วางบรรทัดฐานคู่สมรสยกทรัพย์สินให้คนอื่น|วางบรรทัดฐานคู่สมรสยกทรัพย์สินให้คนอื่น

วางบรรทัดฐานคู่สมรสยกทรัพย์สินให้คนอื่น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

วางบรรทัดฐานคู่สมรสยกทรัพย์สินให้คนอื่น

ยกที่ดินสินสมรสให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติภริยาไม่ยินยอมเพิกถอนได้

บทความวันที่ 18 ก.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 736 ครั้ง


 วางบรรทัดฐานคู่สมรสยกทรัพย์สินให้คนอื่น

 
ยกที่ดินสินสมรสให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติภริยาไม่ยินยอมเพิกถอนได้
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2525
            โจทก์กับ ช. สมรสกัน 60 ปี มาแล้วมีบุตรคนเดียว ต่อมาโจทก์ไปบวชชีโดยไม่ได้หย่ากัน ช. เป็นข้าราชการบำนาญ ออกจากบ้านเดิมไปพักอาศัยอยู่กับจำเลยและมารดา แล้วยกที่พิพาท 4 แปลงอันเป็นสินสมรสให้จำเลยซึ่งไม่ได้เป็นญาติกับโจทก์หรือ ช. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์และ ช. มีทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่นอีก ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 เมื่อปราศจากความยินยอมของโจทก์การให้จึงไม่สมบูรณ์ โจทก์ขอเพิกถอนได้
 
ยกสินสมรสให้หลานเพิกถอนสินสมรสส่วนของตนได้
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536
        การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หามิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม มาตรา 1533 ไม่ เมื่อโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน สินสมรสต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นของ ง.2 ส่วน เป็นของโจทก์ 1 ส่วน
 
สามียกที่ดินให้บุตรนอกสมรสเป็นทรัพย์สินส่วนน้อย เนื่องจากรวยมาก ภริยาเพิกถอนไม่ได้ 
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2543
โจทก์ฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ว. ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของ ว. โดยเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ และทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า การให้ดังกล่าวเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวอันเป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักที่ว่าทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก