เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร|เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร

เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร

ปัจจุบันนี้ไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคดีแพ่งได้แล้ว

บทความวันที่ 28 ก.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 890 ครั้ง


 เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร

 
                ปัจจุบันนี้ไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคดีแพ่งได้แล้ว ต้องฟ้องกรมบังคับคดีเป็นจำเลยแทนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12335/2557
                      คำร้องของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่า ผู้คัดค้านไม่ยึดทรัพย์ตามที่โจทก์นำชี้ และหลอกลวงให้คำแนะนำในการบังคับคดี จนหลงเชื่อทำคำร้องขอให้ศาลเพิ่มอำนาจให้แก่ผู้คัดค้าน และถูกศาลยกคำร้องทำให้โจทก์ต้องเสียหาย ขอให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง อันเป็นข้ออ้างให้ผู้คัดค้านในฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 แต่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ โดยไม่มีบทมาตราใดยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่กรณีใด และมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติอีกว่า "บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน" ดังนี้ หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นต้นสังกัดของผู้คัดค้านจึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่ต้องเรียกร้องเอาแก่หน่วยงานของรัฐนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก