องประดับซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ชื่อทั้งสองดังกล่าวคล้ายคลึงกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่า "เจ" เป็นชื่อย่อของ "เจม" และร้านจำเลยก็คือห้างของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อห้างโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์การขายสินค้าลดลงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาว่าห้างโจทก์มีเพียงแห่งเดียว การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 18 และมาตรา 421 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยระงับการใช้ชื่อร้านดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายได้
         ค่าเสียหายที่โจทก์ขายสินค้าลดลงและค่าโฆษณาให้ลูกค้าทราบว่าห้างโจทก์มีเพียงแห่งเดียว เป็นค่าเสียหายเกิดจากการใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยโดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิด
8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2525
           โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมชื่อรามาดาอินน์ ในประเทศทั่วโลก จำเลยประกอบกิจการโรงแรมในประเทศไทยใช้ชื่อว่ารามาดาโฮเต็ล ชื่อทางการค้าของโจทก์และจำเลยแม้จะคล้ายคลึงกันและโจทก์ใช้ชื่อนี้ก่อนจำเลยก็ตาม ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในนามของบุคคล การจะขอห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อเดียวกับโจทก์จะต้องปรากฏว่าเป็นเหตุให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหาย และจะเสียหายอยู่สืบไป และเมื่อคำว่า รามาดาเป็นภาษาเมกซิกันอินเดียนแดง มีความหมายว่าที่พักแรม มิใช่คำที่โจทก์ประดิษฐ์คิดขึ้นเอง และโจทก์ก็มิได้เข้ามาประกอบกิจการ โรงแรมในประเทศไทย จึงถือไม่ได้ว่ากิจการโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยเป็นการแข่งขันกับกิจการโรงแรมของโจทก์ในต่างประเทศอันจะกระทบกระเทือนถึงผลประโยชน์ของโจทก์ โจทก์ จึงไม่มีสิทธิอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้ชื่อนั้นในการประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
9.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526
              จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า 'บริษัทยอร์ค จำกัด' แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า 'YORK' ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกันอนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
            โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'YORK' ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า 'YORKINC.LTD.' สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า 'YORK' ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า 'INC.LTD.' ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่างๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า'YORK' ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
            ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
10.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531
           บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า 'ฮิลตัน''โฮเต็ล' และ 'บางกอก' พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานานทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์ และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์ จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมของจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตันเป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก