คู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่|คู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

คู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535 วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องคู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่น

บทความวันที่ 18 ก.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2988 ครั้ง


 คู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

 
              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535 วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องคู่สมรสไปค้ำประกันบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การทำสัญญาค้ำประกันไม่ใช่การประกันด้วยตัวทรัพย์ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการค้ำประกันตามมาตรา 1476 (8)
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535
               แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาค้ำประกันที่ น.ภริยาโจทก์ทำไว้แก่จำเลยเป็นนิติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโจทก์ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ น.ทำไว้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในฟ้องและจากการนำสืบของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันที่น.ยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ส.เพื่อชำระหนี้เมื่อส.ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680ซึ่งผูกพันตัว น.มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1476,1477 ที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 ไม่ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก