การดำเนินคดีทางการแพทย์|การดำเนินคดีทางการแพทย์

การดำเนินคดีทางการแพทย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีทางการแพทย์

ปัจจุบันมีผู้ป่วยดำเนินคดีกับแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐ

บทความวันที่ 7 ก.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2219 ครั้ง


 การดำเนินคดีทางการแพทย์

 
ปัจจุบันมีผู้ป่วยดำเนินคดีกับแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมากหลายคดี ทำให้บุคลากรทางการแพทย์วิตกกังวลในการรักษาผู้ป่วย เมื่อศึกษาคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมาพบว่า ถ้าบุคลากรทางการแพทย์รักษาตามหลักวิชาการแพทย์ มีมาตรฐานแห่งวิชาชีพในการรักษา รักษาด้วยความรวดเร็ว อธิบายขั้นตอนการรักษาโดยละเอียด เอาใจใส่ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดแต่อย่างใด ในวันนี้ทนายคลายทุกข์ขอนำตัวอย่างคดีเกี่ยวกับการดำเนินคดีทางการแพทย์ในอดีตที่ผ่านมา และตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องมานำเสนอท่านผู้อ่านครับ มีทั้งตัวอย่างคดีล่าสุดที่ศาลฎีกาตัดสินให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดต่อผู้ป่วย และคำพิพากษาฎีกาก่อนหน้านี้ที่สำคัญ เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย
ฎีกาที่ 12498/2558
ฐ.แพทย์จำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาโจทก์ซึ่งป่วยเป็นวัณโรคให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาการแพทย์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อความประมาทเลินเล่อของ ฐ.อันเป็นละเมิดต่อโจทก์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลละเมิดที่ ฐ.แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งเมื่อฝ่ายโจทก์ไม่ทราบว่าต้องแจ้งเรื่องบิดาโจทก์เป็นวัณโรคให้แพทย์ทราบเนื่องจากไม่มีการสอบถามถึงมาก่อนจนกระทั่งแพทย์หญิง น. สอบถามจึงได้ความ แสดงว่าไม่ได้ปกปิดแต่ไม่รู้ว่าต้องแจ้ง ถือไม่ได้ว่าบิดามารดาหรือโจทก์ปกปิดหรือแจ้งข้อความเท็จตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 8 วรรคสอง อันจะทำให้จำเลยพ้นผิด จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
โจทก์ต้องพิการทางสมองเนื่องจากวัณโรคขึ้นสมองไม่สามารถช่วยตนเองได้ ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ได้แก่ค่าเสียหายอันไม่ใช่ตัวเงิน ค่าทุกข์ทรมานกายใจ ค่าทุกข์ทรมานกายใจ ค่าทุกข์ทรมานทางใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้ชำระไปในระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลและที่บ้าน ค่ารักษาตัวต่อเนื่อง ตลอดจนค่าจ้างบุคคลอื่นดูแลซึ่งค่าเสียหายโดยตรงพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันละเมิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552
       ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษาแม้จะเป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์เพื่อการรักษาได้  แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์  ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2553
ผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิด มีสิทธิที่จะเลือกโรงพยาบาลเอกชนรักษาตัวเองได้ ถึงแม้ค่ารักษาจะสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ  ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะเลือกโรงพยาบาล
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
มาตรา 8  ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิด ข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
(2) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ แล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 446  ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรม
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
มาตรา 9  ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผมกล่าวอ้างมาข้างต้น หากแพทย์และผู้ป่วยใช้เป็นบรรทัดฐานในการรักษาก็จะไม่มีคดีขึ้นสู่ศาลนะครับ 
 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก