สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด|สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด

สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด

เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ปลดคนงานจำนวนมากเนื่องจากคนล้นงาน

บทความวันที่ 21 ก.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3763 ครั้ง


 สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด

 
          เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ปลดคนงานจำนวนมากเนื่องจากคนล้นงาน คำสั่งซื้อน้อยลงแต่มีคนงานเกินความจำเป็น รวมทั้งธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งปลดพนักงานสินเชื่อทางภาคใต้ทั้งหมดออก เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ลดน้อยลง และบริษัทการค้าอื่นๆก็ปลดพนักงานขายเนื่องจากคำสั่งซื้อลดลง และที่กำลังมาแรงสำหรับลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในบริษัทต่างชาติ ถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลว่า “เคมีไม่ตรงกัน หรือไม่ชอบขี้หน้า” หรือใช้ภาษาอังกฤษว่า “ไม่ click” ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผ่านมาเกี่ยวกับการเลิกจ้างมานำเสนอเพื่อประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อนำเป็นข้อคิดก่อนที่จะตัดสินใจเลิกจ้างลูกจ้าง 
สิทธิที่ลูกจ้างจะเรียกจากนายจ้างได้ ในกรณีลูกจ้างไม่เป็นธรรม คือ 
         1.ค่าตกใจหรือค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน 
         2.ค่าชดเชยตามอายุงาน
         3.ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างในกรณีที่ศาลสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและไม่ยอมรับกลับ คือ เงินเดือนของลูกจ้างในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
        4.ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างในกรณีไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
        5.เงินชดเชยการว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม
ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีเลิกจ้าง
เลิกจ้างเนื่องจากปรับปรุงกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกา 2630-2631/2547 
เลิกจ้างลูกจ้างตามนโยบายปรับโครงสร้างองค์กร ด้วยการนำบุคคลภายนอกมาดำเนินการเกี่ยวกับฝ่ายอาคารและบริการไม่ได้ปรับปรุงหน่วยงานหรือบริการเนื่องจากนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ไม่ต้องด้วยมาตรา 121, 122
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2548  
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุที่นายจ้างปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานโดยลดจำนวนพนักงานลง มิได้เกิดเหตุที่นำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาแทนกำลังคน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 121
ย้ายสถานประกอบการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2228/2545
          จำเลยมีคำสั่งปิดสำนักงานแผนกการขายที่กรุงเทพมหานครและย้ายพนักงานขายทั้งหมดไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดภูเก็ต โดยขณะจำเลยสั่งย้ายโจทก์จำเลยมีสถานประกอบกิจการที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นกรณีนายจ้างสั่งย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานที่สถานประกอบกิจการของนายจ้างอีกแห่งหนึ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ จึงไม่เป็นกรณีที่จำเลยย้ายสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยพิเศษและค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2546
นายจ้างมีสถานที่ทำงาน 2 แห่ง คือ สำนักงานในกรุงเทพมหานครและโรงงานในสมุทรปราการ นายจ้างย้ายสำนักงานไปรวมอยู่ที่โรงงาน เป็นกรณีที่นายจ้างสั่งย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานที่สถานประกอบกิจการอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีอยู่แล้ว มิใช่ย้ายสถานประกอบกิจการตามมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2549
        คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่โจทก์ย้ายโรงงานและสำนักงานแห่งใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ไปรวมกับสำนักงานสาขาที่จังหวัดนครพนม เป็นการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว จำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยตามมาตรา 120 วรรคสี่ โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจึงเป็นที่สุดและย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 120 วรรคห้า ซึ่งยุติไปแล้วมาอ้างในชั้นนี้
          จำเลยทั้งสิบสองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 582 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง และระเบียบของโจทก์ฉบับที่ 2 เรื่อง การลา อันเป็นกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่การบอกเลิกสัญญาจ้างในกรณีทั่วไป
เออรี่รีไทร์ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2547 
ลูกจ้างมีอายุครบ 60 ปี ต้องพ้นสภาพพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ต่อมาถือเป็นการต่ออายุสัญญาและขยายระยะเวลาการเกษียณอายุ 2 ปี ต่อมาลูกจ้างขอใช้สิทธิเกษียณอายุ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  258/2545
          จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์เกษียณอายุตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยมิได้มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
สุดท้ายนี้ผมขอเรียนให้นายจ้างและลูกจ้างทราบว่า คดีแรงงานศาลให้ความสำคัญของการไกล่เกลี่ยมากกว่าการสืบพยานเพื่อให้คดีระงับด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน การแก้ปัญหาจึงต้องหันหน้าเข้าหากัน และพบกันครึ่งทางนะครับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก