การดำเนินคดีกับนายจ้างแย่งตัวพนักงาน|การดำเนินคดีกับนายจ้างแย่งตัวพนักงาน

การดำเนินคดีกับนายจ้างแย่งตัวพนักงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีกับนายจ้างแย่งตัวพนักงาน

ปัจจุบันมีบริษัทหลายบริษัทใช้วิธีต่อยอดธุรกิจ โดยการซื้อตัวพนักงานที่มีความรู้ความสามารถจากบริษัทอื่น

บทความวันที่ 1 ก.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3522 ครั้ง


 การดำเนินคดีกับนายจ้างแย่งตัวพนักงาน

 
ปัจจุบันมีบริษัทหลายบริษัทใช้วิธีต่อยอดธุรกิจ โดยการซื้อตัวพนักงานที่มีความรู้ความสามารถจากบริษัทอื่น เพราะได้ทั้งลูกจ้างที่มีฝีมือและมีลูกค้าของคู่แข่งติดไม้ติดมือด้วย พร้อมยังได้ความลับทางการค้าของคู่แข่งมาด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำละเมิด ปัจจุบันมีนายจ้างดำเนินคดีกับนายจ้างใหม่ที่ดึงตัวลูกจ้างแล้ว 
คำวินิจฉัยของประธานฎีกา ที่ ทก. 37/2558 (อ้างอิงหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2558 ของเนติบัณฑิตยสภา)
คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เสนอปัญหาเรื่องอำนาจศาลให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย เนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นตัวแทนแต่เพียงผู้เดียวของบริษัทท บ. โจทก์ประกอบธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเครื่องปรับปรุงพันธุ์ข้าวยี่ห้อหนึ่ง ที่ผลิตโดยบริษัทดังกล่าว ส่วนจำเลยเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัทดังกล่าว ก่อนก่อตั้งบริษัทจำเลย นาย ด. ต้องการขายเครื่องปรับปรุงพันธ์ข้าวยี่ห้อ Y ที่ผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีนแข่งขันกับโจทก์ นาย ด. ได้ให้บริษัท บ. ขอซื้อกิจการโจทก์ในราคาต่ำจนกระทั่งโจทก์ต้องยอมทำสัญญาตัวแทนฉบับใหม่กับบริษัท บ. เมื่อก่อตั้งบริษัทจำเลยโดยมีนายด. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยแล้ว จำเลยชักจูงพนักงานของโจทก์ไปทำงานกับจำเลยทั้งที่พนักงานมีข้อห้ามมิให้เป็นลูกจ้างบริษัทคู่แข่งของโจทก์และห้ามเปิดเผยข้อมูลในเชิงพาณิชย์ตามสัญญาจ้างแรงงาน เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต นอกจากนี้จำเลยมีส่วนทำให้บริษัท บ.ยกเลิกสัญญาตัวแทนต่อโจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ดำเนินคดีแรงงานต่อพนักงานของโจทก์ที่ละเมิดสัญญาจ้างออกไปทำงานกับจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขาดรายได้ที่จะได้รับจากการเป็นตัวแทน นอกจากนี้จำเลยล่วงรู้ความลับทางการค้าและแผนงานธุรกิจของโจทก์โดยมิชอบ กล่าวคือ จำเลยใช้ข้อมูลที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าของโจทก์ที่มีมาตรการการเก็บรักษาไว้เป็นความลับ โดยมีเพียงพนักงานฝ่ายขาย และติดต่อลูกค้าของโจทก์เท่านั้นที่โจทก์อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้และจำเลยแอบให้ข้อมูลพยากรณ์การขายที่โจทก์ส่งให้บริษัท ย. เพื่อขายสินค้าแก่ลูกค้าของโจทก์และแจ้งแก่ลูกค้าของโจทก์ว่าโจทก์ถูกยกเลิกสัญญาตัวแทน ทำให้ลูกค้าของโจทก์หยุดชำระเงินค่าสินค้าแล้วไปทำสัญญากับจำเลย ทำให้โจทก์เสียหาย นอกจากนี้จำเลยยังใส่ความโจทก์ต่อลูกค้าของโจทก์ว่าเหตุที่โจทก์ถูกยกเลิกสัญญาเนื่องจากการขายสินค้าเกินราคาและยักยอกอะไหล่ของลูกค้า ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้บังคับจำเลยห้ามยุ่งเกี่ยวกับลูกค้าของโจทก์ ห้ามจำเลยนำข้อมูลรายชื่อลูกค้าของโจทก์รวมถึงรายการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าของโจทก์ไปใช้ ห้ามจำเลยชักจูงใจพนักงานของโจทก์ไปทำงานกับจำเลย ให้จำเลยยกเลิกการว่าจ้างอดีตพนักงานทุกคนของโจทก์ที่ผิดสัญญาต่อโจทก์ที่จำเลยชักจูงและรับเข้าทำงานไว้ และให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 958,710,879.09 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่บริษัท บ.  ขอซื้อกิจการของโจทก์และยกเลิกสัญญาตัวแทนกับโจทก์ จำเลยไม่เคยชักจูงหรือจูงใจพนักงานของโจทก์ให้ลาออกมาเป็นพนักงานของจำเลยและไม่เคยทราบเงื่อนไขในสัญญาจ้างพนักงานของโจทก์ จำเลยไม่ได้นำข้อมูลทางการค้าของโจทก์ไปใช้โดยมิชอบ จำเลยได้ข้อมูลที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกค้ามาจากบริษัท บ. ภายหลังที่สัญญาตัวแทนที่โจทก์ทำกับบริษัทดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว ส่วนข้อมูลที่โจทก์ส่งให้แก่บริษัทดังกล่าวก็เป็นสิทธิของบริษัทดังกล่าวที่จะส่งมอบข้อมูลให้แก่บุคคลใดก็ได้  นอกจากนี้บางส่วนของข้อมูลที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถหาได้ในอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ของผู้ประกอบการค้าข้าวซึ่งบุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ โจทก์แจ้งทางจดหมายแก่ลูกค้าของโจทก์เองว่าตนถูกยกเลิกสัญญาตัวแทนและหากต้องการใช้บริการเกี่ยวกับเครื่องคัดแยกสิ่งปลอมปนยี่ห้อ B ให้ติดต่อจำเลย จึงมีลูกค้าบางรายมาติดต่อจำเลยเอง จำเลยไม่เคยสั่งหรือมอบหมายให้พนักงานของจำเลยใส่ความโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว แล้วเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9
พิเคราะห์แล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับความลับทางการค้าตามบทบัญญัติตามมาตรา 7(9) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยล่วงรู้ความลับทางการค้าและแผนงานธุรกิจของโจทก์โดยมิชอบ กล่าวคือ จำเลยใช้ข้อมูลที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าโจทก์ที่มีมาตรการเก็บรักษาไว้เป็นความลับ โดยมีเพียงพนักงานฝ่ายขายและติดต่อลูกค้าของโจทก์เท่านั้นที่โจทก์อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ และจำเลยแอบใช้ข้อมูลพยากรณ์การขายที่โจทก์ส่งให้บริษัท บ. เพื่อขายสินค้าแก่ลูกค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ตามคำฟ้องข้อ 3.3 ข้อพิพาทตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทางการค้าหรือไม่ จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในความลับทางการค้าหรือไม่ จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับความลับทางการค้า อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ตามบทบัญญัติของมาตรา 7 (9) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยชักจูงพนักงานของโจทก์ไปทำงานกับจำเลย ทั้งที่พนักงานมีข้อห้ามมิให้เป็นลูกจ้างบริษัทคู่แข่งของโจทก์และห้ามเปิดเผยข้อมูลในเชิงพาณิชย์ตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์เสียหายตามคำฟ้องข้อ 3.1 กับจำเลยมีส่วนทำให้โจทก์ต้องทำสัญญาตัวแทนฉบับใหม่กับบริษัท บ. และทำให้บริษัทดังกล่าวยกเลิกสัญญาตัวแทนต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องฟ้องข้อ 3.2 และจำเลยใส่ความโจทก์ต่อลูกค้าของโจทก์ว่าเหตุที่โจทก์ถูกยกเลิกสัญญาเนื่องจากขายสินค้าเกินราคาและยักยอกอะไหล่ของลูกค้าทำให้โจทก์เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงตามคำฟ้องข้อ 3.4 นั้น เป็นคำฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
วินิจฉัยว่า คดีนี้เฉพาะข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในข้อ 3.3 อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
การต่อยอดธุรกิจ เจ้าของกิจการต้องมีธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจนะครับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก